BANNER


บทความ


ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน   |    ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน   |    ประชาคมสังคมและวัฒนธรรรมอาเซียน   |    บทความวิชาการ


แนวทางและมาตรการของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ในการป้องกันการทุจริต การผลิต การจัดสรร และการกระจายวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด - ๑๙ (ตอนที่ ๑)

บทความฉบับนี้มุ่งนำเสนอภาพรวมปัญหาและความท้าทายเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการทุจริตโครงการจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด - ๑๙ ซึ่งเป็นมุมมองของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) เพื่อสะท้อนความท้าทายต่อการจัดการของรัฐและผลักดันความพยายามในการดำเนินมาตรการสำหรับการจัดการต่อไป


แนวทางการสร้างสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะที่ดี (Healthy Ageing)

องค์การอนามัยโลกได้จัดทำแผนปฏิบัติการสำหรับการพัฒนาแนวนโยบายและการดำเนินการของรัฐเพื่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอสาระสำคัญของแผนปฏิบัติดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดทำนโยบายและกฎหมายต่อไป


หลักนิติธรรมกับวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙ เป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบด้านสาธารณสุขไปทั่วโลก ทั้งยังสร้างความท้าทายต่อภาครัฐในการบริหารจัดการ โดยเฉพาะการคงไว้ซึ่งหลักนิติธรรมอันเป็นหลักธรรมาภิบาลสำคัญของการปกครอง ในการนี้ โครงการยุติธรรมโลก (World Justice Project) ได้จัดทำบทความเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวิกฤตการณ์สาธารณสุขกับหลักนิติธรรมเพื่อสะท้อนถึงประเด็นปัญหาและเพื่อการกำหนดมาตรการสำหรับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป


ชุดความรู้ "การใช้กฎหมายต่างประเทศมาบังคับแก่กรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ของไทย"

ชุดความรู้ "การใช้กฎหมายต่างประเทศมาบังคับแก่กรณีตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พุทธศักราช 2481 ของไทย"
เข้าถึงเนื้อหาได้ที่ >> กฎหมายขัดกัน


ภาพรวมความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดการมลพิษทางอากาศ

ความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศเกิดขึ้นมาอย่างยาวนานและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพรวมความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพอากาศเพื่อสะท้อนความร่วมมือและความพยายามในการจัดการปัญหาร่วมกันในสังคมระหว่างประเทศ


แนวทางและมาตรการของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ในการป้องกันการทุจริตการผลิต การจัดสรร และการกระจายวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด - ๑๙ (ตอนที่ ๒)

จากปัญหาและความท้าทายเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดการทุจริตในโครงการวัคซีนภายใต้บริบทของวิกฤตการณ์ด้านสาธารณสุขสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Office on Drugs and Crime: UNODC) จึงได้เสนอมาตรการเพื่อการบริหารความเสี่ยงดังกล่าวและเพื่อเป็นแนวทางป้องกันและบริหารความเสี่ยงต่อการทุจริตที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของหลักการตามอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับการทุจริตที่กำหนดข้อผูกพันทางกฎหมายให้กับประเทศสมาชิก โดยเป็นเอกสารการต่อต้านการทุจริตระดับสากลที่กำหนดกรอบการดำเนินงานและเครื่องมือสำคัญสนับสนุนหลักความรับผิดชอบต่อภาระหน้าที่ ความซื่อสัตย์ในหน้าที่ และความโปร่งใสในการดำเนินงานทั้งในช่วงวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙ และเตรียมความพร้อมสำหรับความท้าทายอื่นในอนาคต   บทความส่วนนี้จึงมุ่งนำเสนอมาตรการเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตตามแนวทางขององค์กร UNODC


ภาพรวมการเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) ของประเทศในภูมิภาคเอเชียและยุโรป

องค์การสหประชาชาติได้จัดทำดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-government Development Index: EGDI) เพื่อประเมินความพร้อมของการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศสมาชิก ๑๙๓ ประเทศและเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของภาครัฐในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการประเทศ บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพรวมดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย เพื่อสะท้อนถึงความแตกต่างและพัฒนาการของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค


การปฏิรูประบบแรงงานในประเทศกาตาร์: กฎหมายว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำฉบับแรกของประเทศกาตาร์และภูมิภาคตะวันออกกลาง และการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายแรงงาน

การยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศเป็นเจตนารมณ์สำคัญของวิสัยทัศน์กาตาร์ ค.ศ. ๒๐๓๐ (Qatar National Vision 2030) โดยเฉพาะกรอบนโยบายด้านการพัฒนามนุษย์ที่มุ่งเน้นถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานท้องถิ่นและสร้างแรงจูงใจเพื่อดึงดูดแรงงานต่างชาติ เนื่องจากตลาดแรงงานเป็นภาคส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะแรงงานต่างชาติที่มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ ๙๕ ของตลาดแรงงานในประเทศ  ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับสิทธิของแรงงานและสร้างตลาดแรงงานที่มีมาตรฐานในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนามนุษย์ตามวิสัยทัศน์แห่งชาติ กระทรวงพัฒนาแรงงานและกิจการสังคมจึงได้เริ่มดำเนินโครงการปฏิรูประบบแรงงานในกาตาร์ด้วยการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายแรงงาน ค.ศ. ๒๐๐๔ ให้คุ้มครองสิทธิของแรงงานอย่างครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๒๐ ได้มีการประกาศใช้กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานในภาคเอกชนและแรงงานทำงานบ้าน ฉบับที่ ๑๗ ค.ศ. ๒๐๒๐ (Law No. 17 of 2020 on Setting the Minimum Wage for Workers and Domestic Workers) ซึ่งกาตาร์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคตะวันออกกลางที่มีการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงการปฏิรูประบบแรงงานในประเทศกาตาร์ การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิแรงงานฉบับใหม่และการแก้ไขกฎหมายแรงงานเพื่อสะท้อนถึงความพยายามสร้างตลาดแรงงานให้มีมาตรฐานและการพัฒนามนุษย์ตามวิสัยทัศน์ของประเทศ


ประสบการณ์และความท้าทายทางกฎหมายที่สหราชอาณาจักรเผชิญในการถอนตัวออกจาก การเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit)

เบร็กซิท (British Exit: Brexit) หรือการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (European Union: EU) ของสหราชอาณาจักรเป็นกระบวนการที่ดำเนินตามผลการทำประชามติที่สหราชอาณาจักรได้จัดให้มีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๑๖ ตามผลการลงประชามติ คะแนนเสียงร้อยละ ๕๑.๙ เห็นชอบให้สหราชอาณาจักรถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป ในขณะที่ร้อยละ ๔๘.๑ เป็นผลคะแนนที่ต้องการให้คงอยู่ต่อไป ด้วยผลประชามติดังกล่าวจึงทำให้กระบวนการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักรเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๑๖ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศในหลากหลายมิติ


มาตรการของฟิลิปปินส์ช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙ ตามกฎหมายพิเศษ Bayanihan To Heal As One

ในช่วงต้นปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ประชาคมโลกประสบกับวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙ ซึ่งเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว (pandemic) จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) พบว่า ภายในระยะเวลา ๓ เดือนนับตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. ๒๐๒๐ จนถึงวันที่ ๓๑ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๒๐ ไวรัสโควิด – ๑๙ แพร่ระบาดไปใน ๒๐๔ ประเทศทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อ ๖๙๗,๒๔๔ ราย และเสียชีวิต ๓๓,๒๕๗ ราย ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของไวรัสดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ (Public health emergency of international concern) มีผลให้ประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกต้องปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ (International Health Regulations) อย่างเคร่งครัดเพื่อการป้องกันและควบคุมสถานการณ์การระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ  ด้วยเหตุนี้ จึงนำมาซึ่งการใช้มาตรการของหลายประเทศเพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง..


โรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์กับความท้าทายของรัฐและสังคมระหว่างประเทศ (๑)

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสซึ่งเป็นที่มาของโรคระบาดอย่างรุนแรงภายในภูมิภาค เช่น กรณีการระบาดของเชื้อไวรัส Human immunodeficiency virus หรือเชื้อ HIV สาเหตุของโรคเอดส์ กรณีการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5N1 สาเหตุของโรคไข้หวัดนก เมื่อระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๓ - ๒๐๐๔ การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสาเหตุของโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ และโรคเมอร์ส (Middle East respiratory syndrome coronavirus: MERS-CoV) รวมถึงการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙ (Coronavirus Disease-2019: COVID-19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชีย และได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วยังภูมิภาคอื่นทั่วโลกภายในระยะเวลา ๓ เดือน  ทั้งนี้ การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสและโรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ปัญหาดังกล่าวยากต่อการจัดการและควบคุม โรคระบาดและโรคอุบัติใหม่จึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในทางระหว่างประเทศในฐานะของภัยคุกคามความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อรัฐในด้านอื่น บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการอภิปรายเกี่ยวกับภาพรวมเรื่องโรคระบาดและผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของโรคติดต่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ โลกาภิวัตน์กับโรคระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่วนที่ ๒ โรคระบาดในฐานะของภัยคุกคามที่ท้าทายรัฐและสังคมระหว่างประเทศ


โรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์กับความท้าทายของรัฐและสังคมระหว่างประเทศ (๒)

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสซึ่งเป็นที่มาของโรคระบาดอย่างรุนแรงภายในภูมิภาค เช่น กรณีการระบาดของเชื้อไวรัส Human immunodeficiency virus หรือเชื้อ HIV สาเหตุของโรคเอดส์ กรณีการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5N1 สาเหตุของโรคไข้หวัดนก เมื่อระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๓ - ๒๐๐๔ การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสาเหตุของโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ และโรคเมอร์ส (Middle East respiratory syndrome coronavirus: MERS-CoV) รวมถึงการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙ (Coronavirus Disease-2019: COVID-19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียและได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วยังภูมิภาคอื่นทั่วโลกภายในระยะเวลา ๓ เดือน  ทั้งนี้ การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสและโรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ปัญหาดังกล่าวยากต่อการจัดการและควบคุม โรคระบาดและโรคอุบัติใหม่จึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในทางระหว่างประเทศในฐานะของภัยคุกคามความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อรัฐในด้านอื่น บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการอภิปรายเกี่ยวกับภาพรวมเรื่องโรคระบาดและผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของโรคติดต่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ โลกาภิวัตน์กับโรคระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่วนที่ ๒ โรคระบาดในฐานะของภัยคุกคามที่ท้าทายรัฐและสังคมระหว่างประเทศ


การประชุมเอเชียตะวันออก ครั้งที่ ๑๔

การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ ๑๔ (14th East Asia Summit) เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ จัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม และมีผู้นำจากประเทศสมาชิก ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เกาหลีใต้ รัสเซีย สหรัฐอเมริกา และตัวแทนจากประเทศสมาชิก รวมทั้งเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมการประชุม

บทความนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ ๒๙ พฤสจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ และแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒


สรุปภาพรวมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลขอมาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

ปัจจุบันเทคโนโลยีและกระแสเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงในสังคมหลากหลายด้าน แม้ว่าการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างมูลค่าให้แก่สินค้าและบริการ ซึ่งเป็นการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นแล้ว เศรษฐกิจดิจิทัลยังทำให้การสื่อสารสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัดจึงส่งผลให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลจำนวนมาก รวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิในความเป็นส่วนตัวของบุคคล เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่สามารถระบุได้ถึงบุคคลผู้เป็นเจ้าของข้อมูล หากมีการเปิดเผยหรือนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบอาจส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้ ทั้งยังถือเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว จึงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิดังกล่าว


กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน: ประเทศสิงคโปร์

ในส่วนของอาเซียนได้มีการจัดทำกรอบการดำเนินงานว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Framework On Personal Data Protection) อันเป็นการวางหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  นอกจากนี้ ได้จัดทำความตกลงอาเซียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ASEAN Agreement on Electronic Commerce) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนในอาเซียน  ดังนั้น กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงมีความสำคัญต่อการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายโอนข้อมูลข้ามพรมแดนภายในภูมิภาค กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียนจึงควรที่จะต้องสอดคล้องหรือมีมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน บทความฉบับนี้จึงจะศึกษาเกี่ยวกับสาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสิงคโปร์ เพื่อเป็นตัวอย่างข้อมูลกฎหมายในการเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นต่อไป


การประชุมคณะกรรมการระบบสถิติอาเซียน ครั้งที่ ๙

การประชุมคณะกรรมการระบบสถิติอาเซียน ครั้งที่ ๙ (The Ninth Session of the ASEAN Community Statistical System Committee: ACSS9) จัดขึ้นโดยมีสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทยเป็นประธานการจัดประชุม จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๙ – ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย การประชุมดังกล่าวมีนางหทัยชนก ชินอุปราวัฒน์ ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นประธานร่วมกับนาย Pham Quang Vinh รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นภายใต้หัวข้อที่สอดคล้องกับการเป็นประธานอาเซียนของประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ คือ ยกระดับความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความยั่งยืน และเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางสถิติในระดับภูมิภาคและตอบสนองต่อความต้องการข้อมูลทางสถิติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน


กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน: ประเทศมาเลเซีย

ในส่วนของอาเซียนได้มีการจัดทำกรอบการดำเนินงานว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Framework On Personal Data Protection) อันเป็นการวางหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน  นอกจากนี้ ได้จัดทำความตกลงอาเซียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ASEAN Agreement on Electronic Commerce) เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนในอาเซียน  ดังนั้น กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน จึงมีความสำคัญต่อการทำธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคต่อการถ่ายโอนข้อมูลข้ามพรมแดนภายในภูมิภาค กฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียนจึงควรที่จะต้องสอดคล้องหรือมีมาตรฐานเดียวกัน และเพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน บทความฉบับนี้จึงจะศึกษาเกี่ยวกับสาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศมาเลเซีย เพื่อเป็นตัวอย่างข้อมูลกฎหมายในการเปรียบเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นต่อไป


กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศสมาชิกอาเซียน: สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

สิทธิในความเป็นส่วนตัว (The Right to Privacy) เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ จึงได้มีการรับรองไว้ในตราสารระหว่างประเทศหลายฉบับ เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ข้อ ๑๒ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights) ข้อ ๑๗ เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการวางรากฐานด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสากลและสร้างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนให้กับนานาอารยประเทศ ซึ่งในระดับภูมิภาคอาเซียนก็ได้มีการจัดทำตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration)โดยข้อ ๒๑ ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวอยู่เช่นกัน ซึ่งสะท้อนถึงเจตนารมณ์ของอาเซียนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งยังเป็นการรักษามาตรฐานสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลอีกด้วย


แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งอาเซียน ปี พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๘

ระบบคมนาคมขนส่งเป็นกุญแจสาคัญที่จะนาไปสู่การพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ ระบบคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพเป็นส่วนสาคัญที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) แต่หากระบบคมนาคมขนส่งขาดประสิทธิภาพจะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง ทั้งผลกระทบต่อวิถีชีวิต ของประชาชน อาทิ ปัญหามลพิษทางอากาศ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) ปัญหาความแออัด ความมั่นคงทางพลังงาน ตลอดจนส่งผลกระทบในเชิงโครงสร้าง เช่น ก่อให้เกิดความ เหลื่อมล้าทางสังคม และเศรษฐกิจ ปัญหาการเข้าถึงของชาวชนบท ความเชื่อมโยงระหว่างเมืองและชนบท ความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เป็นต้น


อาเซียนและญี่ปุ่นท่ามกลางกระแสการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสหรัฐฯ และจีน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอและวิเคราะห์ความสัมพันธ์และจุดยืนของอาเซียนและญี่ปุ่นท่ามกลางกระแสของการแข่งขันทางอำนาจระหว่างสหรัฐฯ และจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของตัวแสดงทั้งสี่


ทบทวนอาเซียนในมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

นับตั้งแต่ที่อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๖๒) อาเซียนดำเนินงานในฐานะของสถาบันระหว่างประเทศมาแล้วถึง ๕๒ ปี โดยเผชิญกับความท้าทาย ปัญหาและอุปสรรคทั้งในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม รวมทั้งสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศสมาชิกและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นการทบทวนการดำเนินงานของอาเซียนในแง่ของการเป็นสถาบันหลักของภูมิภาคที่สามารถดำรงอยู่มาอย่างยาวนาน บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงบทบาทและพัฒนาการของอาเซียนในมิติด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ รวมถึงนัยสำคัญของความร่วมมืออาเซียนด้านต่าง ๆ ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและวิเคราะห์ต่อไป


กฎหมายการแข่งขันทางการค้าในอาเซียน: ความแตกต่างระหว่างกฎหมายของมาเลเซียและไทย

กฎหมายการแข่งขันทางการค้าในอาเซียน: ความแตกต่างระหว่างกฎหมายของมาเลเซียและไทย อ่านต่อ...


ปัญหาและอุปสรรคของอาเซียนกับความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติ

                         แม้อาเซียนมีความพยายามที่จะสร้างกลไกเพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว แต่อาเซียนยังคงได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบาทที่ไม่มีความชัดเจนในการจัดการปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในภูมิภาค เห็นได้จากบทบาทในการจัดการสถานการณ์หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิในภูมิภาค อาเซียนยังคงต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ และความช่วยเหลือจากองค์การสหประชาชาติ ดังนั้น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอปัญหาในการสร้างขีดความสามารถของอาเซียนเพื่อการจัดการภัยพิบัติ โดยจะเป็นการนำเสนอถึงกลไกที่อาเซียนใช้เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว ตลอดจนการวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและวิจัยในเชิงลึกต่อไป


สถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์

                                     บทความนี้เป็นการศึกษาความเป็นมาและสาระสำคัญของสถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation: AIPR) ซึ่งเป็นองคภาวะหนึ่งของอาเซียนที่จะมีบทบาทสำคัญด้านสันติภาพและความสมานฉันท์ภายใต้กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)เนื่องจากเล็งเห็นว่าการที่จะสร้างประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนที่มีความเป็นเอกภาพ สงบสุข และมีความแข็งแกร่งได้นั้น นอกจากจะต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านมาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางบริหารแล้ว การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ  ซึ่งกันและกัน และการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกโดยสันติและปรองดองกัน ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญยิ่ง ที่จะทำให้อาเซียนบรรลุวัตถุประสงค์ของแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-security Community Blueprint: APSC) ได้อย่างสมบูรณ์แบบ


The ASEAN Experience

               โดยที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ ประชาคมเศรษฐกิจ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม และประชาคมการเมืองและความมั่นคง ให้แล้วเสร็จในปี ๒๕๕๘ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ มอบหมายให้กระทรวงยุติธรรมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เป็นอุสรรคในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับผิดชอบการเตรียมความพร้อมในการอนุวัติการกฎหมาย โดยในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงครั้งที่ ๗/๒๕๕๕ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับผิดชอบกฎหมายในระยะเร่งด่วนตามยุทธศาสตร์ประเทศและยุทธศาสตร์การเข้าสู่ประชาคมอาเซียน..


ความรู้เบื้องต้นและประวัติของปัญญาประดิษฐ์ : ความเป็นมาของปัญญาประดิษฐ์และการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในเทคโนโลยีการแพทย์และการดูแลสุขภาพ

               นักวิจัยเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) เชื่อว่า มีความเป็นไปได้ถึงประมาณร้อยละ ๕๐ ที่ AI จะมีความสามารถเหนือกว่ามนุษย์ในเวลา ๔๕ ปีข้างหน้า และจะสามารถเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์ได้ทั้งหมดภายในเวลา ๑๒๐ ปี ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ประมาณร้อยละ ๑๐ ว่า เครื่องจักรที่มีทักษะสูง (High-level machine intelligence: HLMI) จะถูกพัฒนาขึ้นภายในเวลา ๙ ปีข้างหน้า โดยนักวิจัยได้คาดการณ์ไว้ว่า AI จะสามารถแปลภาษาได้ภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๔ สามารถเขียนเรียงความระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๖ สามารถขับรถบรรทุกได้ภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๗ สามารถทางานในร้านค้าปลีกได้ภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๑ สามารถเขียนหนังสือขายดีได้ภายในปี ค.ศ. ๒๐๔๙ และสามารถทางานเป็นศัลยแพทย์ได้ภายในปี ค.ศ. ๒๐๕๓ อนึ่ง นักวิจัยชาวเอเชียคาดการณ์ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นจะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่นักวิจัยจากอเมริกาเหนือคาดการณ์เอาไว้ เช่น เคยมีการคาดการณ์กันไว้ว่า AI จะสามารถชนะมนุษย์ในเกมส์หมากล้อม (Go) ภายในปี ค.ศ. ๒๐๒๑ แต่อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้นแล้วในปี ค.ศ. ๒๐๑๗


การศึกษาดูงานศูนย์ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ : AIRC (Artificial Intelligence Research Center)

               ศูนย์ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AIRC : Artificial Intelligence Research Center) ของประเทศญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๑๕ (พ.ศ. ๒๕๕๘) เพื่อเป็น ศูนย์ศึกษาวิจัยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ของสถาบันวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีระดับสูงแห่งชาติ (National Institute of Advances Industrial Science and Technology; AIST) ด้วยแนวคิดพื้นฐานที่ว่า การวิจัยด้าน AI มีความก้าวหน้าอย่างมาก และเทคโนโลยี AI สามารถนามาประยุกต์ใช้ในด้าน ต่าง ๆ ได้อย่างแพร่หลาย ประเทศญี่ปุ่นจึงมุ่งให้ศูนย์ศึกษาวิจัยฯ เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้างสาหรับการรองรับนวัตกรรมที่มีความเชื่อมโยงประสานกันทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา และภาครัฐ ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเล็งเห็นว่า รูปแบบการจัดตั้งองค์กรในลักษณะที่เป็นหน่วยงานของรัฐ (public organization) จะสามารถมีบทบาทในการสนับสนุนและแบ่งปันข้อมูลความรู้ทาง AI ออกสู่สาธารณะได้มากกว่าในรูปของการเป็นหน่วยงานเอกชนหรือมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ ในส่วนของความร่วมมือกับสถาบันวิจัยต่างประเทศ หากเป็นรูปแบบของหน่วยงานรัฐแล้ว ย่อมจะได้รับประโยชน์หรือมีการตอบสนองที่มีประสิทธิภาพมากกว่า


การศึกษาดูงาน NEC Showroom (Shinagawa) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

               บริษัท NEC Corporation จำกัด เป็นองค์กรธุรกิจภาคเอกชนในประเทศญี่ปุ่น ที่มีนโยบายในการเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสู่สังคม โดยประกอบธุรกิจหลักในการให้บริกำรด้านธุรกิจกำรสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการผลิต การค้ำปลีก และบริการด้ำนกำรเงิน ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถเปิดตัวบริการใหม่ ๆ ผ่านนวัตกรรมห่วงโซ่คุณค่าโดยใช้เทคโนโลยีที่เป็น Internet of Things (IoT) และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตลอดจนสนับสนุนงานนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพทางธุรกิจ (Enterprise business solution) ทั้งนี้ บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงโตเกียว ปัจจุบันมีพนักงำนรวมทั้งสิ้นประมาณ ๙๘,๗๐๐ คน มีมูลค่าทรัพย์สินรวมประมาณ ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท ซึ่งในปี ค.ศ. ๒๐๑๗ ได้รับการจัดอันดับให้เป็น ๑ ใน ๑๐๐ องค์กรที่มีความยั่งยืนของโลก (Most Sustainable Corporations) และ ๑ ใน ๑๐๐ ขององค์กรที่มีการพัฒนาด้านนวัตกรรม (Most Innovative Organizations) โดยสถาบัน Thomson Reuters


การมุ่งไปสู่สังคมเครือข่ายด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ของประเทศญี่ปุ่น

          แม้ว่าญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่ให้ความส้าคัญกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมเทคโนโลยี แต่ด้วยเหตุที่จ้านวนประชากรวัยท้างานและวัยเด็กมีอัตราลดลงขณะที่ผู้สูงอายุมีจ้านวนเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นอุปสรรคส้าคัญต่อการพัฒนาประเทศ แต่ถึงกระนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นยังมีความพยายามที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีภายในประเทศให้มีความแข็งแกร่งและก้าวหน้าอยู่เสมอ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับกลไกและวิธีการพัฒนาประเทศญี่ปุ่นให้เป็นสังคมเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพในอนาคต เอกสารฉบับนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับ (๑) เริ่มต้นรู้จักกับสังคมเทคโนโลยี (๒) ผลกระทบของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ต่อสังคมมนุษย์ (๓) ระบบเครือข่ายปัญญาประดิษฐ์ (๔) ความร่วมมือระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (๕) ยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และ (๖) บทสรุปและข้อเสนอแนะ


ผลกระทบและอุปสรรคของปัญญาประดิษฐ์ต่อรัฐบาลญี่ปุ่น

          สรุปสาระสาคัญของรายงานเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และสังคมมนุษย์ (Report on Artificial Intelligence and Human Society) จัดทำโดยคณะกรรมการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์และสังคมมนุษย์ (the Advisory Board on Artificial Intelligence and Human Society)


การใช้ปัญญาประดิษฐ์และข้อพิจารณาด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

               การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในประเทศญี่ปุ่นได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้ในสาขาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและแม่นยำในการวินิจฉัยโรค การนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาความม่ันคงปลอดภัยสาธารณะ เช่น วงจรปิดบนถนนสายต่าง ๆ ที่นอกจากจะให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสภาพการจราจรและความหนาแน่นของประชากรแล้ว ยังสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกของแต่ละบุคคลที่ผ่านไปมาในแต่ละบริเวณได้อย่างแม่นยำ ตลอดจนการนำมาใช้ในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ   อย่างไรก็ดี ทั้งนักวิชาการและประชาชนต่างก็ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลและความปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ตามลำดับดังนี้ (๑) ปัญญาประดิษฐ์คืออะไร (๒) การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในปัจจุบันและความเป็นไปได้เกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในอนาคต (๓) การวิเคราะห์ความเสี่ยง และ (๔) ข้อพิจาณาด้านกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ 


การค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : เมียนมา

                              บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ภายในประเทศสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยทำการศึกษาต่อเนื่องจากกรณีศึกษาการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน สปป.ลาว  เวียดนาม และมาเลเซีย  ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (Trafficking in Persons Report June 2017) ที่จัดทำขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ โดยบทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในเมียนมาซึ่งเป็น ๑ ใน ๓ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier 2 Watch list ของการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐

 
 


การค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : สาธารณรัฐมาเลเซีย

                                  บทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ภายในประเทศสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยทำการศึกษาต่อเนื่องจากกรณีศึกษาการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน สปป.ลาว และเวียดนาม ซึ่งอยู่ระหว่างการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (Trafficking in Persons Report June 2017)  ที่จัดทำขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา โดยบทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในมาเลเซียซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier 2 ของการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐

 
 


การส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัล และการบริหารจัดการด้านแรงงานและการประกันสังคมของสาธารณรัฐเอสโตเนีย

การส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัล และการบริหารจัดการด้านแรงงานและการประกันสังคม ของสาธารณรัฐเอสโตเนีย
สรุปผลการประชุมด้านการร่างกฎหมาย ณ สาธารณรัฐเอสโตเนีย ระหว่างวันที่ ๓๑ กรกฎาคม - ๔ สิงหาคม ๒๕๖๐


ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน (Mutual Recognition Arrangements: MRAs)

                           ข้อตกลงยอมรับร่วม หรือ MutualRecognitionArrangements: MRAs เป็นข้อตกลงที่เป็นการกำหนดเงื่อนไขของการยอมรับร่วมกันระหว่างคู่ภาค


สรุปผลการศึกษายุทธศาสตร์ฉบับใหม่ด้านหุ่นยนต์ของประเทศญี่ปุ่น

นับตั้งแต่ทศวรรษที่ ๑๙๘๐ เป็นต้นมา วิวัฒนาการของหุ่นยนต์ในญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วและมีผลต่อวงการอุตสาหกรรมและภาคการผลิตเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอุตสาหกรรมด้านยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยผลักดันให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศอันดับหนึ่งของโลกในการนำหุ่นยนต์มาใช้ในชีวิตประจำวัน


การกำกับดูแลเทคโนโลยีทางการเงินกับ Blockchain และเงินตราเสมือน (Virtual Currency) กรณีศึกษา : ประเทศสิงคโปร์

บทความนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีทางการเงินกับ Blockchian และเงินตราเสมือน รวมถึงการกำกับดูแลเทคโนโลยีดังกล่าวในสิงคโปร์ ในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศไทย


ปัญญาประดิษฐ์ (ARTIFICIAL INTELLIGENCE: AI) (ส่วนที่ ๒)

บรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) โดย ผศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย และอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) (ส่วนที่ ๑)

                                       บรรยายพิเศษ เรื่อง ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) โดย ผศ.ดร.จิรพล สังข์โพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและวิจัย และอาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ความร่วมมืออาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้แผนงานประชาคมอาเซียน พ.ศ.๒๕๕๙ - ๒๕๖๘

เพื่อส่งเสริมและร่วมมือในเรื่องสันติภาพ ความมั่นคง เศรษฐกิจ องค์ความรู้ สังคมและวัฒนธรรม บนพื้นฐานความเท่าเทียมกันและผลประโยชน์ร่วมกันนั้น การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก แต่การจะบรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นประชาคมอาเซียนที่มั่นคงยั่งยืนในทุกด้านได้นั้น จำต้องอาศัยปัจจัยนานัปการเป็นตัวขับเคลื่อน และการมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ มั่นคง และมีความปลอดภัย ก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนอาเซียน


กฎหมาย และการจัดการสิ่งแวดล้อม ของเครือรัฐออสเตรเลีย

โดยที่ประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเป็นเรื่องที่อยู่ ภายใต้การดำเนินงานของประซาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และเป็นประเด็นที่ได้รับ การผลักดันทั้งในบริบทของอาเซียนและระดับสหประซาชาติ ซึ่งในปัจจุบัน การขยายตัว ทางเศรษฐกิจและการเติบโตของเมืองได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสภาพแวดล้อม เกิดปัญหา ขยะ นํ้า และสารพิษ ตลอดจนผลกระทบต่อระบบนิเวศอันเนื่องมาจากปริมาณสารพิษที่เพิ่มมากขึ้น และปริมาณทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและสมดุล จึงเป็นประเด็นพื้นฐานที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ


ผลกระทบของ ACD ต่อประเทศไทยและ ASEAN

สำหรับช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานั้น ประชาชนคนไทยคงได้ยินคำว่า “ACD” อยู่บ้างไม่มากก็น้อย สำหรับสัปดาห์นี้เราจึงจะนำประเด็น ACD ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์โลกปัจจุบันและอนาคต เพื่อทำความเข้าใจและพร้อมรับมือกับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี อีกทั้งผลกระทบที่มีต่อประชาคมอาเซียนอีกด้วย


ประวัติการประชุม Asia Cooperation Dialogue และจุดประสงค์ของการประชุม

การประชุมความร่วมมือเอเชียจัดขึ้นที่ประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๘ - ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยการประชุมมีขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ 


บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องการตรวจสอบพันธกรณีด้านกฎหมายเพื่อเข้าประชาคมอาเซียน

ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[1] เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภารกิจที่สำคัญของคณะกรรมการศูนย์อำนวยการฯ คือ การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และท่าทีของไทยในการดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน รวมทั้งพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ ประธานคณะกรรมการศูนย์อำนวยการ
เตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[2] ให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนและลำดับการเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง และความซ้ำซ้อนในการเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน



    © 2017 Office of the Council of State.