BANNER

ประวัติการประชุม Asia Cooperation Dialogue และจุดประสงค์ของการประชุม


 บทความ      10 Oct 2016

  


ประวัติการประชุม Asia Cooperation Dialogue และจุดประสงค์ของการประชุม​
 
การประชุมความร่วมมือเอเชียจัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่ประเทศไทย การประชุมครั้งแรกมีประเทศในภูมิภาคเอเชียเข้าร่วมถึง ๑๘ ประเทศโดยแต่ละประเทศได้ส่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมประชุม จุดประสงค์ของการการประชุมความร่วมมือเอเชียมีขึ้นเพื่อที่จะต้องการให้ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียรรวมเป็นประชาคมหนึ่งเดียวกันเพื่อสร้างเสริมความแข็งแกร่งในทางเศรษฐกิจโดยอาศัยทรัพยากรที่มีอยู่หลากหลาย ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ที่ประชุมได้เสนอว่าควรให้มีการแยกการดำเนินเป็น ๒ ด้าน คือ


ด้านการประชุมหารือ การประชุมความร่วมมือเอเชียสำหรับรัฐมนตรีจะจัดขึ้นเป็นประชุมทุกปีโดยหัวข้อในการประชุมคือการหารือเกี่ยวกับ การพัฒนาความร่วมมือ ปัญหาภายในภูมิภาคเอเชีย นอกจากการประชุมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีแล้ว ในการประชุมทั่วไปของ UN เดือนกันยายน ประเทศสมาชิกจะมีการหารือนอกรอบช่วงระหว่างการประชุมทั่วไป UN เพื่อเป็นการสอบถามความคืบหน้าต่าง ๆ  เช่นในเรื่องโครงการตามความร่วมมือ และหารือปัญหาระดับนานาชาติเพื่อที่จะแสวงหาจุดยืนของภูมิภาคเอเชีย  

ด้านการทำโครงการร่วมกัน การจัดทำโครงร่วมกันมีมากถึง ๒๐ ด้านความร่วมมือซึ่งแต่ละด้านความร่วมมือจะมีประเทศผู้รับผิดชอบหลักปัจจุบันมีความร่วมมือเช่น พลังงาน เกษตรกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ การท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ การศึกษาทางอิเล็กทรอนิกส์ และความร่วมมือทางด้านการเงิน

ปัจจุบันประเทศที่เข้าร่วมประชุมมี ๓๔ ประเทศประกอบด้วย บาเรน บังคลาเทศ บรูไนดารุสซาลาม ภูฏาน กัมพูชา จีน อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน ญี่ปุ่น คาซัคสถาน เกาหลีใต้ คูเวต คีร์กีซสถาน ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย เมียนมา ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โอมาน กาต้า รัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย สิงคโปร์ สีลังกา ทาจิกิสถาน ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาเซอร์ไบจาน เวียดนาม อัฟกานิสถาน ตุรกี และเนปาล

วัตถุประสงค์ของการประชุม
เพื่อที่จะให้สนับสนุนเสรีภาพระหว่างประเทศเอเชียด้วยกันและร่วมมือกันเพื่อที่จะหาจุดแข็งและโอกาสการพัฒนาของประเทศสมาชิกซึ่งจุดแข็งและโอกาสการพัฒนาดังกล่าวจะช่วยให้ลดความยากจนและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชียและในขณะเดียวกันก็จะพัฒนาให้เกิดสังคมอุดมปัญญาในเอเชีย

เพื่อที่จะขยายตลาดการค้าและตลาดการเงินของเอเชียและเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองของประเทศเอเชียในเวทีโลก เพื่อที่จะทำให้ศักยภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเอเชียต่อตลาดโลกมีมากขึ้น

เพื่อเป็นเวทีเชื่อมความร่วมมือในเอเชียเข้าด้วยกันโดยอาศัยศักยภาพและจุดแข็งด้วยการเกื้อหนุนซึ่งกันและกันผ่านทางกรอบความร่วมมือต่าง ๆ โดยที่ในอนาคตจะสามารถเป็นหุ้นส่วนสำคัญกับภูมิภาคอื่นได้

เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงทวีปเอเชียให้เป็นสมาคมเอเชีย ซึ่งสมาคมเอเชียจะมีศักยภาพในการปฏิสัมพันธ์กับโลกในฐานะที่เท่ากันและรวมสร้างสิ่งดีให้เกิดขึ้นกับโลกเพื่อนำมาซึ่งความสงบสุขและความมั่งคั่ง

© 2017 Office of the Council of State.