BANNER

โรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์กับความท้าทายของรัฐและสังคมระหว่างประเทศ (๒)


 บทความ      28 Feb 2020

  


ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประสบปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสซึ่งเป็นที่มาของโรคระบาดอย่างรุนแรงภายในภูมิภาค เช่น กรณีการระบาดของเชื้อไวรัส Human immunodeficiency virus หรือเชื้อ HIV สาเหตุของโรคเอดส์ กรณีการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ H5N1 สาเหตุของโรคไข้หวัดนก เมื่อระหว่างปี พ.ศ. ๒๐๐๓ - ๒๐๐๔ การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสาเหตุของโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome: SARS) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ และโรคเมอร์ส (Middle East respiratory syndrome coronavirus: MERS-CoV) รวมถึงการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙ (Coronavirus Disease-2019: COVID-19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ในปี ค.ศ. ๒๐๑๙ เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียและได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วยังภูมิภาคอื่นทั่วโลกภายในระยะเวลา ๓ เดือน  ทั้งนี้ การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสและโรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้ปัญหาดังกล่าวยากต่อการจัดการและควบคุม โรคระบาดและโรคอุบัติใหม่จึงกลายเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงในทางระหว่างประเทศในฐานะของภัยคุกคามความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของประชาชนเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลอย่างมีนัยสำคัญต่อรัฐในด้านอื่น บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการอภิปรายเกี่ยวกับภาพรวมเรื่องโรคระบาดและผลกระทบจากวิกฤตการระบาดของโรคติดต่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยแบ่งเป็น ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ โลกาภิวัตน์กับโรคระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และส่วนที่ ๒ โรคระบาดในฐานะของภัยคุกคามที่ท้าทายรัฐและสังคมระหว่างประเทศ

ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็ม: โรคระบาดในยุคโลกาภิวัตน์กับความท้าทายของรัฐและสังคมระหว่างประเทศ (๒).pdf

© 2017 Office of the Council of State.