เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๖๕ ประเทศไทยและเวียดนามได้จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพ ซึ่งเป็นการทบทวนผลการดำเนินงานความร่วมมือด้านการค้านับตั้งแต่ที่ได้มีการจัดประชุม ครั้งที่ ๓ ในปี ๒๕๖๑ โดยการประชุมในครั้งนี้ได้มีการพิจารณาแนวทางและแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการค้ารูปแบบทวิภาคี โดยมีเป้าหมายให้มีมูลค่าการค้าระหว่างกันเพิ่มมากขึ้นเป็น ๒๕ พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมในปี ๒๕๖๔ ที่มีมูลค่า ๑๘.๘ พันล้านเหรียญสหรัฐ
เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ประเทศเลโซโท ประเทศไทย และประเทศเวียดนาม ได้ร่วมลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาพหุภาคีเพื่อดำเนินมาตรการเกี่ยวกับอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในการป้องกัน การกัดกร่อนฐานภาษีและโยกย้ายกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ (Multilateral Convention to Implement Tax Treaty Related Measures to Prevent Base Erosion and Profit Shifting : MLI)
ประเทศไทยกับการเข้าเป็นสมาชิก HCCH
เมื่อวันที่ ๑๙ ถึง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้จัดการประชุม the 3rd AICHR Regional Dialogue on the Mainstreaming of the Rights of Persons with Disabilities in the ASEAN Community ขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย
คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights – AICHR) ได้จัดการประชุมสมัยพิเศษขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๑๗ - ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ โดยมีนาย Leo Herrera-Lim ผู้แทนจากฟิลิปปินส์ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม
แผนงานรองรับพันธกรณี หมายถึง แผนงานที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการเพื่อรองรับพันธกรณีหรือที่จะต้องมีการออก/แก้ไข/ปรับปรุงเพื่ออนุวัติการ
ให้เป็นไปตามพันธกรณี โดย (๑) พันธกรณีดังกล่าวได้กำหนดไว้ในความตกลงที่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมาย (๒) เป็นความตกลงที่ได้ทำ/จะทำขึ้นระหว่างประเทศไทย/รัฐบาลไทย ได้ทำกับประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ หรือความตกลงที่อาเซียนทำกับประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศ (๓) ไม่ว่าความตกลงนั้นจะใช้ชื่ออย่างไร
เช่น สนธิสัญญา/อนุสัญญา/กฎบัตร ฯลฯ และ (๔) ไม่ว่าความตกลงนั้นมีผลบังคับใช้แล้ว หรืออยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลง/ลงนาม/ให้สัตยาบัน ซึ่งคาดว่าประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามความตกลงภายใน ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๐
พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวว่า ระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia – Malaysia - Thailand Growth Triangle :IMT-GT) ครั้งที่ 10 ที่ผ่านมา ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2560 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เสนอความคิดเพื่อจัดตั้งเครือข่ายการขนส่งข้ามพรมแดน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ การค้า และความร่วมมือระหว่างสามประเทศสมาชิก
ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตอร์เต ได้เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๐ วัตถุประสงค์ของการเยือนประเทศไทยก็เพื่อสานสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียนโดยที่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ได้หารือความร่วมมือและได้ข้อสรุปกับนายกรัฐมนตรีประเทศไทยในด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้
คำอธิบายการลงข้อมูลแผนงานรองรับพันธกรณีภายใต้ประชาคมอาเซียน
สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเปิดตัวแอปเคพลิชันภาษาอาเซียน ฉบับราชบัณฑิตยสภา จุดประสงค์ของการจัดทำคือมีขึ้นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียนและเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการอยู่รวมกันเป็นประชาคมอาเซียน
(ASEAN Finance Ministers and Central Bank Governors’ Meeting : AFMGM) มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาตลาดทุนอาเซียนเพื่อลดการพึ่งพาการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตการเงิน ซึ่งประเทศไทยได้รับมอบหมายให้เป็นประธาน WC-CMD ร่วมกับ สปป. ลาว ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2559 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี
ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์อำนวยการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[1] เพื่อให้การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยเป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภารกิจที่สำคัญของคณะกรรมการศูนย์อำนวยการฯ คือ การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง และท่าทีของไทยในการดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน รวมทั้งพิจารณาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายการต่างประเทศ ประธานคณะกรรมการศูนย์อำนวยการ
เตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ได้แต่งตั้งคณะทำงานด้านกฎหมายเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน[2] ให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำแผนและลำดับการเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน รวมทั้งตรวจสอบความครบถ้วนถูกต้อง และความซ้ำซ้อนในการเสนอกฎหมายเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
© 2017 Office of the Council of State.