ภาพจาก asean.org
เมื่อระหว่างวันที่ ๑๙ ถึง ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๐ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลของอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้จัดการประชุม the 3
rd AICHR Regional Dialogue on the Mainstreaming of the Rights of Persons with Disabilities in the ASEAN Community ขึ้นที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย โดยการประชุมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนรวมญี่ปุ่น อาเซียน (JAIF) และความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย โดยมี AICHR และหน่วยงานต่าง ๆ ของอาเซียนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม ได้แก่ เจ้าหน้าที่กฎหมายอาวุโสอาเซียน (ASEAN Senior Law Officials Meeting) คณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management) เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (Senior Officials Meeting on Social Welfare and Development) คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็ก สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children; National Human Rights Institutions) องค์การเพื่อคนพิการ (Disabled People’s Organizations) และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรระดับภูมิภาคและระดับสากล สำหรับประเทศไทยนั้นมีดร.เสรี นนทสูติ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลของอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนร่วมและหน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทย ได้แก่ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ศาลปกครอง สำนักงานประกันสังคม สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ รวมทั้งเครือข่ายการเข้าถึงการเลือกตั้งทั่วไปของคนพิการ (General Election Network for Disability Access) และศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก(Asia-Pacific Development Centre on Disability) เข้าร่วมในการประชุมดังกล่าวด้วย
ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับประเด็นการเข้าถึงความยุติธรรมของคนพิการ คนพิการในฐานะผู้ประกอบการ และมุมมองของคนพิการในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ รวมทั้งหารือเกี่ยวกับร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคเรื่องการกำหนดสิทธิของคนพิการในอาเซียนโดยได้คำนึงถึงประเด็นสำคัญที่ระบุไว้ใน
Mobilisation Framework of ASEAN Decade of Persons with Disabilities 2011-2020
นอกจากที่ผู้เข้าร่วมการประชุมได้แบ่งปันประสบการณ์และความท้าทายใน ๓ ประเด็นข้างต้นแล้ว พวกเขายังได้แลกเปลี่ยนมุมมองและเสนอแผนปฏิบัติการในภูมิภาคซึ่งขณะนี้ได้อยู่ในระหว่างการยกร่างแผนโดยคณะทำงานด้านการบูรณาการสิทธิของคนพิการในประชาคมอาเซียน (Task force on the Mainstreaming of the Rights of Persons with Disabilities in the ASEAN community) สำหรับประเด็นเรื่องการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมนั้น ที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงมีความจำเป็นในการให้อำนาจแก่คนพิการเพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาตระหนักรู้ถึงสิทธิของตนเอง
นายมณเฑียร บุญตัน สมาชิกคณะกรรมาธิการสิทธิคนพิการได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีการประเมินผลกระทบด้านการเข้าถึงธุรกิจในอาเซียนที่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้มั่นใจว่าคนพิการสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมการประชุมก็ยังได้ให้ความสำคัญกับการประกันสิทธิของคนพิการในการทำงาน การจ้างงาน และการเริ่มต้นธุรกิจ ตามที่ได้มีการกำหนดไว้ในข้อบท ๒๗ แห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องสิทธิของคนพิการ (United Nations Convention on the Rights of Persons with Disabilities) ซึ่งเป็นเอกสารด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับล่าสุดที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศได้ให้สัตยาบัน อย่างไรก็ตาม การตระหนักถึงสิทธิของผู้พิการในสังคม รวมทั้งการที่ผู้พิการจะมีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจในฐานะผู้ประกอบการยังมีอุปสรรคขัดขวาง เช่น มลลักษณ์ทางสังคม
[1] (social stigma) การไม่สามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูล และการขนส่ง
นอกจากนี้ การประชุมยังได้ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้ที่เพียงพอแก่ผู้พิการและเด็กพิการในการเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติอีกด้วย รวมทั้งเน้นย้ำประเด็นเรื่องการมีส่วนร่วมของคนพิการในการกำหนดนโยบาย เพื่อสร้างหลักประกันและสร้างเสริมให้มีการปฏิบัติตามสิทธิของคนพิการอย่างเต็มที่
เรียบเรียงจาก http://asean.org/asean-to-further-empower-persons-with-disabilities/
[1] หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แห่งความอัปยศหรือความเสื่อมเกียรติที่สังคมตราให้แก่บุคคลหรือกลุ่มบุคคลอันเนื่องมาจากความผิดปรกติทางร่างกาย หรือพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานทางสังคม หรือผิดจริยธรรม หรือ
ความเป็นชาติพันธุ์ที่ด้อยของบุคคลหรือกลุ่มคนนั้น