BANNER


ข่าวต่างประเทศ




สเปนผ่านร่างกฎหมายให้สิทธิในการยุติการตั้งครรภ์ สิทธิของบุคคลข้ามเพศและสิทธิสตรีในการลาหยุดงานระหว่างการมีประจำเดือน

สเปนผ่านร่างกฎหมายที่ให้สิทธิในการยุติการตั้งครรภ์และสิทธิของบุคคลข้ามเพศในวัยรุ่น รวมถึงร่างกฎหมายที่ให้สิทธิสตรีในการลาหยุดงานระหว่างการมีประจำเดือน ซึ่งกฎหมายดังกล่าวได้รับการผลักดันโดยรัฐมนตรีประจำกระทรวงความเสมอภาคของสเปน


รัฐ Montana เป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่ผ่านร่างกฎหมายห้ามใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งมีผลบังคับใช้ต้นปีหน้า

สภาผู้แทนราษฎรของรัฐ Montana ของสหรัฐอเมริกาเห็นชอบร่างกฎหมาย ห้ามใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งรัฐ Montana เป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่ผ่านร่างกฎหมายห้ามใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok ในอุปกรณ์สื่อสารส่วนตัว


ฝรั่งเศสออกร่างกฎหมายปฏิรูปเงินบำนาญ สร้างความไม่พอใจแก่ประชาชน

รัฐบาลฝรั่งเศสได้ผ่านร่างกฎหมายปฏิรูประบบบำนาญที่ผลักดันโดยประธานาธิบดี Emmanuel Macron โดยให้เพิ่มอายุเกษียณจาก ๖๒ เป็น ๖๔ ปี


จอร์เจียถอนร่างกฎหมายตัวแทนต่างชาติ หลังมีกระแสประท้วงรุนแรง

พรรครัฐบาล Georgian Dream ของประเทศจอร์เจียถอนร่างกฎหมายว่าด้วยความโปร่งใสจากอิทธิพลต่างชาติ (Law on Transparency of Foreign Influence) หรือร่างกฎหมายตัวแทนต่างชาติ หลังจากมีกระแสต่อต้านอย่างรุนแรง


นักวิชาการมหาวิทยาลัยและกลุ่มนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงานไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมาย Strikes (Minimum Services Levels) ของสหราชอาณาจักรที่จำกัดสิทธิของลูกจ้างในการนัดหยุดงาน

กลุ่มนักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายแรงงาน กล่าวว่า กฎหมายใหม่ที่ต่อต้านสหภาพแรงงานของนายริชี ซูแน็ก นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร จะทำให้ประเทศสหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากที่สุดในกลุ่มประเทศประชาธิปไตยในการนัดหยุดงานเพื่อประท้วงและละเมิดพันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ


รัฐสภาของยูกันดาผ่านร่างกฎหมาย Anti Homosexuality bill 2023 ที่ต่อต้านกลุ่มบุคคลที่มีรสนิยมหลากหลายทางเพศ (LGBTQ)

ผู้ร่างกฎหมายของยูกันดาเห็นชอบร่างกฎหมาย Anti Homosexuality bill 2023 ที่เป็นการต่อต้านกลุ่ม LGBTQ ที่รุนแรงที่สุดในโลก โดยกำหนดให้การกระทำความผิดบางประเภทมีอัตราโทษประหารชีวิตและเพิ่มอัตราโทษจำคุกสูงสุดถึงยี่สิบปีสำหรับประชาชนที่ถูกระบุว่าเป็น LGBTQ+
 


ญี่ปุ่นเพิ่มอายุเกษียณของข้าราชการพลเรือนในวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖

อายุเกษียณของข้าราชการพลเรือนทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่นของญี่ปุ่นได้เพิ่มเป็นอายุ ๖๑ ปี ในต้นเดือนเมษายนจากปัจจุบันที่กำหนดอายุในการเกษียณไว้ที่ ๖๐  ปี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่สะท้อนถึงจำนวนประชากรที่ลดลงของประเทศ


ศาลเกาหลีใต้ตัดสินให้ยึดสิทธิบัตรของบริษัท มิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ ของญี่ปุ่นในคดีแรงงานช่วงสงคราม

ศาลเกาหลีใต้เห็นชอบในการยึดสิทธิบัตรของบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ของญี่ปุ่น ซึ่งโจทก์ทั้งสี่เป็นอดีตคนงาน ๒ คนและครอบครัวของคนงานที่เสียชีวิตไปแล้ว ๒ คน ของเกาหลีใต้ โดยมีการยื่นฟ้องคดีเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ และ ๒๕๕๘ เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ ของญี่ปุ่นในคดีแรงงานในช่วงสงคราม โดยฝ่ายโจทก์กล่าวอ้างว่าพวกเขาถูกบังคับให้ทำงานให้แก่บริษัทในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒


การเรียกร้องให้รัฐบาลแคนาดาผ่านกฎหมายที่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ซึ่งมีอาการป่วยระยะสุดท้ายเสียชีวิตด้วยการช่วยเหลือในการฆ่าตัวตายซึ่งใกล้เคียงกับการการุณยฆาต (Euthanize)

ในประเทศแคนาดา กลุ่มนักรณรงค์ได้วิพากษ์วิจารณ์แผนของคณะกรรมการรัฐสภาแคนาดาในการขยายโปรแกรมเรื่องการช่วยเหลือในการฆ่าตัวตายเพื่อใช้บังคับรวมถึงเด็กที่ป่วยระยะสุดท้าย จากรายงานและข้อแนะนำดังกล่าวที่ได้มีการปรึกษาหารือในชั้นของสภาผู้แทนราษฎร ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอาจกระตุ้นให้มีการแก้ไขกฎหมายที่ช่วยเหลือในการฆ่าตัวตายตายของแคนาดาโดยเร็วภายในปีนี้


 


โจทก์ผู้ถูกถอนสัญชาติญี่ปุ่นตามกฎหมายสัญชาติของญี่ปุ่นจะนำคดีขึ้นสู่ศาลสูงสุด (Supreme Court) ของญี่ปุ่น

โจทก์ผู้ต่อสู้คดีทางกฎหมายในเรื่องกฎหมายสัญชาติของญี่ปุ่นที่ห้ามถือสองสัญชาติกล่าวว่าพวกเขาจะนำคดีขึ้นสู่ศาลสูงสุด (Supreme Court) ของญี่ปุ่น โจทก์และทนายความโจทก์ได้ประชุมกันในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๒๓ ซึ่งการประชุมได้เกิดขึ้นหลังจาก Tokyo High Court เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลล่างโดยพิพากษายืนตามศาลล่างที่ได้ยกฟ้องของโจทก์ที่ได้เรียกร้องว่าการห้ามถือสองสัญชาตินั้นเป็นการฝ่าฝืนสิทธิของโจทก์ตามรัฐธรรมนูญ
 


ศาลญี่ปุ่นมีคำสั่งให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายจากการบังคับให้บุคคลทำหมันตามกฎหมายคุ้มครองสุพันธุศาสตร์ ค.ศ. ๑๙๔๘ ที่ไม่มีผลใช้บังคับแล้วในปัจจุบัน

ในจังหวัดชิซูโอกะ ศาลญี่ปุ่นได้มีคำสั่งให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้หญิงซึ่งถูกบังคับทำหมัน ภายใต้กฎหมายกฎหมายคุ้มครองสุพันธุศาสตร์ (Eugenic Protection Law :EPL)  ค.ศ. ๑๙๔๘ ที่ได้ถูกยกเลิกแล้ว
 


นักรณรงค์ได้กล่าวชื่นชมกฎหมายที่เพิ่มอายุขั้นต่ำของบุคคลในการแต่งงานเป็น ๑๘ ปี ในอังกฤษและเวลส์

นักรณรงค์ชื่นชมกฎหมายที่ได้กำหนดการเพิ่มอายุขั้นต่ำทางกฎหมายในการแต่งงานของอังกฤษและเวลส์ซึ่งมีความสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเด็ก โดยที่กฎหมาย The Marriage and Civil Partnership (Minimum Age) Act นั้น ได้มีการออกใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๒๓ หลังจากการที่มีการจัดแคมเปญเป็นเวลาห้าปี ในการป้องกันเด็กอายุ ๑๖ และ ๑๗ ปี จากการแต่งงานหรือการเข้าเป็นหุ้นส่วนทางแพ่ง ถึงแม้ว่าเด็กนั้นได้รับความยินยอมจากทางครอบครัวก็ตาม

 


แคนาดาออกกฎหมายห้ามชาวต่างชาติซื้อที่อยู่อาศัยเป็นระยะเวลา ๒ ปี เพื่อแก้ไขปัญหาราคาอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูง

เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๖ รัฐบาลแคนาดาได้เริ่มบังคับใช้กฎหมายซึ่งห้ามมิให้คนต่างชาติที่ซึ่งมิใช่ชาวแคนาดารวมถึงผู้ที่มีสิทธิพำนักถาวรในแคนาดา (permanent residents) ซื้อที่อยู่อาศัย และกำหนดค่าปรับถึง ๑๐,๐๐๐ ดอลลาร์สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว


ร่างกฎหมายควบคุมเขตปกครองพิเศษซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนสนุกชื่อดัง อย่าง Walt Disney ในรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา ของสหรัฐอเมริกา ลงนามในร่างกฎหมายที่เข้าควบคุมเขตปกครองพิเศษ ของ Walt Disney ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนสนุกและโรงแรมหลายแห่งมาอย่างยาวนาน


กฎหมายใหม่ของฮ่องกงกำหนดให้สารสกัด CBD จากกัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายเทียบเท่าเฮโรอีนและโคเคน

ในวันพุธที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๖ ฮ่องกงมีการบังคับใช้กฎหมายใหม่ที่กำหนดให้การครอบครอง การบริโภค และการจำหน่ายสารสกัด Cannabidiol (CBD) จากกัญชาเป็นสิ่งผิดกฎหมายและมีโทษทางอาญา
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


กระทรวงยุติธรรมประเทศญี่ปุ่นเสนอแก้ไขกฎหมายเพิ่มอายุความยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์จาก ๑๓ ปี เป็น ๑๖ ปีเพื่อคุ้มครองเด็กและเยาวชน

ด้วยความกังวลในเรื่องอาชญากรรมทางเพศที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะในกลุ่มของผู้เยาว์ คณะกรรมาธิการของกระทรวงยุติธรรมญี่ปุ่นจึงเสนอให้เพิ่มอายุความยินยอมในการมีเพศสัมพันธ์ตามกฎหมายจาก ๑๓ ปีเป็น ๑๖ ปี


บริษัทหลายแห่งในประเทศอังกฤษเตรียมขับเคลื่อนร่างกฎหมายลดวันทำงานให้พนักงานเป็น ๔ วันต่อสัปดาห์

อังกฤษเตรียมเสนอร่างกฎหมายลดวันทำงาน เนื่องจากที่ผ่านมาประเทศอังกฤษมีโครงการ 4 Day Week Campaign เพื่อพิสูจน์ว่าการลดวันทำงานเป็น ๔ วันต่อสัปดาห์จะทำให้พนักงานมีความสุขมากขึ้น


นิวยอร์กออกกฎหมายใหม่ห้ามร้านค้าขายสัตว์เลี้ยงตั้งแต่ปี ๒๕๖๗ เป็นต้นไป

เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ รัฐนิวยอร์กออกกฎหมายใหม่ห้ามร้านค้าสัตว์เลี้ยงมิให้ขายสัตว์เลี้ยงประเภทสุนัข แมว และกระต่าย มีผลตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๗ เป็นต้นไป
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


อินเดียออกกฎระเบียบข้อบังคับเพื่อกำกับดูแลเกมออนไลน์ที่ใช้เงินจริงทั้งหมด

ในวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ กฎระเบียบข้อบังคับใหม่ในการกำกับดูแลเกมออนไลน์จะมีผลบังคับใช้กับเกมออนไลน์ที่ใช้เงินจริงทั้งหมด หลังจากที่ยกเลิกข้อบังคับเดิมที่ให้รัฐบาลกลางมีอำนาจควบคุมเฉพาะเกมที่อาศัยทักษะ (Skill games) และละเว้นการควบคุมเกมเสี่ยงโชค (Chance games)
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


บุคคลผู้ถือกำเนิดจากการข่มขืน ปัจจุบันได้รับการยอมรับว่าเป็นเหยื่ออาชญากรรมตามกฎหมายในอังกฤษและเวลส์

รัฐบาลได้ประกาศว่าร่างกฎหมายว่าด้วยเหยื่ออาชญากรรมได้ขยายความหมายของบทนิยามคำว่า “เหยื่อ” ซึ่งนอกจากจะหมายถึงเหยื่อหรือผู้เสียหายจากการกระทำความผิดแล้ว ยังรวมถึงบุคคลที่กำเนิดมาจากการกระทำความผิดฐานข่มขืนด้วย โดยอังกฤษและเวลส์จะเป็นที่แรกในโลกที่ถือว่าเด็กที่กำเนิดจากความผิดฐานข่มขืนมีสถานะเป็นเหยื่อจากการกระทำความผิดอย่างเป็นทางการ
 


เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ประกาศนโยบายทดลองลดทอนความเป็นอาชญากรรมของการใช้ยาเสพติด ทุกชนิดเป็นเวลาสามปี เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ค.ศ. ๒๐๒๓

ชาวแคนาดามีความภาคภูมิใจในความงดงามของประเทศ และความเอื้ออาทรของประชากร โดยเมืองแวนคูเวอร์ถือเป็นหนึ่งในเมืองที่มีความน่าอยู่ที่สุดในโลก
อย่างไรก็ดี ถนนอีสต์ ฮาสติงส์ (East Hastings Street) อาจมีภาพที่ไม่สวยงามนักจากเต็นท์ที่พักของกลุ่มคนไร้บ้านผู้ติดยาเสพติดบริเวณทางเดินใกล้ประตูทางเข้าออกของอาคารต่าง ๆ อย่างค่อนข้างถาวรโดยไม่ถูกดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ให้เคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ สินค้าที่อาจได้มาจากการลักทรัพย์ถูกนำมาวางขายบนทางเท้าเพื่อนำไปซื้อยาเสพติด ยาเสพติดที่กลุ่มคนเหล่านี้ใช้ เช่น เฮโรอีน แคร็กโคเคน คริสตัลเมธ และเฟนตา ซึ่งบางประเภทมีสารสังเคราะห์โอปิออยด์ที่ทำให้ผู้เสพถึงแก่ความตายได้ สารดังกล่าวรุนแรงกว่าเฮโรอีนถึงห้าสิบเท่าและคร่าชีวิตผู้เสพไปหลายพันรายในอเมริกาเหนือ
 


นิวซีแลนด์ผ่านร่างกฎหมายยาสูบฉบับใหม่ห้าม “ซื้อบุหรี่”

รัฐสภานิวซีแลนด์ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ที่มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดห้ามมิให้คนที่เกิดหลังปี ค.ศ. ๒๐๐๘ (พ.ศ. ๒๕๕๑) ซื้อบุหรี่หรือผลิตภัณฑ์ยาสูบใด ๆ เพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศปลอดบุหรี่


ฝรั่งเศสออกร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อมุ่งแก้ปัญหาผู้ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาในประเทศโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย

แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส พยายามที่จะเพิ่มอัตราการเนรเทศผู้ที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในฝรั่งเศสโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลังจากได้รับแรงกดดันจากพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม


ทอรี่ บ๊อบ ซีลีย์ สมาชิกรัฐสภากล่าวหาสำนักกฎหมายลอว์เฟิร์มในกรุงลอนดอน ของอังกฤษ

สำนักกฎหมายลอว์เฟิร์มในกรุงลอนดอนของอังกฤษได้ถูกกล่าวหาในรัฐสภาว่าได้ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่องค์กรอาชญากรรม และกลุ่มโอลิการ์ก (oligarchs) ซึ่งเป็นกลุ่มมหาเศรษฐีการเมืองของรัสเซียที่มีความสัมพันธ์กับนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดี รัสเซีย โดยทางสมาชิกรัฐสภาได้เริ่มพิจารณากฎหมายที่จะป้องกันบุคคลหรือกลุ่มบุคคล หนังสือพิมพ์ในการที่จะเสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะ


ศาลญี่ปุ่น (Tokyo District Court) มีคำสั่งให้ผู้ตัดต่อและอัปโหลดภาพยนตร์แบบ fast movie ลงช่อง Youtube ของตนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ชดใช้ค่าเสียหายห้าร้อยล้านเยน

Fast Movie” เป็นการตัดต่อภาพยนตร์ทั้งเรื่องให้เหลือแค่ประมาณ ๑๐นาที ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในกลุ่มคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นในปัจจุบัน ช่องสปอยล์ภาพยนตร์ใน Youtube ได้เกิดขึ้นมากมายซึ่งได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงโควิดที่ผ่านมา ผู้ได้รับผลกระทบคือผู้สร้างภาพยนตร์ต้นฉบับ โดยกลายเป็นช่องสปอยล์ภาพยนตร์ที่ได้รับผลตอบแทน แต่เจ้าของลิขสิทธิ์ผู้สร้างภาพยนตร์ได้แค่ชื่อเสียงในการสร้างภาพยนตร์


กฎหมาย gay propaganda ของรัสเซียที่ต่อต้านกลุ่มบุคคลที่มีรสนิยมหลากหลายทางเพศ

นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ตราบใดที่เขายังคงดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่การแต่งงานระหว่างคู่รักที่เป็นเกย์จะไม่เกิดขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายของรัสเซีย” จากคำพูดของเขาแสดงให้เห็นว่าเขาไม่สนับสนุนกลุ่ม LGBT ที่มีรสนิยมทางเพศที่หลากหลาย


คำพิพากษาศาลเนเธอร์แลนด์ในคดีที่มีผู้เข้าไปครอบครองอาคารของเศรษฐีชาวรัสเซียในประเทศเนเธอร์แลนด์

ในแง่มุมทางกฎหมายของประเทศเนเธอร์แลนด์นั้น การ squatting ไม่ได้ถูกห้ามตามกฎหมาย หากว่าอาคารเหล่านั้นไม่ได้ถูกใช้งาน โดยปล่อยทิ้งไว้ว่างเปล่ามากกว่าสิบสองเดือนและเจ้าของอาคารไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่ามีแผนที่จะเริ่มดำเนินการใช้งานอาคารเหล่านั้นอีกครั้ง  อย่างไรก็ตาม เจ้าของอาคารเหล่านั้นมีสิทธิที่จะฟ้องร้องทางแพ่งเพื่อให้ squatter เหล่านั้นย้ายออกไปได้ โดยต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีแผนที่จะใช้สอยประโยชน์อาคารเหล่านั้นภายในระยะเวลาที่มีเหตุผลพอสมควร


ศาลสูง (Supreme Court) ของสหราชอาณาจักรอนุญาตให้ลูกจ้างต่อสู้ทางกฎหมายในกรณีที่ห้างเทสโก้เลิกจ้างพนักงานและกลับมาทำสัญญาจ้างงานใหม่ที่มีเงื่อนไข ข้อตกลงต่าง ๆ เป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง

ในแง่ทางความหมายของ fire and rehire tactics”ของบริษัทใหญ่ต่าง ๆ ของสหราชอาณาจักรนั้นเป็นการที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาแก่ลูกจ้าง และเสนอจ้างงานใหม่อีกครั้งโดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงใหม่ ที่เป็นประโยชน์แก่นายจ้างกว่าเดิม เทคนิคนี้มีการใช้โดยทั่วไปเมื่อพบว่าทางนายจ้างไม่สามารถจัดการตามข้อตกลงเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาได้อันเนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป


ศาลญี่ปุ่นปฏิเสธคำร้องของประชาชนที่ขอให้หยุดการเดินเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เก่า

ศาลญี่ปุ่นได้มีคำตัดสินในวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ว่าเครื่องเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่มีอายุการใช้งาน ๔๕ ปี ที่จังหวัดฟุกุอิสามารถยังคงใช้งานต่อไปได้ โดยเป็นการปฏิเสธคำร้องขอของประชาชนที่อ้างเรื่องความปลอดภัย
คำตัดสินของศาลในคดีนี้ถือเป็นคำตัดสินแรกเกี่ยวกับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่เดินเครื่องเตาปฏิกรณ์มามากกว่า ๔๐ ปี ซึ่งคำตัดสินของศาลนั้นสอดคล้องกับความต้องการของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ต้องการใช้พลังงานนิวเคลียร์ต่อไปเพราะโลกกำลังขาดแคลนพลังงานเชื้อเพลิง และในขณะเดียวกันก็ต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในอากาศด้วย
 


มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาจะตรากฎหมายชุดใหม่ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๖

เกวิน นิวซอม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ลงนามร่างกฎหมายประมาณ ๑,๐๐๐ ฉบับเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมาย ซึ่งรวมถึงกฎหมายที่ยังมีประเด็นโต้เถียงกันอยู่ด้วย โดยร่างกฎหมายจะมีผลใช้บังคับในช่วงต้นปี ค.ศ. ๒๐๒๓


คำตัดสินของศาลสหราชอาณาจักรเรื่องแผนของรัฐบาลที่ตระเตรียมการเนรเทศผู้ที่อพยพเข้ามาในสหราชอาณาจักรไปที่รวันดา

ศาลสหราชอาณาจักรได้มีคำตัดสินว่าการที่รัฐบาลได้มีแผนตระเตรียมการที่จะส่งผู้อพยพ แรงงานข้ามชาติ ที่เข้ามาในสหราชอาณาจักรโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปที่รวันดานั้นถือว่าเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยกล่าวว่า แผนของรัฐบาลนั้นสอดคล้องกับ UN Refugee Convention และกฎหมายภายในประเทศ


สเปนออกกฎหมายบังคับให้บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ต้องจ่ายค่าเก็บกวาดก้นบุหรี่

กฎระเบียบข้อบังคับใหม่ของสเปนกำหนดให้บริษัทผู้ผลิตบุหรี่ต้องจ่ายเงินสำหรับค่าเก็บกวาดก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้งเกลื่อนอยู่ตามท้องถนนและบนชายหาด วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เป็นไปเพื่อให้ผู้ผลิตบุหรี่มีส่วนรับผิดชอบในการเก็บกวาดก้นบุหรี่ที่ถูกทิ้ง


รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมเมืองเจอร์ซีย์เสนอกฎหมายใหม่บังคับให้ร้านอาหารและร้านกาแฟติดฉลากสารก่อภูมิแพ้ในเมนูอาหาร

รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของเมืองเจอร์ซีย์ซึ่งเป็นเกาะหนึ่งภายใต้อธิปไตยของอังกฤษวางแผนที่จะดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อเสนอกฎหมายใหม่ในที่ประชุมของรัฐสภาเพื่อลงคะแนนเสียงบังคับให้ร้านอาหารและร้านกาแฟติดฉลากเพื่อแสดงถึงสารก่อภูมิแพ้ในเมนูอาหาร


นโยบายเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำของกลุ่มประเทศสมาชิก APEC

ผลกระทบร้ายแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผู้คนและเศรษฐกิจได้กระตุ้นให้กลุ่มประเทศสมาชิกเอเปคมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงความเสมอภาคและการรร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างรอบด้าน


นิวยอร์กผ่านร่างกฎหมายให้นำศพมนุษย์มาทำเป็นปุ๋ยช่วยลดมลพิษ

ปัจจุบัน ผู้คนสามารถทำให้ร่างกายของพวกเขากลายเป็นดินได้หลังจากเสียชีวิต หรือที่เรียกว่า “การย่อยสลายอินทรีย์ตามธรรมชาติ (Natural Organic Reduction)” โดยนิวยอร์กเป็นรัฐที่ ๖ ในสหรัฐฯ ที่อนุมัติการจัดการศพทางเลือก ด้วยการปล่อยให้ร่างผู้เสียชีวิตย่อยสลายไปเองตามธรรมชาติ


Facebook ขู่จะลบข่าวสารทั้งหมดออกจากแพลตฟอร์มในสหรัฐฯ หากสภาคองเกรสผ่านร่างกฎหมาย JCPA เพื่อแบ่งรายได้ให้กับสื่อท้องถิ่น

บริษัท Meta ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของแพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook ขู่ว่าจะลบข่าวสารทั้งหมดออกจากแพลตฟอร์มในสหรัฐฯ หากรัฐสภาของสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันและปกป้ององค์กรสื่อมวลชน (Journalism Competition and Preservation Act: JCPA)


สหภาพยุโรปมีมติเห็นชอบกฎหมายป้องกันการนำเข้าสินค้าที่เชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่า

สหภาพยุโรปได้ลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายใหม่ ที่มีวัตถุประสงค์ป้องกันบริษัทที่ขายสินค้าจำพวกกาแฟ เนื้อวัว ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าทั่วโลกมิให้ขายสินค้าให้กับสหภาพยุโรป


รัฐสภาอินโดนีเซียมีมติผ่านร่างกฎหมาย ห้ามมีเพศสัมพันธ์นอกสมรสและอยู่กินก่อนการสมรส ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก

สมาชิกรัฐสภาของอินโดนีเซียลงมติเป็นเอกฉันท์ผ่านร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เมื่อวันอังคารที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ซึ่งกำหนดให้การมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน หรืออยู่กินก่อนแต่งงานเป็นความผิดอาญา มีโทษจำคุกสูงสุด ๑ ปี


สรุปประเด็นสำคัญในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ ๒๗ (COP27) ที่ประเทศอียิปต์

การประชุม COP27 หรือ การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ ๒๗ ที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ เกือบ ๒๐๐ ประเทศที่เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of Parties: COP) ได้บรรลุข้อตกลงสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ


การรับรองสถานะคู่ชีวิตสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน ประเทศญี่ปุ่น

กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มมีการออกใบรับรองการเป็นหุ้นส่วนชีวิต (Partnership Certificate) ให้กับคู่รักเพศเดียวกัน การรับรองนี้จะทำให้คู่รักได้รับการปฏิบัติคล้ายคลึงกับคู่สมรสสำหรับการเข้าถึงบริการสาธารณะในหลาย ๆ ด้าน ผู้ว่าการกรุงโตเกียวระบุว่ามีคู่รักเพศเดียวกันสูงถึง ๑๓๗ คู่ที่มายื่นขอใบรับรองประเภทดังกล่าว


สิงคโปร์ผ่านร่างกฎหมาย Online Safety (Miscellaneous Amendments) เพื่อลบและจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นอันตรายบนแพลตฟอร์มออนไลน์

ร่างกฎหมาย Online Safety (Miscellaneous Amendments) ได้ผ่านรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๕ โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๖๖ มี The Infocomm Media Development Authority (IMDA) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบตามกฎหมายดังกล่าว
 ร่างกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจแก่ IMDA เพื่อที่จะดำเนินการแจ้งคำสั่งไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, YouTube และ TikTok ให้ลบเนื้อหาที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในสิงคโปร์ได้อย่างรวดเร็วขึ้น ร่างกฎหมาย Online Safety (Miscellaneous Amendments) ยังได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย the Broadcasting Act เพื่อให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ต้องรับผิดตามกฎหมายในกรณีที่ไม่สามารถป้องกันให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในสิงคโปร์เข้าถึงข้อมูลที่เป็นอันตรายได้
 


UN เรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยเก็บภาษีลาภลอยจากบริษัทน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อนำมาช่วยเหลือประเทศที่ได้รับความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยเก็บภาษีลาภลอย (Windfall Tax) จากบริษัทน้ำมันและเชื้อเพลิงและนำเงินเหล่านั้นไปช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ


สหรัฐฯ ยืนยันจะเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ APEC ครั้งที่ ๒๙ ที่จัดขึ้นในประเทศไทย

สหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) โดยคามาลา แฮร์ริส (Kamala Harris) รองประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะเดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร ในวันที่ ๑๘-๑๙ พฤศจิกายนนี้ เพื่อเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว


รัฐมนตรีต่างประเทศในอาเซียน สนับสนุนฉันทามติ ๕ ข้อระหว่างการประชุมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา

เมื่อวันที่ ๒๗ ตุลาคมที่ผ่านมา ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศ จาก ๙ ประเทศในอาเซียน ได้เปิดการประชุมเพื่อหารือแนวทางผลักดันกระบวนการสร้างสันติภาพในเมียนมา ก่อนจะมีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในเดือนหน้า


ญี่ปุ่นผลักดันกฎหมายใหม่ในอุตสาหกรรมหนังผู้ใหญ่

ญี่ปุ่นได้ผ่านกฎหมาย the AV Appearance Victimization Prevention and Relief Act(AV Act)  ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕  เพื่อคุ้มครองนักแสดงหนังผู้ใหญ่ ทั้งในด้านร่างกาย และจิตใจรวมถึงชีวิตความเป็นส่วนตัวของนักแสดงที่เพิ่งเข้าวงการ โดยนักแสดงสามารถ ยกเลิกสัญญาที่ทำกับบริษัทหนังผู้ใหญ่ได้ภายในหนึ่งปี นับแต่มีการจำหน่ายผลงานของนักแสดงนั้น และสามารถห้ามไม่ให้มีการขายแผ่นภาพยนตร์นั้นจากร้านค้าที่จำหน่ายหนังผู้ใหญ่ได้


แนวคิดใหม่ในกฎหมายควบคุมการขายและใช้ดอกไม้ไฟในสกอตแลนด์

กฎหมายThe Fireworks Action Plan เสนอโดยรัฐบาลสกอตแลนด์เพื่อทบทวนกฎระเบียบว่าด้วยการขายและใช้ดอกไม้ไฟ โดยต้องการให้มีกฎระเบียบเพื่อป้องกันความปลอดภัยของสาธารณะ และลดภาระที่ต้องรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บฉุกเฉินจากดอกไม้ไฟ รายงานการสำรวจ และปรึกษาหารือกับผู้เกี่ยวข้องมีความต้องการที่จะจำกัดสถานที่ที่จะมีการใช้ดอกไม้ไฟในสกอตแลนด์ โดยมีข้อแนะนำสำหรับการปรับปรุงกฎหมายเพื่อลดอันตราย และการรบกวนจากการใช้ดอกไม้ไฟ
ปัจจุบัน กฎระเบียบในการขายและใช้ดอกไม้ไฟอยู่ภายใต้ the Fireworks (Scotland) Regulations 2002, SSI 2004/393 โดยมีผลใช้บังคับโดยตรงต่อ ภาคการค้าปลีก รวมถึงผู้ขาย และผู้ผลิตดอกไม้ไฟ โดยมีข้อจำกัดในการขายและใช้ดอกไม้ไฟ
 


เปิดนโยบาย “สี จิ้นผิง” สำหรับประเทศจีนในอีก ๕ ปีข้างหน้า คาดได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ ๓ ด้วยการสนับสนุนท่วมท้น

การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งที่ ๒๐ ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๕ ณ กรุงปักกิ่ง ที่มหาศาลาประชาชนในกรุงปักกิ่ง
ทางฝั่งตะวันตกของจัตุรัสเทียนอันเหมิน ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลาม จนหลายสื่อคาดการณ์ว่าประธานาธิบดี สีจะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศต่อเป็นสมัยที่ ๓


กฎหมายควบคุมอาวุธปืนในนิวยอร์กถูกระงับชั่วคราวหลังศาลส่วนกลางสหรัฐฯ เห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ศาลส่วนกลางของสหรัฐฯ มีคำสั่งให้ระงับการบังคับใช้กฎหมายควบคุมอาวุธปืนของรัฐนิวยอร์กชั่วคราว เพื่ออนุญาตให้ผู้ครอบครองปืนในสหรัฐอเมริกาสามารถดำเนินการฟ้องร้องคัดค้านต่อกฎหมายควบคุมอาวุธปืนของรัฐนิวยอร์กได้


เกาะติดการประชุม APEC 2022

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ในปี ค.ศ. ๒๐๒๒ นี้ เป็นการประชุมครั้งที่ ๒๙ ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕  


ญี่ปุ่นเห็นชอบกฎหมายดูหมิ่นออนไลน์ซึ่งกำหนดให้มีระวางโทษจำคุกหนึ่งปี อันเนื่องมาจากเหตุการเสียชีวิตของนักแสดงรายหนึ่ง

เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๕ รัฐสภาญี่ปุ่นเห็นชอบกฎหมายดูหมิ่นออนไลน์ซึ่งกำหนดให้มีระวางโทษจำคุก ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มสูงขึ้นจากข่าวการฆ่าตัวตายของนักแสดงชาวญี่ปุ่นที่เผชิญกับปัญหาดังกล่าวในโซเชียลมีเดีย


การกระทำความผิดในอวกาศ: แคนาดาเสนอกฎหมายใหม่เพื่อลงโทษนักบินอวกาศที่ก่ออาชญากรรมในพื้นที่อวกาศ

กฎหมาย Civil Lunar Gateway Agreement Implementation Act เป็นกฎหมายที่ได้ระบุไว้ในงบประมาณของประเทศ ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๒ โดยผ่านการพิจารณาวาระแรกสภาสามัญชนแคนาดาเมื่อช่วงปลายเดือนเมษายน การบังคับใช้กฎหมายครอบคลุมพื้นที่บนดวงจันทร์และสถานีอวกาศ Lunar Gateway ซึ่งนาซากล่าวว่าจะมีบทบาทสำคัญในการส่งมนุษย์ไปยังดาวอังคาร ซึ่งประเทศแคนาดาเข้าร่วมโครงการสถานีอวกาศ Lunar Gateway ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเมื่อปี ค.ศ. ๒๐๑๙ และวางแผนที่จะส่งหุ่นยนต์ที่มีความยาว ๘.๕ เมตรที่ชื่อ Canadarm3 ไปยังสถานี...


สภามณฑลควิเบก แคนาดา รับร่างกฎหมายบังคับใช้ภาษาฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๕ รัฐสภาแห่งมณฑลควิเบก ประเทศแคนาดา ได้มีมติผ่าน “ร่างรัฐบัญญัติว่าด้วยการใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการและภาษากลางของควิเบก” (An Act respecting French, the official and common language of Quebec.) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า “ร่างรัฐบัญญัติ ๙๖” โดยลงมติด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย ๗๘ ต่อ ๒๙
 


รัฐมนตรีเสนอผลักดันนโยบายที่เข้มแข็งเพื่อรองรับวิกฤตการณ์ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในอนาคต

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เรียกร้องให้รัฐมนตรีการค้าของประเทศสมาชิกเอเปค ๒๑ ประเทศเร่งดำเนินการเพื่อรองรับวิกฤตการณ์ในอนาคตและบรรลุการเติบโตทางเศรษฐกิจและครอบคลุมยิ่งขึ้น
          รองนายรัฐมนตรีกล่าวต่อที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเมื่อวันที่ ๒๑ และ ๒๒ พฤษภาคม ที่กรุงเทพฯ ในรายละเอียดมุมมองทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับนโยบายการค้าในอนาคต โดยเฉพาะการฟื้นฟูและเสริมสร้างการบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค สนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีและเชื่อมโยงผู้คน ธุรกิจ การค้า และการลงทุน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลลัพธ์ของการประชุมครั้งนี้จะครอบคลุมถึงจุดยืนด้านนโยบายเกี่ยวกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคภายหลังการระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙ ซึ่งควรเป็นนโยบายเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับวิกฤตการณ์ในอนาคต


การประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มประเทศ BRICS และ BRICS Plus

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ได้มีการจัดการประชุมกลุ่มประเทศ BRICS และ BRICS Plus โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยในฐานะผู้แทนรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมด้วย


รัฐเทนเนสซี สหรัฐอเมริกา ผ่านร่างกฎหมายให้ผู้เมาแล้วขับต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรหากทำให้บุพการีเสียชีวิต

กฎหมาย House Bill 1834 ได้กำหนดให้บุคคลที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดข้อหาเมาแล้วขับจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในรูปแบบของค่าเลี้ยงดูบุตรกรณีที่การกระทำดังกล่าวมีผลให้บิดามารดาของเด็กผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเสียชีวิต โดยจะต้องจ่ายค่าเลี้ยงดูบุตรจนกว่าบุตรจะอายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย
 


ประเทศไทยบริจาคเงินสนับสนุนการวิจัยและวิเคราะห์ระดับภูมิภาค

ประเทศไทยบริจาคเงินจำนวน ๑,๕๕๐,๐๐๐ บาท หรือราว ๔๖,๐๐๐ ดอลลาร์ให้กับกองทุนเพื่อส่งเสริมหน่วยสนับสนุนนโยบายเอเปค (APEC Policy Support Unit) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการวิจัยและวิเคราะห์ของเอเปคในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์และเพื่อสนับสนุนงานวิจัยคุณภาพ ความสามารถในการสนับสนุนเชิงวิเคราะห์และนโยบายแก่ประเทศสมาชิก


ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มีมติห้ามทำการสักโดยบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์

ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มีมติเห็นชอบการห้ามสักร่างกายโดยบุคคลที่ไม่ใช่แพทย์ ทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศพัฒนาแล้วประเทศเดียวที่ไม่อนุญาตให้มีการสักร่างกายโดยช่างสัก ซึ่งมิใช่การดำเนินการทางการแพทย์


สภานิติบัญญัติรัฐฟลอริดาเห็นชอบกฎหมายจำกัดการอภิปรายหัวข้อเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศในโรงเรียน

เมื่อวันที่ ๘ มีนาคม สมาชิกสภานิติบัญญัติมลรัฐฟลอริดาเห็นชอบร่างกฎหมายที่เสนอโดยพรรครีพับลิกัน ซึ่งมีเนื้อหาเป็นการกำหนดห้ามไม่ให้มีการเรียนการสอนและการอภิปรายในหัวข้อเกี่ยวกับรสนิยมทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศในชั้นเรียน โดยปฏิเสธการวิพากษ์วิจารณ์และการประท้วงของนักเรียนที่เห็นว่ามาตรการดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติและเป็นคำแนะนำที่ไม่ถูกต้อง


เอเปคผลักดันการบูรณาการระดับภูมิภาค การเชื่อมโยง และความยั่งยืน

เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสจากประเทศสมาชิก ๒๑ ประเทศผลักดันการทำงานของเอเปคเพื่อการรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค การเชื่อมโยงภายในภูมิภาค และสร้างความยั่งยืนสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคตตามแนวทางการประชุมเอเปค ค.ศ. ๒๐๒๒ ภายใต้แนวคิดการประชุมที่เปิดกว้าง เชื่อมโยง และสมดุล


กระทรวงสาธารณสุข สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดตัวศูนย์บริการประชาชนบนแพลตฟอร์ม Metaverse แห่งแรกของโลก

เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕ กระทรวงสาธารณสุขและการป้องกัน (Ministry of Health and Prevention)สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้เปิดตัวศูนย์บริการลูกค้าบนแพลตฟอร์ม Metaverse แห่งแรกของโลก ภายใต้ชื่อ “MetaHealth”


ผู้นำด้านธุรกิจแสดงวิสัยทัศน์ในเวทีการประชุมสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค

ที่ประชุมสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) ณ ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำด้านธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยืนยันความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดภายใต้ภูมิภาคที่มีความซับซ้อน เชื่อมโยง และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


นิวซีแลนด์บังคับใช้กฎหมายห้ามการบำบัดเพื่อเปลี่ยนเพศวิถี (conversion therapy)

รัฐสภานิวซีแลนด์เห็นชอบกฎหมายห้ามการบำบัดเพื่อเปลี่ยนเพศวิถีของบุคคล อัตลักษณ์ทางเพศ หรือการแสดงออกทางเพศ หรือวิธีการที่เรียกว่า การบำบัดเพื่อเปลี่ยนเพศวิถี (conversion therapy)


ภาครัฐกรุงโซลผลักดันแนวคิดบริการสาธารณะรูปแบบใหม่ ภายใต้แพลตฟอร์ม “Metaverse”

เมื่อวันพุธที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๔  Seoul Metropolitan Government หรือ รัฐบาลแห่งกรุงโซล ได้ประกาศแผนแม่บทขับเคลื่อน “Metaverse Seoul” ระยะ ๕ ปี ประกอบด้วย ๒๐ มาตรการส่งเสริมการดำเนินงาน ๗ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม การท่องเที่ยว การสื่อสาร การพัฒนาเมือง การบริหารจัดการและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการตระหนักถึงแนวโน้มความต้องการรับการบริการของภาครัฐและเอกชนบนแพลตฟอร์ม Metaverse
 


คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รับรองให้ “สิ่งแวดล้อมสะอาด” เป็น “สิทธิมนุษยชนสากล”

คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (United Nations Human Rights Council) ได้มีมติรับรองให้สิทธิในการมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด ถูกสุขอนามัย และยั่งยืนเป็นสิทธิมนุษยชน และได้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำหน้าที่ติดตามประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในบริบทของภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ
 


การส่งข้อความของนายจ้างถึงลูกจ้างนอกเวลางานอาจเป็นความผิดตามกฎหมายใหม่ ของประเทศโปรตุเกส

ผู้ที่ทำงานระยะไกลในประเทศโปรตุเกสจะได้รับความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวินส่วนตัวยิ่งขึ้นจากกฎหมายแรงงานใหม่ ซึ่งผ่านการพิจารณาของรัฐสภาเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๒๑ เพื่อตอบสนองต่อรูปแบบการทำงานที่บ้านที่เป็นผลมาจากการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙ ภายใต้กฎหมายใหม่ นายจ้างอาจมีความผิดในกรณีที่มีการติดต่อกับลูกจ้างนอกเวลางานและบริษัทต้องช่วยเหลือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการทำงานระยะไกลของลูกจ้าง เช่น ค่าไฟฟ้าและค่าอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น แต่กฎหมายดังกล่าวจะไม่ใช้บังคับกับบริษัทที่มีพนักงานน้อยกว่าสิบคน


ที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๖ (COP26) ประกาศยุติการใช้พลังงานถ่านหิน

ประเด็นเกี่ยวกับถ่านหินได้รับการกล่าวถึงในที่ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ ๒๖ (26th UN Climate Change Conference of the Parties: COP26) โดยประเทศที่เข้าร่วมการประชุม ธนาคาร และองค์กรต่าง ๆ มุ่งมั่นที่จะถอนการเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของการใช้ถ่านหิน


ร่างกฎหมายใหม่ของจีนมุ่งลงโทษผู้ปกครองของเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

ผู้ปกครองของเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมหรือก่ออาชญากรรมอาจถูกลงโทษตามกฎหมายใหม่ของจีน โดยร่างกฎหมายว่าด้วยการสนับสนุนการศึกษาด้านครอบครัว (Family Education Promotion Law) ผู้ปกครองของเด็กจะถูกลงโทษและส่งเข้าอบรมโครงการแนวทางการศึกษาครอบครัว หากพนักงานอัยการพบพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือพฤติกรรมก่ออาชญากรรมของเด็กที่อยู่ในความดูแล


ข้อกำหนดใหม่ของสหประชาชาติเกี่ยวกับการติดตั้งกล่องดำในรถยนต์เพื่อรวบรวมข้อมูลอุบัติเหตุช่วยเพิ่มความปลอดภัยการใช้ถนน

การวิเคราะห์สภาพอุบัติเหตุบนท้องถนนจะช่วยประเมินสมรรถนะของอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยในรถยนต์ ซึ่งจะช่วยให้มีการปรับปรุงระบบดังกล่าวเพื่อสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน โดยข้อกำหนดใหม่ของสหประชาชาติจะมีผลบังคับใช้วันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๔ ซึ่งเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญของการรวบรวมข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนด้วยการใช้อุปกรณ์บันทึกข้อมูลอุบัติเหตุ (Event Data Recorders: EDR)


คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเสนอมาตรฐานใหม่สำหรับอุปกรณ์ชาร์จไฟ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปมีมติสำคัญเกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้บริโภคอันเนื่องมาจากปัญหาอุปกรณ์ชาร์จไฟ (charger) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ ซึ่งได้มีการดำเนินการกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดจำนวนอุปกรณ์ชาร์จ แต่ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ปัจจุบันคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปอยู่ในระหว่างเสนอกฎหมายในระดับ EU Directive เพื่อกำหนดแนวทางที่เป็นมาตรฐานของอุปกรณ์ชาร์จไฟสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกำหนดให้ช่องเสียบอุปกรณ์ชาร์จไฟและการใช้เทคโนโลยีชาร์จเร็วจะต้องมีความสอดคล้องกัน โดยช่องชาร์จ (port) ประเภท USB-C ถูกกำหนดให้เป็นช่องชาร์จมาตรฐานสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเลต กล้องถ่ายรูป หูฟัง ลำโพงแบบพกพา และอุปกรณ์สำหรับเล่นเกม 


รัฐบาลสหราชอาณาจักรควบคุมการขับขี่เจ็ตสกีที่เป็นอันตราย

 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้รับฟังความคิดเห็น (consultation) เกี่ยวกับการเสริมมาตรการทางกฎหมายเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยานพาหนะทางน้ำเพื่อสันทนาการและยานพาหนะทางน้ำส่วนบุคคล


การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ในการแก้ต่างคดี

การใช้หุ่นยนต์ทำหน้าที่เป็นทนายความในการแก้ต่างในคดีผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถประมวลผลได้เองถูกนำมาใช้ในวงการกฎหมายมากยิ่งขึ้น


ประเทศแคนาดาเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อกำหนดนิยามและปราบปรามการแสดงคำพูดที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ (online hate speech)

ประเทศแคนาดาเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่กำหนดนิยามการแสดงคำพูดที่สร้างความเกลียดชังหรือการใส่ร้ายบุคคลหรือกลุ่มบุคคล (hate speech) โดยรัฐบาลภายใต้การนำของนาย Trudeau ได้เสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมายเพื่อควบคุมการแสดงคำพูดที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ และเพิ่มช่องทางการร้องทุกข์สำหรับผู้เสียหาย ซึ่งร่างกฎหมายฉบับใหม่ประกอบด้วยบทบัญญัติที่มีเนื้อหาสาระเพิ่มเติมจากกฎหมายสิทธิมนุษยชนแคนาดา โดยกำหนดความหมายของการแสดงคำพูดที่สร้างความเกลียดชังที่ชัดเจน และกำหนดให้เป็นรูปแบบหนึ่งของการเลือกปฏิบัติ


ร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียนของประเทศไอร์แลนด์

คณะรัฐมนตรีของไอร์แลนด์เห็นชอบร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยจะเป็นกฎหมายที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้านการผลิตและการบริโภค การจำกัดผลิตภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว (single use products) และการจำกัดการทิ้งขยะ ร่างกฎหมายฉบับใหม่กำหนดมาตรการตามแผนปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการจัดการขยะสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน และยุทธศาสตร์เศรษฐกิจหมุนเวียนของรัฐบาลที่จะมีการเผยแพร่ต่อไปเป็นยุทธศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายเศรษฐกิจหมุนเวียน


การคุ้มครองพลเมืองของสหภาพยุโรป: สภายุโรปรับรองกฎระเบียบใหม่เพื่อการตอบสนองต่อภัยพิบัติอย่างเข็มแข็ง

เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๒๑ สภายุโรปรับรองกฎระเบียบใหม่เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการคุ้มครองพลเมือง (Civil Protection)  โดยกฎระเบียบดังกล่าวจะช่วยให้สหภาพยุโรปและประเทศสมาชิกเตรียมความพร้อมสำหรับภัยธรรมชาติและภัยพิบัติที่เกิดจากมนุษย์ได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงตอบสนองต่อภัยพิบัติดังกล่าวได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงกรณีที่สร้างผลกระทบต่อประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่นกรณีของโรคระบาดร้ายแรง และกฎใหม่นี้ยังได้ตั้งกองทุนภายใต้กรอบดำเนินงานทางการเงินตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๒๑ - ๒๐๒๗ สำหรับกลไกคุ้มครองพลเมือง


เวียดนามเริ่มทำการศึกษากฎหมายสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)

เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๒๑ กระทรวงการเงินเวียดนามได้จัดตั้งคณะวิจัยทำการเริ่มต้นศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล (cryptocurrencies) เพื่อปฏิรูปกฎหมายสำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ เนื่องจากการซื้อขายสกุลเงินดิจิทัลและการใช้สกุลเงินดิจิทัลกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก แต่กฎหมายปัจจุบันของเวียดนามยังไม่มีการกล่าวถึงการทำธุรกรรมดังกล่าว


อินเดียห้ามถือครองสกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)

สำนักข่าว INDEPENDENT สหราชอาณาจักร รายงานว่า รัฐบาลอินเดียได้เสนอกฎหมายห้ามสกุลเงินดิจิทัลทั้งเพื่อการซื้อขายและมีไว้ในครอบครอง รวมถึงได้กำหนดโทษปรับสำหรับการกระทำดังกล่าว


ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล (HCCH)

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2564 สภาที่ปรึกษา Council on General Affairs and Policy (CGAP) ของที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล (Hague Conference On Private International Law - HCCH)  ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในโอกาสที่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 88 ของที่ประชุม HCCH ขณะที่ประเทศเอลซัลวาดอร์สมัครเป็นสมาชิกใหม่และประเทศอิสราเอลได้ลงนามในอนุสัญญา HCCH เพิ่มเติมจำนวนสองฉบับ


กัมพูชา: การระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ต การขยายอำนาจการควบคุมภายใต้กฎหมายใหม่ ว่าด้วยอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ

กฎกระทรวงฉบับใหม่ว่าด้วยการจัดตั้งอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แห่งชาติ (National Internet Gateway) ของรัฐบาลกัมพูชาได้เพิ่มอำนาจรัฐในการสอดส่องดูแล ระงับ และควบคุมสัญญาณอินเทอร์เน็ต ซึ่งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน หรือ ฮิวแมนไรตส์วอตช์ (Human Rights Watch) ชี้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงออกและละเมิดความเป็นส่วนตัวของประชาชน


เส้นทางการขนส่งสินค้าทางถนนในอาเซียน: แนวนโยบายใหม่ในการตอบสนองต่อโควิด - ๑๙ และการฟื้นฟูภูมิภาค

ประเทศสมาชิกอาเซียนได้จัดทำเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือการจัดการกับปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางการขนส่งที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด- ๑๙ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความริเริ่มภายใต้กรอบการดำเนินงานการฟื้นฟูอาเซียนที่ครอบคลุม โดยอาเซียนได้รับรองแนวทาง (Guildline) เพื่อสนับสนุนการตอบสนองและการฟื้นฟูเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศสมาชิกในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙ 


สหประชาชาติถอดถอนกัญชาออกจากบัญชีสารเสพติดอันตรายร้ายแรง

            คณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติ (the commission on Narcotic Drugs: CND) มีมติถอดถอนกัญชาออกจากบัญชีสารเสพติดที่มีอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตตามตาราง ๔ ของอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ ค.ศ. ๑๙๖๑ (1961 Single Convention on Narcotic Drugs) ตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับกัญชาและอนุพันธ์ที่ได้มีการเสนอเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. ๒๐๑๙ โดยเสนอว่าสารสกัดจากกัญชาที่มีแคนนาบินอยด์ (Cannabidiol: CBD) ร้อยละ ๒ หรือต่ำกว่าเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล(Tetrahydrocannbinol) ไม่ควรอยู่ภายใต้การควบคุมยาเสพติด ซึ่งประเด็นดังกล่าวมีการหารือในที่ประชุมคณะกรรมาธิการยาเสพติดแห่งสหประชาชาติในเดือนมีนาคมปีเดียวกัน ในขณะที่ประเทศสมาชิกบางประเทศไม่เห็นด้วยกับข้อแนะนำดังกล่าว โดยเห็นว่สารแคนนาบินอยด์ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมจึงไม่จำเป็นต้องมีการดำเนินการใด ๆ และได้ขอเวลาศึกษาและทบทวนประเด็นปัญหาและผลกระทบอีกครั้งหนึ่ง


Google ถูกฟ้องคดีแข่งขันทางการค้าในสหรัฐอเมริกาข้อหาผูกขาดบริการค้นหาข้อมูล (Search)

รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ยื่นฟ้อง Google ข้อหาทำผิดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า โดยการผูกขาดบริการค้นหาทางอินเตอร์เน็ตและการโฆษณาออนไลน์ ซึ่งเป็นคดีที่ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่หน่วยงานของสหรัฐฯ เอาผิดกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในรอบหลายปี  โดย Google ต้องเผชิญกับการสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างเข้มงวดเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี เกี่ยวกับการประกอบกิจการของตนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
 


ศาลสหรัฐฯ มีคำสั่งระงับการห้ามใช้แอพพลิเคชัน TikTok ในสหรัฐของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์

เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาลสหรัฐอเมริกา ได้มีคำสั่งระงับการห้ามใช้แอปพลิเคชัน TikTok ในสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นการชั่วคราว ถือเป็นชัยชนะของฝั่งแอปพลิเคชัน TikTok หลังจากมีข้อต่อสู้ว่าคำสั่งห้ามใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นการละเมิดและขัดต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ


สหประชาชาติกำหนดวันสากลเพื่อกาศสะอาดสำหรับท้องฟ้าที่สดใส (International Day of Clean Air)

 วันสากลเพื่อกาศสะอาดสำหรับท้องฟ้าที่สดใส (International Day of Clean Air (International Day of Clean Air for blue skies) กำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ ๗ กันยายน ค.ศ. ๒๐๒๐ เป็นผลจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงความสำคัญของอากาศบริสุทธิ์ต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของมนุษย์


แถลงการณ์รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาการจัดการแรงงานและกิจการสังคมแห่งกาตาร์ว่าด้วยอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่และกฎหมายการเคลื่อนย้ายแรงงาน

 เพื่อยกระดับการคุ้มครองผลประโยชน์ของนายจ้างและลูกจ้าง กระทรวงการพัฒนาการจัดการ แรงงานและกิจการสังคมแห่งกาตาร์ได้ดำเนินโครงการปฏิรูปการคุ้มครองแรงงาน โดยการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่โดยไม่เลือกปฏิบัติ และยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับใบรับรองโดยไม่มีการคัดค้าน (No-Objection Certificate) เพื่อการเปลี่ยนงานของลูกจ้าง


องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดตัวเว็บไซต์แหล่งข้อมูลกฎหมาย “COVID-19 Law Lab”

เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓  องค์การอนามัยโลกได้เปิดตัวโครงการ “COVID-19 Law Lab” ซึ่งเป็นการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของประเทศต่าง ๆ จำนวนกว่า ๑๙๐ ประเทศทั่วโลก ผ่านช่องทางเว็บไซต์ COVIDLawLab.org โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการสนับสนุนข้อมูลกฎหมายแก่ประเทศต่าง ๆ ในการร่างและใช้บังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19 สร้างความเชื่อมั่นแก่ชุมชนและประชาชนว่ากฎหมายดังกล่าวจะป้องกันด้านสุขอนามัย ความเป็นอยู่ที่ดีและเป็นไปตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ


อาเซียนและแคนาดายืนยันความมุ่งมั่นในการยกระดับความเป็นหุ้นส่วน

๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ อาเซียนและแคนาดาได้ยืนยันถึงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความร่วมมือในด้านที่มีผลประโยชน์ร่วมกันผ่านการประชุมทางไกลระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนและแคนาดา ครั้งที่ ๑๗  (17th ASEAN-Canada Dialogue)


๕๓ ปีอาเซียน เส้นทางสู่การฟื้นฟู

๘ สิงหาคม ๒๕๖๓ เป็นวันครบรอบการก่อตั้งประชาคมอาเซียนเป็นปีที่ ๕๓ โดยสำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ได้จัดงานครบรอบการก่อตั้งอาเซียนในรูปแบบออนไลน์อันเนื่องจากการแพร่ระบาด โดยมีธีมงานที่มุ่งเน้นถึงการฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของการระบาดของโควิด – ๑๙ ในการนี้ ดาโต๊ะ Lim Jock Hoi เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้กล่าวเปิดงาน และมีการกล่าวสุนทรพจน์โดยนาง Retno Marsudi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของอินโดนีเซียและนาย Pham Binh Minh รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของเวียดนาม ตามลำดับ โดยประเทศเวียดนามเป็นประธานอาเซียนประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๐


นโยบายการเงินอย่างยั่งยืน: สหภาพยุโรปเห็นชอบกฎหมาย Taxonomy หรือ กฎหมายการจัดหมวดหมู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม

เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๒๐ สภายุโรปได้เห็นชอบกฎหมาย Taxonomy ซึ่งจะเป็นกฎหมายหลักในการสนับสนุนนโยบาย European Green Deal ของสหภาพยุโรป การส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดยได้กำหนดให้มีการจัดทำ “Green list” หรือรายการหมวดหมู่ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งจะเป็นระบบการจัดประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน


เยาวชนอาเซียนผลักดันให้ผู้นำอาเซียนให้ความสำคัญด้านการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต

เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้แทนกลุ่มเยาวชนจากประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน ๒๐ คน ได้หารือกับผู้นำอาเซียนผ่านระบบการประชุมทางไกลในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๓๖ โดยเป็นการเปิดเวทีให้ผู้แทนเยาวชนอาเซียนได้หารือกับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับประเด็นที่เยาวชนให้ความสำคัญ อาทิ การเป็นผู้ประกอบการ อาสาสมัคร และการพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ เป็นต้น


อาเซียนและจีนยืนยันที่จะส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดต่อไป

การประชุมทางไกลระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน – จีน ครั้งที่ ๒๖ (26th ASEAN-China Senior Officials) จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ของจีนและอาเซียน และเห็นพ้องร่วมกันที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ต่อไป โดยที่ประชุมได้รับทราบถึงความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอาเซียน - จีน ปี ค.ศ. ๒๐๑๖ – ๒๐๒๐ (ASEAN-China Plan of Action 2016-2020) โดยเฉพาะความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง การค้า การขนส่ง การท่องเที่ยว เทคโนโลยีสารสนเทศและเมืองอัจฉริยะ


เยาวชนอาเซียนเรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนลงทุนด้านการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต

เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้แทนกลุ่มเยาวชนจากประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน ๒๐ คน ได้หารือกับผู้นำอาเซียนผ่านระบบการประชุมทางไกลในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๓๖ โดยเป็นการเปิดเวทีให้ผู้แทนเยาวชนอาเซียนได้หารือกับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับประเด็นที่เยาวชนให้ความสำคัญ อาทิ การเป็นผู้ประกอบการ อาสาสมัคร และการพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔
 


สาธารณรัฐเกาหลี (ROK) สนับสนุนโครงการเพิ่มความสามารถตรวจหาเชื้อ COVID - ๑๙ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน

เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการเปิดตัว “โครงการเพิ่มความสามารถตรวจหาเชื้อ COVID - ๑๙ สำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน” ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มดำเนินการโดยสาธารณรัฐเกาหลี (ROK)  โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการสนับสนุนการวินิจฉัยโรค การบันทึก และการติดตามผู้สัมผัสภายในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดหาชุดทดสอบโมเลกุลและอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) และการจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ชุดและอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายในประเทศ ซึ่งมีจำนวนเงินสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า ๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ


การประชุมคณะประสานงานของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอาเซียน ครั้งที่ ๑๕

เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการจัดการประชุมประสานงานของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ ๑๕ ซึ่งเป็นการประชุมเสมือนจริง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า ๑๐๐ คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Senior Officials Committee for the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC)  คณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร หน่วยงานระดับภูมิภาคของอาเซียน และผู้แทนองค์กรเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน


การประชุมคณะประสานงานของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนอาเซียน ครั้งที่ ๑๕

เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการจัดการประชุมประสานงานของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ ๑๕ ซึ่งเป็นการประชุมเสมือนจริง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า ๑๐๐ คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Senior Officials Committee for the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC)  คณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร หน่วยงานระดับภูมิภาคของอาเซียน และผู้แทนองค์กรเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน


สาธารณรัฐเกาหลี (ROK) สนับสนุนโครงการเพิ่มความสามารถตรวจหาเชื้อ COVID - ๑๙ สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน

เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการเปิดตัว “โครงการเพิ่มความสามารถตรวจหาเชื้อ COVID - ๑๙ สำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน” ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มดำเนินการโดยสาธารณรัฐเกาหลี (ROK)  โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการสนับสนุนการวินิจฉัยโรค การบันทึกและติดตาม ผู้สัมผัสภายประประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดหาชุดทดสอบโมเลกุลและอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) และการจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ชุดและอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายในประเทศ ซึ่งมีจำนวนเงินสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า ๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ


ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาของอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ เฝ้าระวังโรคโควิด – ๑๙

เครือข่ายการจัดการศึกษาอบรมด้านระบาดวิทยาอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Field Epidemiology Training Network: ASEAN+3 FETN) จัดการประชุมทางไกล (video conference) อย่างไม่เป็นทางการเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาการล่าสุดของมาตรการที่ใช้ในการจัดการกับการระบาดของโควิด – ๑๙ รวมถึงบทบาทสำคัญของนักระบาดวิทยาภาคสนาม      


อาเซียนและออสเตรเลียมุ่งสร้างความร่วมมือในการจัดการการระบาดของโควิด – ๑๙

อาเซียนและออสเตรเลียมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในสาขาที่มีความสำคัญเพื่อจัดการกับความท้าทายที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙


อาเซียนหารือเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดใหญ่ในอนาคต

เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓  สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) และศูนย์อาเซียน
ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity) ได้จัดการสัมมนาออนไลน์เป็นครั้งแรกในหัวข้อ "ความหลากหลายทางชีวภาพ และการป้องกันโรคระบาดในอนาคต" โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นด้านการเชื่อมโยงความหลากหลายทางชีวภาพ การสาธารณสุข และการการดำเนินงานของภูมิภาคเพื่อบูรณาการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการรับมือกับ COVID -๑๙ ซึ่งเป็นการสัมมนาผ่านระบบปฏิบัติการ Zoom และการถ่ายทอดสดทาง Facebook   โดยประชาชนและผู้สนใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวกับบทบาทของธรรมชาติในการป้องกันโรคระบาดในอนาคต


ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขอาเซียนแลกเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินของอาเซียนด้านการสาธารณสุข (ASEAN Emergency Operations Centre Network for Public Health Emergencies) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทางไกลระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุขของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นที่มุ่งเน้นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการดำเนินการควบคุม บรรเทา และรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ เจ้าหน้าที่จากประเทศไทย และเวียดนามได้กล่าวถึงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการที่ดำเนินการโดยรัฐบาลเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ รวมถึงความท้าทาย และข้อกังวลที่เกิดขึ้นสำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป


ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขอาเซียนแลกเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินของอาเซียนด้านการสาธารณสุข (ASEAN Emergency Operations Centre Network for Public Health Emergencies) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทางไกลระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุขของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นที่มุ่งเน้นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการดำเนินการควบคุม บรรเทา และรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ เจ้าหน้าที่จากประเทศไทย และเวียดนามได้กล่าวถึงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการที่ดำเนินการโดยรัฐบาลเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ รวมถึงความท้าทาย และข้อกังวลที่เกิดขึ้นสำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป


ถ้อยแถลงร่วมการประชุมระดับสูงอาเซียน – สหรัฐอเมริกาว่าด้วยความร่วมมือในการรับมือ กับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙

เมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ ๒๕๖๓ ได้มีการจัดประชุมผ่านระบบ video conference ระหว่างคณะทำงานด้านสาธารณสุขในสถานการณ์ฉุกเฉินของอาเซียน และคณะทำงานระหว่างหน่วยงาน
ของสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างอาเซียน – สหรัฐฯ สำหรับการปฏิบัติการด้านการสาธารณสุขในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID – ๑๙


อินโดนีเซียเรียกร้องให้อาเซียนจัดการประชุมสมัยพิเศษ เรื่อง COVID - ๑๙

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส การที่ประชาคมอาเซียนขาดเวทีหารือร่วมกันถึงการรับมือกับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส สะท้อนถึงการบูรณาการระดับภูมิภาคและความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิกอาเซียน อินโดนีเซียซึ่งเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งประชาคมอาเซียน ได้เรียกร้องให้มีการจัดประชุมสมัยพิเศษ เรื่อง COVID - ๑๙ เพื่อหารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การรับมือกับ COVID - ๑๙  ในระดับภูมิภาค
 


รัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนกระชับความร่วมมือเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙

เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ อาเซียนจัดการประชุมทางไกลผ่านจอภาพระหว่างรัฐมนตรีสาธารณสุขกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะของประเทศสมาชิกเพื่อกระชับความร่วมมือในภูมิภาคด้วยการยกระดับมาตรการควบคุมและบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙


อาเซียนและจีนยกระดับความร่วมมือเพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙

เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและเจ้าหน้าที่จากประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนร่วมประชุมทางไกลผ่านจอภาพสมัยพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดการกับการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙


อาเซียน- แคนาดา ยกระดับกระชับความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างยาวนาน

เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการความร่วมมืออาเซียน – แคนาดา ครั้งที่ ๘  ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน  โดยทั้งสองฝ่ายแสดงความมุ่งมั่นที่จะกระชับความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน โดยผู้เข้าร่วมจากทั้งสองฝ่ายกล่าวถึงการเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันมาอย่างยาวนานซึ่งได้ขยายขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมประเด็นภายใต้เสาหลักทั้งสามของประชาคมอาเซียน และแผนปฏิบัติการอาเซียน - แคนาดา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์จนถึงปีสุดท้าย และทั้งสองฝ่ายคาดหวังที่จะสามารถสรุปแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๘ ได้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการสร้างประชาคม เพิ่มความสามารถในการบูรณาการ ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัย และการเติบโตของภูมิภาค


ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด - ๑๙ ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก จึงทำให้ความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่จะได้รับผลกระทบ ไวรัสโควิด - ๑๙ มีแหล่งกำเนิดมาจากประเทศจีนและด้วยขนาดเศรษฐกิจของประเทศจีนจึงก่อให้เกิดการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจากการระบาดของไวรัสดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม โดยสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียนบวกสาม (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) ประเมินว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙ จะส่งผลให้การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคลดลงครึ่งหนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ โดยจะส่งผลต่อกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม


หน่วยงานด้านสาธารณสุขอาเซียนสนับสนุนความร่วมมือเพื่อการตอบสนองต่อการแพร่ระบาด ของไวรัสโควิด – ๑๙

๒ เดือนหลังจากการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโควิด - ๑๙ ที่เมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน หน่วยงานด้านสาธารณสุขของอาเซียนมีการตอบสนองด้วยการสนับสนุนความร่วมมือเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสในภูมิภาคอาเซียนและประเทศอื่น ๆ


อาเซียน – จีนแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติการจัดการไวรัส COVID - 19

เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุข และผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกจากประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference ในวาระพิเศษ เรื่องการระงับการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 (Coronavirus 2019) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติและประเด็นท้าทายเกี่ยวกับการจัดการสถานพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วย COVID-19 และวิธีการระงับการแพร่ระบาดไปสู่ชุมชน ซึ่งการประชุมดังกล่าวการดำเนินงานโดยเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของอาเซียน (ASEAN Emergency Operations Centre Network for public health emergencies: ASEAN EOC Network) นำโดยมาเลเซีย
 


ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งภูมิภาคอาเซียนประชุมหารือวิธีการบูรณาการ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายและวิธีป้องกันภัยจากทุ่นระเบิดสังหารบุคคล

เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Mine Action Center: ARMAC) จัดประชุมเรื่องแนวทางปฏิบัติและการบูรณาการการศึกษาความเสี่ยงในการเก็บกู้และกำจัดระเบิดจากสงครามสำหรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งการประชุมดังกล่าวเป็นการประชุมครั้งสำคัญของโครงการวิจัยและให้คำปรึกษาประจำปีที่จัดขึ้นโดยศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดแห่งภูมิภาคอาเซียน (ARMAC) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมือญี่ปุ่น – อาเซียน (Japan Integration Integration Fund: JAIF)


หน่วยงานด้านสาธารณสุขของอาเซียนตอบสนองต่อภัยคุกคามจากไวรัสโคโรนา

หน่วยงานด้านสาธารณสุขอาเซียนร่วมกับหน่วยงานของประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ระดมกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อตอบสนองต่อการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา (Coronavirus) ภายหลังจากมีรายงานจากประเทศจีนถึงกลุ่มผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุเมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒


การประชุมหารือของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) เรื่องการปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ ของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาและ ความเชื่อ

ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้จัดการประชุมเรื่องการปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ ของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาและความเชื่อ ณ เมือง Nusa Dua เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอินโดนีเซีย (AICHR Indonesia) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย และสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน (Office of High Commissioner of Human Rights: OHCHR) เป็นเจ้าภาพร่วม


อาเซียนพยายามเพิ่มการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาค

ได้มีการจัดการประชุมเชิงวิชาการระดับสูงขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ณ กรุงฮานอยประเทศเวียดนาม โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น และเป็นการเริ่มต้นการเป็นประธานอาเซียนปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ของเวียดนาม โดยมี ฯพณฯ Vu Ho อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศเวียดนามกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม


การดำเนินงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๓

เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจและประธานหน่วยงานรายสาขาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจรายสาขาของอาเซียน (Committee of the Whole: COW) ครั้งที่ ๑๐ ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมทั้งแบ่งปันวาระสำคัญที่จะดำเนินการและประสานการทำงานในปี พ.ศ. ๒๕๖๓


การประชุมเชิงปฏิบัติการอาเซียน – สหประชาชาติ ครั้งที่ ๗ และการประชุมหารือระดับภูมิภาคว่าด้วย ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ครั้งที่ ๕

ก่อนการเข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของเวียดนามในปี พ.ศ. ๒๕๖๓  เวียดนามได้มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสจากหน่วยงานของรัฐประเทศสมาชิกอาเซียนและสหประชาชาติ  ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ของอาเซียน และผู้แทนหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ระหว่างวันที่ ๓ - ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงฮานอย เพื่อหารือถึงความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันอาเซียนว่าด้วยสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN-Institute for Peace and Reconciliation - AIPR) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม และหน่วยงานด้านการเมืองและสันติภาพของสหประชาชาติ (the United Nations Departments of Political and Peacebuilding Affairs and Peace Operations) เป็นผู้จัดร่วม
 


ผู้นำเยาวชนสร้างความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรมอาเซียน – ออสเตรเลีย อย่างเข้มแข็ง

เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ผู้นำเยาวชน นักวิชาการและผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากประเทศสมาชิกอาเซียนและออสเตรเลียเข้าร่วมการประชุมในเวทีผู้นำเยาวชนอาเซียน – ออสเตรเลีย ณ สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยการประชุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Australia Now! ASEAN ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการ ASEAN-Australia Strategic Youth Partnership แห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
 


เจ้าหน้าที่กฎหมายการแข่งขันและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานกำกับดูแลด้านพลังงาน หารือร่วมกันในประเด็นเรื่องการแข่งขัน

เมื่อวันที่ ๔- ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เจ้าหน้าที่กฎหมายการแข่งขันและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านพลังงานจากอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ประชุมร่วมกัน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้หารือในประเด็นการแข่งขันของภาคพลังงาน ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาความเข้าใจในประเด็นการแข่งขันและความท้าทายที่จะภาคพลังงานต้องเผชิญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการนำเสนออย่างเป็นระบบ


นอร์เวย์สนับสนุนโครงการอาเซียน ๓ ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อต่อสู้กับขยะพลาสติกในทะเล

เพื่อเป็นการสนับสนุนความพยายามของอาเซียนในการจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกในทะเลรัฐบาลนอร์เวย์จึงได้ร่วมมือกับอาเซียนในโครงการความร่วมมืออาเซียน – นอร์เวย์ว่าด้วยการสร้างขีดความสามารถในการลดมลพิษพลาสติกในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN-Norway Cooperation Project on Local Capacity Building for Reducing Plastic Pollution in the ASEAN Region: ASEANO)


กัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านการแข่งขันอาเซียน ครั้งที่ ๘

ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการจัดการประชุมด้านการแข่งขันอาเซียน ครั้งที่ ๘ (ASEAN Competition Conference: ACC) ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้แนวคิดหลัก คือ “การบรรลุเป้าหมายและรับมือกับความท้าทาย” (Attaining Milestones and Addressing Challenges) โดยที่ประชุมได้หารือถึงประเด็นด้านการแข่งขันที่เกิดขึ้นใหม่ในอาเซียน การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีและเป็นเวทีสำหรับการหารือสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทั้งนักวิชาการและภาคธุรกิจ เข้าร่วมด้วย
 


กัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านการแข่งขันอาเซียน ครั้งที่ ๘

ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการจัดการประชุมด้านการแข่งขันอาเซียน ครั้งที่ ๘ (ASEAN Competition Conference: ACC) ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้แนวคิดหลัก คือ “การบรรลุเป้าหมายและรับมือกับความท้าทาย” (Attaining Milestones and Addressing Challenges) โดยที่ประชุมได้หารือถึงประเด็นด้านการแข่งขันที่เกิดขึ้นใหม่ในอาเซียน การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีและเป็นเวทีสำหรับการหารือสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทั้งนักวิชาการและภาคธุรกิจ เข้าร่วมด้วย
 


สหภาพยุโรปส่งเสริมการใช้ป่าพรุอย่างยั่งยืนและการบรรเทาปัญหาหมอกควันในอาเซียน

สหภาพยุโรปสนับสนุนอาเซียนสำหรับความพยายามในแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนและปัญหา
ไฟไหม้ในพื้นที่ป่าพรุ โดยได้สนับสนุนเงินจำนวน ๒๔ ล้านยูโร สำหรับการดำเนินงานโครงการการใช้ป่าพรุที่ยั่งยืนและการบรรเทาหมอกควันในอาเซียน (
The Sustainable Use of Peatland and Haze Mitigation in ASEAN (SUPA)) โดยโครงการดังกล่าวได้รับเงินจำนวน ๒๐ ล้านยูโรจากสหภาพยุโรป และ ๔ ล้านยูโรจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

 


อาเซียนและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อการพัฒนาสังคมผ่านกีฬาฟุตบอล

เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ผู้นำอาเซียนเข้าร่วมงานลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MoU) ระหว่างอาเซียนและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (Fédération Internationale de Football Association: FIFA) โดยมีดาโต๊ะ ลิม จ๊อก ฮอย (Dato Lim Jock Hoi) เลขาธิการอาเซียนและนาย Gianni Infantino ประธานสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศเป็นผู้ลงนาม ณ อิมแพค อารีนา เมืองทองธานี ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๓๕ ซึ่งบันทึกความเข้าใจดังกล่าวแสดงถึงความร่วมมืออย่างเป็นทางการระหว่างอาเซียนและสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศที่จะยกระดับบทบาทของกีฬาฟุตบอลในการพัฒนาสังคมในอาเซียน


เชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาคผ่านโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน

เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะมนตรีประสานงานอาเซียน (ASEAN Coordinating Council) ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้เปิดตัวโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียนในการประชุมคณะมนตรีประสานงานอาเซียน ครั้งที่ ๒๔ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย


อาเซียนเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันด้วยกีฬา

เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ ๕ (The 5th ASEAN Ministerial Meeting on Sports: AMMS-5) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๗ - ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยเน้นถึงการให้ความสำคัญกับบทบาทของกีฬาในการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน


อาเซียนส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศและการปฏิบัติการทุ่นระเบิดในอาเซียน

เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน (ARMAC) และศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการเก็บกู้ทุนระเบิดด้านมนุษยธรรมแห่งนครเจนีวา (GICHD) ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “ความเสมอภาคทางเพศและการปฏิบัติการ
ทุ่นระเบิดซึ่งตกค้างจากสงครามในอาเซียน (ERW)” ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๒


อาเซียนส่งเสริมให้มีการปรับปรุงการผลิตโครงสร้างพื้นฐาน

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุมการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (Lead Implementing Body for the Strategic Area of Sustainable Infrastructure: LIB-SI) จัดการประชุมเกี่ยวกับการพัฒนากรอบการทำงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียนเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน - ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า ๖๐ คน ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานเฉพาะสาขา ผู้แทนจากประเทศคู่เจรจาของอาเซียน คู่เจรจาเฉพาะสาขา หุ้นส่วนการพัฒนา และผู้แทนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาในระดับพหุภาคี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการส่งเสริมและปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐาน


อาเซียนและอินเดียแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพ

 ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตัวแทนประเทศจากอินเดียและอาเซียนได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นเพื่อแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศเกี่ยวกับการใช้ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพและเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง


อาเซียนจัดทำฐานข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการจ้างงานนอกระบบเพื่อส่งเสริมการทำงานที่ดีในอาเซียน

เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๒ อาเซียนได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือเรื่องการจัดทำฐานข้อมูลทางสถิติในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการจ้างงานนอกระบบเพื่อสนับสนุนการทำงานที่มีคุณค่า ณ เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย


อาเซียนยกระดับส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืน

ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการจัดการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนในอาเซียน (The Regional Forum on the Promotion of Sustainable Consumption in ASEAN)  ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นเวทีสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริโภคอย่างยั่งยืน ที่ประชุม หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศได้หารือถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค รูปแบบการบริโภคที่มีผลต่อการผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการบริโภคอย่างยั่งยืน  รวมถึงการขับเคลื่อนการปฏิรูปนโยบายที่จำเป็นสำหรับการบริโภคอย่างยั่งยืนในอาเซียน


อาเซียนยกระดับความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒  กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Connectivity Symposium ครั้งที่ ๑๐ ที่ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้แทนจากคณะกรรมการประสานงานว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity Coordinating Committee - ACCC)  องค์กรรายสาขาของอาเซียน ประเทศคู่เจรจา ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ กว่า ๑๔๐ คน เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒  กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Connectivity Symposium ครั้งที่ ๑๐ ที่ กรุงเทพมหานคร


อาเซียนแสดงท่าทีต่อต้านสงครามการค้า

องค์กรเอกชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนและรัฐบาลออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อสันติภาพของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่สงครามการค้าทวีความรุนแรงและคุกคามต่อเศรษฐกิจโลก


อาเซียน – ประเทศกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกมุ่งมั่นกระชับความสัมพันธ์

เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อาเซียนและประเทศกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกยืนยันที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสององค์กรระดับภูมิภาค ในการประชุมระหว่างคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (the Committee of Permanent Representatives to ASEAN: CPR) และกลุ่มความร่วมมือนอกภูมิภาค ประเทศกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (the Group of External Relations of the Pacific Alliance: GER) ครั้งที่ ๕ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน


ข่าวสารนิเทศ การประชุมคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน สมัยพิเศษ ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๖๒

ระหว่างวันที่ ๒๘ กรกฎาคม - ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่กรุงเทพ ประเทศไทย มีการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสมัยพิเศษ (AICHR)  ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๖๒
โดยมีศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม


งานเปิดตัวแผนปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยง จากภัยพิบัติ ระยะที่ ๒ (Disaster Risk Financing and Insurance Phase 2: ADRFI-2)

เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) แห่งสิงคโปร์และสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ร่วมกันเปิดตัวแผนการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระยะ ๓ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการเงินให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดภัยพิบัติ ซึ่งแผนปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ระยะที่ ๒  (Disaster Risk Financing and Insurance Phase 2: ADRFI-2) เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถจัดการความเสี่ยงและถ่ายโอนความเสี่ยงทางการเงินอันเนื่องมาจากภัยพิบัติได้


การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ ๒๑

การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ ๒๑ (Twenty-First Meeting of The Sub-Regional Ministerial Steering Committee on Transboundary Haze Pollution) จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ ประเทศบรูไน โดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนด้านสิ่งแวดล้อม ที่ดิน และป่าไม้ จากประเทศบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมการประชุม  นอกจากนี้ยังได้มีการจัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับมลพิษหมอกควัน ครั้งที่ ๒๑ (Twenty-first Meeting of the Technical Working Group on Transboundary Haze Pollution) ขึ้นแล้วก่อนหน้านี้


อาเซียน สหภาพยุโรป ยกระดับความร่วมมือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่กรุงเทพ ได้มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาเซียน - สหภาพยุโรป โดยที่ประชุมแสดงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างภูมิภาค รวมถึงแก้ปัญหาความท้าทายระดับโลกเกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 


อาเซียน – นิวซีแลนด์ หารือทิศทางขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

อาเซียน – นิวซีแลนด์เตรียมเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ ๔๕ ปี รวมถึงครบรอบ ๕ ปีของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน ในปีหน้า (พ.ศ.๒๕๖๓)  โดยเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการความร่วมมืออาเซียน – นิวซีแลนด์ ครั้งที่ ๙ ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน 


การประชุมผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียน: การประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเทศมนตรีอาเซียน ครั้งที่ ๗ (7th Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals: MGMAC 2019)

นายอัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นประธานเปิดการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเทศมนตรีอาเซียน ครั้งที่ ๗ (7th Meeting of Governors/Mayors of ASEAN Capitals: MGMAC 2019) ณ โรมแรมแชงกรี – ลา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร จัดขึ้นโดยกรุงเทพมหานครเพื่อให้เป็นเวทีในการส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอาเซียนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายกเทศมนตรีของประเทศสมาชิกอาเซียน การประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่เมืองหลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน และจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพตำแหน่งประธานอาเซียนในปีนั้น ๆ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ ประเทศไทยได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน


อาเซียนและเกาหลีใต้ยืนยันความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ต่อไป

การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ ๒๓ (23rd Senior Officials Meeting) จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน อาเซียนและเกาหลีใต้ตกลงที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการที่จะทำให้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เข้มแข็งยิ่งขึ้นในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปีของความสัมพันธ์


อาเซียน ออสเตรเลีย มุ่งมั่นกระชับสัมพันธ์ความเป็นหุ้นส่วนเชิงลึก

วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย 
อาเซียน และออสเตรเลียได้หารือข้อริเริ่มการดำเนินกิจกรรมกระชับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมืออาเซียน – ออสเตรเลีย (JCC)  ครั้งที่ ๙ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน  โดยมีเอกอัครราชทูต Dato’ Shariffah Norhana Syed Mustaffa เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรมาเลเซียประจำอาเซียน และเอกอัครราชทูต Elizabeth Jane Duke เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรออสเตรเลียประจำอาเซียน เป็นประธานร่วม พร้อมทั้งผู้แทนถาวรจากประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียน และผู้แทนหน่วยงานภารกิจออสเตรเลียอาเซียน เข้าร่วมด้วย


สัปดาห์อาเซียน ๒๐๑๙ นำเสนอศิลปะและการท่องเที่ยวในเกาหลีใต้

ศูนย์อาเซียน – เกาหลีในฐานะขององค์การระดับรัฐบาลระหว่างประเทศมีกำหนดจัดงานสัปดาห์อาเซียน ๒๐๑๙ (ASEAN Week 2019) ตั้งแต่วันที่ ๑๔ – ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ประเทศเกาหลีใต้


อาเซียนและญี่ปุ่นยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกัน

เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนและญี่ปุ่นร่วมการประชุมอาเซียน – ญี่ปุ่น ครั้งที่ ๓๔ ณ เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยเน้นย้ำความสำคัญของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น และมุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันในประเด็นต่าง ๆ


ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ หารือความคืบหน้า AEC และภาวะเศรษฐกิจโลก

ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ หารือความคืบหน้า AEC และภาวะเศรษฐกิจโลก
ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ ๒๕ ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
 


อาเซียนและองคภาวะร่วมมือขับเคลื่อนการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์อาเซียน ๒๕๖๘

เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒  ณ กรุงจาการ์ตา  อาเซียน และองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน เปิดเวทีหารือความก้าวหน้า และแนวทางขับเคลื่อนบูรณาการความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ  รวมถึงเป็นเวทีหารือแลกเปลี่ยนระหว่างองค์กร  โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ๑๕๐ องค์กร จากหลากหลายภาคส่วน อาทิ ภาคประชาสังคม สตรี ตัวแทนเยาวชนอาเซียน ภาคธุรกิจ ตลอดจนสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ  ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๓  โดยมีสำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นเจ้าภาพ และได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดย Deutsche Gessellschaft fur Internationale Zusammenarbeit (GIZ)


มาเลเซีย: พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อาเซียนเชื่อมโยงสู่จีน

นับตั้งแต่เข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ (Fourth Industrial Revolution) และการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมออนไลน์ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E – Commerce) มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยกลายมาเป็นวิธีการของภาคธุรกิจและการค้าที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงอาเซียน


เลขาธิการอาเซียนและสหประชาชาติเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อสันติภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน

เมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เลขาธิการอาเซียนและเลขาธิการสหประชาชาติจัดประชุมเลขาธิการในระดับภูมิภาคครั้งที่ ๔ (Secretariat-to-Secretariat: S2S) ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยที่ประชุมยืนยันถึงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วน และรับทราบถึงความก้าวหน้าของการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงเน้นย้ำการส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้มากยิ่งขึ้น


อาเซียน - ออสเตรเลียทบทวนการดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

อาเซียน - ออสเตรเลียทบทวนการดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒  มีการจัดการประชุมคณะกรรมการวางแผนและทบทวนร่วม (JPRC) อาเซียน - ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๑๓ ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลีย ระยะที่ ๒ (AADCP II) ที่ สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา โดยมีเอกอัครราชทูต Dato’ Shariffah Norhana Syed Mustaffa เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรมาเลเซียประจำอาเซียน และเอกอัครราชทูต Elizabeth Jane Duke เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรออสเตรเลียประจำอาเซียน เป็นประธานร่วม 


อาเซียน - แคนนาดา ยกระดับความร่วมมือ

อาเซียน - แคนนาดา ยกระดับความร่วมมือ
ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงออตตาวา ได้มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน – แคนาดา ครั้งที่ ๑๖ โดยทั้งสองฝ่ายแสดงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความเป็นหุ้นส่วน และขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓


งานแถลงข่าวการเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ อาเซียน - รัสเซีย ครั้งที่ ๑๗

การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน – รัสเซีย ครั้งที่ ๑๗ (The 17th Meeting of the ASEAN-Russia Joint Cooperation Committee :ARJCC) จัดขึ้น ณ สำนักเลขาธิการอาเซียนกรุงจากาตาร์ เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ โดยมีนาย Ade Padmo Sarwono ผู้แทนถาวรอินโดนีเซียประจำอาเซียน และนาย Alexander Ivanov เอกอัครราชทูตรัสเซียประจำอาเซียนเป็นประธานการประชุม


การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในอาเซียนเป็นก้าวสำคัญที่จะนำไปสู่การลดต้นทุนในการทำธุรกรรมทางการเงิน

แรงงานข้ามชาติ นักท่องเที่ยว และธุรกิจขนาดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถลดต้นทุนของการทำธุรกรรมการเงินในอาเซียน หลังจากที่ผู้กำหนดกฎระเบียบ ธนาคาร และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารตัดสินใจที่จะประสานความร่วมมือในการให้บริการทางการเงินในภูมิภาค


อาเซียนสหรัฐอเมริกายืนยันถึงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์

อาเซียนและสหรัฐอเมริกาหารือถึงโครงการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างการประชุมที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ในการประชุมครั้งที่ 10 ของคณะกรรมการความร่วมมือร่วมอาเซียน - สหรัฐอเมริกา


อาเซียนกระชับความพยายามในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็ก

อาเซียนยังคงส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิของผู้หญิงและเด็กโดยรวม โดยการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมครั้งที่ ๑๘ ของคณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children: ACWC) ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ในวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒


การลงนามพิธีสารการค้าระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น: นัยยะสำคัญต่อชาวฟิลิปปินส์

ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรทางการค้าที่แข็งแกร่งและมีความใกล้ชิดกับฟิลิปปินส์ โดยความสัมพันธ์ทางการค้าของทั้งสองฝ่ายจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อได้มีการลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น ฉบับที่ ๑ (First Protocol to Amend the ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership Agreement)


อาเซียนแสวงหาความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นเพื่อการประสานงานกับประชาคม

เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมการประชุมประสานงานสำหรับประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ครั้งที่ ๑๑ (11th Coordinating Conference for the ASEAN Political-Security Community: 11th ASCCO) โดยที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือและความพยายามร่วมกันภายใต้ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ทั้งสามประชาคม


สิงคโปร์กำลังพิจารณากฎหมายใหม่ ถ้าใครถอด ‘ถุงยางอนามัย’ ระหว่างมีเพศสัมพันธ์โดยที่อีกฝ่ายไม่ยินยอม จะถือว่ามีความผิด

นับเป็นชัยชนะสำหรับประชาชนชาวสิงคโปร์ ที่ได้เป็นเป็นส่วนหนึ่งของร่างปฏิรูปกฎหมายอาญาที่ได้รับการพิจารณาเป็นครั้งแรกในวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยรัฐบาลได้กำหนดให้มีการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอาญา


แนวโน้มการลงทุนของประเทศลาวในปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ประเทศลาวมักถูกกล่าวว่าเป็น "แหล่งพลังงานไฟฟ้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" แม้จะเป็นหนึ่งในประเทศที่เล็กที่สุดในอาเซียนที่ประชากรทั้งหมดของประเทศมีประชากรน้อยกว่าสิบล้านคนก็ตาม ประเทศลาวตั้งอยู่ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากขึ้นคือเวียดนามและไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาภาคพลังงานของประเทศได้พบกับการลงทุนขนาดใหญ่เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากทรัพยากรพลังงานน้ำตามธรรมชาติของประเทศ
 


อาเซียนเพิ่มความพยายามในการรณรงค์เพื่อสิทธิของแรงงานข้ามชาติ

เมื่อวันที่ ๑๒ - ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ เจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียนเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการดำเนินการตามประกาศปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมแรงงานข้ามชาติ (ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers: ACMW) ครั้งที่ ๑๒ ณ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย


ความน่าเชื่อถือของอาเซียนอยู่ในภาวะเสี่ยง หากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ(Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ไม่ได้ข้อสรุปในปีนี้

          ในการประชุมหัวข้อ “การเป็นประธานอาเซียนของไทย: ความท้าทายในอนาคต” ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies: ISIS) และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจแห่งอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN: ERIA) ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้ความเห็นว่า หากประเทศไทยไม่สามารถเจรจาเพื่อบรรลุความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ได้อาจจะส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


สิงคโปร์: ยุติการคุกคามทางกฎหมายในคดีของนาย Jolovan Wham การเคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น

สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย (The Asian Forum for Human Rights and Development : FORUM-ASIA) ได้ประณาม คำพิพากษาที่ตัดสินลงโทษนาย Jolovan Wham นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวสิงคโปร์ ในข้อหาละเมิดรัฐบัญญัติว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ค.ศ. ๒๐๐๙ คดีดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงการควบคุมสังคมอย่างเข้มงวดของรัฐบาลสิงคโปร์  ด้วยเหตุนี้ สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชียจึงเรียกร้องให้รัฐบาลสิงคโปร์ก้าวขึ้นมาสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เสรีภาพขั้นพื้นฐานมากยิ่งขึ้น และยุติการคุกคามทางกฎหมายในคดีของ นาย Jolovan Wham ในวันที่ ๓ มกราคม ค.ศ. ๒๐๑๙ ที่ศาลแขวงได้วินิจฉัยว่านาย Wham มีความผิด ฐานจัดกิจกรรม "การขัดขืนของพลเมืองและการเคลื่อนไหวทางสังคม (Civil Disobedience and Social Movements)" โดยไม่ได้รับอนุญาต และปฏิเสธที่จะลงนามรับทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งจะมีการลงโทษจำคุกเขาในวันที่ ๒๓ มกราคม ค.ศ. ๒๐๑๙ นี้
 


นักข่าวเมียนมาถูกยกคำร้องอุทธรณ์การลงโทษ

นาย Kyaw Soe Oo และ นาย Wa Lone นักข่าวชื่อดังจากสำนักข่าว Reuters ถูกพิพากษาให้รับโทษจำคุกเป็นเวลาเจ็ดปี ณ เรือนจำ Insein อันโด่งดัง ณ กรุงย่างกุ้ง ในข้อหามีข้อมูลลับเกี่ยวกับการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยในรัฐยะไข่ และต่อมาศาลก็ได้ยกคำร้องอุทธรณ์กรณีดังกล่าวจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนานาประเทศถึงความชอบด้วยกฎหมายของรัฐในการปฏิเสธอุทธรณ์และการปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการล้างเผ่าพันธุ์โรงฮิงญา


รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนประชุมเพื่อแสวงหาแผนความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาชาวโรฮิงญา

รัฐมนตรีต่างประเทศจาก ๑๐ ประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องร่วมกันที่จะแสวงหาปนวทางแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาที่ครอบคลุมและยั่งยืน... อ่านต่อ


ศูนย์อาเซียน – เกาหลีได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒

ศูนย์อาเซียน - เกาหลีได้แถลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าได้รับการเชิญให้เข้าร่วมการประชุมการท่องเที่ยวอาเซียนประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒... อ่านต่อ


เวียดนาม, ลาว, กัมพูชาเพิ่มความร่วมมือด้านยาเสพติด

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมาได้มีการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงไตรภาคีและทวิภาคีครั้งที่ 17 จัดขึ้นที่นครเวียงจันทน์
การประชุมในครั้งนี้สร้างโอกาสที่ดีสำหรับทั้งสามประเทศในการทบทวนความร่วมมือในอดีตของพวกเขาและเรียนรู้จากประสบการณ์ในการใช้แถลงการณ์ร่วมกันด้านการป้องกันยาเสพติดสามฝ่ายที่นำมาใช้ในการประชุมครั้งก่อนรวมถึงการจัดทำแผนผังและแผนงานต่างๆในอนาคต ทั้งนี้ตามคำกล่าวของนาย Somvang Thammasith รัฐมนตรีช่วยว่าการรักษาความปลอดภัยสาธารณะประจำประเทศลาว ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะทำงานของลาวเพื่อดูแลการป้องกันปราบปรามและควบคุมยาเสพติด
 


สำนักเลขาธิการอาเซียน และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก กล่าวยกย่องสรรเสริญ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ

วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักเลขาธิการอาเซียนและสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA) ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดงานเพื่อกล่าวยกย่องสรรเสริญ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ผู้เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนที่ ๑๒ ในระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒ ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
 


สถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ และสหประชาติเป็นประธานร่วมจัดการประชุม เชิงปฏิบัติการว่าด้วยการจัดการและการแก้ไขความขัดแย้ง

สถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์  (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation) และทบวงกิจการการเมืองสหประชาชาติ (United Nations Department of Political Affairs) ร่วมจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการและแก้ไขความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๕  - ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑


อาเซียนและสวิสเซอร์แลนด์มุ่งมั่นส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน

 เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อาเซียนและสวิสเซอร์แลนด์ได้จัดการประชุมคณะกรรมการความร่วมมือเฉพาะสาขาอาเซียนและสวิสเซอร์แลนด์ ครั้งที่ ๓ (ASEAN-Switzerland Joint Sectoral Cooperation Committee: AS-JSCC) ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นการประชุมที่ทั้งสองฝ่ายแสดงออกถึงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน  โดยเน้นย้ำถึงการดำเนินการตามโครงการที่ได้วางแผนไว้เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน  ในการนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความยินดีต่อความก้าวหน้าของความร่วมมือที่เกิดขึ้นนับแต่มีการเจรจาเฉพาะสาขากับสวิตเซอร์แลนด์ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙


ตลาดสมาคมสตรีอาเซียนเสริมสร้างรายได้เพื่อการกุศล

สมาคมสิทธิสตรีอาเซียน แห่งกรุงจาการ์ตา (ASEAN Women’s Circle of Jakarta: AWC) ได้มีการระดมทุนมากกว่า ๑๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ จากตลาดอาเซียนที่ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑-๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ซึ่งการระดมทุนดังกล่าวนี้ก็มาจากการให้เช่าแผงลอย บัตรผ่านเข้างาน การจับรางวัล การประมูลแบบเงียบ และการบริจาค ที่ได้จากการขายสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศและคู่เจรจา โดยเงินที่ได้รับจากตลาดในปีนี้จะนำไปบริจาคให้แก่ผู้รับประโยชน์  เช่น ประเทศอินโดนีเซีย โรงเรียน Ekselensia, Tarbiyah Bunaiya และกองทุนช่วยเหลือภัยพิบัติของสมาคม AWC เป็นต้น
 


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอาเซียนมุ่งมั่นที่จะต่อสู้กับโรคติดเชื้อและโรคติดต่อที่เกิดขึ้นใหม่

     ณ เกาะบาหลี วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอาเซียนและตัวแทนจากรัฐสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States: AMS) ย้ำถึงความมุ่งมั่นในการรักษาความปลอดภัยของประชาชนในอาเซียนจากภัยคุกคามจากโรคติดเชื้อและโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในที่ประชุมบาหลีล่าสุด


อาเซียนเปิดตัวหนังสือเรื่องความสำเร็จของการเปลี่ยนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ให้เป็นดิจิทัล

               คณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small and Medium Enterprises: ACCMSME) เปิดตัวหนังสืออนาคตอาเซียน: ๕๐ เรื่องราวความสำเร็จของการเปลี่ยนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อยให้เป็นดิจิทัล (Future of ASEAN: 50 Success Stories of Digitalisation of ASEAN MSMEs) ในการประชุมสุดยอดธุรกิจและการลงทุนอาเซียน เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ (ASEAN Business and Investment Summit: ABIS) ณ ประเทศสิงคโปร์


อาเซียนส่งเสริมการใช้ดิจิทัลเพื่อสนับสนุนแรงงานข้ามชาติ

           เมื่อระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะผู้แทนอาเซียนร่วมหารือเกี่ยวกับการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการจัดการแรงงานข้ามชาติในการประชุมอาเซียนว่าด้วยแรงงานข้ามชาติ  (ASEAN Forum on Migrant Labour: AFML) ซึ่งจัดขึ้นโดยกระทรวงแรงงานของสิงคโปร์ โดยการประชุมครั้งนี้มีตัวแทนจากประเทศสมาชิกเข้าร่วมทั้งสิ้น ๙๐ คน ประกอบด้วยสมาคมนายจ้าง สมาคมลูกจ้าง และตัวแทนจากภาคประชาชน


จีนและอาเซียนร่วมสร้างวิสัยทัศน์เพื่อพัฒนาความร่วมมือและก้าวไปสู่ความสำเร็จ

           วันที่ ๘ ตุลาคมถือเป็นหนึ่งในวันสำคัญทางประวัติศาสตร์สำหรับจีนและอาเซียน เนื่องจากเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ ผู้นำของจีนและประเทศอาเซียนได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เพื่อสันติภาพและความสำเร็จ ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และทำให้จีนกลายเป็นคู่เจรจาในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อันดับหนึ่งของอาเซียนจนปัจจุบัน


อาเซียนและองค์การสหประชาชาติมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. ๒๐๒๕ พร้อมกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน

          เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อาเซียนและองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้จัดการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนและองค์การสหประชาติ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาติ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยที่ประชุมได้ยืนยันความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนกับองค์การสหประชาชาติเพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี ค.ศ. ๒๐๒๕ และวาระการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนปี ค.ศ. ๒๐๓๐ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีรัฐมนตรีต่างประเทศของสาธารณรัฐสิงคโปร์ และดร. Vivian Balakrishnan ประธานอาเซียนเป็นประธานการประชุมและมีนาย António Guterres เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ María Fernanda Espinosa Garcés  ประธานการประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติครั้งที่ ๗๓ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน นาย Lim Jock Hoi เลขาธิการอาเซียน และเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วมการประชุม


การประชุมคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากหมอกควันข้ามประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ ๗

          เมื่อวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๑๕๖๑ มีการจัดประชุมคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมระดับอนุภูมิภาคว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ ๗ (The Seventh Meeting of the Sub-Regional Ministerial Steering Committee on Transboundary Haze Pollution in the Mekong Sub-Region: 7th MSC Mekong) ณ เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม  โดยมีคณะรัฐมนตรีและคณะผู้แทนซึ่งรับผิดชอบในด้านที่ดินและไฟป่าจากกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย และเวียดนาม รวมถึงรองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาคมและองค์กรเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ซึ่งการประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้นก่อนการจัดประชุมคณะทำงานด้านเทคนิคเกี่ยวกับมลพิษหมอกควันข้ามประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ ๑๓ (Meeting of the Technical Working Group on Transboundary Haze Pollution in the Mekong Sub-Region :13th TWG Mekong)


การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ ๕๐ ณ สิงคโปร์

                  เมื่อระหว่างวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑ สิงคโปร์ได้จัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ ๕๐ และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องอีก ๓ การประชุม ได้แก่ การประชุมคณะที่ปรึกษาอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Consultations) ครั้งที่ ๒๑ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ การประชุมระดับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ครั้งที่ ๖ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ และการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asia Economic) ครั้งที่ ๖ จัดขึ้นในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑ ในการนี้มีนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และนาย Chan Chun Sing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเป็นประธานการประชุม


อาเซียนเปิดตัวโครงการวันปลอดการใช้รถ (ASEAN Car Free Day)

                          โครงการวันปลอดการใช้รถของอาเซียน (ASEAN Car Free Day: CFD) มีการเปิดตัวขึ้น ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการภายใต้การนำของกระทรวงสาธารณสุขของประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ โดยจะเป็นการเปิดพื้นที่พิเศษหรือถนนซึ่งจะไม่มีการจราจรโดยเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้ประชากรในอาเซียนได้ทำกิจกรรมทางกายและกิจกรรมอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยเป็นการนำของชุมชน  ทั้งนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมวิถีชีวิตที่ดีของประชากรในอาเซียน


อาเซียนร่วมหารือกับเมียนมาเรื่องความซับซ้อนของปัญหา “โรฮิงญา”

                อาเซียนร่วมหารือกับเมียนมาในประเด็นเกี่ยวกับความซับซ้อนของปัญหา “โรฮิงญา” ซึ่งเป็นปัญหาที่แม้จะไม่ได้อยู่ในวาระของการประชุม แต่มักจะได้รับการกล่าวถึงเป็นระยะในแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน


การประชุมไตรภาคีอาเซียน – ตุรกี ครั้งที่ ๑

เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ Dato Lim Jock Hoi เลขาธิการอาเซียน นาย Mevlüt Çavuşoğlu รัฐมนตรีต่างประเทศของตุรกี และนาย Vivian Balakrishnan รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ ได้จัดให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างอาเซียนกับตุรกีขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สิงคโปร์  


เลขาธิการอาเซียนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนของญี่ปุ่น

                            HO CHI MINH CITY, 24 July 2018 – Secretary-General of ASEAN Dato Lim Jock Hoi addressed the importance of dialogue and closer engagement between ASEAN and the private sector at a meeting with the Federation of Japanese Chambers of Commerce and Industry in ASEAN (FJCCIA).


อาเซียนผลักดันเรื่องเพศ (Gender) ในยุทธศาสตร์การจัดการภัยพิบัติ

                 ในระหว่างการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Committee on Disaster Management: ACDM) ครั้งที่ ๓๒ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ – ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๑ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผู้นำจากองค์กรการจัดการภัยพิบัติของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN National Disaster Management Organizations) ได้มีการประชุมหารือในประเด็นเรื่องสตรีกับการจัดการภัยพิบัติ
                


การประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ครั้งที่ ๕

                  เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๑ รัฐมนตรีจาก ๑๖ ประเทศสมาชิกในความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค (Regional comprehensive economic partnership: RCEP) เข้าร่วมการประชุมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ครั้งที่ ๕ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยที่ประชุมได้ตระหนักถึงการประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วของการเจรจา RCEP รวมถึงหลักการและวัตถุประสงค์สำหรับการเจรจาต่อรองความร่วมมือ RCEP และได้เน้นย้ำความสำคัญของสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่จะต้องเผชิญจากระบบการค้าแบบขั้วอำนาจเดียว (unilateral trade)  และผลกระทบที่เกิดจากระบบการค้าแบบพหุภาคี (multilateral trading system) นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ยืนยันถึงการประสานงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนการเจรจาเพื่อหาข้อสรุปของความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค เพื่อมุ่งไปสู่การยกระดับเศรษฐกิจผ่านการมีส่วนร่วมและการได้รับประโยชน์จากการผนวกรวมเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน


อาเซียนและเกาหลีต่อพันธสัญญาเพื่อการเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่ง

                              เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea: ROK) ได้เน้นย้ำในการเข้าร่วม the 22nd ASEAN-ROK Dialogue ที่จัดขึ้น ณ กรุงโซล               ถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี และยืนยันที่จะต่อพันธสัญญาเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป 


ศักราชใหม่แห่งความร่วมมืออาเซียน - จีน

                                ศักราชใหม่แห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างจีนและอาเซียนในด้านต่าง ๆ ได้เริ่มต้นขึ้นในการเฉลิมฉลองครบรอบความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งระหว่างจีนและอาเซียน ปีที่ ๑๕ ที่จัดขึ้น ณ คุนหมิง ประเทศจีน 


การประชุมคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมว่าด้วยเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ครั้งที่ ๒๐

                   การประชุมคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมว่าด้วยเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามพรมแดน ครั้งที่ ๒๐ จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนด้านสิ่งแวดล้อม ที่ดิน ไฟป่า และฝุ่นควันจากประเทศบรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย รวมถึงเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุม ในการนี้คณะทำงานฯ ได้รับทราบรายงานจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาอาเซียน (ASEAN Specialised Meteorological Centre: ASMC) โดยมีการรายงานว่าช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมิถุนายนถึงตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ทางตอนใต้ของภูมิภาคมีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาหมอกควันขึ้นได้จากการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ที่ประชุมฯ จึงได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะเพิ่มความพยายามในการป้องกันหมอกควันเพื่อลดปัญหามลพิษข้ามพรมแดนในช่วงฤดูแล้ง


อาเซียนและนอร์เวย์เตรียมพร้อมขยายความร่วมมือทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก

               การประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือระว่างอาเซียน – นอร์เวย์ (ASEAN-Norway Joint Sectoral Cooperation Committee: AN-JSCC) ครั้งที่ ๓ จัดขึ้นที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ในการประชุมครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในด้านความเป็นหุ้นส่วนผ่านความร่วมมือเชิงปฏิบัติการการสำรวจในพื้นที่ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยได้หารือถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดการทำงานร่วมกันในอนาคต รวมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล เศรษฐกิจสีน้ำเงิน[1] การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พลังงานหมุนเวียน ความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนความพยายามที่จะลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน


เตรียมความพร้อมข้าราชการไทยเพื่อการพัฒนาโครงการของอาเซียน

                                            เมื่อวันที่ ๒๓ - ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เนื่องจากรัฐบาลไทยกำลังให้ความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพของข้าราชการไทยเพื่อการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของอาเซียนในอนาคต  เป็นเหตุให้กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศของไทย ร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียนและคณะทูตถาวรไทยประจำอาเซียน จัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาโครงการของอาเซียนสำหรับข้าราชการไทย (ASEAN Project Development Training for Government Officials of Thailand) ขึ้น ณ ประเทศไทย


อาเซียนและออสเตรเลียตกลงกันเพื่อโครงการความร่วมมือที่มากยิ่งขึ้น

                                  เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ประชุมคณะกรรมการด้านการทบทวนและการวางแผนร่วม (the Joint Planning and Review Committee Meeting) ได้ตกลงกันเกี่ยวกับการผนวกรวมโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่


การประชุมคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ ๒๗

               คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้จัดการประชุมครั้งที่ ๒๗ เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีนาย Barry Desker เอกอัครราชทูตผู้แทนจากประเทศสิงคโปร์เป็นประธานการประชุม 


อาเซียนและสหรัฐฯ ตกลงพัฒนาความร่วมมืออาเซียน - สหรัฐฯ

                ​             เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อาเซียนและสหรัฐอเมริกาได้แสดงเจตนาแจ้งชัดที่จะพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน โดยการตกลงร่วมกันในการประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมืออาเซียน – สหรัฐฯ ครั้งที่ ๙ (the 9th ASEAN-U.S. Joint Cooperation Committee (JCC) Meeting) ที่จัดขึ้น ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน


การกระชุมคณะทำงานเฉพาะกิจด้านหลักสิทธิมนุษยชนที่สำคัญสำหรับผู้ทุพพลภาพในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ ๖

                                  เมื่อวันที่ ๑๖ - ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะทำงานเฉพาะกิจด้านหลักสิทธิมนุษยชนที่สำคัญสำหรับผู้ทุพพลภาพในประชาคมอาเซียน (Task Force on the Mainstreaming of the Rights of Persons with Disabilities in the ASEAN Community) ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ผู้แทนเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (SOMSWD) และผู้แทนคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) ครั้งที่ ๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 


การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๒

             การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๓๒ (32nd ASEAN Summit) จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๘ เมษายน ๒๕๖๑ โดยมีสาธารณรัฐสิงคโปร์เป็นประธานในการจัดการประชุม ภายใต้แนวคิด “Resilient and Innovative” ซึ่งให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนอาเซียน ในการนี้ได้มีการลงนามในวิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียน (ASEAN Leaders Vision) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจ และยังคงยืนยันหลักการพื้นฐานในกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia)และวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ๒๐๒๕ (ASEAN Community Vision 2025) และเพื่อเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของประชากรในอาเซียนผ่านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี จึงได้ริเริ่มแนวคิดเครือข่ายเมืองอัจฉริยะ (ASEAN Smart Cities Network) ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดการทำงานร่วมกัน การแบ่งปันแนวทางการปฏิบัติ รวมถึงการสร้างขีดความสามารถและการพัฒนาอย่างยั่งยืน              


อาเซียนและอินเดียยืนยันเดินหน้าความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่แข็งแกร่ง

                                        วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนและอินเดียได้ยืนยันอย่างแข็งขันที่จะเดินหน้าความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่แข็งแกร่งของอาเซียนและอินเดีย ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่ ๒๐ (20th ASEAN-India Senior Officials’ Meeting: AISOM) ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม


การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๒

นายมัลคอล์ม เทิร์นบูล นายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรีเลีย ได้ให้การต้อนรับผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๒ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ประเทศออสเตรเลีย และเป็นครั้งแรกของการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ได้จัดขึ้นในออสเตรเลีย 


​อาเซียน-ญี่ปุ่นเตรียมเปิดศูนย์รับมือป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์เดือนมิถุนายน ๒๕๖๑ นี้

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงการสื่อสารและกิจการภายในแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Internal Affairs and Communications of Japan- MIC) แถลงการณ์เตรียมจัดตั้งศูนย์ความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น


อาเซียนเข้าบริหารจัดการสถาบันวิสาหกิจอีเอสเอ็มอี (ESMEs) ออนไลน์ (ข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการ)

                              ในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือยูเอสเอด (U.S. Agency for International Development: USAID) ได้มอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดจิ๋ว ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small and Medium Enterprises: ACCMSME) บริหารจัดการสถาบันวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางแห่งอาเซียน (the ASEAN Small and Medium Enterprises Academy) ผ่านฟิลิปปินส์ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญสำหรับอาเซียนต่อความพยายามในการส่งเสริมการผลิต เทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับวิสาหกิจขนาดจิ๋ว ขนาดเล็ก และขนาดกลาง หรืออีเอสเอ็มอี (ESMEs) ในอาเซียน


การประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๒

นายมัลคอล์ม เทิร์นบูล นายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรีเลีย ได้ให้การต้อนรับผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๒ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ประเทศออสเตรเลีย 


แถลงการณ์ร่วมของการหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและคณะกรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๑๖

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister – AEM) และคณะกรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป (European Union Trade Commissioner) ได้มีการปรึกษาหารือ ครั้งที่ ๑๖ นำโดย H.E. Lim Hng Kiang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ และ H.E. Cecilia Malmström กรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ประเทศสิงคโปร์ 


แถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีสมัยพิเศษตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ครั้งที่ ๔

รัฐมนตรี ๑๖ ประเทศจากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership – RCEP) ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สมัยพิเศษ ครั้งที่ ๔ ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ประเทศสิงคโปร์ 


อาเซียนและสวิตเซอร์แลนด์ส่งเสริมความร่วมมือด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม

                              วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักเลขาธิการอาเซียนกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ประชุมร่วมกันในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (ASEAN-Switzerland Consultation Workshop on Technical Vocational Education and Training: TVET) ณ โรงแรมแกรน มาฮากัม กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย


ศูนย์ทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน (ARMAC) ลงนามความตกลงกับราชอาณาจักรกัมพูชา

                   ศูนย์ทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Mine Action Center: ARMAC) ได้ลงนามความตกลงกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการเป็นเจ้าบ้าน และการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ศูนย์ทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน


ประเทศสมาชิกอาเซียนเริ่มโครงการนำร่องเพื่อลดความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว

                              ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในโครงการนำร่องว่าด้วยการลดความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว (Memorandum of Understanding to jump-start a cooperation pilot project on the reduction of post-harvest losses) ในระหว่างการประชุมเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ     เมืองโบกอร์


การประชุมคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ครั้งที่ ๒๖

                            คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์


สมาชิกอาเซียน ๖ ประเทศเปิดตัวโครงการริเริ่มแบ่งปันข่าวกรองต่อสู้กลุ่มก่อการร้าย

เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ที่ผ่านมา อินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนอีก ๕ ประเทศได้เปิดตัวโครงการริเริ่ม “Our Eyes” หรือ โครงการริเริ่มแบ่งปันข่าวกรอง เพื่อต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายและลัทธินิยมความรุนแรงในภูมิภาค


การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน – อินเดียด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ ๔

                    ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้เข้าร่วมในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน - อินเดียด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ ๔ (the 4th ASEAN - INDIA Ministerial Meeting on Agriculture and Forestry) ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย


โครงการแลกเปลี่ยนผลการตรวจสอบสิทธิบัตรของอาเซียน (ASEAN Patent Examination Cooperation - ASPEC)

โครงการแลกเปลี่ยนผลการตรวจสอบสิทธิบัตรของอาเซียน (ASEAN Patent Examination Cooperation - ASPEC) เป็นความร่วมมือครั้งแรกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสิทธิบัตรระหว่างสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยผู้ยื่นขอรับการจดทะเบียนสิทธิบัตร จะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าว โดยนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ ASPEC (ASPEC Request Form) จนถึงการรับจดทะเบียน


อาเซียนต้อนรับเลขาธิการอาเซียนคนใหม่

เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ นาย Lim Jock Hoi (Dato Paduka Lim Jock Hoi) ข้าราชการระดับสูงด้านการค้าและการทูต (a top trade official and diplomat) จากบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน คนที่ ๑๔ เพื่อรับช่วงทำหน้าที่เลขาธิการอาเซียนต่อจาก นาย Le Luong Minh แห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่หมดวาระการดำรงตำแหน่งไปเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐


​เลขาธิการอาเซียนเน้นย้ำบทบาทของสตรีในการป้องกันกลุ่มคนหัวรุนแรง

นายเล เลือง มินห์ เลขาธิการอาเซียนเน้นย้ำบทบาทสำคัญของสตรีเพื่อการป้องกันการเพิ่มขึ้นและขยายตัวของกลุ่มคนหัวรุนแรง


อาเซียนประยุกต์ใช้ไอซีที (ICT) เพื่อสนับสนุนการจัดการด้านภัยพิบัติ

                           อาเซียนได้เปิดตัวแผนงานเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติและการค้นคว้า วิจัยด้านการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (the ASEAN Science-Based Disaster Management Platform: ASDMP and Research Roadmap on Disaster Risk Management: DRM) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างการสัมมนาระดับภูมิภาคในการจัดการภัยพิบัติแห่งอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ (ASEAN Disaster Management Final Regional Symposium 2017)


อาเซียนและองค์การสหประชาชาติได้ร่วมมือกันส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ผ่านโครงการ “ HeForShe ”

                    อาเซียนร่วมกับองค์การสหประชาชาติเปิดตัวโครงการ “HeForShe แห่งอาเซียน” (the ASEAN HeForShe Campaign) เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (the International Day for the Elimination of Violence Against Women) ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อันเนื่องมาจากความเป็นพันธมิตรกันระหว่างอาเซียนกับองค์กรเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ


ผู้นำอาเซียนมุ่งมั่นปกป้องสิทธิแรงงานข้ามชาติ

ผู้นำประเทศและรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมลงนามในฉันทามติอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ (ASEAN Consensus on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers) 


อาเซียนเปิดตัวรายงานการลงทุนประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ และรายงานอาเซียนปีที่ ๕๐ : ผลสำเร็จครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติในอาเซียน

สำนักเลขาธิการอาเซียนและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ได้ร่วมกันเปิดตัว “รายงานการลงทุนของอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเขตเศรษฐกิจในอาเซียน” 


สาธารณรัฐฟิลิปปินส์และสหพันธรัฐรัสเซียลงนามในสองความตกลงป้องกันประเทศ

    รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (the Republic of the Philippines) และสหพันธรัฐรัสเซีย (the Russian Federation) ได้ลงนามในสองความตกลงเพื่อการป้องกันประเทศ


การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนครั้งที่ ๑๑ (ADMM) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ADMM-Plus) ครั้งที่ ๔ ที่ประเทศฟิลิปปินส์

ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนครั้งที่ ๑๑ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนได้ทบทวนความคืบหน้าในข้อริเริ่มของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) และได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย กลุ่มแนวคิดรุนแรงแบบสุดขั้ว (violent extremism)


อาเซียนเปิดตัวประกาศแถลงการณ์ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ฝ่ายประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community- ASCC) ในสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ออกประกาศแถลงการณ์ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมฉบับแรก 


อาเซียนลงนามความตกลงการค้าเสรีกับฮ่องกง

             เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ และพันธมิตรสำคัญของอาเซียน ประกอบไปด้วยผู้นำทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้เดินทางมายังสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ ๕๐ ปี อาเซียน ในโอกาสดังกล่าวรัฐมนตรีด้านการค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงได้ลงนามในสองความตกลงการค้าเสรี (ASEAN-Hong Kong FTA : AHKFTA) และข้อตกลงด้านการลงทุน อันเป็นสัญญานความผูกพันเสรีทางการค้าระหว่างกัน


ธนาคารกลางอินโดนีเซียออกกฎเกณฑ์กระตุ้นการใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพื่อการค้าในอาเซียน

ธนาคารกลางอินโดนีเซียแถลงว่า ธนาคารฯ จะออกกฎระเบียบใหม่ที่อนุญาตให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการชำระเงินสำหรับการค้าแบบทวิภาคีระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
โดยธนาคารกลางอินโดนีเซีย ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางมาเลเซียจะทำการเลือกธนาคารที่จะสามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้


ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งอาเซียน

อาเซียนจะกำหนดนโยบายให้รถโดยสารของนักท่องเที่ยวผ่านเขตแดนระหว่างภูมิภาคได้ง่ายขึ้น โดยรัฐมนตรีจากภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด ๑๐ ประเทศจะร่วมลงนามในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารข้ามแดนโดยยานพาหนะทางบก


อินโดนีเซียพิจารณาร่างกฎหมายที่ห้ามกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศออกรายการโทรทัศน์

อินโดนีเซียกำลังพิจารณาร่างกฎหมายที่ห้ามตัวละครที่มีลักษณะเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ออกสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลกในการขัดขวางสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ


ประเทศไทยกอบโกยรางวัลผู้นำประหยัดพลังงานอาเซียน

ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 35 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้มีการประกาศรางวัล ASEAN Energy Awards 2017 จำนวน ๘๐ รางวัล โดยประเทศไทยได้รับรางวัลรวม ๒๕ รางวัล จึงทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำอาเซียนในด้านเชื้อเพลิงสะอาดและพลังงานทดแทน


ในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ ผู้สูงอายุร้อยละ ๖๐ ของโลกจะอาศัยในภูมิภาคเอเชีย

รายงานล่าสุดจากบริษัท Deloitte เผยว่าภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ จะมีผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๖๕ ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ ๖๐ ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคต้องเผชิญกับความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ (demographic challenges) ก่อนที่จะมีฐานะร่ำรวยขึ้น


อาเซียนแสวงหาอิทธิพลอันแข็งแกร่งของญี่ปุ่นในเอเชียเพื่อต่อต้านจีน

เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นครั้งที่ ๑๐ ที่นาย Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้เข้าพบกับนาย Narendra Modi นายกรัฐมนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองในเอเชียที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด โดยทั้งสองคนเป็นนักการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมและเป็นเพื่อนกันมาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ


กองกำลัง ISIS รับสมัครชาวมาเลเซียเพื่อทำ ‘สงครามศักดิ์สิทธิ์’ กับรัฐบาลเมียนมาโดยยกวิกฤตการณ์ของชาวโรฮิงญา

ชาวมาเลเซียจำนวนหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลัง ISIS (กลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย - Islamic State of Iraq and Syria) เข้าปะทะกับรัฐบาลเมียนมาใน ‘สงครามศักดิ์สิทธิ์’ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ถูกกดขี่ในรัฐยะไข่


อนาคตแห่งบูรณาการและความไม่เท่าเทียมในอาเซียนเป็นอย่างไร

ในขณะที่อาเซียนพยายามหาวิธีการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศในโลกกำลังตั้งคำถามว่าการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจเป็นหนทางก้าวหน้าที่ดีที่สุดหรือไม่ 


เลขาธิการอาเซียนเยือนสวิตเซอร์แลนด์เพื่อส่งเสริมอาเซียนในวาระครบรอบ ๕๐ ปี

นายเล  เลือง  มินห์ เลขาธิการอาเซียนได้เดินทางเยือนสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อส่งเสริมอาเซียนในวาระครบรอบ ๕๐ ปี โดยคำเชิญของรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์และคณะกรรมการอาเซียนในกรุงเจนีวาและกรุงเบิร์น เลขาธิการอาเซียนได้ใช้โอกาสนี้ในการสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสวิตเซอร์แลนด์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น


ไปไม่รอด ประกาศยกเลิกโครงการอาเซียนลิงก์เกจ

โครงการอาเซียนลิงก์เกจ (Asean Linkage) จะสิ้นสุดลงในเดือนหน้านี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างตลาดในภูมิภาคไม่สนองตอบต่อความต้องการของนักลงทุนอีกต่อไป


ไทย-สิงคโปร์ลงนามความร่วมมือเรื่องการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างกันด้านเทคโนโลยี จำนวน ๒ ฉบับ

สิงคโปร์และไทยได้ลงนามความร่วมมือ จำนวน ๒ ฉบับ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านระบบนิเวศทางเทคโนโลยี และเพื่อช่วยให้ธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น (Start-ups) ของสิงคโปร์สามารถตั้งฐานธุรกิจในประเทศไทยได้


ธนาคารกลางสิงคโปร์ชี้แจงเกี่ยวกับกฎระเบียบเหรียญดิจิทัลในสิงคโปร์และให้คำแนะนำด้านความเสี่ยงในการลงทุน ICO

ธนาคารกลางสิงคโปร์ก็ได้ชี้แจงข้อบังคับเกี่ยวกับการลงทุนหรือการออกเหรียญดิจิทัลในสิงคโปร์ 


ญี่ปุ่นเป็นกุญแจสำคัญในการถ่วงดุลอำนาจของจีนสำหรับอาเซียน

หลังจากการก่อตั้งอาเซียนครบ ๕ ทศวรรษ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพลวัตทางการเมืองในภูมิภาคกำลังทำให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของญี่ปุ่นในอาเซียนเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจของจีน


อาเซียนครบรอบ ๕๐ ปี : ตามติดวิวัฒนาการด้วยสถิติ

เนื่องในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีในการก่อตั้งอาเซียน แผนกสถิติของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนอาเซียน (ASEAN Stats) ได้ร่วมเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวด้วยการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำคัญ ๓ เล่ม 


สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลียผลักดันให้อาเซียนกดดันเกาหลีเหลือ ‘ให้ถึงที่สุด’


เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลียผลักดันให้อาเซียนกดดันเกาหลีเหนือมากขึ้นเนื่องมาจากความทะเยอะทะยานของเกาหลีเหนือในเรื่องเกี่ยวกับปรมาณู  อีกทั้ง ให้อาเซียนรับรองว่าระเบียบปฏิบัติสำหรับข้อพิพาทในทะเล (Code of Conduct for maritime disputes) มีผลผูกพันทางกฎหมาย


จีนมีอิทธิพลเหนืออาเซียนเมื่อสหรัฐอเมริกาถอนตัว

อาเซียนมีอายุครบ ๕๐ ปีในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยที่ผ่านมาอาเซียนได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical change) มาพอสมควร  แต่ในปัจจุบัน ความไม่แน่นอนของนโยบายระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาภายใต้การปกครองของประธานาธิบดี Donald  Trump ทำให้อิทธิพลของจีนเหนือภูมิภาคอาเซียนกระจายตัวมากขึ้น


ดูเตอร์เตลงนามกฎหมายให้สิทธิเรียนฟรีในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

ประธานาธิบดีดูเดอร์เตลงนามในร่างกฎหมายให้สิทธิเรียนฟรีแก่นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของรัฐ 


อุ้มบุญผิดกฎหมายกัมพูชา พยาบาล ๒ รายต้องโทษจำคุก ๑๘ เดือน

นางพยาบาล Tammy  Davis-Charles ชาวออสเตรเลียที่อาศัยอยู่ในกัมพูชาได้ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดในคดีอุ้มบุญ


สถานการณ์ตลาดรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟื้นตัวดีขึ้น

ตลาดรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากตัวเลขการขายร่วงลงมาเป็นเวลากว่า ๑ ปี โดยฟิลิปปินส์และประเทศไทยเป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตที่สำคัญสำหรับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในภูมิภาค


ความคาดหวังที่ลดลงสำหรับข้อตกลงเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติในอาเซียน

การปราบปรามผู้อพยพในมาเลเซียและประเทศไทยอย่างเป็นทางการได้ส่งผลให้เกิดความสงสัยว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะสามารถมีผลสรุปในข้อตกลงอันเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานข้ามชาติได้หรือไม่


ผ่านมา ๑ ปี กรุงปักกิ่งยังยกระดับตัวขับเคลื่อนทางทหารในพื้นที่ทะเลจีนใต้

เป็นเวลา ๑ ปีแล้วหลังจากที่จีนได้ปฏิเสธคำพิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศซึ่งได้มีคำตัดสินปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของจีนว่ามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้ แต่จีนยังมีท่าทีแน่วแน่ในการตั้งฐานทัพทหารในพื้นที่พิพาทดังกล่าว


Maybankเปิดตัวระบบนิเวศฟินเทคแห่งแรกในอาเซียน

Maybankได้เปิดตัว FinTech Sandbox ระดับภูมิภาคเพื่อให้โอกาสผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาและทดสอบแนวคิดใหม่ ๆ


ประเทศไทยและสิงคโปร์ร่วมลงนามในความตกลงร่วมมือด้านฟินเทค

ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) และธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ลงนามความตกลงร่วมมือด้าน FinTech (FinTech Cooperation Agreement- CA) และบันทึกความเข้าใจทวิภาคีว่าด้วยการกำกับดูแลสถาบันการเงินฉบับปรับปรุง (MOU) ในระหว่างการประชุมทวิภาคีประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งจัดโดยธนาคารกลางสิงคโปร์ 


โอกาสการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียคงที่เมื่อปัจจัยเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับนาย Donald Trump ลดลง

ศูนย์เพื่อการวิจัยเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (Japan Center for Economic Research - JCER) ได้มีการจัดทำแบบสำรวจประจำแต่ละไตรมาสมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจดังกล่าวมาจากคำตอบจากนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ในอินเดียและ ๕ ประเทศสมาชิกของอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย โดยล่าสุด JCER และ Nikkei[๑] ได้ร่วมกันจัดทำแบบสำรวจประจำไตรมาสตั้งแต่วันที่ ๙-๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐


ธนาคารกลางเมียนมาได้ออกกฎหมายสถาบันการเงินหลังการรอคอย

หลังจากได้ผ่านร่างกฎหมายสำคัญว่าด้วยสถาบันการเงินของเมียนมาเป็นกฎหมายมาแล้ว ๑๘ เดือน หลังจากรอคอยมาเป็นระยะเวลานาน ธนาคารกลางได้ออกหลักเกณฑ์หลายฉบับเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการของธนาคารในภาวะธุรกิจธนาคารในประเทศที่กำลังซบเซา


แจ็ค หม่ากับภัยอันน่าสะพรึงกลัวต่อธนาคารในเอเชียอาคเนย์

บริษัท Ant Financial ของแจ็ค หม่าทำความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


เผายาเสพติดมูลค่านับพันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปัญหายาเสพติดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังไม่หมดสิ้น

จากผลการสำรวจของสำนักข่าวฝรั่งเศส Agence France-Presse (AFP) เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓ ประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาการค้ายาเสพติดอย่างหนักอย่างไทย เมียนมา และกัมพูชา ได้แสดงถึงความพยายามในการกำจัดปัญหานี้ด้วยการเผาทำลายยาเสพติดของกลางที่ถูกยึดมาได้มูลค่านับพันล้านเหรียญสหรัฐเนื่องในโอกาสวันต่อต้านยาเสพติดโลก


อาเซียนสามารถเร่งดำเนินการตามความตกลงปารีสให้สำเร็จได้ไวขึ้น

ศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre for Energy-ACE) และสมาคมถ่านหินโลก (World Coal Association-WCA) ได้รายงานว่าการลงทุนเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดก๊าซเรือนกระจกภายในภูมิภาค 


อาเซียนปรับตัวเพื่อรับมือกับการที่สหรัฐอเมริกาเริ่มมีส่วนร่วมน้อยลง

การประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชียครั้งที่ ๒๓ (23rd International Conference on the Future of Asia) มุ่งเน้นไปที่มุมมองใหม่ของภูมิภาคอาเซียนซี่งจะได้รับอิทธิพลจากสหรัฐฯ น้อยลง


อาเซียนจับมือกันเพื่อต่อสู้กับการค้ามนุษย์

เมืองมะนิลา วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ – เจ้าหน้าที่แรงงาน พนักงานตรวจแรงงาน อัยการ และพนักงานสอบสวน จากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้าร่วม “การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพและการฟ้องคดีค้ามนุษย์ที่แสวงหาประโยชน์จากผู้ใช้แรงงาน


อาเซียนเล็งถึงการมีกฎเกณฑ์ในทะเลจีนใต้ที่ “มีผลผูกพันตามกฎหมาย”

นาย Le Luong Minh เลขาธิการอาเซียนได้กล่าวกับ Nikkei Asian Review เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๐ ว่าในการเจรจาตกลงกับปักกิ่ง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้กำหนดเป้าหมายที่จะกำหนดระเบียบปฏิบัติ (Code of Conduct – COC) ที่มีผลผูกพันตามกฎหมายในกรณีพิพาทเขตแดนในทะเลจีนใต้


ร่างกฎหมายว่าด้วยอูเบอร์และแกร็บจะได้รับการพิจารณาเป็นครั้งที่ ๒ ในเดือนกรกฎาคมนี้

การแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกสาธารณะ เพื่อกำกับดูแลการให้บริการอูเบอร์และแกร็บ โดยเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือนั้น คาดว่าจะมีการพิจารณาครั้งที่ ๒ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ เมือง Dewan Rakyat


การจ่ายเงินผ่านมือถือกำลังได้รับความนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แม้ว่าการใช้จ่ายเงินสดจะเป็นวิธีการหลักในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ แต่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากภูมิภาคนี้เริ่มจะให้ความสำคัญกับ “สังคมไร้เงินสด” หรือ “cashless society” มากยิ่งขึ้นโดยใช้วิธีการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน


อาเซียนและเยอรมันจับมือกันมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์

จาการ์ตา, 23 มกราคม 60 – ความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างอาเซียนและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการพัฒนาความร่วมมืออาเซียน-เยอรมัน (ASEAN-Germany Development Partnership Committee หรือ AG-DPC)
ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา
 


ประธานาธิบดีดูเตอร์เตรับหน้าที่ประธานที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นครั้งแรก

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Rodrigo Duterte จะรับหน้าที่เป็นประธานการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 30


อาเซียนตั้งข้อสงสัยในข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One belt one road) หรือเส้นทางสายไหมใหม่ของจีน

อินเดียคว่ำบาตรจีนไม่เข้าร่วมการประชุมที่กรุงปักกิ่ง ในขณะที่รัสเซียส่งนายปูตินเข้าร่วมงานแม้ยังกังวลถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาค


จับตามองอูเบอร์ที่จะปฏิรูปและสร้างกฎจราจรในย่างกุ้ง

ย่างกุ้งนับเป็นเมืองหลวงทางพาณิชย์ที่จะเข้าสู่ยุค “เศรษฐกิจแบ่งปัน” (sharing economy) เพื่อปฏิรูปและวางหลักเกณฑ์ด้านการขนส่งทางบก โดยผู้ให้บริการอูเบอร์ (Uber) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการผ่านแอปพลิเคชันบริการรถยนต์ร่วมโดยสารจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในเมืองย่างกุ้งในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐


ผู้บัญญัติกฎหมายในอาเซียนตั้งข้อสังเกตคำพิพากษาคดีหมิ่นประมาทของผู้ว่ากรุงจาการ์ตา

นายอาฮก ผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นรายที่ ๒ นับแต่นาย Henk Ngantung (ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๘) ได้ถูกพิพากษาลงโทษจำคุก ๒ ปี โดยศาลทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตาทั้งนี้ ข้อกล่าวหาเกิดจากคำปราศรัยของนายอาฮกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยเขาได้ยกข้อความในคัมภีร์กุรอานมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงการโต้เถียงของกลุ่มคนที่ชี้ชวนไม่ให้ชาวมุสลิมเลือกผู้นำชาวคริสเตียน        


อาเซียน – เดนมาร์ก ร่วมมือจัดการสิ่งแวดล้อม

รองเลขาธิการอาเซียนฝ่ายกิจการประชาคมและองค์กร นาย AKP Mochtan ให้การต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาความร่วมมือแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก นาง Ulla Tørnæs ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน
 


ประธานาธิบดีดูเตอร์เต: ฟิลิปปินส์ก็แค่ตามประเทศเพื่อนบ้านในเรื่องโทษประหารชีวิต

ในพิธีปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๓๐ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายดูเตอร์เตแถลงว่า การผลักดันให้ประเทศฟิลิปปินส์นำโทษประหารชีวิตกลับมาใช้ใหม่เป็นเพียงการทำตามประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น


เสรีภาพทางสื่อของอาเซียนถูกจัดให้อยู่ในอันดับใด

ดัชนีชี้วัดเสรีภาพสื่อโลกโดยองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ย่ำแย่อีกครั้งจากทั้งหมด ๑๘๐ อันดับ


อาเซียนส่งเสริมการเคลื่อนย้ายแรงงานสตรีในภูมิภาค

จาการ์ตา 11 เมษายน พ.ศ. 2560 – วันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อตรวจสอบร่างรายงานการเคลื่อนย้ายแรงงานสตรีในภูมิภาคอาเซียน  


อาเซียนสนับสนุนการทำงานที่ปลอดภัยและมีคุณค่า

การทำงานอย่างปลอดภัยและมีคุณค่านั้นเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ ของความร่วมมืออาเซียนว่าด้วยแรงงาน และเมื่อวันที่ 4-5 เมษายนที่ผ่านมา ตัวแทนจากองค์การเพื่อความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มารวมตัวกันเพื่อร่วมประชุมเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอาเซียน ครั้งที่ 18


อาเซียน-สหรัฐฯ มุ่งเน้นความร่วมมือที่เข้มแข็งขึ้น

จาการ์ตา 5 เมษายน พ.ศ.2560 – ในการประชุมคณะกรรมาธิการความร่วมมืออาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 8 ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา


อาเซียนมุ่งส่งเสริมการเป็นประชาคมที่เป็นหนึ่งเดียวกัน

เนื่องในวันรณรงค์การตระหนักรู้ออทิสติกส์โลก
(World Autism Awareness Day) ซึ่งมีขึ้นทุกวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ประเทศเวียดนามเองก็ได้จัดงานวันรณรงค์การตระหนักรู้ออทิสติกส์เวียดนาม (Viet Nam Autism Awareness Day : VAAD) ครั้งที่ 2 ขึ้น


ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและสภารัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนให้การรับรองแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอาเซียน ๒๕๖๘

ความสำคัญของแผนปฏิบัติงานเชิงยุทธศาสตร์ฯ คือเพื่อทำให้การติดตามงานและการแจ้งถึงการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจฯ เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ รวมถึงจะทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ 


แกรบประกาศลงทุนเพิ่ม ๓๕๐ ล้านบาทในประเทศสิงคโปร์

บริษัท Grab ผู้ให้บริการเรียกรถยนต์ส่วนบุคคลรายใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนประกาศลงทุนเพิ่ม ๓๕๐ ล้านบาท ในกิจการของบริษัทที่ประเทศสิงคโปร์โดยกล่าวว่าการลงทุนในครั้งนี้เป็นการเตรียมพร้อมรับกฎหมายใหม่ว่าด้วยการให้บริการรถสาธารณะ


รัฐมนตรีประเทศสมาชิกอาเซียนแสดงความมุ่งมั่นที่จะรับรองนโยบายและมาตรการปกป้องแรงงานข้ามชาติ และความเป็นมืออาชีพของข้าราชการในประเทศสมาชิกอาเซียน

ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมคณะมนตรีฯ ได้ข้อสรุปในนโยบายและแถลงการณ์ว่าด้วยบทบาทของข้าราชการอาเซียนตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ๒๕๖๘ (ASEAN Vision 2025)  ซึ่งจะถูกนำไปบรรจุในวาระการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) เพื่อให้ผู้ประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามต่อไปในเดือนเมษายนและที่ประชุมแสดงความมุ่งมั่นในการหาข้อสรุปในแถลงการณ์ปกป้องและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ


ผลกระทบจากสุนทรพจน์ของทรัมป์ต่อตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันพุธที่ผ่านมามีความผันผวน จากการที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมในประเด็นงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐาน
และการปฏิรูปภาษี ในขณะที่ดอลลาร์แข็งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลาง ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนที่ผ่านมา


ฟิลิปปินส์ส่งมอบสัตยาบันสารอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์

ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ประเทศฟิลิปปินส์ได้ส่งมอบสัตยาบันสารอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention Against Trafficking in Persons, Especially Women and Children (ACTIP)) แก่เลขาธิการอาเซียน 


กัมพูชาไฟเขียวโครงการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อลดการนำเข้ากระแสไฟฟ้าจากต่างชาติ

คณะรัฐมนตรีกัมพูชาได้อนุมัติโครงการพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 2 โครงการ เพื่อรองรับความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น


อาเซียนและสหประชาชาติผนึกกำลังเพื่อขจัดความรุนแรงต่อเด็ก

จาการ์ตา, 3 มีนาคม พ.ศ. 2560 – นาย Vongthep Arthakaivalvatee รองเลขาธิการอาเซียนฝ่ายสังคมและวัฒนธรรม ได้พบปะกับ นาง Marta Santos Pais ผู้แทนพิเศษจากสหประชาชาติ เพื่อหารือในประเด็นความรุนแรงต่อเด็ก ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ ทั้งสองได้มีการพบปะพูดคุยกับคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children : ACWC) เพื่อหารือถึงวิธีหยุดยั้งการกระทำรุนแรงต่อเด็ก
       


อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก มีผลบังคับใช้แล้ว

อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention Against Trafficking in Persons, Especially Women and Children (ACTIP)) ซึ่งได้มีการลงนามโดยผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์นั้น มีผลบังคับใช้แล้วในวันนี้ 


อาเซียนและสหภาพยุโรปลุย ปลุกการเจรจาเขตการค้าเสรี

อาเซียนและสหภาพยุโรปได้เปิดการเจรจาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่าจะร่วมมือกันแก้ไขความตกลงเขตการค้าเสรีที่หยุดนิ่งมาเป็นระยะหนึ่งขึ้นใหม่ และหาวิธีรับมือนโยบายปกป้องทางการค้า (Protectionism) ซึ่งกำลังเป็นกระแสอยู่ในปัจจุบัน


กัมพูชาลดภาษีเงินได้นิติบุคคลให้กับวิสากิจขนาดเล็กและกลางที่จดทะเบียนภายในปี ๒๕๖๑

กัมพูชาออกมาตรการยกเว้นภาษี ๒ ปีให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนก่อนสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๑ 


อาเซียนเร่งดำเนินการเพื่อปกป้องและส่งเสริมสิทธิของแรงงาน

ASEAN is moving a step closer to the finalisation of the draft ASEAN instrument to implement the ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers (Cebu Declaration). 


สิงคโปร์ออกกฎหมายให้ผู้ขับ Uber หรือ Grab ต้องทดสอบและขึ้นทะเบียนกับรัฐ

​ผู้ขับรถยนต์รับจ้างส่วนบุคคล (Private-hire car) กับ บริษัทที่ให้บริการรถยนต์รับจ้างส่วนบุคคล เช่น Uber, Grab ต้องเข้าทดสอบวัดความรู้กับกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์เพื่อให้ได้ใบอนุญาตหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติแก้พระราชบัญญัติการจราจรทางบก


สิงคโปร์เตรียมประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ฉบับใหม่ให้อำนาจควบคุมเนื้อหาในอินเตอร์เน็ต

กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ฉบับใหม่ของสิงคโปร์ให้อำนาจรัฐบาลเข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของหน่วยงานที่ดำเนินกิจการในด้านเศรษฐกิจในบางสาขา และยังให้อำนาจรัฐบาลสิงคโปร์ในการควบคุมหรือยับยั้งการโจมตีประเทศทางไซเบอร์ด้วย


ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับใหม่ของเวียดนามมีผลบังคับใช้แล้ว

ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับใหม่ของเวียดนามมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐


อาเซียนเร่งกระตุ้นการยอมรับคุณสมบัติร่วมกันระหว่างภูมิภาค

จาการ์ตา, 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 – การประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (ASEAN Qualifications Reference Framework - AQRF) ถูกจัดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยการประชุมดังกล่าวมีการหารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานและลำดับความสำคัญของงานในอีกสองปีข้างหน้า รวมไปถึงการระบุประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประสงค์จะรับหน้าที่ในการรายงานความคืบหน้าต่อคณะกรรมการฯ


อินโดนีเซียและญี่ปุ่นจะเพิ่มความร่วมมือทางทะเลมากขึ้น

ในการหารือทวิภาคีที่เมือง โปกอร์ ประเทศ อินโดนีเซีย นาย Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น และ นาย Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้ตกลงที่จะสนับสนุนในการให้ความร่วมมือเกี่ยวกับทะเล ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลและการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน  


ใกล้ความจริงไปอีกก้าว : เวียดนามและเมียนมาให้สัตยาบันอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์

ถือว่าเป็นการเริ่มต้นปีที่ดีของอาเซียนสำหรับความมุ่งมั่นในการต่อต้านการค้ามนุษย์ เมื่อมีประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์เพิ่มอีกสองประเทศ
 


อินโดนีเซียประกาศใช้ระเบียบกำกับดูเทคโนโลยีการเงิน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ลงทุน

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของอินโดนีเซีย (Indonesian Financial Services Authority : OJK ) ประกาศใช้ระเบียบลำดับที่ ๗๗/๒๐๑๖ (POJK No. 77/2016) ว่าด้วยการกำกับธุรกิจเทคโนโลยีการเงินโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเงินกู้จากบุคคลสู่บุคคล (Peer to Peer lending)


กรมศุลกากรและสรรพาสามิตกัมพูชาประกาศใช้ตราภาษีอากรใหม่เพื่อป้องกันการลักลอบขนสินค้าเข้าประเทศโดยไม่เสียภาษี

กรมศุลกากรและสรรพสามิต (The General Department of Coustoms and Excise (GDCE))ประเทศกัมพูชากำหนดให้สินค้านำเข้า ประกอบด้วย สุรา นาฬิกา และเครื่องศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับ ๕๐ เหรียญสหรัฐฯ ต้องลงตราประทับการเสียภาษีอากรแบบใหม่


นายกรัฐมนตรีอาเบะประกาศ พร้อมสนับสนุนฟิลิปปินส์ในการเป็นประธานอาเซียนอย่างสุดกำลัง

นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น ได้ให้คำมั่นเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2560
ว่าจะสนับสนุนการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ The East Asia Summit (EAS)
 และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในปีนี้ให้ประสบผลสำเร็จมากที่สุด


สาธารณรัฐเซอร์เบียมุ่งพัฒนาความสัมพันธ์กับอาเซียน

สาธารณรัฐเซอร์เบียแสดงความสนใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์อันดีต่ออาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญในฐานะที่อาเซียนเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาแผนการดำเนินงานในภูมิภาค


เมียนมาเตรียมผ่านกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายการค้าภายในปี ๒๕๖๐

เมียนมาเตรียมออกกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายการค้าภายใน ๒๕๖๐ 


ฟิลิปปินส์ซบธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย หวังปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายโรดริโก ดูเตอร์เต หันไปพึ่งพาจีน ผ่านธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (The Asian Infrastructure Investment Bank – AIIB) ในการกู้เงินมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในประเทศฟิลิปปินส์ อีกทั้งยังเป็นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างประเทศอีกด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ฟิลิปปินส์กล่าว


ผลการประชุมรัฐมนตรีด้านยาเสพติด ครั้งที่ ๕ ณ ประเทศสิงคโปร์

สิงคโปร์ยึดมั่นแนวทางการใช้การลงโทษเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด


อาเซียนให้การต้อนรับผู้เข้าแข่งขันแรลลี่ CAITA ประจำปี 2016

เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา เลขาธิการอาเซียนได้ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขันมาราธอนนับร้อยคนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน โดยหลังจากการการแข่งขันแรลลี่รถยนต์นานาชาติจีน – อาเซียน 2016 ( ASEAN-China International Touring Assembly and the ASEAN–China Journalists Rally 2016 หรือเรียกรวมกันว่า “CAITA” 


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬามาเลเซียเรียกร้องให้อาเซียนทบทวนสถานะการเป็นสมาชิกอาเซียนของเมียนมาจากการใช้ความรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬาเรียกร้องให้พิจารณาสถานะความเป็นสมาชิกอาเซียนของประเทศเมียนมาจากเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจา


ฟิลิปปินส์รับมอบตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน

หลังการสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งหนึ่งปีที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล ท่าน Latsamy Keomany เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสปป.ลาวประจำอาเซียน ได้ส่งมอบตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ให้แก่ท่าน Elizabeth P. Buensuceso เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรฟิลิปปินส์ประจำอาเซียนรับหน้าที่ต่อไปในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา โดยมีท่าน Le Luong Minh เลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมในพิธีเพื่อเป็นสักขีพยาน โดยนอกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้แทนถาวรอาเซียนแล้ว ฟิลิปปินส์จะรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปี 2560 ที่จะถึงนี้


อาเซียนเสริมสร้างกลไกการขจัดภัยพิบัติ

 นับว่าเป็นอีกความสำเร็จหนึ่งของอาเซียนที่ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการตอบสนองภัยพิบัติฉุกเฉินของอาเซียน โดยใช้การฝึกซ้อมแผนเผชิญภัยพิบัติฉุกเฉินในภูมิภาคอาเซียน หรือ ASEAN Regional Disaster Emergency Response Simulation Exercise 2016 (ARDEX-16


อินโดนีเซียเสนอในที่ประชุมเอเปคให้ริเริ่มความตกลงการเปิดเสรีเศรษฐกิจฉบับใหม่แทนความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP)

ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Summit) ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้เสนอต่อที่ประชุมให้ริเริ่มการเจรจาเปิดเสรีทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อค้านอำนาจของสหรัฐอเมริกาและจีน


อาเซียนจัดประชุมตำรวจจราจรครั้งแรกที่เมืองฮานอย

การประชุมตำรวจจราจรอาเซียนครั้งที่ ๑ (The First ASEAN Traffic Police Forum) จัดขึ้นที่เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ 


กฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่ของเมียนมาจะมีผลใช้บังคับในเดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐

กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของเมียนมาได้รับการรับรองจากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่นี้ได้ถูกยกร่างขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๖ โดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นักธุรกิจ และได้รับการความช่วยเหลือจาก บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation : IFC)


ตลาดหุ้นเอเชียหยุดชะงักเตรียมรับผลการประชุมโอเปค

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปิดตลาดลงด้วยมูลค่าต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักลงทุน คาดว่าผลกระทบเกิดจากวิกฤติการณ์วอลล์สตรีทและข้อตกลงลดกำลังการผลิตน้ำมันของโอเปค
 


การประชุม Steering Committee of the ASEAN Regional Mine Action Centre ครั้งที่ 2

เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ได้มีการประชุม Steering Committee of the ASEAN Regional Mine Action Centre (ARMAC) ครั้งที่ ๒ ณ สำนักงานใหญ่ ARMAC กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา


การประชุมคณะทำงานด้านผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปอาเซียน

โรคอาหารเป็นพิษ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากโรคดังกล่าวบั่นทอนระบบการดูแลสุขภาพและส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการค้าของประเทศ 


กระทรวงคมนาคมฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านคมนาคมอาเซียน

กระทรวงคมนาคมฟิลิปปินส์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญ ๒ เรื่อง ได้แก่ (๑) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียนครั้งที่ ๔๒ (๒) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ ๒๒ ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์


อาเซียน-สหประชาชาติจับมือกันร่วมต้านความรุนแรงในภูมิภาค

จาการ์ตา – เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักเลขาธิการอาเซียน สหประชาชาติ สถาบันวิจัยและค้นคว้า และประชาสังคมได้เข้าร่วมหารือในประเด็นการป้องกันความรุนแรงในภูมิภาคอาเซียน
 


นักเรียกร้องสิทธิด้านเกษกรรมคัดค้านรัฐบาลอินโดนีเซียไม่ควรให้สัตยาบันในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

   นักเรียกร้องสิทธิเพื่อสิทธิของเกษตรกรเรียกร้องต่อรัฐบาลอินโดนีเซียว่าไม่ควรให้สัตยาบันในความตกลงการค้าเสรี RCEP เนื่องจากความตกลงดังกล่าวบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องให้สัตยาบันใน International Union for the Protection of New Varieties of Plants (UPOV) 1991


FAO ถวายตำแหน่ง "ทูตพิเศษผู้ขจัดความหิวโหย" แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งทูตพิเศษโครงการขจัดความหิวโหยให้หมดไป ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organisation: FAO) เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดงานวันอาหารโลก ประจำปี 2559 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ณ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กรุงเทพมหานคร 


อาเซียนเปิดตัวโครงการอำนวยความสะดวกทางการค้า “ASSIST”

ASSIST เป็นกระบวนการที่ถูกออกแบบขึ้นโดยมีลักษณะไม่เป็นการผูกมัดและเป็นกระบวนการปรึกษาหารือที่ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันแก้ปัญหาเกี่ยวกับการค้าข้ามพรมแดนในอาเซียน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งที่มีฐานอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียน 


การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑

เช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม ได้มีการเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อาเซียน-อียู หรือ AEMM ครั้งที่ ๒๑ อย่างเป็นทางการ ณ กรุงเทพ ภายใต้หัวข้อ “มุ่งสู่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์” โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายมีโรสลาฟ ไลชัก (Miroslav Lajčák) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรปสาธาณรัฐสโลวัก ในฐานะประธานสหภาพยุโรป จะเป็นประธานร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑ ที่กรุงเทพฯ
 


ผลการประชุม RCEP ครั้งที่ 15

ผลการประชุม RCEP ครั้งที่ 15


จาการ์ตาจัดเก็บเงินนิรโทษกรรมทางภาษีได้กว่า 7.5 ร้อยล้านดอลลาร์ฯ

จาการ์ตา – กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรกของการนิรโทษกรรมทางภาษีในอินโดนีเซียได้รับผลตอบรับที่น่าพึงพอใจ มีผู้มาลงทะเบียนใช้สิทธินับหมื่นราย เม็ดเงินสะพัดเป็นจำนวน 97.2 พันล้านรูเปีย หรือกว่า 7.45 ร้อยล้านดอลลาร์ โดยเงินที่เก็บได้จะนำมาอุดหนุนการขาดดุลของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา


ประเทศไทยมอบสัตยาบันสารเข้าร่วมเป็นภาคี อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์

เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ ๔๙  นาย ดอน ปรมัตถ์วินัย ทำพิธีมอบสัตยาบันสารเพื่อแสดงเจตนาของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ให้กับนายเล เลือง มินห์ เลขาธิการอาเซียน


ที่ประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอาเซียนพลัสตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

การประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอาเซียนพลัสเห็นชอบตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
ในการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอาเซียนพลัส (ADMM Plus) เมื่อวันนที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ ประเทศลาว ที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอของประเทศฟิลิปปินส์ในการจัดตั้งคณะทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์คณะทำงานดังกล่าวจะทำงานในกรอบความร่วมมือ ASEAN Defense Ministers Meeting Plus (ASMM-Plus)
 
ข้อเสนอดังกล่าวเป็นข้อเสนอจากประเทศฟิลิปปินส์เสนอโดยรัฐมนตรีกลาโหม Voltaire Gazmin ในการประชุมรัฐมนตรีตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ที่ประเทศมาเลเซีย และมีการหารืออย่างต่อเนื่องทั้งในการประชุมเจ้าหน้าระดับสูงของกระทรวงกลาโหม (ASEAN Defense Senior Officials Meeting: ADSOM) และในคณะทำงาน ที่ประเทศลาวเมื่อเดือนที่ผ่านมากุมพาพันธ์

การจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ จะมีประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญและการถ่ายทอดความรู้ในทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ คณะทำงานผู้เชี่ยวที่จัดตั้งขึ้นจะมีฟิลิปปินส์ประเทศผู้เสนอและประเทศนิวซีแลนด์เป็นประธานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๓
 
ปัจจุบันการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอาเซียนพลัส (ADMM-Plus) ประกอบด้วยคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ (ADMM-Plus Experts’ Working Groups (EWGs) จำนวน ๖ คณะ ประกอบด้วย คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความช่วยเหลือทางมนุษย์ธรรมและความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเล คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหาร คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้าย คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ และคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความช่วยทางด้านมนุษยธรรมในการทำเหมือง
 


อาเซียน ออสเตรเลีย มุ่งมั่นกระชับสัมพันธ์ความเป็นหุ้นส่วนเชิงลึก

วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย 
อาเซียน และออสเตรเลียได้หารือข้อริเริ่มการดำเนินกิจกรรมกระชับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมืออาเซียน – ออสเตรเลีย (JCC)  ครั้งที่ ๙ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน  โดยมีเอกอัครราชทูต Dato’ Shariffah Norhana Syed Mustaffa เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรมาเลเซียประจำอาเซียน และเอกอัครราชทูต Elizabeth Jane Duke เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรออสเตรเลียประจำอาเซียน เป็นประธานร่วม พร้อมทั้งผู้แทนถาวรจากประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียน และผู้แทนหน่วยงานภารกิจออสเตรเลียอาเซียน เข้าร่วมด้วย
ที่ประชุมได้หารือทบทวนถึงแผนปฏิบัติอาเซียน – ออสเตรเลียเพื่อการดำเนินตามความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (๒๐๑๕ - ๒๐๑๙) รวมถึงหารือถึงความพยายามจัดทำแผนปฏิบัติระยะ ๕ ปี ฉบับใหม่ให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ออสเตรเลียเน้นย้ำถึงการสนับสนุนความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างของภูมิภาคที่กำลังพัฒนา และสนับสนุนความพยายามขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนอย่างต่อเนื่อง  เห็นได้จากวาระครบรอบ ๔๕ ปี ความสัมพันธ์ประเทศคู่เจรจา อาเซียน – ออสเตรเลีย อาเซียนแสดงความขอบคุณออสเตรเลียสำหรับความร่วมมือ และ
การสนับสนุนการบูรณาการประชาคมอาเซียนมาอย่างลึกซึ้ง และยาวนาน

ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความร่วมมือในประเด็นสำคัญที่สนใจร่วมกัน อาทิ การต่อต้านการค้ามนุษย์ ความมั่นคงทางทะเล มาตรฐานทางการค้าดิจิทัล การแลกเปลี่ยนบุคลากรการศึกษา ตลอดจนการบริหารจัดการภัยพิบัติ
นอกจากนี้ อาเซียนยังแสดงความยินดีกับการจัดโครงการใหม่ของออสเตรเลียเกี่ยวกับการทูตสาธารณะ ภายใต้หัวข้อ “Australia Now” ที่ได้เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา รวมถึงการริเริ่มอื่น ๆ อาทิ โครงการเกี่ยวกับธรรมมาภิบาล โครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโครงการเพื่อเพิ่มการสนับสนุนอาเซียนเกี่ยวกับประเด็นทางทะเล ตลอดจนระยะใหม่ของโครงการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขง อีกด้วย
(เรียบเรียงจาก  https://asean.org/asean-australia-commit-deepen-partnership/  ข่าว ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒)
 


อาเซียน เมียนมา ทบทวนมาตรการปฏิบัติต่อสถานการณ์ในรัฐยะไข่

วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อาเซียน และรัฐบาลเมียนมา ได้ตกลงเริ่มมาตรการปฏิบัติการบรรเทาสถานกาณ์ในรัฐยะไข่ ในที่ประชุมผู้ประสานงานระดับสูง ณ กรุงเนปิดอว์  ประเทศเมียนมา
นาย Dato Lim Jock Hoi เลขาธิการอาเซียน พร้อมด้วยนางสาว Adelina Kamal ผู้อำนวยการบริหารศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแห่งอาเซียนเพื่อการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance and Disaster Management – AHA Center) และผู้แทนอาเซียน
เข้าร่วมการประชุมผู้ประสานงานยุทธศาสตร์ระดับสูง ครั้งที่ ๒ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงสำคัญของเมียนมา และรัฐยะไข่



    © 2017 Office of the Council of State.