
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ยื่นฟ้อง Google ข้อหาทำผิดตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า โดยการผูกขาดบริการค้นหาทางอินเตอร์เน็ตและการโฆษณาออนไลน์ ซึ่งเป็นคดีที่ถือเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่หน่วยงานของสหรัฐฯ เอาผิดกับบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ในรอบหลายปี โดย Google ต้องเผชิญกับการสอบสวนข้อเท็จจริงอย่างเข้มงวดเป็นเวลามากกว่าหนึ่งปี เกี่ยวกับการประกอบกิจการของตนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ศาลสหรัฐอเมริกา ได้มีคำสั่งระงับการห้ามใช้แอปพลิเคชัน TikTok ในสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นการชั่วคราว ถือเป็นชัยชนะของฝั่งแอปพลิเคชัน TikTok หลังจากมีข้อต่อสู้ว่าคำสั่งห้ามใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นการละเมิดและขัดต่อรัฐธรรมนูญสหรัฐฯ
เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ องค์การอนามัยโลกได้เปิดตัวโครงการ “COVID-19 Law Lab” ซึ่งเป็นการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ของประเทศต่าง ๆ จำนวนกว่า ๑๙๐ ประเทศทั่วโลก ผ่านช่องทางเว็บไซต์ COVIDLawLab.org โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการสนับสนุนข้อมูลกฎหมายแก่ประเทศต่าง ๆ ในการร่างและใช้บังคับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19 สร้างความเชื่อมั่นแก่ชุมชนและประชาชนว่ากฎหมายดังกล่าวจะป้องกันด้านสุขอนามัย ความเป็นอยู่ที่ดีและเป็นไปตามมาตรฐานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ค.ศ. ๒๐๒๐ สภายุโรปได้เห็นชอบกฎหมาย Taxonomy ซึ่งจะเป็นกฎหมายหลักในการสนับสนุนนโยบาย European Green Deal ของสหภาพยุโรป การส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน โดยได้กำหนดให้มีการจัดทำ “Green list” หรือรายการหมวดหมู่ธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งจะเป็นระบบการจัดประเภทกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
เมื่อวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้แทนกลุ่มเยาวชนจากประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวน ๒๐ คน ได้หารือกับผู้นำอาเซียนผ่านระบบการประชุมทางไกลในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๓๖ โดยเป็นการเปิดเวทีให้ผู้แทนเยาวชนอาเซียนได้หารือกับผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับประเด็นที่เยาวชนให้ความสำคัญ อาทิ การเป็นผู้ประกอบการ อาสาสมัคร และการพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ เป็นต้น
เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการเปิดตัว “โครงการเพิ่มความสามารถตรวจหาเชื้อ COVID - ๑๙ สำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน” ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มดำเนินการโดยสาธารณรัฐเกาหลี (ROK) โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการสนับสนุนการวินิจฉัยโรค การบันทึก และการติดตามผู้สัมผัสภายในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดหาชุดทดสอบโมเลกุลและอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) และการจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ชุดและอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายในประเทศ ซึ่งมีจำนวนเงินสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า ๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการจัดการประชุมประสานงานของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ ๑๕ ซึ่งเป็นการประชุมเสมือนจริง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า ๑๐๐ คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Senior Officials Committee for the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) คณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร หน่วยงานระดับภูมิภาคของอาเซียน และผู้แทนองค์กรเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการจัดการประชุมประสานงานของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ ๑๕ ซึ่งเป็นการประชุมเสมือนจริง โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า ๑๐๐ คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Senior Officials Committee for the ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) คณะกรรมาธิการผู้แทนถาวร หน่วยงานระดับภูมิภาคของอาเซียน และผู้แทนองค์กรเฉพาะสาขาที่เกี่ยวข้องภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการเปิดตัว “โครงการเพิ่มความสามารถตรวจหาเชื้อ COVID - ๑๙ สำหรับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน” ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มดำเนินการโดยสาธารณรัฐเกาหลี (ROK) โดยมีวัตถุประสงค์เป็นการสนับสนุนการวินิจฉัยโรค การบันทึกและติดตาม ผู้สัมผัสภายประประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการจัดหาชุดทดสอบโมเลกุลและอุปกรณ์ทางการแพทย์ อาทิ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) และการจัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้ชุดและอุปกรณ์ทางการแพทย์ภายในประเทศ ซึ่งมีจำนวนเงินสนับสนุนโครงการมูลค่ากว่า ๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ
อาเซียนและออสเตรเลียมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยมุ่งเน้นความร่วมมือในสาขาที่มีความสำคัญเพื่อจัดการกับความท้าทายที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) และศูนย์อาเซียน
ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity) ได้จัดการสัมมนาออนไลน์เป็นครั้งแรกในหัวข้อ "ความหลากหลายทางชีวภาพ และการป้องกันโรคระบาดในอนาคต" โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นด้านการเชื่อมโยงความหลากหลายทางชีวภาพ การสาธารณสุข และการการดำเนินงานของภูมิภาคเพื่อบูรณาการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการรับมือกับ COVID -๑๙ ซึ่งเป็นการสัมมนาผ่านระบบปฏิบัติการ Zoom และการถ่ายทอดสดทาง Facebook โดยประชาชนและผู้สนใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวกับบทบาทของธรรมชาติในการป้องกันโรคระบาดในอนาคต
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินของอาเซียนด้านการสาธารณสุข (ASEAN Emergency Operations Centre Network for Public Health Emergencies) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทางไกลระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุขของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นที่มุ่งเน้นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการดำเนินการควบคุม บรรเทา และรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ เจ้าหน้าที่จากประเทศไทย และเวียดนามได้กล่าวถึงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการที่ดำเนินการโดยรัฐบาลเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ รวมถึงความท้าทาย และข้อกังวลที่เกิดขึ้นสำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการในภาวะฉุกเฉินของอาเซียนด้านการสาธารณสุข (ASEAN Emergency Operations Centre Network for Public Health Emergencies) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมทางไกลระหว่างเจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุขของประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นที่มุ่งเน้นนโยบายสำคัญของรัฐบาลในการดำเนินการควบคุม บรรเทา และรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ เจ้าหน้าที่จากประเทศไทย และเวียดนามได้กล่าวถึงนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการที่ดำเนินการโดยรัฐบาลเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ รวมถึงความท้าทาย และข้อกังวลที่เกิดขึ้นสำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส การที่ประชาคมอาเซียนขาดเวทีหารือร่วมกันถึงการรับมือกับการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัส สะท้อนถึงการบูรณาการระดับภูมิภาคและความเป็นเอกภาพของประเทศสมาชิกอาเซียน อินโดนีเซียซึ่งเป็นหนึ่งในห้าประเทศผู้ก่อตั้งประชาคมอาเซียน ได้เรียกร้องให้มีการจัดประชุมสมัยพิเศษ เรื่อง COVID - ๑๙ เพื่อหารือเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การรับมือกับ COVID - ๑๙ ในระดับภูมิภาค
เมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ อาเซียนจัดการประชุมทางไกลผ่านจอภาพระหว่างรัฐมนตรีสาธารณสุขกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะของประเทศสมาชิกเพื่อกระชับความร่วมมือในภูมิภาคด้วยการยกระดับมาตรการควบคุมและบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙
เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๓ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและเจ้าหน้าที่จากประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนร่วมประชุมทางไกลผ่านจอภาพสมัยพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการจัดการกับการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙
เมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ ได้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการความร่วมมืออาเซียน – แคนาดา ครั้งที่ ๘ ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน โดยทั้งสองฝ่ายแสดงความมุ่งมั่นที่จะกระชับความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกัน โดยผู้เข้าร่วมจากทั้งสองฝ่ายกล่าวถึงการเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันมาอย่างยาวนานซึ่งได้ขยายขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมประเด็นภายใต้เสาหลักทั้งสามของประชาคมอาเซียน และแผนปฏิบัติการอาเซียน - แคนาดา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓ ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องสมบูรณ์จนถึงปีสุดท้าย และทั้งสองฝ่ายคาดหวังที่จะสามารถสรุปแผนปฏิบัติการฉบับใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๔ – ๒๕๖๘ ได้ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการสร้างประชาคม เพิ่มความสามารถในการบูรณาการ ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัย และการเติบโตของภูมิภาค
เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่ด้านการสาธารณสุข และผู้เชี่ยวชาญทางคลินิกจากประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมประชุมทางไกลผ่านระบบ Video Conference ในวาระพิเศษ เรื่องการระงับการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 (Coronavirus 2019) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติและประเด็นท้าทายเกี่ยวกับการจัดการสถานพยาบาลเพื่อรองรับผู้ป่วย COVID-19 และวิธีการระงับการแพร่ระบาดไปสู่ชุมชน ซึ่งการประชุมดังกล่าวการดำเนินงานโดยเครือข่ายศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขของอาเซียน (ASEAN Emergency Operations Centre Network for public health emergencies: ASEAN EOC Network) นำโดยมาเลเซีย
หน่วยงานด้านสาธารณสุขอาเซียนร่วมกับหน่วยงานของประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ระดมกลไกความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อตอบสนองต่อการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา (Coronavirus) ภายหลังจากมีรายงานจากประเทศจีนถึงกลุ่มผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบที่ไม่ทราบสาเหตุเมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้จัดการประชุมเรื่องการปฏิบัติตามมาตรา ๒๒ ของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการนับถือศาสนาและความเชื่อ ณ เมือง Nusa Dua เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอินโดนีเซีย (AICHR Indonesia) ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย และสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชน (Office of High Commissioner of Human Rights: OHCHR) เป็นเจ้าภาพร่วม
ได้มีการจัดการประชุมเชิงวิชาการระดับสูงขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ณ กรุงฮานอยประเทศเวียดนาม โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น และเป็นการเริ่มต้นการเป็นประธานอาเซียนปี พ.ศ. ๒๕๖๓ ของเวียดนาม โดยมี ฯพณฯ Vu Ho อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศเวียดนามกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม
เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๓ เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจและประธานหน่วยงานรายสาขาของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจรายสาขาของอาเซียน (Committee of the Whole: COW) ครั้งที่ ๑๐ ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เพื่อประเมินความก้าวหน้าการดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ รวมทั้งแบ่งปันวาระสำคัญที่จะดำเนินการและประสานการทำงานในปี พ.ศ. ๒๕๖๓
ก่อนการเข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของเวียดนามในปี พ.ศ. ๒๕๖๓ เวียดนามได้มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสจากหน่วยงานของรัฐประเทศสมาชิกอาเซียนและสหประชาชาติ ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานต่าง ๆ ของอาเซียน และผู้แทนหน่วยงานภายนอกอื่น ๆ ระหว่างวันที่ ๓ - ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงฮานอย เพื่อหารือถึงความร่วมมือในการสนับสนุนการดำเนินงานของสถาบันอาเซียนว่าด้วยสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN-Institute for Peace and Reconciliation - AIPR) โดยมีกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม และหน่วยงานด้านการเมืองและสันติภาพของสหประชาชาติ (the United Nations Departments of Political and Peacebuilding Affairs and Peace Operations) เป็นผู้จัดร่วม
เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ผู้นำเยาวชน นักวิชาการและผู้นำการเปลี่ยนแปลงจากประเทศสมาชิกอาเซียนและออสเตรเลียเข้าร่วมการประชุมในเวทีผู้นำเยาวชนอาเซียน – ออสเตรเลีย ณ สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยการประชุมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Australia Now! ASEAN ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการ ASEAN-Australia Strategic Youth Partnership แห่งเครือรัฐออสเตรเลีย
เมื่อวันที่ ๔- ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เจ้าหน้าที่กฎหมายการแข่งขันและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานด้านพลังงานจากอาเซียน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ประชุมร่วมกัน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้หารือในประเด็นการแข่งขันของภาคพลังงาน ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้พัฒนาความเข้าใจในประเด็นการแข่งขันและความท้าทายที่จะภาคพลังงานต้องเผชิญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการนำเสนออย่างเป็นระบบ
ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการจัดการประชุมด้านการแข่งขันอาเซียน ครั้งที่ ๘ (ASEAN Competition Conference: ACC) ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้แนวคิดหลัก คือ “การบรรลุเป้าหมายและรับมือกับความท้าทาย” (Attaining Milestones and Addressing Challenges) โดยที่ประชุมได้หารือถึงประเด็นด้านการแข่งขันที่เกิดขึ้นใหม่ในอาเซียน การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีและเป็นเวทีสำหรับการหารือสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทั้งนักวิชาการและภาคธุรกิจ เข้าร่วมด้วย
ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการจัดการประชุมด้านการแข่งขันอาเซียน ครั้งที่ ๘ (ASEAN Competition Conference: ACC) ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้แนวคิดหลัก คือ “การบรรลุเป้าหมายและรับมือกับความท้าทาย” (Attaining Milestones and Addressing Challenges) โดยที่ประชุมได้หารือถึงประเด็นด้านการแข่งขันที่เกิดขึ้นใหม่ในอาเซียน การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีและเป็นเวทีสำหรับการหารือสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขันทั้งนักวิชาการและภาคธุรกิจ เข้าร่วมด้วย
สหภาพยุโรปสนับสนุนอาเซียนสำหรับความพยายามในแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนและปัญหา
ไฟไหม้ในพื้นที่ป่าพรุ โดยได้สนับสนุนเงินจำนวน ๒๔ ล้านยูโร สำหรับการดำเนินงานโครงการการใช้ป่าพรุที่ยั่งยืนและการบรรเทาหมอกควันในอาเซียน (The Sustainable Use of Peatland and Haze Mitigation in ASEAN (SUPA)) โดยโครงการดังกล่าวได้รับเงินจำนวน ๒๐ ล้านยูโรจากสหภาพยุโรป และ ๔ ล้านยูโรจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ ๕ (The 5th ASEAN Ministerial Meeting on Sports: AMMS-5) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๗ - ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ โดยเน้นถึงการให้ความสำคัญกับบทบาทของกีฬาในการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน
เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน (ARMAC) และศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการเก็บกู้ทุนระเบิดด้านมนุษยธรรมแห่งนครเจนีวา (GICHD) ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาค ภายใต้หัวข้อ “ความเสมอภาคทางเพศและการปฏิบัติการ
ทุ่นระเบิดซึ่งตกค้างจากสงครามในอาเซียน (ERW)” ณ กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างวันที่ ๒๑ - ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๒
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาตัวแทนประเทศจากอินเดียและอาเซียนได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขึ้นเพื่อแบ่งปันประสบการณ์และแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศเกี่ยวกับการใช้ดัชนีชี้วัดความหลากหลายทางชีวภาพและเพื่อส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพในเมือง
เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๖๒ อาเซียนได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือเรื่องการจัดทำฐานข้อมูลทางสถิติในระดับภูมิภาคเกี่ยวกับการจ้างงานนอกระบบเพื่อสนับสนุนการทำงานที่มีคุณค่า ณ เมืองจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ระหว่างวันที่ ๒๙ - ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการจัดการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยการส่งเสริมการบริโภคอย่างยั่งยืนในอาเซียน (The Regional Forum on the Promotion of Sustainable Consumption in ASEAN) ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นเวทีสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริโภคอย่างยั่งยืน ที่ประชุม หน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศได้หารือถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค รูปแบบการบริโภคที่มีผลต่อการผลักดันกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการบริโภคอย่างยั่งยืน รวมถึงการขับเคลื่อนการปฏิรูปนโยบายที่จำเป็นสำหรับการบริโภคอย่างยั่งยืนในอาเซียน
เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Connectivity Symposium ครั้งที่ ๑๐ ที่ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ผู้แทนจากคณะกรรมการประสานงานว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity Coordinating Committee - ACCC) องค์กรรายสาขาของอาเซียน ประเทศคู่เจรจา ตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ กว่า ๑๔๐ คน เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Connectivity Symposium ครั้งที่ ๑๐ ที่ กรุงเทพมหานคร
องค์กรเอกชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกร้องให้ผู้นำอาเซียนและรัฐบาลออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อสันติภาพของเศรษฐกิจโลกในช่วงที่สงครามการค้าทวีความรุนแรงและคุกคามต่อเศรษฐกิจโลก
เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อาเซียนและประเทศกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิกยืนยันที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสององค์กรระดับภูมิภาค ในการประชุมระหว่างคณะกรรมาธิการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน (the Committee of Permanent Representatives to ASEAN: CPR) และกลุ่มความร่วมมือนอกภูมิภาค ประเทศกลุ่มพันธมิตรแปซิฟิก (the Group of External Relations of the Pacific Alliance: GER) ครั้งที่ ๕ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน
ระหว่างวันที่ ๒๘ กรกฎาคม - ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่กรุงเทพ ประเทศไทย มีการจัดการประชุมคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสมัยพิเศษ (AICHR) ครั้งที่ ๑ ประจำปี ๒๕๖๒
โดยมีศาสตราจารย์ ดร.อมรา พงศาพิชญ์ ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย
สิทธิมนุษยชน เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วม
เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University) แห่งสิงคโปร์และสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ร่วมกันเปิดตัวแผนการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระยะ ๓ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการเงินให้กับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเตรียมความพร้อมเมื่อเกิดภัยพิบัติ ซึ่งแผนปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ระยะที่ ๒ (Disaster Risk Financing and Insurance Phase 2: ADRFI-2) เป็นเครื่องมือที่จะทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถจัดการความเสี่ยงและถ่ายโอนความเสี่ยงทางการเงินอันเนื่องมาจากภัยพิบัติได้
เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่กรุงเทพ ได้มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาเซียน - สหภาพยุโรป โดยที่ประชุมแสดงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างภูมิภาค รวมถึงแก้ปัญหาความท้าทายระดับโลกเกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อาเซียน – นิวซีแลนด์เตรียมเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ ๔๕ ปี รวมถึงครบรอบ ๕ ปีของความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน ในปีหน้า (พ.ศ.๒๕๖๓) โดยเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการจัดการประชุมคณะกรรมการความร่วมมืออาเซียน – นิวซีแลนด์ ครั้งที่ ๙ ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ ๒๓ (23rd Senior Officials Meeting) จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงบันดาเสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน อาเซียนและเกาหลีใต้ตกลงที่จะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการที่จะทำให้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์เข้มแข็งยิ่งขึ้นในโอกาสครบรอบ ๓๐ ปีของความสัมพันธ์
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
อาเซียน และออสเตรเลียได้หารือข้อริเริ่มการดำเนินกิจกรรมกระชับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมืออาเซียน – ออสเตรเลีย (JCC) ครั้งที่ ๙ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน โดยมีเอกอัครราชทูต Dato’ Shariffah Norhana Syed Mustaffa เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรมาเลเซียประจำอาเซียน และเอกอัครราชทูต Elizabeth Jane Duke เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรออสเตรเลียประจำอาเซียน เป็นประธานร่วม พร้อมทั้งผู้แทนถาวรจากประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียน และผู้แทนหน่วยงานภารกิจออสเตรเลียอาเซียน เข้าร่วมด้วย
ศูนย์อาเซียน – เกาหลีในฐานะขององค์การระดับรัฐบาลระหว่างประเทศมีกำหนดจัดงานสัปดาห์อาเซียน ๒๐๑๙ (ASEAN Week 2019) ตั้งแต่วันที่ ๑๔ – ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ประเทศเกาหลีใต้
ที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ หารือความคืบหน้า AEC และภาวะเศรษฐกิจโลก
ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการจัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ ๒๕ ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทย เพื่อหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าการดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) รวมถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน
เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงจาการ์ตา อาเซียน และองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน เปิดเวทีหารือความก้าวหน้า และแนวทางขับเคลื่อนบูรณาการความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงเป็นเวทีหารือแลกเปลี่ยนระหว่างองค์กร โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า ๑๕๐ องค์กร จากหลากหลายภาคส่วน อาทิ ภาคประชาสังคม สตรี ตัวแทนเยาวชนอาเซียน ภาคธุรกิจ ตลอดจนสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ โดยมีสำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นเจ้าภาพ และได้รับการสนับสนุนบางส่วนจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดย Deutsche Gessellschaft fur Internationale Zusammenarbeit (GIZ)
อาเซียน - ออสเตรเลียทบทวนการดำเนินงานด้านความร่วมมือเพื่อการพัฒนา
เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๒ มีการจัดการประชุมคณะกรรมการวางแผนและทบทวนร่วม (JPRC) อาเซียน - ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๑๓ ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาอาเซียน-ออสเตรเลีย ระยะที่ ๒ (AADCP II) ที่ สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา โดยมีเอกอัครราชทูต Dato’ Shariffah Norhana Syed Mustaffa เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรมาเลเซียประจำอาเซียน และเอกอัครราชทูต Elizabeth Jane Duke เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรออสเตรเลียประจำอาเซียน เป็นประธานร่วม
อาเซียน - แคนนาดา ยกระดับความร่วมมือ
ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงออตตาวา ได้มีการจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน – แคนาดา ครั้งที่ ๑๖ โดยทั้งสองฝ่ายแสดงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับความเป็นหุ้นส่วน และขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๙ – ๒๕๖๓
แรงงานข้ามชาติ นักท่องเที่ยว และธุรกิจขนาดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่สามารถลดต้นทุนของการทำธุรกรรมการเงินในอาเซียน หลังจากที่ผู้กำหนดกฎระเบียบ ธนาคาร และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารตัดสินใจที่จะประสานความร่วมมือในการให้บริการทางการเงินในภูมิภาค
อาเซียนและสหรัฐอเมริกาหารือถึงโครงการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างการประชุมที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ในการประชุมครั้งที่ 10 ของคณะกรรมการความร่วมมือร่วมอาเซียน - สหรัฐอเมริกา
อาเซียนยังคงส่งเสริมสวัสดิการและคุ้มครองสิทธิของผู้หญิงและเด็กโดยรวม โดยการส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมครั้งที่ ๑๘ ของคณะกรรมาธิการอาเซียนเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children: ACWC) ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ในวันที่ ๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
ญี่ปุ่นเป็นพันธมิตรทางการค้าที่แข็งแกร่งและมีความใกล้ชิดกับฟิลิปปินส์ โดยความสัมพันธ์ทางการค้าของทั้งสองฝ่ายจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อได้มีการลงนามในพิธีสารแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน – ญี่ปุ่น ฉบับที่ ๑ (First Protocol to Amend the ASEAN-Japan Comprehensive Economic Partnership Agreement)
นับเป็นชัยชนะสำหรับประชาชนชาวสิงคโปร์ ที่ได้เป็นเป็นส่วนหนึ่งของร่างปฏิรูปกฎหมายอาญาที่ได้รับการพิจารณาเป็นครั้งแรกในวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยรัฐบาลได้กำหนดให้มีการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดอาญา
ประเทศลาวมักถูกกล่าวว่าเป็น "แหล่งพลังงานไฟฟ้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" แม้จะเป็นหนึ่งในประเทศที่เล็กที่สุดในอาเซียนที่ประชากรทั้งหมดของประเทศมีประชากรน้อยกว่าสิบล้านคนก็ตาม ประเทศลาวตั้งอยู่ระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจมากขึ้นคือเวียดนามและไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาภาคพลังงานของประเทศได้พบกับการลงทุนขนาดใหญ่เป็นส่วนใหญ่เนื่องจากทรัพยากรพลังงานน้ำตามธรรมชาติของประเทศ
สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย (The Asian Forum for Human Rights and Development : FORUM-ASIA) ได้ประณาม คำพิพากษาที่ตัดสินลงโทษนาย Jolovan Wham นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนชาวสิงคโปร์ ในข้อหาละเมิดรัฐบัญญัติว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ค.ศ. ๒๐๐๙ คดีดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นถึงการควบคุมสังคมอย่างเข้มงวดของรัฐบาลสิงคโปร์ ด้วยเหตุนี้ สภาเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชียจึงเรียกร้องให้รัฐบาลสิงคโปร์ก้าวขึ้นมาสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้เสรีภาพขั้นพื้นฐานมากยิ่งขึ้น และยุติการคุกคามทางกฎหมายในคดีของ นาย Jolovan Wham ในวันที่ ๓ มกราคม ค.ศ. ๒๐๑๙ ที่ศาลแขวงได้วินิจฉัยว่านาย Wham มีความผิด ฐานจัดกิจกรรม "การขัดขืนของพลเมืองและการเคลื่อนไหวทางสังคม (Civil Disobedience and Social Movements)" โดยไม่ได้รับอนุญาต และปฏิเสธที่จะลงนามรับทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานตำรวจ ซึ่งจะมีการลงโทษจำคุกเขาในวันที่ ๒๓ มกราคม ค.ศ. ๒๐๑๙ นี้
นาย Kyaw Soe Oo และ นาย Wa Lone นักข่าวชื่อดังจากสำนักข่าว Reuters ถูกพิพากษาให้รับโทษจำคุกเป็นเวลาเจ็ดปี ณ เรือนจำ Insein อันโด่งดัง ณ กรุงย่างกุ้ง ในข้อหามีข้อมูลลับเกี่ยวกับการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยในรัฐยะไข่ และต่อมาศาลก็ได้ยกคำร้องอุทธรณ์กรณีดังกล่าวจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์จากนานาประเทศถึงความชอบด้วยกฎหมายของรัฐในการปฏิเสธอุทธรณ์และการปกปิดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการล้างเผ่าพันธุ์โรงฮิงญา
รัฐมนตรีต่างประเทศจาก ๑๐ ประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นพ้องร่วมกันที่จะแสวงหาปนวทางแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญาที่ครอบคลุมและยั่งยืน... อ่านต่อ
ศูนย์อาเซียน - เกาหลีได้แถลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ว่าได้รับการเชิญให้เข้าร่วมการประชุมการท่องเที่ยวอาเซียนประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒... อ่านต่อ
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมาได้มีการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงไตรภาคีและทวิภาคีครั้งที่ 17 จัดขึ้นที่นครเวียงจันทน์
การประชุมในครั้งนี้สร้างโอกาสที่ดีสำหรับทั้งสามประเทศในการทบทวนความร่วมมือในอดีตของพวกเขาและเรียนรู้จากประสบการณ์ในการใช้แถลงการณ์ร่วมกันด้านการป้องกันยาเสพติดสามฝ่ายที่นำมาใช้ในการประชุมครั้งก่อนรวมถึงการจัดทำแผนผังและแผนงานต่างๆในอนาคต ทั้งนี้ตามคำกล่าวของนาย Somvang Thammasith รัฐมนตรีช่วยว่าการรักษาความปลอดภัยสาธารณะประจำประเทศลาว ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะทำงานของลาวเพื่อดูแลการป้องกันปราบปรามและควบคุมยาเสพติด
วันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักเลขาธิการอาเซียนและสถาบันวิจัยเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA) ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันจัดงานเพื่อกล่าวยกย่องสรรเสริญ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ผู้เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนที่ ๑๒ ในระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ - ๒๕๕๒ ที่สำนักเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
สถาบันอาเซียนเพื่อสันติภาพและความสมานฉันท์ (ASEAN Institute for Peace and Reconciliation) และทบวงกิจการการเมืองสหประชาชาติ (United Nations Department of Political Affairs) ร่วมจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการและแก้ไขความขัดแย้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ระหว่างวันที่ ๕ - ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
สมาคมสิทธิสตรีอาเซียน แห่งกรุงจาการ์ตา (ASEAN Women’s Circle of Jakarta: AWC) ได้มีการระดมทุนมากกว่า ๑๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐ จากตลาดอาเซียนที่ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑-๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ ที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ซึ่งการระดมทุนดังกล่าวนี้ก็มาจากการให้เช่าแผงลอย บัตรผ่านเข้างาน การจับรางวัล การประมูลแบบเงียบ และการบริจาค ที่ได้จากการขายสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศและคู่เจรจา โดยเงินที่ได้รับจากตลาดในปีนี้จะนำไปบริจาคให้แก่ผู้รับประโยชน์ เช่น ประเทศอินโดนีเซีย โรงเรียน Ekselensia, Tarbiyah Bunaiya และกองทุนช่วยเหลือภัยพิบัติของสมาคม AWC เป็นต้น
ณ เกาะบาหลี วันที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของอาเซียนและตัวแทนจากรัฐสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States: AMS) ย้ำถึงความมุ่งมั่นในการรักษาความปลอดภัยของประชาชนในอาเซียนจากภัยคุกคามจากโรคติดเชื้อและโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในที่ประชุมบาหลีล่าสุด
สิงคโปร์เสนอให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประเทศอินโดนีเซีย
เมื่อระหว่างวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๖๑ ถึงวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑ สิงคโปร์ได้จัดการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ ๕๐ และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องอีก ๓ การประชุม ได้แก่ การประชุมคณะที่ปรึกษาอาเซียนบวกสาม (ASEAN Plus Three Consultations) ครั้งที่ ๒๑ ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๑ การประชุมระดับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ครั้งที่ ๖ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๑ และการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (East Asia Economic) ครั้งที่ ๖ จัดขึ้นในวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๖๑ ในการนี้มีนาย Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และนาย Chan Chun Sing รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเป็นประธานการประชุม
อาเซียนร่วมหารือกับเมียนมาในประเด็นเกี่ยวกับความซับซ้อนของปัญหา “โรฮิงญา” ซึ่งเป็นปัญหาที่แม้จะไม่ได้อยู่ในวาระของการประชุม แต่มักจะได้รับการกล่าวถึงเป็นระยะในแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ Dato Lim Jock Hoi เลขาธิการอาเซียน นาย Mevlüt Çavuşoğlu รัฐมนตรีต่างประเทศของตุรกี และนาย Vivian Balakrishnan รัฐมนตรีต่างประเทศของสิงคโปร์ ได้จัดให้มีการประชุมไตรภาคีระหว่างอาเซียนกับตุรกีขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สิงคโปร์
HO CHI MINH CITY, 24 July 2018 – Secretary-General of ASEAN Dato Lim Jock Hoi addressed the importance of dialogue and closer engagement between ASEAN and the private sector at a meeting with the Federation of Japanese Chambers of Commerce and Industry in ASEAN (FJCCIA).
เมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี (Republic of Korea: ROK) ได้เน้นย้ำในการเข้าร่วม the 22nd ASEAN-ROK Dialogue ที่จัดขึ้น ณ กรุงโซล ถึงความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน – สาธารณรัฐเกาหลี และยืนยันที่จะต่อพันธสัญญาเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นต่อไป
ศักราชใหม่แห่งความร่วมมือเพื่อการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างจีนและอาเซียนในด้านต่าง ๆ ได้เริ่มต้นขึ้นในการเฉลิมฉลองครบรอบความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งระหว่างจีนและอาเซียน ปีที่ ๑๕ ที่จัดขึ้น ณ คุนหมิง ประเทศจีน
เมื่อวันที่ ๒๓ - ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เนื่องจากรัฐบาลไทยกำลังให้ความสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพของข้าราชการไทยเพื่อการพัฒนาโครงการต่าง ๆ ของอาเซียนในอนาคต เป็นเหตุให้กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศของไทย ร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียนและคณะทูตถาวรไทยประจำอาเซียน จัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อการพัฒนาโครงการของอาเซียนสำหรับข้าราชการไทย (ASEAN Project Development Training for Government Officials of Thailand) ขึ้น ณ ประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ประชุมคณะกรรมการด้านการทบทวนและการวางแผนร่วม (the Joint Planning and Review Committee Meeting) ได้ตกลงกันเกี่ยวกับการผนวกรวมโครงการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่
คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้จัดการประชุมครั้งที่ ๒๗ เมื่อวันที่ ๑๓ – ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ณ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีนาย Barry Desker เอกอัครราชทูตผู้แทนจากประเทศสิงคโปร์เป็นประธานการประชุม
เมื่อวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ อาเซียนและสหรัฐอเมริกาได้แสดงเจตนาแจ้งชัดที่จะพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน โดยการตกลงร่วมกันในการประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมืออาเซียน – สหรัฐฯ ครั้งที่ ๙ (the 9th ASEAN-U.S. Joint Cooperation Committee (JCC) Meeting) ที่จัดขึ้น ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน
เมื่อวันที่ ๑๖ - ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะทำงานเฉพาะกิจด้านหลักสิทธิมนุษยชนที่สำคัญสำหรับผู้ทุพพลภาพในประชาคมอาเซียน (Task Force on the Mainstreaming of the Rights of Persons with Disabilities in the ASEAN Community) ได้ประชุมร่วมกับผู้แทนคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (AICHR) ผู้แทนเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (SOMSWD) และผู้แทนคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) ครั้งที่ ๖ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนและอินเดียได้ยืนยันอย่างแข็งขันที่จะเดินหน้าความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่แข็งแกร่งของอาเซียนและอินเดีย ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน - อินเดีย ครั้งที่ ๒๐ (20th ASEAN-India Senior Officials’ Meeting: AISOM) ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
นายมัลคอล์ม เทิร์นบูล นายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรีเลีย ได้ให้การต้อนรับผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๒ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ประเทศออสเตรเลีย และเป็นครั้งแรกของการประชุมสุดยอดอาเซียนที่ได้จัดขึ้นในออสเตรเลีย
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงการสื่อสารและกิจการภายในแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of Internal Affairs and Communications of Japan- MIC) แถลงการณ์เตรียมจัดตั้งศูนย์ความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น
ในวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือยูเอสเอด (U.S. Agency for International Development: USAID) ได้มอบหมายให้คณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดจิ๋ว ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small and Medium Enterprises: ACCMSME) บริหารจัดการสถาบันวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางแห่งอาเซียน (the ASEAN Small and Medium Enterprises Academy) ผ่านฟิลิปปินส์ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญสำหรับอาเซียนต่อความพยายามในการส่งเสริมการผลิต เทคโนโลยี และนวัตกรรมสำหรับวิสาหกิจขนาดจิ๋ว ขนาดเล็ก และขนาดกลาง หรืออีเอสเอ็มอี (ESMEs) ในอาเซียน
นายมัลคอล์ม เทิร์นบูล นายกรัฐมนตรีของประเทศออสเตรีเลีย ได้ให้การต้อนรับผู้นำจากประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ ๒ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๗ – ๑๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ประเทศออสเตรเลีย
รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Minister – AEM) และคณะกรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป (European Union Trade Commissioner) ได้มีการปรึกษาหารือ ครั้งที่ ๑๖ นำโดย H.E. Lim Hng Kiang รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ และ H.E. Cecilia Malmström กรรมาธิการการค้าสหภาพยุโรป เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ประเทศสิงคโปร์
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักเลขาธิการอาเซียนกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ประชุมร่วมกันในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (ASEAN-Switzerland Consultation Workshop on Technical Vocational Education and Training: TVET) ณ โรงแรมแกรน มาฮากัม กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
ศูนย์ทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Regional Mine Action Center: ARMAC) ได้ลงนามความตกลงกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการเป็นเจ้าบ้าน และการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มกันแก่ศูนย์ทุ่นระเบิดภูมิภาคอาเซียน
ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือในโครงการนำร่องว่าด้วยการลดความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว (Memorandum of Understanding to jump-start a cooperation pilot project on the reduction of post-harvest losses) ในระหว่างการประชุมเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ เมืองโบกอร์
คณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Intergovernmental Commission on Human Rights: AICHR) ได้จัดประชุมร่วมกันระหว่างวันที่ ๒๔ - ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์
เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ที่ผ่านมา อินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนอีก ๕ ประเทศได้เปิดตัวโครงการริเริ่ม “Our Eyes” หรือ โครงการริเริ่มแบ่งปันข่าวกรอง เพื่อต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายและลัทธินิยมความรุนแรงในภูมิภาค
ผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศได้เข้าร่วมในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน - อินเดียด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ ๔ (the 4th ASEAN - INDIA Ministerial Meeting on Agriculture and Forestry) ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
โครงการแลกเปลี่ยนผลการตรวจสอบสิทธิบัตรของอาเซียน (ASEAN Patent Examination Cooperation - ASPEC) เป็นความร่วมมือครั้งแรกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านสิทธิบัตรระหว่างสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยผู้ยื่นขอรับการจดทะเบียนสิทธิบัตร จะได้รับประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าว โดยนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอ ASPEC (ASPEC Request Form) จนถึงการรับจดทะเบียน
เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ นาย Lim Jock Hoi (Dato Paduka Lim Jock Hoi) ข้าราชการระดับสูงด้านการค้าและการทูต (a top trade official and diplomat) จากบรูไนดารุสซาลาม ได้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน คนที่ ๑๔ เพื่อรับช่วงทำหน้าที่เลขาธิการอาเซียนต่อจาก นาย Le Luong Minh แห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่หมดวาระการดำรงตำแหน่งไปเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
นายเล เลือง มินห์ เลขาธิการอาเซียนเน้นย้ำบทบาทสำคัญของสตรีเพื่อการป้องกันการเพิ่มขึ้นและขยายตัวของกลุ่มคนหัวรุนแรง
อาเซียนได้เปิดตัวแผนงานเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติและการค้นคว้า วิจัยด้านการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (the ASEAN Science-Based Disaster Management Platform: ASDMP and Research Roadmap on Disaster Risk Management: DRM) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ระหว่างการสัมมนาระดับภูมิภาคในการจัดการภัยพิบัติแห่งอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ (ASEAN Disaster Management Final Regional Symposium 2017)
อาเซียนร่วมกับองค์การสหประชาชาติเปิดตัวโครงการ “HeForShe แห่งอาเซียน” (the ASEAN HeForShe Campaign) เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา เพื่อรำลึกถึงวันยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล (the International Day for the Elimination of Violence Against Women) ในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ อันเนื่องมาจากความเป็นพันธมิตรกันระหว่างอาเซียนกับองค์กรเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ
ผู้นำประเทศและรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมลงนามในฉันทามติอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ (ASEAN Consensus on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers)
สำนักเลขาธิการอาเซียนและการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) ได้ร่วมกันเปิดตัว “รายงานการลงทุนของอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเขตเศรษฐกิจในอาเซียน”
รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (the Republic of the Philippines) และสหพันธรัฐรัสเซีย (the Russian Federation) ได้ลงนามในสองความตกลงเพื่อการป้องกันประเทศ
ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนครั้งที่ ๑๑ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนได้ทบทวนความคืบหน้าในข้อริเริ่มของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) และได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อการร้าย กลุ่มแนวคิดรุนแรงแบบสุดขั้ว (violent extremism)
ฝ่ายประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community- ASCC) ในสำนักเลขาธิการอาเซียนได้ออกประกาศแถลงการณ์ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมฉบับแรก
เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง ๑๐ ประเทศ และพันธมิตรสำคัญของอาเซียน ประกอบไปด้วยผู้นำทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ได้เดินทางมายังสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เพื่อร่วมเฉลิมฉลองครบรอบ ๕๐ ปี อาเซียน ในโอกาสดังกล่าวรัฐมนตรีด้านการค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนและเขตบริหารพิเศษฮ่องกงได้ลงนามในสองความตกลงการค้าเสรี (ASEAN-Hong Kong FTA : AHKFTA) และข้อตกลงด้านการลงทุน อันเป็นสัญญานความผูกพันเสรีทางการค้าระหว่างกัน
ธนาคารกลางอินโดนีเซียแถลงว่า ธนาคารฯ จะออกกฎระเบียบใหม่ที่อนุญาตให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นของประเทศสมาชิกอาเซียนในการชำระเงินสำหรับการค้าแบบทวิภาคีระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
โดยธนาคารกลางอินโดนีเซีย ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางมาเลเซียจะทำการเลือกธนาคารที่จะสามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้
อาเซียนจะกำหนดนโยบายให้รถโดยสารของนักท่องเที่ยวผ่านเขตแดนระหว่างภูมิภาคได้ง่ายขึ้น โดยรัฐมนตรีจากภูมิภาคอาเซียนทั้งหมด ๑๐ ประเทศจะร่วมลงนามในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารข้ามแดนโดยยานพาหนะทางบก
อินโดนีเซียกำลังพิจารณาร่างกฎหมายที่ห้ามตัวละครที่มีลักษณะเป็นบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) ออกสถานีโทรทัศน์แห่งชาติ ซึ่งถือเป็นการเคลื่อนไหวล่าสุดของรัฐบาลประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลกในการขัดขวางสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ในการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 35 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ได้มีการประกาศรางวัล ASEAN Energy Awards 2017 จำนวน ๘๐ รางวัล โดยประเทศไทยได้รับรางวัลรวม ๒๕ รางวัล จึงทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาตำแหน่งผู้นำอาเซียนในด้านเชื้อเพลิงสะอาดและพลังงานทดแทน
รายงานล่าสุดจากบริษัท Deloitte เผยว่าภายในปี พ.ศ. ๒๕๗๓ จะมีผู้ที่มีอายุตั้งแต่ ๖๕ ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ ๖๐ ของประชากรโลกอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ทำให้เศรษฐกิจของหลายประเทศในภูมิภาคต้องเผชิญกับความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ (demographic challenges) ก่อนที่จะมีฐานะร่ำรวยขึ้น
เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นครั้งที่ ๑๐ ที่นาย Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นได้เข้าพบกับนาย Narendra Modi นายกรัฐมนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นพันธมิตรทางการเมืองในเอเชียที่ใกล้ชิดกันมากที่สุด โดยทั้งสองคนเป็นนักการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมและเป็นเพื่อนกันมาเป็นเวลานานกว่าหนึ่งทศวรรษ
ชาวมาเลเซียจำนวนหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากกองกำลัง ISIS (กลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย - Islamic State of Iraq and Syria) เข้าปะทะกับรัฐบาลเมียนมาใน ‘สงครามศักดิ์สิทธิ์’ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ถูกกดขี่ในรัฐยะไข่
ในขณะที่อาเซียนพยายามหาวิธีการพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศในโลกกำลังตั้งคำถามว่าการโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจเป็นหนทางก้าวหน้าที่ดีที่สุดหรือไม่
นายเล เลือง มินห์ เลขาธิการอาเซียนได้เดินทางเยือนสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๖๐ เพื่อส่งเสริมอาเซียนในวาระครบรอบ ๕๐ ปี โดยคำเชิญของรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์และคณะกรรมการอาเซียนในกรุงเจนีวาและกรุงเบิร์น เลขาธิการอาเซียนได้ใช้โอกาสนี้ในการสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนและสวิตเซอร์แลนด์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
โครงการอาเซียนลิงก์เกจ (Asean Linkage) จะสิ้นสุดลงในเดือนหน้านี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างตลาดในภูมิภาคไม่สนองตอบต่อความต้องการของนักลงทุนอีกต่อไป
สิงคโปร์และไทยได้ลงนามความร่วมมือ จำนวน ๒ ฉบับ เพื่อกระชับความร่วมมือด้านระบบนิเวศทางเทคโนโลยี และเพื่อช่วยให้ธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น (Start-ups) ของสิงคโปร์สามารถตั้งฐานธุรกิจในประเทศไทยได้
ธนาคารกลางสิงคโปร์ก็ได้ชี้แจงข้อบังคับเกี่ยวกับการลงทุนหรือการออกเหรียญดิจิทัลในสิงคโปร์
หลังจากการก่อตั้งอาเซียนครบ ๕ ทศวรรษ ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและพลวัตทางการเมืองในภูมิภาคกำลังทำให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของญี่ปุ่นในอาเซียนเพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจของจีน
เนื่องในโอกาสครบรอบ ๕๐ ปีในการก่อตั้งอาเซียน แผนกสถิติของสำนักงานเลขาธิการอาเซียนอาเซียน (ASEAN Stats) ได้ร่วมเฉลิมฉลองวาระดังกล่าวด้วยการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สำคัญ ๓ เล่ม
เมื่อวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลียผลักดันให้อาเซียนกดดันเกาหลีเหนือมากขึ้นเนื่องมาจากความทะเยอะทะยานของเกาหลีเหนือในเรื่องเกี่ยวกับปรมาณู อีกทั้ง ให้อาเซียนรับรองว่าระเบียบปฏิบัติสำหรับข้อพิพาทในทะเล (Code of Conduct for maritime disputes) มีผลผูกพันทางกฎหมาย
อาเซียนมีอายุครบ ๕๐ ปีในวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๖๐ โดยที่ผ่านมาอาเซียนได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitical change) มาพอสมควร แต่ในปัจจุบัน ความไม่แน่นอนของนโยบายระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกาภายใต้การปกครองของประธานาธิบดี Donald Trump ทำให้อิทธิพลของจีนเหนือภูมิภาคอาเซียนกระจายตัวมากขึ้น
ประธานาธิบดีดูเดอร์เตลงนามในร่างกฎหมายให้สิทธิเรียนฟรีแก่นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของรัฐ
นางพยาบาล Tammy Davis-Charles ชาวออสเตรเลียที่อาศัยอยู่ในกัมพูชาได้ถูกศาลพิพากษาว่ามีความผิดในคดีอุ้มบุญ
ตลาดรถยนต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องหลังจากตัวเลขการขายร่วงลงมาเป็นเวลากว่า ๑ ปี โดยฟิลิปปินส์และประเทศไทยเป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตที่สำคัญสำหรับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ในภูมิภาค
การปราบปรามผู้อพยพในมาเลเซียและประเทศไทยอย่างเป็นทางการได้ส่งผลให้เกิดความสงสัยว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะสามารถมีผลสรุปในข้อตกลงอันเกี่ยวกับสิทธิของแรงงานข้ามชาติได้หรือไม่
เป็นเวลา ๑ ปีแล้วหลังจากที่จีนได้ปฏิเสธคำพิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศซึ่งได้มีคำตัดสินปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของจีนว่ามีอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ทะเลจีนใต้ แต่จีนยังมีท่าทีแน่วแน่ในการตั้งฐานทัพทหารในพื้นที่พิพาทดังกล่าว
Maybankได้เปิดตัว FinTech Sandbox ระดับภูมิภาคเพื่อให้โอกาสผู้ประกอบการสตาร์ทอัพและผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาและทดสอบแนวคิดใหม่ ๆ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) และธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ลงนามความตกลงร่วมมือด้าน FinTech (FinTech Cooperation Agreement- CA) และบันทึกความเข้าใจทวิภาคีว่าด้วยการกำกับดูแลสถาบันการเงินฉบับปรับปรุง (MOU) ในระหว่างการประชุมทวิภาคีประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งจัดโดยธนาคารกลางสิงคโปร์
ศูนย์เพื่อการวิจัยเศรษฐกิจของญี่ปุ่น (Japan Center for Economic Research - JCER) ได้มีการจัดทำแบบสำรวจประจำแต่ละไตรมาสมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลสำรวจดังกล่าวมาจากคำตอบจากนักเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ในอินเดียและ ๕ ประเทศสมาชิกของอาเซียน อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และประเทศไทย โดยล่าสุด JCER และ Nikkei[๑] ได้ร่วมกันจัดทำแบบสำรวจประจำไตรมาสตั้งแต่วันที่ ๙-๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
หลังจากได้ผ่านร่างกฎหมายสำคัญว่าด้วยสถาบันการเงินของเมียนมาเป็นกฎหมายมาแล้ว ๑๘ เดือน หลังจากรอคอยมาเป็นระยะเวลานาน ธนาคารกลางได้ออกหลักเกณฑ์หลายฉบับเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการของธนาคารในภาวะธุรกิจธนาคารในประเทศที่กำลังซบเซา
บริษัท Ant Financial ของแจ็ค หม่าทำความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากผลการสำรวจของสำนักข่าวฝรั่งเศส Agence France-Presse (AFP) เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ๓ ประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาการค้ายาเสพติดอย่างหนักอย่างไทย เมียนมา และกัมพูชา ได้แสดงถึงความพยายามในการกำจัดปัญหานี้ด้วยการเผาทำลายยาเสพติดของกลางที่ถูกยึดมาได้มูลค่านับพันล้านเหรียญสหรัฐเนื่องในโอกาสวันต่อต้านยาเสพติดโลก
ศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre for Energy-ACE) และสมาคมถ่านหินโลก (World Coal Association-WCA) ได้รายงานว่าการลงทุนเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดก๊าซเรือนกระจกภายในภูมิภาค
การประชุมนานาชาติว่าด้วยอนาคตของเอเชียครั้งที่ ๒๓ (23rd International Conference on the Future of Asia) มุ่งเน้นไปที่มุมมองใหม่ของภูมิภาคอาเซียนซี่งจะได้รับอิทธิพลจากสหรัฐฯ น้อยลง
เมืองมะนิลา วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ – เจ้าหน้าที่แรงงาน พนักงานตรวจแรงงาน อัยการ และพนักงานสอบสวน จากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้าร่วม “การประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนที่มีประสิทธิภาพและการฟ้องคดีค้ามนุษย์ที่แสวงหาประโยชน์จากผู้ใช้แรงงาน
การแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกสาธารณะ เพื่อกำกับดูแลการให้บริการอูเบอร์และแกร็บ โดยเรียกรถผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือนั้น คาดว่าจะมีการพิจารณาครั้งที่ ๒ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ เมือง Dewan Rakyat
จาการ์ตา, 23 มกราคม 60 – ความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างอาเซียนและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการพัฒนาความร่วมมืออาเซียน-เยอรมัน (ASEAN-Germany Development Partnership Committee หรือ AG-DPC)
ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน กรุงจาการ์ตา
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ Rodrigo Duterte จะรับหน้าที่เป็นประธานการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 30
อินเดียคว่ำบาตรจีนไม่เข้าร่วมการประชุมที่กรุงปักกิ่ง ในขณะที่รัสเซียส่งนายปูตินเข้าร่วมงานแม้ยังกังวลถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาค
ย่างกุ้งนับเป็นเมืองหลวงทางพาณิชย์ที่จะเข้าสู่ยุค “เศรษฐกิจแบ่งปัน” (sharing economy) เพื่อปฏิรูปและวางหลักเกณฑ์ด้านการขนส่งทางบก โดยผู้ให้บริการอูเบอร์ (Uber) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการผ่านแอปพลิเคชันบริการรถยนต์ร่วมโดยสารจะเริ่มให้บริการอย่างเป็นทางการในเมืองย่างกุ้งในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
– สำนักเลขาธิการอาเซียนทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุมWorld Bank South-South Exchange Visit เมื่อวานนี้
นายอาฮก ผู้ว่าราชการกรุงจาการ์ตาซึ่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นรายที่ ๒ นับแต่นาย Henk Ngantung (ดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๘) ได้ถูกพิพากษาลงโทษจำคุก ๒ ปี โดยศาลทางตอนเหนือของกรุงจาการ์ตาทั้งนี้ ข้อกล่าวหาเกิดจากคำปราศรัยของนายอาฮกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยเขาได้ยกข้อความในคัมภีร์กุรอานมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงการโต้เถียงของกลุ่มคนที่ชี้ชวนไม่ให้ชาวมุสลิมเลือกผู้นำชาวคริสเตียน
รองเลขาธิการอาเซียนฝ่ายกิจการประชาคมและองค์กร นาย AKP Mochtan ให้การต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาความร่วมมือแห่งราชอาณาจักรเดนมาร์ก นาง Ulla Tørnæs ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน
ในพิธีปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๓๐ เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายดูเตอร์เตแถลงว่า การผลักดันให้ประเทศฟิลิปปินส์นำโทษประหารชีวิตกลับมาใช้ใหม่เป็นเพียงการทำตามประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น
ดัชนีชี้วัดเสรีภาพสื่อโลกโดยองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ย่ำแย่อีกครั้งจากทั้งหมด ๑๘๐ อันดับ
จาการ์ตา 11 เมษายน พ.ศ. 2560 – วันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคเพื่อตรวจสอบร่างรายงานการเคลื่อนย้ายแรงงานสตรีในภูมิภาคอาเซียน
การทำงานอย่างปลอดภัยและมีคุณค่านั้นเป็นประเด็นสำคัญลำดับต้น ๆ ของความร่วมมืออาเซียนว่าด้วยแรงงาน และเมื่อวันที่ 4-5 เมษายนที่ผ่านมา ตัวแทนจากองค์การเพื่อความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงานจาก 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มารวมตัวกันเพื่อร่วมประชุมเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอาเซียน ครั้งที่ 18
จาการ์ตา 5 เมษายน พ.ศ.2560 – ในการประชุมคณะกรรมาธิการความร่วมมืออาเซียน-สหรัฐฯ ครั้งที่ 8 ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน เมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมา
เนื่องในวันรณรงค์การตระหนักรู้ออทิสติกส์โลก
(World Autism Awareness Day) ซึ่งมีขึ้นทุกวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี ประเทศเวียดนามเองก็ได้จัดงานวันรณรงค์การตระหนักรู้ออทิสติกส์เวียดนาม (Viet Nam Autism Awareness Day : VAAD) ครั้งที่ 2 ขึ้น
ความสำคัญของแผนปฏิบัติงานเชิงยุทธศาสตร์ฯ คือเพื่อทำให้การติดตามงานและการแจ้งถึงการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจฯ เป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ รวมถึงจะทำให้ภาคส่วนต่าง ๆ
บริษัท Grab ผู้ให้บริการเรียกรถยนต์ส่วนบุคคลรายใหญ่ในภูมิภาคอาเซียนประกาศลงทุนเพิ่ม ๓๕๐ ล้านบาท ในกิจการของบริษัทที่ประเทศสิงคโปร์โดยกล่าวว่าการลงทุนในครั้งนี้เป็นการเตรียมพร้อมรับกฎหมายใหม่ว่าด้วยการให้บริการรถสาธารณะ
ประเทศฟิลิปปินส์ ที่ประชุมคณะมนตรีฯ ได้ข้อสรุปในนโยบายและแถลงการณ์ว่าด้วยบทบาทของข้าราชการอาเซียนตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ๒๕๖๘ (ASEAN Vision 2025) ซึ่งจะถูกนำไปบรรจุในวาระการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) เพื่อให้ผู้ประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามต่อไปในเดือนเมษายนและที่ประชุมแสดงความมุ่งมั่นในการหาข้อสรุปในแถลงการณ์ปกป้องและคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ
ตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันพุธที่ผ่านมามีความผันผวน จากการที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมในประเด็นงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐาน
และการปฏิรูปภาษี ในขณะที่ดอลลาร์แข็งตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากการปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลาง ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนที่ผ่านมา
ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ประเทศฟิลิปปินส์ได้ส่งมอบสัตยาบันสารอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention Against Trafficking in Persons, Especially Women and Children (ACTIP)) แก่เลขาธิการอาเซียน
คณะรัฐมนตรีกัมพูชาได้อนุมัติโครงการพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 2 โครงการ เพื่อรองรับความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าในประเทศที่เพิ่มมากขึ้น
จาการ์ตา, 3 มีนาคม พ.ศ. 2560 – นาย Vongthep Arthakaivalvatee รองเลขาธิการอาเซียนฝ่ายสังคมและวัฒนธรรม ได้พบปะกับ นาง Marta Santos Pais ผู้แทนพิเศษจากสหประชาชาติ เพื่อหารือในประเด็นความรุนแรงต่อเด็ก ณ สำนักเลขาธิการอาเซียน เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้ ทั้งสองได้มีการพบปะพูดคุยกับคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children : ACWC) เพื่อหารือถึงวิธีหยุดยั้งการกระทำรุนแรงต่อเด็ก
อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ASEAN Convention Against Trafficking in Persons, Especially Women and Children (ACTIP)) ซึ่งได้มีการลงนามโดยผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์นั้น มีผลบังคับใช้แล้วในวันนี้
อาเซียนและสหภาพยุโรปได้เปิดการเจรจาเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ได้ข้อสรุปว่าจะร่วมมือกันแก้ไขความตกลงเขตการค้าเสรีที่หยุดนิ่งมาเป็นระยะหนึ่งขึ้นใหม่ และหาวิธีรับมือนโยบายปกป้องทางการค้า (Protectionism) ซึ่งกำลังเป็นกระแสอยู่ในปัจจุบัน
กัมพูชาออกมาตรการยกเว้นภาษี ๒ ปีให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนก่อนสิ้นปี พ.ศ. ๒๕๖๑
ASEAN is moving a step closer to the finalisation of the draft ASEAN instrument to implement the ASEAN Declaration on the Protection and Promotion of the Rights of Migrant Workers (Cebu Declaration).
ผู้ขับรถยนต์รับจ้างส่วนบุคคล (Private-hire car) กับ บริษัทที่ให้บริการรถยนต์รับจ้างส่วนบุคคล เช่น Uber, Grab ต้องเข้าทดสอบวัดความรู้กับกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์เพื่อให้ได้ใบอนุญาตหลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติแก้พระราชบัญญัติการจราจรทางบก
กฎหมายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ฉบับใหม่ของสิงคโปร์ให้อำนาจรัฐบาลเข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของหน่วยงานที่ดำเนินกิจการในด้านเศรษฐกิจในบางสาขา และยังให้อำนาจรัฐบาลสิงคโปร์ในการควบคุมหรือยับยั้งการโจมตีประเทศทางไซเบอร์ด้วย
ประมวลกฎหมายแพ่งฉบับใหม่ของเวียดนามมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
จาการ์ตา, 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 – การประชุมคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน (ASEAN Qualifications Reference Framework - AQRF) ถูกจัดขึ้นครั้งแรกระหว่างวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยการประชุมดังกล่าวมีการหารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานและลำดับความสำคัญของงานในอีกสองปีข้างหน้า รวมไปถึงการระบุประเทศสมาชิกอาเซียนที่ประสงค์จะรับหน้าที่ในการรายงานความคืบหน้าต่อคณะกรรมการฯ
ในการหารือทวิภาคีที่เมือง โปกอร์ ประเทศ อินโดนีเซีย นาย Shinzo Abe นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น และ นาย Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้ตกลงที่จะสนับสนุนในการให้ความร่วมมือเกี่ยวกับทะเล ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลและการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกัน
ถือว่าเป็นการเริ่มต้นปีที่ดีของอาเซียนสำหรับความมุ่งมั่นในการต่อต้านการค้ามนุษย์ เมื่อมีประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์เพิ่มอีกสองประเทศ
กรมศุลกากรและสรรพสามิต (The General Department of Coustoms and Excise (GDCE))ประเทศกัมพูชากำหนดให้สินค้านำเข้า ประกอบด้วย สุรา นาฬิกา และเครื่องศัพท์เคลื่อนที่ ที่มีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับ ๕๐ เหรียญสหรัฐฯ ต้องลงตราประทับการเสียภาษีอากรแบบใหม่
นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น ได้ให้คำมั่นเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2560
ว่าจะสนับสนุนการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก หรือ The East Asia Summit (EAS)
และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในปีนี้ให้ประสบผลสำเร็จมากที่สุด
สมาชิกผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์กล่าวถึงความร่วมมือกับจีนในการจัดทรัพยากรในทะจีนใต้ว่าสามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ
สาธารณรัฐเซอร์เบียแสดงความสนใจที่จะพัฒนาความสัมพันธ์อันดีต่ออาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมด เนื่องจากเห็นถึงความสำคัญในฐานะที่อาเซียนเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาแผนการดำเนินงานในภูมิภาค
เมียนมาเตรียมออกกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายการค้าภายใน ๒๕๖๐
ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ นายโรดริโก ดูเตอร์เต หันไปพึ่งพาจีน ผ่านธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (The Asian Infrastructure Investment Bank – AIIB) ในการกู้เงินมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานในประเทศฟิลิปปินส์ อีกทั้งยังเป็นการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างประเทศอีกด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ฟิลิปปินส์กล่าว
สิงคโปร์ยึดมั่นแนวทางการใช้การลงโทษเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา เลขาธิการอาเซียนได้ให้การต้อนรับผู้เข้าร่วมแข่งขันมาราธอนนับร้อยคนจากประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน โดยหลังจากการการแข่งขันแรลลี่รถยนต์นานาชาติจีน – อาเซียน 2016 ( ASEAN-China International Touring Assembly and the ASEAN–China Journalists Rally 2016 หรือเรียกรวมกันว่า “CAITA”
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬาเรียกร้องให้พิจารณาสถานะความเป็นสมาชิกอาเซียนของประเทศเมียนมาจากเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงต่อชาวโรฮีนจา
หลังการสิ้นสุดวาระการดำรงตำแหน่งหนึ่งปีที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิผล ท่าน Latsamy Keomany เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสปป.ลาวประจำอาเซียน ได้ส่งมอบตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ให้แก่ท่าน Elizabeth P. Buensuceso เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรฟิลิปปินส์ประจำอาเซียนรับหน้าที่ต่อไปในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา โดยมีท่าน Le Luong Minh เลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมในพิธีเพื่อเป็นสักขีพยาน โดยนอกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้แทนถาวรอาเซียนแล้ว ฟิลิปปินส์จะรับหน้าที่เป็นประธานอาเซียนในปี 2560 ที่จะถึงนี้
นับว่าเป็นอีกความสำเร็จหนึ่งของอาเซียนที่ได้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของกลไกการตอบสนองภัยพิบัติฉุกเฉินของอาเซียน โดยใช้การฝึกซ้อมแผนเผชิญภัยพิบัติฉุกเฉินในภูมิภาคอาเซียน หรือ ASEAN Regional Disaster Emergency Response Simulation Exercise 2016 (ARDEX-16
ในการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค (APEC Summit) ที่ผ่านมา อินโดนีเซียได้เสนอต่อที่ประชุมให้ริเริ่มการเจรจาเปิดเสรีทางเศรษฐกิจใหม่เพื่อค้านอำนาจของสหรัฐอเมริกาและจีน
การประชุมตำรวจจราจรอาเซียนครั้งที่ ๑ (The First ASEAN Traffic Police Forum) จัดขึ้นที่เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙
กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ของเมียนมาได้รับการรับรองจากทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ซึ่งกฎหมายส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่นี้ได้ถูกยกร่างขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๖ โดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นักธุรกิจ และได้รับการความช่วยเหลือจาก บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation : IFC)
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปิดตลาดลงด้วยมูลค่าต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักลงทุน คาดว่าผลกระทบเกิดจากวิกฤติการณ์วอลล์สตรีทและข้อตกลงลดกำลังการผลิตน้ำมันของโอเปค
เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ได้มีการประชุม Steering Committee of the ASEAN Regional Mine Action Centre (ARMAC) ครั้งที่ ๒ ณ สำนักงานใหญ่ ARMAC กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา
โรคอาหารเป็นพิษ เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากโรคดังกล่าวบั่นทอนระบบการดูแลสุขภาพและส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการค้าของประเทศ
กระทรวงคมนาคมฟิลิปปินส์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญ ๒ เรื่อง ได้แก่ (๑) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียนครั้งที่ ๔๒ (๒) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ ๒๒ ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
จาการ์ตา – เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา ตัวแทนจากประเทศสมาชิกอาเซียน สำนักเลขาธิการอาเซียน สหประชาชาติ สถาบันวิจัยและค้นคว้า และประชาสังคมได้เข้าร่วมหารือในประเด็นการป้องกันความรุนแรงในภูมิภาคอาเซียน
นักเรียกร้องสิทธิเพื่อสิทธิของเกษตรกรเรียกร้องต่อรัฐบาลอินโดนีเซียว่าไม่ควรให้สัตยาบันในความตกลงการค้าเสรี RCEP เนื่องจากความตกลงดังกล่าวบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องให้สัตยาบันใน International Union for the Protection of New Varieties of Plants (UPOV) 1991
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายตำแหน่งทูตพิเศษโครงการขจัดความหิวโหยให้หมดไป ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organisation: FAO) เนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดงานวันอาหารโลก ประจำปี 2559 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ณ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก กรุงเทพมหานคร
ASSIST เป็นกระบวนการที่ถูกออกแบบขึ้นโดยมีลักษณะไม่เป็นการผูกมัดและเป็นกระบวนการปรึกษาหารือที่ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันแก้ปัญหาเกี่ยวกับการค้าข้ามพรมแดนในอาเซียน สำหรับผู้ประกอบธุรกิจซึ่งที่มีฐานอยู่ในประเทศสมาชิกอาเซียน
เช้าวันที่ ๑๔ ตุลาคม ได้มีการเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อาเซียน-อียู หรือ AEMM ครั้งที่ ๒๑ อย่างเป็นทางการ ณ กรุงเทพ ภายใต้หัวข้อ “มุ่งสู่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์” โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายมีโรสลาฟ ไลชัก (Miroslav Lajčák) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรปสาธาณรัฐสโลวัก ในฐานะประธานสหภาพยุโรป จะเป็นประธานร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑ ที่กรุงเทพฯ
ผลการประชุม RCEP ครั้งที่ 15
จาการ์ตา – กระทรวงพาณิชย์ได้รายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรกของการนิรโทษกรรมทางภาษีในอินโดนีเซียได้รับผลตอบรับที่น่าพึงพอใจ มีผู้มาลงทะเบียนใช้สิทธินับหมื่นราย เม็ดเงินสะพัดเป็นจำนวน 97.2 พันล้านรูเปีย หรือกว่า 7.45 ร้อยล้านดอลลาร์ โดยเงินที่เก็บได้จะนำมาอุดหนุนการขาดดุลของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ ๔๙ นาย ดอน ปรมัตถ์วินัย ทำพิธีมอบสัตยาบันสารเพื่อแสดงเจตนาของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก ให้กับนายเล เลือง มินห์ เลขาธิการอาเซียน
การประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอาเซียนพลัสเห็นชอบตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
ในการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอาเซียนพลัส (ADMM Plus) เมื่อวันนที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ ประเทศลาว ที่ประชุมได้เห็นชอบข้อเสนอของประเทศฟิลิปปินส์ในการจัดตั้งคณะทำงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์คณะทำงานดังกล่าวจะทำงานในกรอบความร่วมมือ ASEAN Defense Ministers Meeting Plus (ASMM-Plus)
ข้อเสนอดังกล่าวเป็นข้อเสนอจากประเทศฟิลิปปินส์เสนอโดยรัฐมนตรีกลาโหม Voltaire Gazmin ในการประชุมรัฐมนตรีตรีกลาโหมอาเซียน (ADMM) เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๘ ที่ประเทศมาเลเซีย และมีการหารืออย่างต่อเนื่องทั้งในการประชุมเจ้าหน้าระดับสูงของกระทรวงกลาโหม (ASEAN Defense Senior Officials Meeting: ADSOM) และในคณะทำงาน ที่ประเทศลาวเมื่อเดือนที่ผ่านมากุมพาพันธ์
การจัดตั้งคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ จะมีประโยชน์ในด้านการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญและการถ่ายทอดความรู้ในทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ คณะทำงานผู้เชี่ยวที่จัดตั้งขึ้นจะมีฟิลิปปินส์ประเทศผู้เสนอและประเทศนิวซีแลนด์เป็นประธานตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๓
ปัจจุบันการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมอาเซียนพลัส (ADMM-Plus) ประกอบด้วยคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญ (ADMM-Plus Experts’ Working Groups (EWGs) จำนวน ๖ คณะ ประกอบด้วย คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความช่วยเหลือทางมนุษย์ธรรมและความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติ คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเล คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหาร คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการก่อการร้าย คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ และคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความช่วยทางด้านมนุษยธรรมในการทำเหมือง
วันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
อาเซียน และออสเตรเลียได้หารือข้อริเริ่มการดำเนินกิจกรรมกระชับความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ร่วมกัน ระหว่างการประชุมคณะกรรมการร่วมความร่วมมืออาเซียน – ออสเตรเลีย (JCC) ครั้งที่ ๙ ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักเลขาธิการอาเซียน โดยมีเอกอัครราชทูต Dato’ Shariffah Norhana Syed Mustaffa เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรมาเลเซียประจำอาเซียน และเอกอัครราชทูต Elizabeth Jane Duke เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรออสเตรเลียประจำอาเซียน เป็นประธานร่วม พร้อมทั้งผู้แทนถาวรจากประเทศสมาชิกอาเซียน ผู้แทนสำนักเลขาธิการอาเซียน และผู้แทนหน่วยงานภารกิจออสเตรเลียอาเซียน เข้าร่วมด้วย
ที่ประชุมได้หารือทบทวนถึงแผนปฏิบัติอาเซียน – ออสเตรเลียเพื่อการดำเนินตามความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (๒๐๑๕ - ๒๐๑๙) รวมถึงหารือถึงความพยายามจัดทำแผนปฏิบัติระยะ ๕ ปี ฉบับใหม่ให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ออสเตรเลียเน้นย้ำถึงการสนับสนุนความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในโครงสร้างของภูมิภาคที่กำลังพัฒนา และสนับสนุนความพยายามขับเคลื่อนประชาคมอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากวาระครบรอบ ๔๕ ปี ความสัมพันธ์ประเทศคู่เจรจา อาเซียน – ออสเตรเลีย อาเซียนแสดงความขอบคุณออสเตรเลียสำหรับความร่วมมือ และ
การสนับสนุนการบูรณาการประชาคมอาเซียนมาอย่างลึกซึ้ง และยาวนาน
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความร่วมมือในประเด็นสำคัญที่สนใจร่วมกัน อาทิ การต่อต้านการค้ามนุษย์ ความมั่นคงทางทะเล มาตรฐานทางการค้าดิจิทัล การแลกเปลี่ยนบุคลากรการศึกษา ตลอดจนการบริหารจัดการภัยพิบัติ
นอกจากนี้ อาเซียนยังแสดงความยินดีกับการจัดโครงการใหม่ของออสเตรเลียเกี่ยวกับการทูตสาธารณะ ภายใต้หัวข้อ “Australia Now” ที่ได้เปิดตัวเมื่อต้นปีที่ผ่านมา รวมถึงการริเริ่มอื่น ๆ อาทิ โครงการเกี่ยวกับธรรมมาภิบาล โครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโครงการเพื่อเพิ่มการสนับสนุนอาเซียนเกี่ยวกับประเด็นทางทะเล ตลอดจนระยะใหม่ของโครงการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำโขง อีกด้วย
(เรียบเรียงจาก https://asean.org/asean-australia-commit-deepen-partnership/ ข่าว ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒)
วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ อาเซียน และรัฐบาลเมียนมา ได้ตกลงเริ่มมาตรการปฏิบัติการบรรเทาสถานกาณ์ในรัฐยะไข่ ในที่ประชุมผู้ประสานงานระดับสูง ณ กรุงเนปิดอว์ ประเทศเมียนมา
นาย Dato Lim Jock Hoi เลขาธิการอาเซียน พร้อมด้วยนางสาว Adelina Kamal ผู้อำนวยการบริหารศูนย์ประสานงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแห่งอาเซียนเพื่อการจัดการภัยพิบัติ (ASEAN Coordinating Centre for Humanitarian Assistance and Disaster Management – AHA Center) และผู้แทนอาเซียน
เข้าร่วมการประชุมผู้ประสานงานยุทธศาสตร์ระดับสูง ครั้งที่ ๒ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงสำคัญของเมียนมา และรัฐยะไข่
© 2017 Office of the Council of State.