ประเทศบรูไน
ประเทศบรูไน
บรูไน หรือชื่อทางการ รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam) หรือ เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว ในทะเลจีนใต้ มีพื้นที่ ๕,๗๖๕ ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของประเทศบรูไน คือ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน โดยมีจำนวนประชากรประมาณ ๔๒๘,๑๔๖ คน ประชากรของบรูไนประกอบด้วย คนเชื้อสายมาเลย์ จีน ชาวพื้นเมือง และเชื้อชาติอื่น ๆ ประเทศบรูไนใช้ภาษาบาฮาซามาเลย์เป็นภาษาราชการ อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็มีการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาจีนในการสื่อสารกันอย่างแพร่หลาย
ประเทศบรูไนปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยปกครองในระบบสุลต่าน โดยองค์สุลต่าน (Sultan) จะมีอำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว มีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาธิบดี (Yang Di-Pertuan Negara) และเป็นประมุขสูงสุดของประเทศ (Head of State) สุลต่านจะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าคณะในการบริหารประเทศ นอกจากนั้นยังดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลัง โดยองค์สุลต่านจะมีอัครเสนาบดีเป็นผู้ช่วย ซึ่งพระองค์จะเป็นผู้แต่งตั้ง ลักษณะเด่นของความเป็นอธิปไตยของสุลต่านบรูไน คือ ความเป็นเอกภาพและภารดรภาพของประชาราษฎร์ ประชาชนจะเคารพต่อสุลต่านผู้ทรงมีความยุติธรรม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของอิสลามที่เคารพเชื่อฟังผู้นำ
การปกครองของประเทศบรูไนเป็นการปกครองในรูปแบบรัฐเดี่ยว แต่เป็นรัฐเดี่ยวแบบรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) ในด้านการบริหารราชการแผ่นดิน บรูไนไม่มีการกระจายอำนาจทางการเมืองไปยังหน่วยการปกครองในระดับล่าง การบริหารราชการแผ่นดินจึงเป็นการสั่งการตามสายบังคับบัญชา หรือเป็นลำดับชั้นจากสุลต่านและสมเด็จพระราชาธิบดีลงมาที่กระทรวง (Ministry) หรือหน่วยงานของรัฐ (Department) ต่อไปยังเขตการปกครอง (Daerah/District) และต่อไปยังตำบล (district) และหมู่บ้าน (Kampung/Village) ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองระดับล่างสุด และเมื่อหมู่บ้านต้องดำเนินการใดก็จะเสนอเรื่องไปยังตำบล ซึ่งจะส่งต่อไปยังเขตการปกครอง ประเทศบรูไนมี ๔ เขตการปกครอง ประกอบด้วย เขตการปกครองบรูไน-มอารา (Brunei-Muara) เบอไลต์ (Belait) เต็มบูรง (Temburong) และตูตง (Tutong)
แนะนำกฏหมายบรูไน
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร
กระบวนการตรากฎหมายของฝ่ายบริหารในประเทศบรูไน เริ่มจากหน่วยงานของรัฐระดับกระทรวงที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามนโยบายของฝ่ายบริหาร จะเป็นผู้เสนอมาตรการ
ด้านกฎหมายที่จะผลักดันนโยบายของรัฐให้บรรลุผลสำเร็จ อย่างไรก็ดี เนื่องจากกระทรวงต่าง ๆ ไม่มีส่วนงานที่ทำหน้าที่ร่างกฎหมาย หน้าที่ในการยกร่างกฎหมายจึงเป็นของสำนักงานอัยการสูงสุด (Attorney General’s Chambers : AGC) โดยกระทรวง
ที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ให้ข้อมูลทางเทคนิค (Technical information) แก่สำนักงานอัยการสูงสุด โดยจะต้องจัดทำเอกสาร ดังต่อไปนี้
(๑) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับร่างกฎหมาย
(๒) คดี การตีความทางกฎหมาย รายงานที่เกี่ยวข้อง
(๓) ความเห็นของศาลที่เกี่ยวข้อง
(๔) สำเนาความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
(๕) รายละเอียดการหารือระหว่างกระทรวงหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ระบุชื่อองค์กรและความเห็น)
(๖) เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ กระทรวงผู้รับผิดชอบยังต้องจัดทำคำชี้แจงเหตุผลและความจำเป็นของการเสนอร่างกฎหมาย รวมถึงรายงานการศึกษาและประเมินผลกระทบด้านต่าง ๆ ตลอดจนการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของต่างประเทศที่สามารถใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายของประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย จากนั้นร่างกฎหมายจะเข้าสู่สภานิติบัญญัติ (Legislative Council) และประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป
ประเทศกัมพูชา
ประเทศกัมพูชา
กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๘๑,๐๓๕ ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดประมาณ ๑ ใน ๓ ของประเทศไทย เมืองหลวงของกัมพูชา คือ กรุงพนมเปญ กัมพูชามีจำนวนประชากรมากกว่า ๑๕ ล้านคน ประกอบไปด้วยชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม ได้แก่ เวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขามกกว่า ๓๐ เผ่า โดยมีภาษาราชการ คือ ภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาที่จัดอยู่ในกลุ่มภาษามอญ-เขมร อันเป็นภาษากลุ่มย่อยของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก และมีการใช้ภาษาฝรั่งเศสในกลุ่มชาวเขมรผู้สูงอายุซึ่งเป็นภาษาราชการหลักของอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส
ประเทศกัมพูชามีระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบันคือ พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี และมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศ คือ สมเด็จฮุน เซน โดยดำรงตำแหน่งวาระละ ๕ ปี
ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๒๐ จังหวัด ระบบรัฐสภาของกัมพูชาเป็นระบบสภาคู่ ประกอบด้วย (๑) สภาผู้แทนราษฎร (National Assembly) มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๕ ปี และมีสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ เป็นประธาน และ (๒) วุฒิสภา (Senate) ที่มีสมาชิกมากสุดไม่เกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๖ ปี และมีสมเด็จ เจีย ซิม เป็นประธาน
แนะนำกฏหมายกัมพูชา
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร
สำหรับการจัดทำร่างกฎหมายนั้น หน่วยงานของรัฐ
มีหน้าที่ในการจัดทำร่างกฎหมายในความรับผิดชอบของตนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งจะมีส่วนงานของตนในการยกร่าง ซึ่งในการร่างกฎหมายแต่ละฉบับ กรมกิจการกฎหมาย (Department of Legal Affairs) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านกฎหมายของกัมพูชาจะส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำร่างกฎหมายตั้งแต่แรก ถึงแม้ว่าราชอาณาจักรกัมพูชาจะไม่มีกฎหมายบังคับให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชน
แต่ในทางปฏิบัติการจัดทำร่างกฎหมายจะมีการรับฟังความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิประกอบการพิจารณา รวมทั้งพิจารณาผลดีผลเสียของการออกกฎหมาย โดยกัมพูชามีการแจ้งเวียนคู่มือการร่างกฎหมายซึ่งกำหนดว่าการรับฟังความเห็นของประชาชนนั้นเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำร่างกฎหมาย ทั้งนี้ การรับฟังความเห็นของประชาชนอาจจัดทำโดยการจัดสัมมนาของกรมกิจการกฎหมายเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ได้
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายแล้วจะส่งร่างฯ ให้ประธานสมัชชาแห่งชาติเพื่อพิจารณาออกกฎหมาย ซึ่งประธานสมัชชาแห่งชาติจะส่งร่างกฎหมาย
ให้คณะกรรมาธิการประจำพิจารณาก่อนในชั้นต้น หลังจากพิจารณาเสร็จจะส่งร่างกฎหมายให้สมัชชาแห่งชาติและวุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามลำดับ เมื่อร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบแล้วจากทั้งสองสภา พระมหากษัติริย์จะลงพระนามในร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
ประเทศอินโดนีเชีย
ประเทศอินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพื้นที่ ๑,๙๐๔,๕๖๙ ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๓๐ จังหวัด ๒ เขตปกครองพิเศษ และ ๑ เขตนครหลวงพิเศษ เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย คือ กรุงจาการ์ตา ประกอบด้วยประชากรประมาณ ๒๕๑,๑๗๐,๑๙๓ คน และมีความแตกต่างของกลุ่มชาติพันธุ์ประมาณ ๓๐๐ กว่ากลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วยประชากรเชื้อชาติชวา (Javanese) ซันดานีส (Sundanese) มาเลย์ (Malay) มาดูรา (Maduranese) และเชื่อชาติอื่น ๆ รวมทั้งประชากรเชื้อสายอินเดีย จีน และอาหรับ โดยมีภาษาราชการ คือ ภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย โดยปัจจุบันภาษาบาฮาซาเป็นภาษาที่ใช้ในการศึกษา การสื่อสารทางราชการ และการสื่อสารมวลชน นอกจากนี้ ประเทศอินโดนีเซียยังมีการใช้ภาษาพื้นเมืองมากกว่า ๓๐๐ ภาษา เช่น ภาษาชวา และซันดานีส เป็นต้น
ประเทศอินโดนีเซียปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร และมีสภาที่ปรึกษาประชาชน (People’s Consultative Assembly)
ทำหน้าที่เป็นรัฐสภา
แนะนำกฏหมายอินโดนีเชีย
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร สำหรับการจัดทำร่างกฎหมายนั้น หน่วยงานของรัฐ
มีหน้าที่ในการจัดทำร่างกฎหมายในความรับผิดชอบของตนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งจะมีส่วนงานของตนในการยกร่าง ซึ่งในการร่างกฎหมายแต่ละฉบับ กรมกิจการกฎหมาย (Department of Legal Affairs) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านกฎหมายของกัมพูชาจะส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำร่างกฎหมายตั้งแต่แรก ถึงแม้ว่าราชอาณาจักรกัมพูชาจะไม่มีกฎหมายบังคับให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชน
แต่ในทางปฏิบัติการจัดทำร่างกฎหมายจะมีการรับฟังความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิประกอบการพิจารณา รวมทั้งพิจารณาผลดีผลเสียของการออกกฎหมาย โดยกัมพูชามีการแจ้งเวียนคู่มือการร่างกฎหมายซึ่งกำหนดว่าการรับฟังความเห็นของประชาชนนั้นเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำร่างกฎหมาย ทั้งนี้ การรับฟังความเห็นของประชาชนอาจจัดทำโดยการจัดสัมมนาของกรมกิจการกฎหมายเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ได้
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายแล้วจะส่งร่างฯ ให้ประธานสมัชชาแห่งชาติเพื่อพิจารณาออกกฎหมาย ซึ่งประธานสมัชชาแห่งชาติจะส่งร่างกฎหมาย
ให้คณะกรรมาธิการประจำพิจารณาก่อนในชั้นต้น หลังจากพิจารณาเสร็จจะส่งร่างกฎหมายให้สมัชชาแห่งชาติและวุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามลำดับ เมื่อร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบแล้วจากทั้งสองสภา พระมหากษัติริย์จะลงพระนามในร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
แหล่งข้อมูลกฎหมายประเทศกัมพูชา หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศกัมพูชา
ประเทศลาว
ประเทศลาว
ลาว หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Lao People’s Democratic Republic) มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒๓๖,๘๐๐ ตารางกิโลเมตร โดยไม่มีพื้นที่ติดทะเล เมืองหลวงของประเทศลาว คือ กรุงเวียงจันทน์ (Vientiane) ประเทศลาวมีจำนวนประชากรประมาณ ๖,๖๙๕,๑๖๖ คน ซึ่งประกอบด้วยชนชาติต่าง ๆ หลากหลายเชื้อชาติ ในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า “ประชาชนบรรดาเผ่า” ซึ่งสามารถจำแนกได้ ๖๘ ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่ ได้แก่ ลาวลุ่ม ลาวเทิง และลาวสูง โดยมีภาษาราชการ คือ ภาษาลาว โดยกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของตนควบคู่กับภาษาลาว ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ
ประเทศลาวปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบอบประชาธิปไตยประชาชน) โดยมีพรรคประชาชนปฏิวัติลาวเป็นองค์กรชี้นำประเทศ มีประธานประเทศ (ประธานาธิบดี) เป็นประมุข และมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประเทศลาวแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๖ แขวง (จังหวัด) และ ๑ นครหลวง ได้แก่ นครหลวงเวียงจันทน์ แต่ละแขวงจะแบ่งเป็นเมือง (อำเภอ) แต่ละเมืองแบ่งย่อยเป็นบ้าน
แนะนำกฏหมายสปป.ลาว
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร กระบวนการตรากฎหมายของฝ่ายบริหารของประเทศลาว แยกได้เป็น ๗ ขั้นตอน ดังนี้
(๑) การยกร่างกฎหมาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่างกฎหมาย (Drafting Committee) ทำหน้ายกร่างกฎหมายในความรับผิดชอบของตน
(๒) การจัดเตรียมเอกสารประกอบการเสนอร่างกฎหมาย
การจัดเตรียมเอกสารประกอบการเสนอร่างกฎหมายเป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการจัดเตรียมเอกสารประกอบการเสนอร่างกฎหมาย (Committee Prepare Draft) คณะกรรมาธิการชุดนี้ทำหน้าที่ในการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อทั้งหมดในการเสนอร่างกฎหมาย
(๓) การตรวจสอบร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมกระทรวงยุติธรรมจะพิจารณาความสอดคล้องทั้งรูปแบบและเนื้อหาของร่างกฎหมาย โดยมีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาร่างกฎหมาย ดังนี้
(ก) การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบและเนื้อหา รวมถึงรายงานการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องภายใน ๑๕ วันนับจากวันที่กระทรวงยุติธรรมได้รับเรื่อง
(ข) กระทรวงยุติธรรมต้องตรวจพิจารณาร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย ๑๒๐ วัน
(ค) กระทรวงยุติธรรมส่งร่างกฎหมายไปยังคณะรัฐมนตรีก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย ๙๐ วัน
(๔) การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาร่างกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ผ่านการพิจารณาของกระทรวงยุติธรรมแล้วเท่านั้น และหากมีบทบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีมีความเห็นไม่ตรงกันคณะรัฐมนตรีจะต้องมีการพิจารณาประเด็นดังกล่าว ภายใน ๗ วัน ก่อนที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย ต่อจากนั้น จะเสนอร่างไปยังสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งคณะ กรรมาธิการที่เรียกว่า Defender committee เข้าร่วมการประชุมด้วย
(๕) การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
สภาผู้แทนราษฎรในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรคณะกรรมาธิการกฎหมาย (Law Committee) จะมีหน้าที่ในการทบทวนรายละเอียดต่าง ๆ ที่ผ่านการพิจารณาในขั้นตอนก่อนหน้าโดยจะเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายร่างกฎหมายดังกล่าวด้วย ต่อจากนั้น ร่างกฎหมายจะได้รับการลงคะแนนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งร่างกฎหมายจะผ่านความเห็นชอบโดยเสียงข้างมาก
(๖) การประกาศใช้กฎหมายของประธานาธิบดี
สภาผู้แทนราษฎรจะยื่นร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นต่อประธานาธิบดี ภายใน ๒๐ วัน หลังจากวันที่เห็นชอบร่างกฎหมาย และประธานาธิบดีจะต้องประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว ภายใน ๑๕ วัน หลังจากได้รับเรื่องจากสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่ประธานาธิบดีไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทบทวนอีกครั้ง อย่างไรก็ดี หากสภาผู้แทนราษฎรยืนยันความเห็นเดิม ประธานาธิบดีจะต้องประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว ภายใน ๑๕ วัน
(๗) การเผยแพร่กฎหมาย
กฎหมายที่ประกาศใช้จะได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงยุติธรรม
แหล่งข้อมูลกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมประเทศลาว โครงการรวบรวมกฎหมายสปป.ลาว
ประเทศมาเลเซีย
ประเทศมาเลเซีย
มาเลเซีย หรือชื่อทางการคือ สหพันธรัฐมาเลเซีย (Federation of Malaysia) มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๓๒๙,๘๗๔ ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของประเทศมาเลเซีย คือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ขณะที่เมือง
ปูตราจายาเป็นเมืองที่ตั้งของฝ่ายบริหาร มาเลเซียมีจำนวนประชากรมากกว่า ๓๐ ล้านคน มีสภาพสังคมประเทศเป็นแบบพหุสังคม หรือประเทศที่ประกอบด้วยชนจากหลายเผ่าพันธุ์รวมอยู่กันบนแหลมมาลายู ประกอบด้วยเชื้อชาติใหญ่ ๆ ๓ กลุ่ม คือ มาลายู จีน และอินเดีย โดยมีภาษาราชการ คือ ภาษามาเลย์ (Bahasa Malaysia)
ประเทศมาเลเซียมีระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสหพันธรัฐ มีรัฐบาลกลางทำหน้าที่ดูแลเรื่องสำคัญ ๆ เช่น การต่างประเทศ การป้องกันประเทศ ความมั่นคง ตุลาการ การคลัง และอื่น ๆ ขณะที่ในแต่ละรัฐมีรัฐบาลของรัฐดูแลด้านศาสนา ประเพณี สังคม เกษตรกรรม การคมนาคมภายในรัฐ บางรัฐเช่นกลันตันมีระบบราชการในรูปแบบของตนเอง นอกจากนี้ ในแต่ละรัฐจะมีสภาแห่งรัฐที่มาจากการเลือกตั้งทุก ๆ ๔ ปี เหมือนกันหมด
ประเทศมาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น ๑๓ รัฐ และ ๓ ดินแดนสหพันธ์ โดย ๑๑ รัฐ กับ
๒ ดินแดนสหพันธ์อยู่ในมาเลเซียตะวันตก และอีก ๒ รัฐ กับ ๑ ดินแดนสหพันธ์อยู่ในมาเลเซียตะวันออก
แต่ละรัฐแบ่งเป็นเขต แต่ละเขตแบ่งเป็นมูกิม (mukim) ในรัฐซาบาร์และรัฐซาราวัก เขตในรัฐจะถูกจัดกลุ่มโดยบะฮะกียัน (Bahagian หรือ division)
ดินแดนสหพันธ์ เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์ เมืองปูตราจารา (เมืองราชการ) และลาบวน (ศูนย์กลางทางการเงินระหว่างประเทศนอกชายฝั่ง) โดยทั้งกัวลาลัมเปอร์และปูตราจายาอยู่ในพื้นที่รัฐสลังงอร์ ส่วนลาบวนอยู่ใกล้รัฐซาบาร์
แนะนำกฏหมายมาเลเซีย
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร กระบวนการตรากฎหมายของฝ่ายบริหารของประเทศลาว แยกได้เป็น ๗ ขั้นตอน ดังนี้
(๑) การยกร่างกฎหมาย
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะแต่งตั้งคณะกรรมาธิการร่างกฎหมาย (Drafting Committee) ทำหน้ายกร่างกฎหมายในความรับผิดชอบของตน
(๒) การจัดเตรียมเอกสารประกอบการเสนอร่างกฎหมาย
การจัดเตรียมเอกสารประกอบการเสนอร่างกฎหมายเป็นหน้าที่ของคณะกรรมาธิการจัดเตรียมเอกสารประกอบการเสนอร่างกฎหมาย (Committee Prepare Draft) คณะกรรมาธิการชุดนี้ทำหน้าที่ในการเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อทั้งหมดในการเสนอร่างกฎหมาย
(๓) การตรวจสอบร่างกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมกระทรวงยุติธรรมจะพิจารณาความสอดคล้องทั้งรูปแบบและเนื้อหาของร่างกฎหมาย โดยมีกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาร่างกฎหมาย ดังนี้
(ก) การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบและเนื้อหา รวมถึงรายงานการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องภายใน ๑๕ วันนับจากวันที่กระทรวงยุติธรรมได้รับเรื่อง
(ข) กระทรวงยุติธรรมต้องตรวจพิจารณาร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย ๑๒๐ วัน
(ค) กระทรวงยุติธรรมส่งร่างกฎหมายไปยังคณะรัฐมนตรีก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎรอย่างน้อย ๙๐ วัน
(๔) การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาร่างกฎหมายและเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ผ่านการพิจารณาของกระทรวงยุติธรรมแล้วเท่านั้น และหากมีบทบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีมีความเห็นไม่ตรงกันคณะรัฐมนตรีจะต้องมีการพิจารณาประเด็นดังกล่าว ภายใน ๗ วัน ก่อนที่จะมีการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบร่างกฎหมาย ต่อจากนั้น จะเสนอร่างไปยังสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งคณะ กรรมาธิการที่เรียกว่า Defender committee เข้าร่วมการประชุมด้วย
(๕) การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
สภาผู้แทนราษฎรในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรคณะกรรมาธิการกฎหมาย (Law Committee) จะมีหน้าที่ในการทบทวนรายละเอียดต่าง ๆ ที่ผ่านการพิจารณาในขั้นตอนก่อนหน้าโดยจะเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้มีการอภิปรายร่างกฎหมายดังกล่าวด้วย ต่อจากนั้น ร่างกฎหมายจะได้รับการลงคะแนนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งร่างกฎหมายจะผ่านความเห็นชอบโดยเสียงข้างมาก
(๖) การประกาศใช้กฎหมายของประธานาธิบดี
สภาผู้แทนราษฎรจะยื่นร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นต่อประธานาธิบดี ภายใน ๒๐ วัน หลังจากวันที่เห็นชอบร่างกฎหมาย และประธานาธิบดีจะต้องประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว ภายใน ๑๕ วัน หลังจากได้รับเรื่องจากสภาผู้แทนราษฎร ในกรณีที่ประธานาธิบดีไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย ร่างกฎหมายดังกล่าวจะถูกส่งคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรเพื่อทบทวนอีกครั้ง อย่างไรก็ดี หากสภาผู้แทนราษฎรยืนยันความเห็นเดิม ประธานาธิบดีจะต้องประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว ภายใน ๑๕ วัน
(๗) การเผยแพร่กฎหมาย
กฎหมายที่ประกาศใช้จะได้รับการเผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงยุติธรรม
แหล่งข้อมูลกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมประเทศลาว โครงการรวบรวมกฎหมายสปป.ลาว
ประเทศเมียนมา
ประเทศเมียนมา
เมียนมา หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Republic of the Union of Myanmar) ตามชื่อทางราชการในปัจจุบัน เดิมใช้ชื่อว่า “สหภาพพม่า (Union of Burma)” ต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพเมียนมาร์ (Socialist Republic of Union of Myanmar)” และเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ ได้เปลี่ยนชื่อประเทศอีกครั้งหนึ่งเป็นชื่อดังปัจจุบัน ประเทศเมียนมาร์มีพื้นที่ทั้งหมด ประมาณ ๖๗๖,๕๗๘ ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของประเทศเมียนมาร์ คือ กรุงเนปิดอ (Nay Pyi Daw) และนครที่ใหญ่ที่สุด คือ ย่างกุ้ง เมียนมาร์มีจำนวนประชากรประมาณ ๕๖ ล้านคน มีสภาพสังคมประเทศเป็นแบบพหุสังคม ซึ่งประกอบไปด้วยประชากรที่หลากหลาย โดยมีภาษาราชการคือ ภาษาพม่า และยังมีภาษาท้องถิ่นของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ อาทิ ภาษาชิน กะฉิ่น กะเหรี่ยง ฉาน และภาษาท้องถิ่นอีก ๑๓๕ ภาษา
ประเทศเมียนมาร์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีรัฐสภา ประกอบด้วย สภาประชาชน สภาชาติพันธุ์ และสภาท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภามาจากการเลือกตั้ง มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
ประเทศเมียนมาร์แบ่งเขตการปกครองในระดับภูมิภาคออกเป็น ๗ ภูมิภาค (region) สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์พม่า และ ๗ รัฐ (states) สำหรับพื้นที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย
แนะนำกฏหมายเมียนมา
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร สำหรับการจัดทำร่างกฎหมายนั้น หน่วยงานของรัฐ
มีหน้าที่ในการจัดทำร่างกฎหมายในความรับผิดชอบของตนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยหน่วยงานของรัฐแต่ละแห่งจะมีส่วนงานของตนในการยกร่าง ซึ่งในการร่างกฎหมายแต่ละฉบับ กรมกิจการกฎหมาย (Department of Legal Affairs) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านกฎหมายของกัมพูชาจะส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยเหลือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานต่าง ๆ จัดทำร่างกฎหมายตั้งแต่แรก ถึงแม้ว่าราชอาณาจักรกัมพูชาจะไม่มีกฎหมายบังคับให้มีการรับฟังความเห็นของประชาชนแต่ในทางปฏิบัติการจัดทำร่างกฎหมายจะมีการรับฟังความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิประกอบการพิจารณา รวมทั้งพิจารณาผลดีผลเสียของการออกกฎหมาย โดยกัมพูชามีการแจ้งเวียนคู่มือการร่างกฎหมายซึ่งกำหนดว่าการรับฟังความเห็นของประชาชนนั้นเป็นขั้นตอนหนึ่งในการจัดทำร่างกฎหมาย ทั้งนี้ การรับฟังความเห็นของประชาชนอาจจัดทำโดยการจัดสัมมนาของกรมกิจการกฎหมายเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ได้
เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายแล้วจะส่งร่างฯ ให้ประธานสมัชชาแห่งชาติเพื่อพิจารณาออกกฎหมาย ซึ่งประธานสมัชชาแห่งชาติจะส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมาธิการประจำพิจารณาก่อนในชั้นต้น หลังจากพิจารณาเสร็จจะส่งร่างกฎหมายให้สมัชชาแห่งชาติและวุฒิสภาพิจารณาต่อไปตามลำดับ เมื่อร่างกฎหมายผ่านความเห็นชอบแล้วจากทั้งสองสภา พระมหากษัติริย์จะลงพระนามในร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้มีผลใช้บังคับต่อไป
แหล่งข้อมูลกฎหมาย http://www.burmalibrary.org/show.php?cat=404 http://www.dica.gov.mm/en/policy-law http://www.pyithuhluttaw.gov.mm/lawdatabase/ http://www.unionsupremecourt.gov.mm/?q=content/laws
ประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์ หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒๙๘,๑๗๐ ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ จำนวน ๗,๑๐๗ เกาะ เมืองหลวงของประเทศฟิลิปปินส์ คือ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์มีจำนวนประชากรมากกว่า ๑๐๗ ล้านคน และมีความหลากหลายด้านเชื้อชาติสูง ทำให้ฟิลิปปินส์มีภาษาท้องถิ่นมากกว่าหนึ่งร้อยภาษา โดยมีภาษาราชการสองภาษา ได้แก่ ภาษาตากาล็อกและภาษาอังกฤษ
ประเทศฟิลิปปินส์มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยรูปแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหาร ซึ่งประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
ประเทศฟิลิปปินส์แบ่งเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่น (local government units, LGUs) โดยที่มีจังหวัดเป็นหน่วยหลัก มี ๗๙ จังหวัด (provinces) แบ่งออกเป็น นคร (cities) และเทศบาล (municipalities) ซึ่งหน่วยการปกครองทั้งสองยังประกอบด้วย บารังไกย์ (barangay) อีกทอดหนึ่ง ถือเป็นหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นที่เล็กที่สุด ฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น ๑๗ เขต (regions) ซึ่งทุกจังหวัดได้ถูกจัดอยู่ใน ๑๖ เขต เพื่อความสะดวกในการปกครอง ยกเว้นเขตนครหลวง (National Capital Region) ที่แบ่งออกเป็นเขตพิเศษ ๔ แห่ง
แนะนำกฏหมายฟิลิปปินส์
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร หน่วยงานของรัฐภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหารจะเป็นผู้จัดทำร่างกฎหมายเพื่อเสนอให้สภาคองเกรสพิจารณาการเสนอร่างกฎหมายโดยฝ่ายบริหารอาจเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาก็ได้ไม่จำเป็นต้องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้ววุฒิสภาจึงจะพิจารณาเสมอไป สภาคองเกรสซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการออกกฎหมายประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยสมาชิกวุฒิสภามีที่มาจากการเลือกตั้ง สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา แล้วแต่กรณี มีหน้าที่ในการกำหนดหมายเลขเอกสารประจำร่างกฎหมายและกำหนดวาระการประชุมสภา
ในการพิจารณาวาระที่หนึ่ง จะมีการอ่านชื่อกฎหมาย หมายเลข และชื่อหน่วยงานเจ้าของร่างให้สมาชิกสภารับฟัง หลังจากนั้นจะจัดส่งร่างกฎหมายให้คณะกรรมาธิการพิจารณาต่อไป คณะกรรมาธิการจะรับฟังความเห็นของประชาชนและลงมติว่าจะเห็นชอบโดยมีการแก้ไข หรือเห็นชอบโดยไม่มีการแก้ไขก็ได้ นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการอาจจัดทำความเห็นว่าควรจะรวมร่างกฎหมายนี้กับร่างกฎหมายอื่น หรือให้นำร่างกฎหมายอื่นขึ้นมาพิจารณาแทนก็ได้ หลังจากนั้นจะส่งร่างที่ผ่านความเห็นชอบให้คณะกรรมาธิการว่าด้วยข้อบังคับเพื่อกำหนดวาระการพิจารณาในวาระที่สอง
ในการพิจารณาวาระที่สอง หน่วยงานเจ้าของเรื่องจะทำหน้าที่ชี้แจงร่างกฎหมายต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรหรือวุฒิสภาแล้วแต่กรณี ซึ่งสมาชิกของสภาจะอภิปราย สนับสนุนหรือคัดค้านร่างกฎหมาย พิจารณาผลดีและผลเสียของร่างฯ โดยสามารถแก้ไขเนื้อหาของร่างฯ ได้เท่าที่จำเป็น หลังจากนั้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา แล้ว แต่กรณีจะลงคะแนนเสียงในร่างกฎหมายฯ เพื่อบรรจุร่างกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมในวาระที่สาม
ในการพิจารณาวาระที่สาม จะมีการพิจารณาเนื้อหาสาระและความสมบูรณ์ของร่างกฎหมายโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา จะลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างกฎหมายนั้น
ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภามีความเห็นไม่ตรงกัน จะมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อหารือร่วมกันผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการร่วมจะส่งต่อไปยังสภาคองเกรสเพื่อพิจารณาว่าจะเห็นชอบกับร่างกฎหมายนั้นหรือไม่ ทั้งนี้ ในการพิจารณาของสภาคองเกรสห้ามมิให้แก้ไขร่างฯ ของคณะกรรมาธิการร่วมฯ
ร่างกฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาคองเกรสจะส่งให้ประธานาธิบดีลงนาม ทั้งนี้ ร่างกฎหมายที่ผ่านการลงนามโดยประธานาธิบดีจะได้รับหมายเลขกฎหมายในระดับสาธารณะรัฐ (A Republic Act Number) และมีผลใช้บังคับต่อไป ส่วนร่างกฎหมายที่ประธานาธิบดีไม่ลงนาม ก็จะมีผลใช้บังคับในทันทีเมื่อพ้นสามสิบวันนับแต่ประธานาธิบดีได้รับร่างกฎหมาย อย่างไรก็ดี ประธานาธิบดีสามารถใช้อำนาจยับยั้งร่างกฎหมายได้โดยการจัดทำความเห็นคัดค้านการออกกฎหมายและส่งร่างกฎหมายคืนรัฐสภาหรือวุฒิสภา แล้วแต่กรณี ร่างกฎหมายที่ถูกยับยั้งจะมีผลใช้บังคับถ้าสมาชิกสภาคองเกรสจำนวนไม่น้อยกว่าสองในสามมีมติให้ความเห็นชอบในร่างดังกล่าว
แหล่งข้อมูลกฎหมาย http://www.gov.ph/section/laws/ http://sc.judiciary.gov.ph/jurisprudence/resolutions/resolutions.php http://www.lawphil.net/
ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) เป็นนครรัฐสมัยใหม่และเป็นประเทศเกาะที่เล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ประมาณ ๗๑๘.๓ ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากรประมาณ ๕,๕๔๓,๔๙๔ คน ประกอบด้วยชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวอินเดีย และอื่น ๆ โดยมีภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษามาเลย์ และภาษาทมิฬ
ประเทศสิงคโปร์แยกตัวออกจากประเทศมาเลเซียเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ปัจจุบันมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐระบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขทางพิธีการ และมีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขทางด้านบริหาร ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางการเมืองมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก เพราะนับแต่ก่อตั้งประเทศเป็นต้นมา มีรัฐบาลที่มาจากพรรคเดียวและเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก
แนะนำกฏหมายสิงคโปร์
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร
การเสนอร่างกฎหมายของประเทศสิงคโปร์เริ่มต้นจากหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้เสนอร่างกฎหมาย พร้อมคำชี้แจงหลักการและเหตุผลต่อคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเสนอต่อรัฐสภาพิจารณา โดยมีหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายของฝ่ายบริหาร คือ สำนักงานอัยการสูงสุด (Attorney General Chamber (AGC) ทั้งนี้ ในการจัดทำร่างกฎหมาย
AGC จะต้องพิจารณาความสอดคล้องของร่างกฎหมายกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยังต้องพิจารณาบทบัญญัติ
ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกันกับ
ร่างกฎหมายที่จะจัดทำด้วย นอกจากนี้ บทบาทของ AGC
ยังครอบคลุมการให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ
ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้บังคับกฎหมาย รวมถึงจัดทำโครงการพัฒนากฎหมายด้านต่าง ๆ ตลอดจนเผยแพร่กฎหมายและ
คำพิพากษาของศาล
ประเทศไทย
ประเทศไทย
ไทย หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๕๑๓,๑๑๕ ตารางกิโลเมตร เมืองหลวงของประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทยมีจำนวนประชากรมากกว่า ๖๖ ล้านคน โดยมีภาษาราชการคือ ภาษาไทย มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ประเทศไทยแบ่งการปกครองออกเป็น ๗๗ จังหวัด โดยจังหวัดที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทยในลำดับต้น ๆ ของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต และเชียงใหม่ เป็นต้น
ประเทศไทยมีระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและทรงใช้อำนาจผ่าน ๓ ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหาร (ผ่านทางนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี) ฝ่ายนิติบัญญัติ (ผ่านทางรัฐสภา) และฝ่ายตุลาการ (ผ่านทางศาลยุติธรรม)
ในส่วนของระบบกฎหมายของประเทศไทยมีการพัฒนามาอย่างยาวนาน โดยไทยได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายที่ใช้ประมวลกฎหมาย (Civil law system) และระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common law system) กฎหมายส่วนใหญ่ต้องผ่านกระบวนการพิจารณาโดยองค์กรนิติบัญญัติ ส่วนกฎหมายที่ถูกตราโดยองค์กรอื่นนอกจากองค์กรนิติบัญญัติถือเป็นข้อยกเว้นหลักทั่วไปเท่านั้น กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติ ส่วนกฎหมายที่ออกโดยองค์กรบริหาร ได้แก่ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศกระทรวง นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่ออกโดยองค์กรอื่น เช่น กฎหมายที่ออกโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือกฎหมายที่เสนอโดยประชาชน เป็นต้น
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
แนะนำกฏหมายไทย
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร การเสนอร่างกฎหมายของประเทศไทยเริ่มต้นจากหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นผู้เสนอร่างกฎหมาย พร้อมคำชี้แจงหลักการและเหตุผลต่อคณะรัฐมนตรีก่อนที่จะเสนอต่อรัฐสภาพิจารณา โดยหน่วยงานต้องตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย (RIA) และจัดทำเป็นเอกสารเสนอมาพร้อมกับร่างกฎหมายนั้น ๆ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักกาของร่างกฎหมายแล้ว จะส่งร่างกฎหมายมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อตรวจพิจารณาความสอดคล้องของร่างกฎหมายกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งยังต้องพิจารณาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในเรื่องเดียวกันกับร่างกฎหมายที่จะจัดทำด้วย
สภาผู้แทนราษฎรจะแบ่งออกเป็น ๓ วาระ คือ วาระที่ ๑ จะเป็นการพิจารณาว่าจะรับหลักการถ้าที่ประชุมรับหลักการก็จะเข้าสู่การพิจารณาใน
วาระที่ ๓ ที่ประชุมจะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย โดยจะไม่มีการอภิปรายใด ๆ อีก หากลงมติเห็นชอบก็จะส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป แต่ถ้าผลการลงมติ การพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร โดยที่วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน ๓๐ วัน เว้นแต่วุฒิสภาได้ลงมติขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้องไม่เกิน ๓๐ วัน ถ้าวุฒิสภาพิจารณาไม่เสร็จภายในกำหนดเวลา ให้ถือร่างพระราชบัญญัตินั้นผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภา ไว้ก่อน แล้วส่งร่างคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรจนกระทั่งครบ และเห็นชอบด้วย ก็ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้ทันทีที่มีจำนวนเท่ากันขึ้นเป็นคณะกรรมการร่วมกัน เพื่อพิจารณา
ร่างพระราชบัญญัตินั้นอีกครั้ง โดยต้องรายงานและเสนอสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ให้ยับยั้งร่างนั้นไว้ก่อน
ขั้นตอนสุดท้ายคือกระบวนการลงพระปรมาภิไธยหากพระมหากษัตริย์ทรงเห็นชอบและทรงลงพระปรมาภิไธย หากพระมหากษัตริย์ทรงไม่เห็นชอบและทรงใช้อำนาจยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินั้นจะถูกส่งคืนมายังรัฐสภาโดยไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย หรืออาจทรงเก็บร่างนั้นไว้โดยไม่พระราชทานคืนมายังรัฐสภาจนล่วงพ้นเวลา ๙๐ วัน ในกรณีนี้ รัฐสภาจะต้องประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาร่างพระราชบัญญัตินั้นใหม่ ถ้ารัฐสภามีมติยืนยันตามเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓ ของสมาชิกทั้งหมดของทั้งสองสภา ให้นายกรัฐมนตรีขึ้นนำทูลเกล้าฯ อีกครั้งหนึ่งทรงพระราชทานคืนมาภายใน ๓๐ วัน ให้นายกรัฐมนตรี แหล่งข้อมูลกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ประเทศกเวียดนาม
ประเทศเวียดนาม
เวียดนาม หรือสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน มีพื้นที่ ๓๓๑,๖๙๘ ตารางกิโลเมตร แบ่งเขตการปกครองเป็น ๕๘ จังหวัด และ ๕ เทศบาลนคร เมืองหลวงของประเทศเวียดนาม คือ ฮานอย โดยมีจำนวนประชากรประมาณ ๘๖ ล้านคน ประชากรของเวียดนามประกอบด้วยคนเชื้อสายคิ่น (Kinh) ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ และมีประชากรส่วนที่เหลือประกอบด้วย ๕๓ กลุ่มชาติพันธุ์ จึงทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีความหลากหลายในด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ภาษาราชการของเวียดนาม คือ ภาษาเวียดนาม อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาติพันธุ์ ๒๔ กลุ่มจาก ๕๓ กลุ่มก็มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง และในปัจจุบันภาษาอังกฤษก็มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในฐานะภาษาที่สอง ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเยอรมันก็มีความสำคัญในระดับต่าง ๆ กัน
ประเทศเวียดนามปกครองโดยระบอบสังคมนิยม มีพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ค.ศ. ๑๙๙๒ ได้ยืนยันบทบาทความสำคัญและความเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ไว้ดังนี้
“พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามเป็นแนวหน้าของชนชั้นกรรมาชีพของเวียดนามและเป็นผู้แทนอันซื่อสัตย์เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นกรรมาชีพ ผู้ใช้แรงงานและชาติ โดยยึดมั่นในอุดมการณ์ของมาร์กซ-เลนินและแนวคิดของโฮจิมินห์ เป็นพลังนำของรัฐและสังคม”
แนะนำกฏหมายเวียดนาม
กระบวนการตรากฎหมายระดับพระราชบัญญัติของฝ่ายบริหาร
การตรากฎหมายของเวียดนามเริ่มต้นโดยหน่วยงาน
ของรัฐที่มีกฎหมายในความรับผิดชอบจะเป็นผู้ยกร่างกฎหมาย หน่วยงานแต่ละแห่งจะมีคณะกรรมการยกร่างกฎหมาย
โดยคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจากกระทรวงยุติธรรมและสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อยกร่างกฎหมายเสร็จแล้ว กระทรวงยุติธรรมจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบว่าร่างกฎหมาย
ที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณานั้นมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ หรือชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ รวมทั้งตรวจสอบ
ถึงความจำเป็นในการตรากฎหมายดังกล่าว เมื่อตรวจร่างกฎหมายเสร็จแล้ว กระทรวงยุติธรรมจะส่งร่างกฎหมายให้รัฐบาล ในกรณีที่รัฐบาลเห็นชอบกับร่างกฎหมายก็จะเสนอร่างกฎหมายต่อสมัชชาแห่งชาติ (The National Assembly) เพื่อพิจารณาต่อไป
กฎหมายภายในของเวียดนามกำหนดให้มีการรับฟังความเห็น
ของประชาชนโดยถือเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดทำ
ร่างกฎหมาย ในขั้นตอนของการยกร่างกฎหมายนั้น หน่วยงาน
ของรัฐที่รับผิดชอบจะต้องเผยแพร่ร่างกฎหมายผ่านทางหน้าเว็บ
เพจของรัฐบาลไม่น้อยกว่าหกสิบวันเพื่อรับฟังความเห็นของประชาชน ผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากการตรากฎหมาย