BANNER

สหราชอาณาจักรถูกกล่าวหาว่าได้ตีตราผู้ลี้ภัยและเหยื่อจากการค้ามนุษย์ว่าเป็นอาชญากรในรายงานสำคัญของคณะกรรมการสมัชชารัฐสภาแห่งสภายุโรป


 ข่าวต่างประเทศ      01 Jul 2023

  


สหราชอาณาจักรถูกกล่าวหาว่าได้ตีตราผู้ลี้ภัยและเหยื่อจากการค้ามนุษย์ว่าเป็นอาชญากรในรายงานสำคัญของผู้แทนจากทางยุโรป

จากรายงานของคณะกรรมการสมัชชารัฐสภาแห่งสภายุโรปได้ตักเตือนคณะรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรว่าพวกเขาเสี่ยงต่อการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศและหลักนิติธรรมในร่างกฎหมายใหม่

ในขณะที่สหราชอาณาจักรมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่เป็นต้นแบบสำหรับประเทศในยุโรปที่มีการผสมผสานระหว่างกฎหมายสิทธิมนุษยชนของยุโรปเข้าไปในกฎหมายภายในของประเทศ ได้แก่ Human rights act 1998
รายงานฉบับใหม่นี้ทำให้เกิดข้อกังวลเกี่ยวกับแนวทางของสหราชอาณาจักรในปัจจุบันซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงหลักพื้นฐานในการตีความกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายสิทธิมนุษยชนซึ่งกำลังอยู่ภายใต้การพิจารณา
จากรายงานดังกล่าวได้มีการตรวจสอบข้อเสนอทางกฎหมายของสหราชอาณาจักร ได้แก่ Bill of Rights 1689 และร่างกฎหมาย illegal migration bill
คามาล จาฟารอฟ ผู้จัดทำรายงาน กล่าวว่า “เป็นการกระทำที่ไม่ได้มีการช่วยเหลืออย่างแท้จริงที่ได้เหมารวม

ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยว่าเป็นอาชญากร ซึ่งได้สร้างความสับสนระหว่างสถานะของผู้อพยพกับความเป็นอาชญากรซึ่งเป็นหนทางอันตรายในการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนที่เปราะบางที่สุดในสังคมรัฐ และผู้มีบทบาทในทางสาธารณะควรยุติการใช้คำศัพท์ที่เชื่อมโยงชะตากรรมของผู้ลี้ภัยเข้ากับความเป็นอาชญากร”


แผนของรัฐบาลได้มีการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายเหยื่อจากการค้ามนุษย์ออกจากสหราชอาณาจักร โดยเหตุผลที่ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งจากข้อเท็จจริงที่ว่าบุคคล
ถูกค้ามนุษย์ไปยังสหราชอาณาจักรนั้นไม่ทำให้บุคคลนั้นเป็นภัยคุกคามต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่อย่างใด


จากรายงานดังกล่าวได้มีการตักเตือนว่า ทางสหราชอาณาจักรกำลังเห็นชอบกับร่างกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาอย่างน้อย ๕ ฉบับ หากมีการนำร่างกฎหมาย illegal Migration Bill มาออกบังคับใช้ในรูปแบบปัจจุบัน โดยอาจไม่สอดคล้องกับอนุสัญญายุโรปว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (European convention on human rights: ECHR) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (convention on rights of the child: CRC) และอนุสัญญาการค้ามนุษย์ (trafficking convention)

มีความความกังวลเพิ่มขึ้นว่าทางสหราชอาณาจักรจะยังคงปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลสิทธิมนุษยชนแห่งยุโรปหรือไม่ ซึ่งรู้จักกันในชื่อว่า “Rule 39 interim measures” ซึ่งทำให้เที่ยวบินปฐมฤกษ์ที่จะทำการเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยไปยังรวันดาต้องหยุดชะงักเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. ๒๐๒๒ และมาตรการชั่วคราวดังกล่าวทำให้รัฐมนตรีแสดงความไม่พอใจ

จากรายงานนั้นกล่าวว่า ทางรัฐบาลสหราชอาณาจักรทราบดีว่าร่างกฎหมาย Illegal Migration Bill อาจไม่สอดคล้องกับสิทธิในอนุสัญญาต่าง ๆ ซึ่งสิ่งนี้บ่งบอกถึงความต้องการภายในรัฐบาลสหราชอาณาจักรที่เพิ่มขึ้นต่อการไม่ปฏิบัติตามหลักนิติธรรม

แม้ว่ารัฐบาลจะระบุว่าต้องการย้ายผู้ขอลี้ภัยในสหราชอาณาจักรไปยังประเทศอื่น ๆ จำนวนมาก แต่ประเทศเดียวที่ตกลงที่จะยอมรับพวกเขา คือ รวันดา และเรื่องดังกล่าวยังคงอยู่ในชั้นศาล ซึ่งมีความเสี่ยงที่คนจำนวนมาก (รวมถึงเด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ใหญ่ที่เปราะบาง) จะถูกควบคุมตัวอย่างไม่มีกำหนด
คามาล จาฟารอฟ คณะกรรมการสมัชชาด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กล่าวโดยสรุปว่า “ฉันยังคงถูกขัดขวางเนื่องจากมีการขาดความเข้าใจในคุณค่าโดยธรรมชาติของหลักการที่สำคัญ เช่น หลักนิติธรรม สถาบันประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และการรับประกันที่มีประสิทธิภาพสำหรับการคุ้มครองของสิทธิมนุษยชน
สิ่งนี้ดูเหมือนจะได้ถูกรวมกับข้อมูลที่มีการบิดเบือนจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม”


โฆษกของกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า “ร่างกฎหมาย Illegal Migration Bill ช่วยให้ทางเราบรรลุการปฏิรูประบบตรวจคนเข้าเมืองและหยุดการเดินทางโดยเรือของผู้ลี้ภัยในขณะที่ยังคงเป็นภาคีสมาชิกของอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนยุโรป (ECHR) ทางเรายืนยันมาโดยตลอดว่าการย้ายถิ่นฐานและความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรและรวันดานั้นถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงการปฏิบัติตามอนุสัญญาผู้ลี้ภัย (Refugee convention) และเมื่อปีที่แล้วศาลสูงก็ยึดถือตามนี้ ซึ่งทางเราพร้อมที่จะปกป้องนโยบายจากการต่อสู้คดีทางกฎหมาย”

ข่าวประจำวันที่  ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๖

เรียบเรียงจาก  https://www.theguardian.com/world/2023/may/25/proposed-uk-laws-are-labelling-refugees-as-criminals-says-european-report?fbclid=IwAR2Dre-ZZKDOaloynvLzMlZUTA2uKiv8mX_CF2v5f2k2vsfhph3Ku6kSx6A

*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย



 

© 2017 Office of the Council of State.