บทนำ
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยสมาชิก ๑๐ ประเทศ มีรายชื่อดังนี้ บรูไน (Brunei Darussalam) กัมพูชา (Cambodia) อินโดนีเซีย (Indonesia), ลาว (Laos) มาเลเซีย (Malaysia) เมียนมา (Myanmar) ฟิลิปปินส์ (Philippines) สิงคโปร์ (Singapore) ไทย (Thailand) เวียดนาม (Vietnam) แต่ละประเทศสมาชิกจะมีหน้าที่หมุนเวียนกันเป็นประธาน ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในใน ASEAN Charter เมื่อได้เป็นประธานอาเซียนประเทศสมาชิกมีหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสำคัญต่าง ๆ เช่น การประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ประเทศที่ได้เป็นประธานอาเซียนจึงมีโอกาสทางการเมืองที่ผลักดันประเด็นที่ตนเห็นว่ามีความสำคัญ การเป็นประธานอาเซียนจึงเป็นโอกาสที่ผู้นำประเทศซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานอาเซียนจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในระดับภูมิภาคอาเซียน
การได้เป็นประธานอาเซียน
การที่ประเทศใดจะได้เป็นประธานอาเซียนนั้นได้มีกำหนดไว้ใน ASEAN Charter
หมวด ๑๐ การบริการและขั้นตอนการดำเนินงาน ข้อ ๓๑
[1] ลำดับการเป็นประธานอาเซียนให้เป็นไปตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษ ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ นั้นมีประเทศลาว (Laos) รับหน้าเป็นประธาน ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จะเป็นหน้าที่ของประเทศฟิลิปปินส์ (Philippine) ในปี ๒๕๖๑ เป็นหน้าที่ของประเทศสิงคโปร์ (Singapore) และ พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็นหน้าที่ของประเทศไทย (Thailand)
เมื่อประเทศสมาชิกได้เป็นประธานอาเซียนตามกฎบัตรอาเซียนข้อ ๓๒ ระบุให้ประเทศสมาชิกมีหน้าที่ดังต่อไปนี้ ประธานอาเซียนต้องให้การสนับสนุนผลประโยชน์และทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอาเซียนดีขึ้นทั้งนี้โดยผ่านนโยบาย การประสานงาน และความรวมมือต่าง ๆ นอกจากนี้ ประธานอาเซียนต้องคงไว้ซึ่งความเป็นกลางทางการเมืองของอาเซียน ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินประธานอาเซียนต้องจัดการเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างรวดเร็ว และสุดท้ายประธานอาเซียนเป็นตัวแทนของอาเซียนในการเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศอื่น ๆ
ประเด็นระดับประเทศของฟิลิปปินส์
ในปี ๒๕๕๙ เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงของประเทศฟิลิปปินส์อันเนื่องจากฟิลิปปินส์ได้จัดเลือกตั้งประธานาธิบดีและผลการเลือกตั้งส่งผลให้ได้ผู้นำคนใหม่ชื่อ Rodrigo Duterte จากพรรค PDP–Laban ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งพรรค PDP-Laban สนับสนุนนโยบายทางเศรษฐกิจในแนวทางเปิดเสรี ส่วนในทางด้านสังคมนั้นเป็นไปในแนวทางอนุรักษ์นิยม
ในทางนโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลใหม่มีนโยบายที่จะเสนอการปฏิรูปโครงสร้างภาษีใหม่ทั้งหมดโดยจะเริ่มจากปรับเกณฑ์รายได้ผู้ที่จะต้องเสียภาษีและรูปแบบการเก็บภาษี เช่น
การกำหนดอัตราภาษีใหม่โดยใช้เกณฑ์ผู้เสียภาษีต้องชำระภาษีแบบอัตราคงที่และส่วนที่เกินรายได้
[2] ทั้งนี้ ช่วงรายได้ที่มีประชาชนต้องเสียภาษีมากที่สุดคือ ๐ – ๒๕๐,๐๐๐ เปโซฟิลิปปินส์
(๐ - ๑๘๐,๐๐๐ บาท)
[3] คิดเป็นร้อยละ ๘๓ ของผู้เสียภาษีจากข้อมูลในปี ๒๕๕๖
อัตราการจัดเก็บภาษีบุคคลธรรมดาเดิม |
อัตราการจัดเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเสนอใหม่ |
ระดับรายได้ |
อัตราภาษี |
ระดับรายได้ |
อัตราภาษี |
0-10,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
5% |
0-250,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
2,500 เปโซฟิลิปปินส์ |
10,001-30,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
10% |
250,001-400,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
2,500 เปโซฟิลิปปินส์ + 20% ของรายได้ที่เกิน 250,000 |
30,001-70,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
15% |
400,001-800,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
32,500 เปโซฟิลิปปินส์ + 25% ของรายได้ที่เกิน 400,000 |
70,001-140,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
20% |
800,000-2,000,000เปโซฟิลิปปินส์ |
132,500
เปโซฟิลิปปินส์ + 30% ของรายได้ที่เกิน 800,000 |
140,001-250,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
25% |
2,000,000-5,000,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
492,500
เปโซฟิลิปปินส์ + 32% ของรายได้ที่เกิน 2,000,000 |
250,001-500,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
30% |
5,000,000 เปโซฟิลิปปินส์ ขึ้นไป |
1,450,000
เปโซฟิลิปปินส์ + 35% ของรายได้ที่เกิน 5,000,000 |
มากกว่า 500,000
เปโซฟิลิปปินส์ |
32% |
|
|
นอกจากการปรับหลักเกณฑ์และอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รัฐบาลใหม่มีแผนจะปรับลดภาษีของนิติบุคคล
[4]จากเดิมที่จัดเก็บร้อยละ ๓๐ ลดลงเป็นร้อยละ ๑๕ – ๒๕ ซึ่งจะอยู่ในระดับเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียส่งผลให้บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนรวมถึงบริษัทของประชาชนฟิลิปปินส์สามารถแข่งขันกันบริษัทของประเทศอื่น ๆ ได้ ซึ่งหากฟิลิปปินส์ตัดสินใจที่จะลดภาษีนิติบุคคลให้ต่ำกว่าประเทศสมาชิกประเทศอื่น ๆ จะส่งผลให้ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ต้องลดภาษีนิติบุคคลตามเพื่อป้องกันการย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่าง ๆ
ประเด็นทางสังคมที่รัฐบาลใหม่ของฟิลิปปินส์ผลักดันคือการปราบปรามยาเสพติดอย่างรุนแรง นับตั้งแต่เข้าบริหารประเทศของรัฐบาลใหม่ในเดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ ตำรวจฟิลิปปินส์ได้วิสามัญประชาชนที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้วกว่า ๖ พันคน เหตุการณ์ดังกล่าว สร้างความกังวลต่อองค์การระหว่างประเทศเป็นอย่างยิ่ง เช่น Human Rights Watch
[5] และ สหประชาชาติ
[6]
ในด้านความมั่นคงรัฐบาลใหม่ของฟิลิปปินส์มีจุดยืนทางด้านนโยบายระหว่างประเทศที่แตกต่างจากรัฐบาลก่อนหน้าเป็นอย่างยิ่ง เช่น รัฐบาลใหม่แสดงความเป็นมิตรต่อประเทศจีนทั้งที่สองประเทศมีข้อพิพาทในเรื่องเขตแดนทางทะเล ดังนั้นการเป็นประธานอาเซียนของฟิลิปปินส์จึงมีความน่าสนใจโดยสามารถแบ่งได้เป็น ๒ ท่าที ท่าทีแรกฟิลิปปินส์เลือกที่จะใช้ความเป็นประธานอาเซียนและความใกล้ชิดกับจีนในการโน้มน้าวคู่ขัดแย้งในปัญหาทะเลจีนใต้ประเทศอื่นให้ได้ข้อสรุปในการจัดการพื้นที่ขัดแย้งซึ่งท่าทีนี้จะทำให้อาเซียนมีเสถียรภาพมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามหากฟิลิปปินส์เลือกใช้ความเป็นประธานอาเซียนช่วยจีนขยายอิทธิในประเทศสมาชิกอาเซียนอาจจะนำมาซึ่งความแตกแยกในภูมิภาคอาเซียนได้ ทั้งนี้ เหตุการณ์ความแตกแยกในอาเซียนเกิดขึ้นแล้วในการจัดทำแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ประเทศสมาชิกอาเซียน ๙ ประเทศ
[7]เห็นร่วมกันว่าควรมีการกล่าวถึงคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเลที่ตัดสินให้ฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายชนะแต่ประเทศกัมพูชาซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับจีนคัดค้านการกล่าวถึงคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเลในแถลงการณ์
ในด้านการปกครองปัจจุบันฟิลิปปินส์ปกครองระบบรัฐเดี่ยว มีเมืองมะนิลาเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองหลักที่มีการลงทุนมาก ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างไม่ทั่วถึงแนวคิดในการแบ่งการปกครองของฟิลิปปินส์จากรัฐเดี่ยวเป็นรัฐรวมมีการเสนอมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วปรากฏครั้งแรกใน Malolos Constitution ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นโดยราชอาณาจักรสเปน
[8]เพื่อให้ปกครองฟิลิปปินส์ในยุคคที่เป็นอาณานิคมของราชาอาณาจักรสเปน ทั้งนี้
การปกครองแบบกระจายอำนาจเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมฟิลิปปินส์แล้วก่อนที่จะถูกปกครองโดยราชอาณาจักรสเปน
[9] ปัญหารูปแบบของรัฐบาลและการแบ่งส่วนการปกครองเป็นประเด็นที่แต่ละรัฐบาลให้ความสำคัญมีการเสนอร่างกฎหมายเปลี่ยนแปลงทุกรัฐบาลแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่จากการขึ้นดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี Rodrigo Duterte ซึ่งสนับสนุนแนวคิดรัฐรวม
[10] และได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญและตั้งเป้าหมายจะทำให้เสร็จภายในปี ๒๕๖๕ รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงประกอบด้วยจะเป็นแบ่งฟิลิปปินส์ออกเป็น ๑๑ – ๑๒ มลรัฐ แต่ละรัฐจะมีอำนาจในการตรากฎหมาย ซึ่งการให้อำนาจดังกล่าวจะส่งผลให้นโยบายต่าง ๆ ไม่ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลกลางอีกต่อไป ทำให้แต่ละรัฐสามารถออกนโยบายเพื่อให้นักลงทุนหรือบริษัทข้ามชาติสนใจทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ทำให้ประชาชนชาวฟิลิปปินส์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ประเด็นที่ฟิลิปปินส์จะผลักดันในอาเซียน
บทบาทของฟิลิปปินส์ในฐานะประธานอาเซียน สามารถเริ่มวิเคราะห์ได้จากธีมของงานประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ซึ่งฟิลิปปินส์ได้เลือกใช้ประโยคว่า “Partnering for Change, Engaging the World”
[11][12] ธีมดังกล่าวเน้นถึงบทบาทของอาเซียนที่จะแสวงหาพันธมิตรกับประเทศอื่นรวมทั้งจะให้ความสำคัญกับประชาชนอาเซียนโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
ด้านการเมืองและความมั่นคงคาดการณ์ประเด็นสำคัญที่ฟิลิปปินส์ต้องการผลักดันให้มีความคืบหน้าคือการหาข้อสรุปในกรณีข้อพิพาททะเลจีนใต้ จากที่กล่าวไปข้างต้น รัฐบาลใหม่ค่อนข้างที่จะให้ความสำคัญกับการสานสัมพันธ์กับประเทศจีน เช่น การยกเลิกซ้อมรบกับสหรัฐอเมริกาที่เป็นพันธมิตรสำคัญของฟิลิปปินส์มาอย่างยาวนาน
[13] รวมถึงการไม่นำคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล ที่ตัดสินให้ฟิลิปปินส์ชนะคดีขึ้นมาเป็นประเด็น
ถ้าหากประเทศจีนยินยอมที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงในฟิลิปปินส์
[14] การแสดงท่าทีดังกล่าวของฟิลิปปินส์อาจทำให้ประเทศเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ซึ่งมีข้อพิพาทในทะเลจีนใต้เช่นเดียวกันไม่พอใจได้ อีกทั้งจะส่งผลไปถึงการจัดทำ South China Sea Code of Conduct (COC) อาจจะทำให้แต่ละฝ่ายหาข้อสรุปยากขึ้น ซึ่งสถานะล่าสุดจากการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศต้องการที่จะทำ COC ให้เสร็จภายในปี ๒๕๖๐
[15]
ในด้านเศรษฐกิจคาดว่าฟิลิปปินส์จะผลักดันการเจรจา ASEAN Trade In Services Agreement (ATISA) ให้เสร็จสิ้นเนื่องด้วยธุรกิจการบริการ
[16]เป็นธุรกิจที่ประชาชนฟิลิปปินส์มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ต้องการของตลาดเนื่องจากมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจ เช่น ธุรกิจ Call Center ธุรกิจการศึกษา ธุรกิจด้านโรงแรม หากการเจรจาสำเร็จจะทำให้ธุรกิจภาคบริการดำเนินกิจการได้อย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนจะแข่งขันเพื่อเป็น Regional Headquarters ของบริษัทข้ามชาติโดยการดึงแรงงานที่มีคุณภาพมารวมอยู่ในประเทศเดียว ดังเช่นที่สิงคโปร์ทำ
ในด้านสังคมวัฒนธรรม จากนโยบายปราบปรามยาเสพติดในประเทศฟิลิปปินส์ที่กล่าวข้างต้นจึงสามารถคาดการณ์ได้ว่าฟิลิปปินส์จะให้ความสำคัญโดยการขอความร่วมมือประเทศที่เป็นแหล่งผลิตยาเสพติดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง เช่น บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ
ตั้งอยู่ระหว่างพรมแดนประเทศลาว เมียนมา และไทย ให้มีเข้มงวดในการปราบปรามแหล่งผลิต
ยาเสพติด
ทั้งจากนี้กระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์และการกลับมาของกระแสชาตินิยมในโลกตะวันตกกระแสดังกล่าวอาจจะเข้ามาสู่สังคมตะวันออกเช่น ซึ่งกระแสดังกล่าวด้วยพื้นฐานของกระแสชาตินิยมจะให้ความสำคัญกับชาติตนเองเป็นอันดับแรก ซึ่งขัดแย้งกับการรวมกลุ่ม ดังนั้นประชาคมอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานอาเซียนต้องแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มกัน
สรุป
ในปี ๒๕๖๐ อาเซียนจะมีอายุครบ ๕๐ ปีถือเป็นปีสำคัญอย่างยิ่งในแง่การเมืองโลกจากท่ามกลางกระแสต่อต้านโลกาภิวัตน์และการกลับมาของกระแสชาตินิยมซึ่งเป็นแนวคิดตรงข้ามกับการรวมตัวเป็นกลุ่มเป็นประชาคม ฟิลิปปินส์และประเทศสมาชิกอาเซียนมีภาระกิจสำคัญที่จะไม่ทำให้การรวมกลุ่มกันเป็นประชาคมต้องสั่นคลอน นอกจากนี้ ปัญหาทะเลจีนใต้ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนด้วย ถึงอย่างไรก็ตาม หากฟิลิปปินส์สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสสามารถโน้มน้าวประเทศคู่ขัดแย้งในปัญหาทะเลจีนใต้ได้ก็จะสามารถทำให้ภูมิภาคอาเซียนมีเสถียรภาพ และสามารถให้ความสำคัญกับการรวมตัวทางเศรษฐกิจซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ภูมิภาค
[1] ๑.ให้หมุนเวียนตำแหน่งประธานอาเซียนทุกปี บนพื้นฐานของลำดับอักษรของชื่อภาษาอังกฤษของรัฐสมาชิก
[3] อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๙ ธนาคารแห่งประเทศไทย
[7] https://www.cambodiadaily.com/news/cambodia-blocks-asean-statement-on-south-china-sea-115834/