BANNER

การร่วมกันสำรวจทะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์และจีนสามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์การร่วมกันสำรวจทะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์และจีนสามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์


 ข่าวต่างประเทศ      11 Jan 2017

  


Harry Roque สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของฟิลิปปินส์ ได้ให้ความเห็นในกรณีการร่วมกันสำรวจทะเลจีนใต้ระหว่างฟิลิปปินส์และจีนว่า แนวความคิดดังกล่าวสามารถดำเนินการตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันตามมาตรา ๑๒ ส่วนที่ ๒ ของรัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1987[1] ที่ให้อำนาจประธานาธิบดีสามารถทำข้อตกลงกับนิติบุคคลต่างชาติ เพื่อให้การสนับสนุนทางเทคนิคหรือการเงินแก่การสำรวจขนาดใหญ่ การพัฒนาและการใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุ ปิโตรเลียม และแร่ธาตุอื่น ๆ รวมถึงน้ำมัน  ทั้งนี้ การทำข้อตกลงนั้นต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาความเป็นอยู่ของคนทั้งประเทศ โดยเมื่อได้จัดทำข้อตกลงแล้วนิติบุคคลต่างชาติจะมีสถานะเป็นผู้รับจ้างที่จะต้องจัดหาเงินทุน เทคโนโลยี ความรู้ทางเทคนิคและความเชี่ยวชาญด้านการจัดการตามที่ได้ระบุไว้ในข้อตกลง โดยที่รัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมและกำกับดูแลการดำเนินงานตามข้อตกลงซึ่งแนวความคิดในการจัดทำข้อตกลงดังกล่าวสามารถสร้างประโยชน์ได้ในอดีตที่ผ่านมา


          นอกจากนี้ สมาชิกผู้แทนราษฎรดังกล่าวยังได้ให้ความเห็นว่าอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการจัดการปัญหาเขตแดนอย่างสันติ  ดังนั้น การที่ฟิลิปปินส์จะใช้แนวทางในการจัดทำข้อตกลงร่วมกันสำรวจทะเลจีนใต้กับประเทศจีนยิ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายทะเลระหว่างประเทศ และการที่ทั้งสองประเทศปล่อยให้ปัญหาเขตแดนทะเลจีนใต้ยืดเยื้อจะส่งผลเสียต่อทั้งสองประเทศเนื่องจากจะทำให้ทั้งสองประเทศไม่สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ในบริเวณทะเลจีนใต้ได้

          ทั้งนี้ จากการให้ข้อมูลของ Jose Sta. Romana เอกอัครราชทูตฟิลิปปินส์ประจำประเทศจีน  แนวทางในการจัดทำข้อตกลงร่วมสำรวจได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฟิลิปปินส์เป็นอย่างยิ่งและอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ นอกจากนี้ Pantaleon Alvarez โฆษกสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ก็ให้การสนับสนุนแนวทางการจัดทำข้อตกลงร่วมเช่นกัน



วิเคราะห์ข่าว ท่าทีของฟิลิปปินส์ในเรื่องปัญหาทะเลจีนใต้เปลี่ยนไปจากก่อนที่ Rodrigo Duterte เข้าดำรงตำแหน่ง โดยที่ผ่านมาฟิลิปปินส์ไม่ยอมที่จะให้จีนได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าวและนำเรื่องข้อพิพาทเขตแดนฟ้องต่อศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเล แต่ภายหลังจากการเข้ารับตำแหน่งของ Rodrigo Duterte ถึงแม้ศาลระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเลได้มีคำตัดสินออกมา ให้ฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายชนะคดีแต่ฟิลิปปินส์กลับไม่มีท่าทีที่จะยืนยันตามคำพิพากษามากนัก และการที่มีข่าวการทำข้อตกลงร่วมสำรวจนั้นอาจถือเป็นท่าทีที่เปลี่ยนไปขอฟิลิปปินส์ และอาจส่งผลต่อประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ที่มีปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้เช่นกัน  ทั้งนี้ หากฟิลิปปินส์ใช้ความเป็นประธานอาเซียนให้เป็นประโยชน์โดยผลักดันการร่วมเจรจาให้เป็นวาระระดับอาเซียนได้ก็จะทำให้เกิดเสถียรภาพในภูมิภาคเป็นอย่างมาก เนื่องจากในการเจรจาประเด็นข้อพิพาทเกี่ยวกับเขตแดนที่มีทุกคู่ขัดแย้งย่อมจะได้ข้อสรุปที่เป็นที่พอใจกับทุกฝ่ายมากกว่า
ข่าวจาก http://www.globaltimes.cn/content/1027284.shtml
ลิงค์ดาวโหลดรัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์ http://lawforasean.com/downloads/index/25
 
[1] ความในมาตรา ๑๒ ส่วนที่ ๒ ของรัฐธรรมนูญฟิลิปปินส์ “Section 2. All lands of the public domain, waters, minerals, coal, petroleum, and other mineral oils, all forces of potential energy, fisheries, forests or timber, wildlife, flora and fauna, and other natural resources are owned by the State. With the exception of agricultural lands, all other natural resources shall not be alienated. The exploration, development, and utilization of natural resources shall be under the full control and supervision of the State. The State may directly undertake such activities, or it may enter into co-production, joint venture, or production-sharing agreements with Filipino citizens, or corporations or associations at least 60 per centum of whose capital is owned by such citizens. Such agreements may be for a period not exceeding twenty-five years, renewable for not more than twenty-five years, and under such terms and conditions as may provided by law. In cases of water rights for irrigation, water supply, fisheries, or industrial uses other than the development of waterpower, beneficial use may be the measure and limit of the grant.

© 2017 Office of the Council of State.