BANNER

มาตรการบังคับใช้สิทธิในยารักษาโรคตามความตกลง TRIPS และกระบวนการในการยอมรับพิธีสารแก้ไขความตกลง TRIPS ตามกฎหมายไทย


 บทความวิชาการ      03 Jul 2018

  


                ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวพันกับการค้า (Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights : TRIPS) เป็นความตกลงซึ่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) จะต้องปฏิบัติตาม โดยในความตกลง TRIPS มีบทบัญญัติกำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์ในทุกสาขาเทคโนโลยีด้วยการออกสิทธิบัตรให้แก่การประดิษฐ์เหล่านั้นเพื่อส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์กับสังคม โดยแลกกับการให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นได้รับเอกสิทธิ์ในสิ่งประดิษฐ์นั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้สามารถแสวงหารายได้จากสิ่งประดิษฐ์ของตนได้ หลักการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมกับการให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของปัจเจกชน แต่โดยที่ระบบสิทธิบัตรครอบคลุมไปถึงการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคด้วย จึงทำให้เกิดการผูกขาดและทำให้ยามีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะยาที่ใช้สำหรับโรคที่ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคเอดส์ โรคหัวใจ หรือโรคระบาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เช่น วัณโรค มาลาเรีย เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงยารักษาโรคโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด  ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา จึงมีการเจรจาในประเด็นความตกลง TRIPS เกี่ยวกับการสาธารณสุขขึ้น จนในที่สุดนำมาสู่การมีพิธีสารแก้ไขความตกลง TRIPS เพื่อกำหนดให้มีมาตรการเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการเข้าถึงยารักษาโรคได้มากขึ้นในบทความนี้จะได้กล่าวถึงความเป็นมาและสาระสำคัญของมาตรการบังคับใช้สิทธิในยารักษาโรคตามความตกลง TRIPS พันธกรณีในการปฏิบัติตามความตกลง TRIPS กระบวนการในการยอมรับพิธีสารแก้ไขความตกลง TRIPS ตามกฎหมายไทย


ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็ม: 
มาตรการบังคับใช้สิทธิในยารักษาโรคตามความตกลง TRIPS และกระบวนการในการยอมรับพิธีสารแก้ไขความตกลง TRIPS ตามกฎหมายไทย.pdf

© 2017 Office of the Council of State.