BANNER

โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub – region: GMS): บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับอาเซียนและนัยสำคัญอื่น


 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน      28 Jun 2018

  


               โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub – region: GMS) เป็นหนึ่งในโครงการที่ทำให้เห็นถึงการปรับตัวของเหล่าประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เข้ากับบริบทข้างต้น แม้โครงการ GMS จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับแม่น้ำโขงโดยตรง หากแต่เป็นความร่วมมือที่ใช้แม่น้ำโขงเป็นจุดศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือของ ๖ ประเทศที่มีพรมแดนติดกับแม่น้ำโขง  อย่างไรก็ดี ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าวประกอบด้วยประเทศที่เป็นสมาชิกอาเซียนอยู่ถึง ๕ ประเทศ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าความร่วมมือนี้จะส่งผลกับอาเซียนในแง่มุมใดบ้าง  นอกจากนี้ ในแง่บทบาทของประเทศมหาอำนาจในเอเชียโดยเฉพาะประเทศจีนและญี่ปุ่นในความร่วมมือ GMS นั้นจะเห็นได้ว่าบทบาทของสองประเทศดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเป็นที่มาของการศึกษาโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยบทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอภาพรวมของโครงการ GMS และบทวิเคราะห์ความร่วมมือผ่านตัวแสดงสำคัญ ซึ่งจะเป็นการอภิปรายในลักษณะของความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างตัวแสดงภายใต้ความร่วมมือ รวมถึงนัยสำคัญอื่น ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาวิจัยในเชิงลึกต่อไปในอนาคต

ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็ม:  โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Sub - region: GMS): บทวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับอาเซียนและนัยสำคัญอื่น.pdf

© 2017 Office of the Council of State.