เนื่องจากการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจากการเปิดพรมแดนด้านต่าง ๆ ที่ทำให้การเดินทางข้ามแดนมีความสะดวกมากขึ้น และมีหลายประเทศ ในอาเซียนเป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งจำต้องจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุของการค้ามนุษย์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าวในอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น จึงจำต้องศึกษาสถานการณ์การค้ามนุษย์ ตลอดจนการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ และการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศให้ถ่องแท้ ซึ่งบทความนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ภายในประเทศสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ที่ทำการศึกษาต่อเนื่องจากกรณีศึกษาการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐: สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
[1] ซึ่งผู้เขียนยังคงทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ (Trafficking in Persons Report June 2017)
[2] ซึ่งจัดทำขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาเป็นสำคัญ โดยบทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในราชอาณาจักรกัมพูชา
[3] ซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier ๒
[4] ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐
อ่านต่อ :
ดาวน์โหลดบทความไฟล์ PDF.
[1] อรพรรณ แซ่เอี้ยว, “
การค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐: สาธารณรัฐฟิลิปปินส์”, ฝ่ายอาเซียนและกิจการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, ๒๕๖๑.
[2] Department of State USA, “Trafficking in Persons Report June 2017. ”, Accessed 19 February 2018, https://www.state.gov/documents/organization/271339.pdf
[4] Tier ๒ หมายถึง ประเทศที่รัฐบาลไม่ได้กระทำตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฎหมายคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ (the TVPA) อย่างเต็มที่ แต่ก็มีความพยายามอย่างสำคัญที่จะนำตนเองเข้าสู่มาตรฐานของกฎหมายคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์