ภาพจาก https://www.set.or.th
โครงการอาเซียนลิงก์เกจ (Asean Linkage) จะสิ้นสุดลงในเดือนหน้านี้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้ระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ระหว่างตลาดในภูมิภาคไม่สนองตอบต่อความต้องการของนักลงทุนอีกต่อไป
อาเซียนลิงก์เกจเริ่มต้นจากการเชื่อมโยงระหว่างตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Singapore Stock Exchanges - SGX) และตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย (Bursa Malaysia - BMB) เมื่อปี พ. ศ. ๒๕๕๕ และเป็นส่วนหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์อาเซียน (ASEAN Exchanges) หลังจากนั้นได้มีความร่วมมือระหว่างตลาดหุ้น ๗ แห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย มาเลเซีย เวียดนาม (เวียดนามมี ๒ ตลาดหลักทรัพย์คือที่โฮจิมินห์และฮานอย) อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และสิงคโปร์ แพลตฟอร์มดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมการเติบโตของตลาดทุนอาเซียนด้วยการเพิ่มโอกาสในการลงทุนของอาเซียนให้มากขึ้น อาเซียนลิงก์เกจมุ่งเน้นการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในตลาดหุ้นเพื่อดึงดูดนักลงทุนทั่วโลก
ตลาดหลักทรัพย์ของมาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์ มีมูลค่าหลักทรัพย์ประมาณ ๒ ใน ๓ ของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Capitalization) ของตลาดหุ้นอาเซียนทั้ง ๗ แห่ง
นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า “ความร่วมมือในโครงการอาเซียนลิงก์เกจระหว่างทั้ง ๓ ประเทศจะถูกยกเลิก เนื่องจากการซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละครั้งมักทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์มากกว่าผ่านระบบของอาเซียนลิงก์เกจ บริษัทหลักทรัพย์ในภูมิภาคหลายแห่งไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมในระบบนี้เพราะมีต้นทุนที่สูง มีกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อน และมีความแตกต่างของสกุลเงินในการชำระค่าหุ้น ดังนั้น บริษัทหลักทรัพย์เหล่านี้จึงใช้เครือข่ายในภูมิภาคเพื่อให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ต่างประเทศแทน”
นางเกศรายังกล่าวอีกว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมทางการค้าที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุญาตให้นักลงทุนชาวไทยเข้าลงหุ้นทั่วโลกผ่านนายหน้าท้องถิ่น (local brokers) ทำให้ทั้งนายหน้าและนักลงทุนต่างใช้วิธีการในการซื้อขายหลักทรัพย์ในต่างประเทศ และมีผลให้ตลาดหลักทรัพย์ของมาเลเซีย ไทย และสิงคโปร์จะยกเลิกโครงการอาเซียนลิงก์เกจโดยมีผลสิ้นสุดตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้”
เรียบเรียงจาก http://www.bangkokpost.com/business/finance/๑๓๒๐๒๘๗/asean-linkage-folds-after-falling-short