BANNER

เวียดนามกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน


 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน      09 Sep 2016

  


 

เวียดนามกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เวียดนามได้ เข้าร่วมเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเมื่อปี ๒๕๓๘ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน หรือ CLMV ซึ่งได้รับความยืดหยุ่นในการเปิดเสรีด้านต่าง ๆ มากกว่ากลุ่มสมาชิกดั้งเดิมขออาเซียน จากที่ผ่านมา เวียดนามที่มีความกระตือรือร้นในการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่าง มาก โดยได้มีการวางนโยบายออกกฎหมายกำหนดกลไกต่าง ๆ และกรอบการปฏิบัติทางงาน ดังจะสังเกตได้จากภายหลังที่มีการลงนาม ในกฎบัตรอาเซียนและนำมาสู่การบังคับใช้ในปี ๒๕๕๒ รัฐบาลเวียดนามได้มีการออกกฎหมายหมายเลข 142/QD-TTg ขึ้นเพื่อกระตุ้นการทำงานและประสานความร่วมมือในหน่วยงานทุกระดับของ เวียดนาม หน่วยงานหลักที่เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อการเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนของเวียดนาม คือ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Ministry of Industry and Trade (MOIT)) โดยมีหน่วยงานย่อยอื่น ๆ คอยช่วยเหลือสนับสนุนและ เพื่อจะให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ตามความตกลง



ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ เวียดนามถูกจัดให้เป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือ ในการดำเนินการตามความตกลงมากที่สุดเช่นเดียวกับมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยเวียดนามได้ออกกฎหมายอนุวัติการตามความตกลงถึงร้อยละ ๘๕ ถึง ๙๕ ของความตกลงทั้งหมด


ในเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อให้สอด คล้องกับวิสัยทัศน์อาเซียน เวียดนามได้ปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการครั้งใหญ่เพื่อ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนแห่งชาติขึ้น (National ASEAN Committee) โดยมีรองนายกรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ คณะกรรมการอาเซียนแห่งชาตินี้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการให้ความร่วมมือ กับหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ที่ปฏิบัติหน้าที่หรือมีความเชื่อมโยงกับอาเซียน  นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกรมอาเซียนขึ้นในกระทรวงการต่างประเทศอีกด้วย

การรวม ตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนครั้งนี้ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการค้าสินค้า และการค้าบริการเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานเวียดนามอีกด้วยซึ่งประเด็นดังกล่าว เป็นประเด็นสำคัญในสายตาสาธารณชนเวียดนามอีกด้วย เนื่องการการเปิดอาเซียนจะทำให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศสามารถบริหารจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเวียดนามจะต้องเป็นทั้งประเทศผู้ส่งออกแรงงานไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน และในทางกลับกันก็ยังเป็นประเทศผู้รับแรงงานจากประเทศสมาชิกอาเซียนอีกด้วย ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แนวโน้มของความสมดุลในการเคลื่อนย้ายแรงงานของเวียดนาม จะได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก กล่าวคือการเคลื่อนย้ายแรงงานออกไปจากประเทศจะมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นซึ่ง ตรงข้ามกับแรงงานที่เคลื่อนย้ายเข้ามาที่จะมีน้อยลง จึงส่งผลให้ในท้ายที่สุดเวียดนามจะประสบกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศ นั้นเอง

โดยหลักแล้วการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกจะอยู่ ภายใต้ และความตกลงกรอบอาเซียนว่าด้วยการค้าบริการ (AFAS) ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาอาเซียน (MNP) และ ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน (MRAs) โดยข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อกำหนดด้านการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรง งานมีฝีมือหรือแรงงานผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะความรู้ในระดับหนึ่งเท่านั้น จึงทำให้การเปิดอาเซียนจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อแรงงานมีฝีมือมากกว่าแรงงานไร้ ฝีมือ อย่างไรก็ตาม แรงงานซึ่งนำเข้ามาก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายภายในและมาตรการควบคุมของเวียดนาม

จาก สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเวียดนามจะเห็นได้ว่า เวียดนามยังประสบกับการขาดแคลนแรงงานมีฝีมือในหลายภาคส่วน ฉะนั้นการเคลื่อนย้ายเข้ามาของแรงงานมีฝีมือจากต่างประเทศจะทำให้ตลาดแรงงาน ในเวียดนามได้รับประโยชน์ไปโดยปริยาย กล่าวคือ แรงงานมีฝีมือเหล่านั้นจะนำเอาความรู้และสหวิทยาการเข้ามาพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมการปรับปรุงเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมให้มีความ ทันสมัยมากขึ้น  นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามยังได้วางแผนในระยะยาวที่จะพัฒนาศักยภาพของแรงงาน การแข่งขัน คุณภาพชีวิตและสุขภาพรวมถึงด้านภาษา ในการนี้ เวียดนามจึงได้ขยายระยะเวลาในการเตรียมความพร้อมในการทำข้อตกลงที่เกี่ยวกับ สินค้าอ่อนไหว (sensitive products) จากปี ๒๕๕๘ ออกไปเป็นปลายปี ๒๕๖๑ อีกด้วย

สำหรับการอำนวยความสะดวกด้านการค้าในกลุ่มประเทศสมาชิกอา เซียน เช่น การลดอัตราภาษีศุลกากร การปรับกฎระเบียบด้านการค้าให้สอดคล้องกัน การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้า
การปรับปรุงและการสร้างกระบวนการ ผลิตที่ทันสมัยมากขึ้น นั้น กรมศุลกากรของเวียดนาม (General Department of Customs (GDC)) วางแผนที่จะสร้างระบบศุลกากร จุดเดียวแบบเบ็ดเสร็จ (National one-stop shop) เพื่อรวบรวมเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขนส่งและนำเข้าไว้ในที่เดียวกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบ ค้นข้อมูลและขั้นตอนการทำพิธีศุลกากรผ่านแดนซึ่งได้เชื่อมโยงกับระบบศุลกากร ของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นด้วย

นอกจากนี้ อุปสรรคทางการค้าที่เป็นภาษี (Tariff Barrier) ของเวียดนามจะลดลงเนื่องมาจากการลดอัตราภาษีลงภายในปี ๒๕๖๑ ซึ่งเป็นปีที่เวียดนามจะเข้าสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจอาเซียน
อย่างแท้ จริง ส่วนมาตรการอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non Tariff Barriers : NTBs) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการค้าเสรีไม่ว่าจะเป็นโควตา ระเบียบว่าด้วยพิธีศุลกากร และมาตรฐานสินค้าก็ควรได้รับการลดภาระความยุ่งยากลงหรือควรได้รับการบัญญัติ ใหม่ให้เป็นตามเจตนารมณ์ของความตกลงและวิสัยทัศน์ของอาเซียนเช่นกัน

ร้อย ละ ๓๐ ของธุรกิจเวียดนามเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าและการค้า บริการซึ่งถือเป็นภาคส่วนที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของเวียดนาม การค้าบริการที่สำคัญของเวียดนามได้แก่ การท่องเที่ยว การคมนาคม ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ นั้นสามารถบริหารจัดการเครือข่ายของตนในภูมิภาคอาเซียนโดยใช้ต้นทุนที่ต่ำลง ได้  แต่อย่างไร เวียดนามยังต้องประสบกับปัญหาการแข่งขันทางการให้บริการที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้ทัดเทียมหรือมีศักยภาพที่สูงกว่าประเทศสมาชิกอื่น ๆ
ในอาเซียนก็ ตาม  ทั้งนี้ เนื่องจากส่วนแบ่งทางการตลาดในอาเซียนโดยเฉพาะจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย  นอกจากนี้ ในส่วนธนาคารและสถาบันการเงินของประเทศเหล่านี้ก็มีการบริหารงานที่สมบูรณ์ รวมทั้งมีเครือข่ายที่กว้างขวางสำหรับด้านการสินค้าก็มีจุดเด่นในเรื่องของ มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้ เป็นอย่างดี

ในด้านการค้าสินค้านั้น การรวมตัวของอาเซียนยังส่งผลต่อโครงสร้างการส่งออก
ของ เวียดนามด้วยโดยหลักแล้วนอกจากเวียดนามจะสามารถผลิตสินค้าเกษตรกรรมและวัตถุ ดิบในระดับพื้นฐาน เช่น ข้าว กาแฟ ยางพารา และน้ำมันดิบแล้ว ยังสามารถผลิตสินค้าที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เครื่องสำอาง เสื้อผ้าและสินค้าชนิดอื่นๆ แต่เมื่อมีการรวมตัวทางเศรษฐกิจจะส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดในภูมิภาคจะมีการขยาย ตัวสูงขึ้น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์และไทย ส่งผลให้ประเทศดังกล่าวเข้ามามีส่วนร่วมในส่วนแบ่งทางในตลาดเวียดนามโดย ปราศจากมาตรการควบคุมทางกฎหมายและภาษี

แต่อย่างไรก็ตาม การที่เวียดนามเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับจีน สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการนำเข้าสูงในภูมิภาคเอเชีย เวียดนามจึงมีจุดยุทธศาสตร์ในเรื่องการคมนาคมขนส่งซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายใน ต้นทุนการค้าสินค้าและการค้าบริการได้ดีกว่าประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ  ประกอบกับการที่เวียดนามได้ทำความตกลงการค้าเสรี Free Trade Agreements (FTAs) กับประเทศต่าง ๆ และความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน (Regional Comprehensive Economic Partnership : RCEP) ระหว่างจีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์จะสามารถส่งเสริมการเคลื่อนย้ายทั้งทรัพยากรมนุษย์ และสินค้าได้  แต่ข้อได้เปรียบเหล่านี้ก็เป็นเพียงปัจจัยส่วนหนึ่งเท่านั้น หากเวียดนามยังเพิกเฉยต่อการพัฒนาโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เวียดนามก็อาจจะต้องพบจุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในอนาคตได้  ดังนั้น เวียดนามยังคงต้องเดินหน้าพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจต่อไปโดย เฉพาะการวางนโยบายด้านการลงทุนและความสามารถของบุคลากรในหน่วยงานต่าง ๆ โดยประการสำคัญอย่างยิ่งเวียดนามต้องรีบปรับปรุงมาตรฐานการผลิตสินค้าและ คุณภาพของสินค้า พร้อมทั้งผลิตแรงงานมีฝีมือและผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบสนองต่อนโยบายทาง เศรษฐกิจ

นอกจากบทบาททางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนแล้ว เวียดนามให้ความสำคัญกับประเด็น
เรื่อง ความมั่นคงของภูมิภาคอีกด้วย โดยการร่วมลงนามในสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty on the Southeast Asian Nuclear-Weapon-Free Zone) อย่างไรก็ตาม ประเด็นเรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ได้ส่งผลให้เวียดนามเป็นประเทศที่มี ส่วนได้เสียโดยตรง เวียดนามมีความตั้งใจที่จะยุติปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีการสันติ นั่นคือการเจรจาและทำปฏิญญาว่าด้วยแนวปฏิบัติ ของภาคีในทะเลจีนใต้ (Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea) และร่างระเบียบปฏิบัติของภาคีในทะเลจีนใต้ (Code of Conduct of Parties in the East Sea)

 

อ้างอิง
Viet Nam News, Viet Nam shifts policies to prepare for new ASEAN economic group, published date:
August 11, 2015, accessed on September 2015, http://vietnamnews.vn/opinion/274300/viet-nam-shifts-policies-to-prepare-for-new-asean-economic-group.html

Vietnam Business Forum, ASEAN Economic Community: Prize for the Best Prepared, The weekly
magazine of the Vietnam Chamber of Commerce and Industry, published date: February 03, 2015, accessed on September 2015, http://vccinews.com/news_detail.asp?news_id=31713

Sadhavi Chauhan, Observer Research Foundation, Vietnam’s role in ASEAN, East Asia forum,
published date: October 23, 2013, accessed on September 2015, http://www.eastasiaforum.org/2013/10/23/vietnams-role-in-asean

 

© 2017 Office of the Council of State.