50 ปีอาเซียน โอกาสและความท้าทายของกัมพูชา
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
03 Apr 2017
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2560 อาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(the Association of Southeast Asian Nations ) จะมีอายุครบ 50 ปี
อาเซียนนั้นก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีสมาชิกก่อตั้ง
ทั้งสิ้น 5ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง
เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาค และเป็นเวทีเพื่อความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคนิค การศึกษา และการปกครอง อีกทั้งยังยึดมั่นในการไม่แทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิก เน้นการเจรจาแก้ปัญหาอย่างสันติวิธีระหว่างกัน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญที่อาเซียนยึดมั่นมาเสมอ
ตลอด 50 ปีที่ผ่านมา อาเซียนต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายพร้อมทั้งตักตวงความเจริญก้าวหน้า
ในภูมิภาคอาเซียน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงเวทีโลกไปในเวลากัน และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเอง
กัมพูชา ซึ่งจะเป็นสมาชิกอาเซียนครบ 18 ปี ในเดือนเมษายนที่จะถึงนี้ ก็จำเป็นต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายหลายประการ พร้อมทั้งต้องพยายามเก็บเกี่ยวโอกาสที่อาเซียนมอบให้ บทความนี้จะมุ่งวิเคราะห์โอกาส
ความเป็นไปได้ และความท้าทายในประเด็นต่าง ๆ ที่กัมพูชาเผชิญทั้งในอดีตและอนาคต ในฐานะสมาชิก
ที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในประชาคมอาเซียนนั่นเอง
ความท้าทายของกัมพูชา
เมื่อ 15 ปีก่อน นักวิชาการชาวกัมพูชาได้คาดการณ์ว่ากัมพูชาจะต้องเผชิญกับ 3 ความท้าทาย
ไปพร้อม ๆ กับความพยายามที่จะรักษาเก้าอี้ในอาเซียนเอาไว้ โดยในระหว่างการเตรียมตัวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนนั้น กัมพูชาจะต้องเผชิญกับความท้าทายในระยะสั้นหลายประการ เช่น การขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์และเงินทุน กรอบการใช้กฎหมายที่ยังไม่ชัดเจน และองค์กรที่อ่อนแอ ส่วนในระยะปานกลาง
ถึงระยะยาวนั้น กัมพูชาได้เผชิญกับความท้าทายด้านเศรษฐกิจ การทูต และการเงิน รวมถึงความท้าทาย
ในการจัดการเกี่ยวกับเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของชาติ เขตแดน อธิปไตยของชาติ กรอบการปฏิรูป
ในด้านกฎหมายและสถาบัน รวมถึงยังขาดการคิดเชิงกลยุทธ์
จนกระทั่งหนึ่งทศวรรษต่อมา บรรดาผู้สังเกตการณ์อาเซียนและนักวิจารณ์เห็นว่าความท้าทาย
ที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลต่อการเตรียมตัวเพื่อเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ของกัมพูชาหลายประการ โดย Sowath Rana และ Alexandre Ardichvili ได้ระบุความท้าทายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD) ที่กัมพูชาต้องเผชิญในการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2015 ออกเป็น 6 ประการดังนี้
1. การศึกษาและการจ้างแรงงานที่ไม่ตอบสนองกัน
2. ความท้าทายในด้านการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
3. ความท้าทายด้านการศึกษาสายเทคนิคและสายวิชาชีพ รวมถึงการฝึกหัดแรงงาน
4. ความท้าทายด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคเอกชน
5. การขาดความตระหนักรู้และความเข้าใจในอาเซียนและ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
6. ความท้าทายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี
แต่จากความท้าทายทั้งหมดที่กัมพูชากำลังเผชิญอยู่นั้น ความท้าทายด้านการวางกลยุทธ์
อันเกี่ยวกับการเป็นตัวกลางระหว่างอาเซียนและจีนในปัญหาทะเลจีนใต้ นับเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุด
ของกัมพูชาในขณะนี้ ที่ผ่านมากัมพูชาเคยถูกประณามสองครั้งจากการตัดสินใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับจีน และขัดขวางมิให้อาเซียนออกแถลงการณ์ร่วมที่วิพากษ์วิจารณ์จีนเกี่ยวกับนโยบายการแผ่ขยายอิทธิพล
ในบริเวณทะเลจีนใต้ และเมื่อประเด็นข้อพิพาททะเลจีนใต้ยังคงคุกรุ่นอยู่ กัมพูชาก็ยังคงต้องเผชิญ
กับความท้าทายด้านการวางกลยุทธ์อีกครั้ง เนื่องจากประเทศเล็ก ๆ อย่างกัมพูชาไม่อาจเสี่ยงต่อการสูญเสียจีนเพื่ออาเซียน หรือเสี่ยงต่อการสูญเสียอาเซียนเพื่อจีนได้เช่นกัน
ถึงแม้ว่ากัมพูชาจะไม่ใช่หนึ่งในประเทศผู้เรียกร้องในความขัดแย้งทะเลจีนใต้ แต่ในสถานะ
ของการเป็นสมาชิกอาเซียนทำให้กัมพูชาอยู่ในสถานะที่ยากลำบากในการที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อระงับความขัดแย้งระหว่างพันธมิตรใกล้ชิดของกัมพูชา อย่างประเทศจีนต่อประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ
ดังนั้น นี่จึงเป็นความท้าทายใหญ่สำหรับกัมพูชาในการที่จะวางสมดุลในความพยายามของกัมพูชา
ในการเป็นตัวกลางระหว่างประเทศคู่ขัดแย้ง เนื่องจากจีนนั้นถูกมองว่าเป็นพันธมิตรและให้ความช่วยเหลือ
ให้เงินกู้ และให้เงินช่วยเหลือรายใหญ่ของกัมพูชา ดังนั้น ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะเห็นกัมพูชายอมเสียสละผลประโยชน์ที่จะได้รับจากจีน
นอกจากนี้ การคาดการณ์ว่ากัมพูชาจะกระทำการใดที่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ
เพื่อรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียนนั้นดูเหมือนต่ำมาก แม้ว่าอาเซียนจะเป็นแกนหลักสำคัญ
ในการวางนโยบายต่างประเทศของกัมพูชาก็ตาม แต่ก็มีการคาดการณ์ว่านโยบายต่างประเทศของกัมพูชา
ในภายภาคหน้านั้น จะเอนเอียงไปทางจีน แม้จะได้รับแรงกดดันจากประเทศสมาชิกอาเซียนก็ตาม
โอกาสของกัมพูชา
แม้ว่าดูแล้วกัมพูชาจะมีความท้าทายต่าง ๆ มากมาย แต่อย่างไรก็ดีในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น นับว่ากัมพูชามีโอกาสอย่างมากในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นจากความได้เปรียบด้านเศรษฐกิจและสังคม จากการทูตถึงผลประโยชน์ด้านกลยุทธ์ กัมพูชาจะได้รับโอกาสอย่างมากในฐานะรัฐสมาชิก
ระหว่างการปรับตัวให้ทัดเทียมกันกับประเทศสมาชิกอื่นที่ได้พัฒนารุดหน้าไปก่อนแล้ว
เมื่อพิจารณาด้านเศรษฐกิจ กัมพูชาได้รับประโยชน์อย่างสูงจากอาเซียน และจากการเข้าร่วม
เขตการค้าเสรีอาเซียนเมื่อปี ค.ศ.1999 และ องค์กรการค้าโลก ในปี ค.ศ. 2004 และยังดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (Foreign Direct Investment) เช่นประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะไทย
และเวียดนาม ในขณะที่ไทยและกัมพูชามีความตกลงทวิภาคีเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้า
และการลงทุนอยู่แล้ว นอกจากนั้น มูลค่าการลงทุนระหว่างเวียดนามและกัมพูชาพุ่งสูงถึง 3.37
พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี ค.ศ.2015 และ 2.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2016 แต่ก็ยังต่ำกว่าเป้าหมาย
ที่สองประเทศได้ตั้งใจไว้ในปี ค.ศ.2015 อยู่ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทางด้านสังคม กัมพูชาได้รับประโยชน์ในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยการได้รับโอกาส
ผ่านแผนการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ การเข้าถึงสินค้าและนำเข้าบริการที่ถูกลงและหลากหลายมากขึ้น
ด้านการศึกษาและบริการด้านสาธารณสุขพัฒนาขึ้นและยิ่งไปกว่านั้นหลังจากเข้าร่วมอาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแล้ว การเชื่อมโยงระหว่างประชากรระหว่างกัมพูชากับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ทางด้านการทูตนั้น กัมพูชาได้รับความได้เปรียบจากการเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นอย่างมาก จากที่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับหลายประเทศ ก็สามารถพัฒนาการทูตกับประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจากับอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน และสหรัฐอเมริกา ในระยะหลัง
มานี้นโยบายการต่างประเทศของกัมพูชาเข้มแข็งมากขึ้นและมีทีท่าที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต
กับเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุดอย่างประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับภูมิภา
คและโลกต่อไป
นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและรัสเซียก็น่าจับตามอง เนื่องจากเพิ่งได้รับการฟื้นฟูและเข้มแข็งขึ้นผ่านการเยือนของผู้บริหารระดับสูง และการให้การสนับสนุนและความร่วมมือ
ระหว่าง 2 ประเทศ เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ดับทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีน โดยประธานาธิบดี
Xi Jinping ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้มาเยี่ยมเยียนกัมพูชาเมื่อปีก่อน หลังจากนั้นจึงตามมา
ด้วยเหตุการณ์ที่กัมพูชาคัดค้านการออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อตำหนิจีนในประเด็นการเรียกร้องและนโยบาย
ของจีนในพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้
สำหรับด้านการวางกลยุทธ์นั้น ภูมิรัฐศาสตร์ของกัมพูชาและสถานภาพของอาเซียน รวมถึงการพัฒนาด้านการเมืองในประเทศ ทำให้ประเทศเล็ก ๆ นี้เริ่มแสดงความมีศักยภาพในการโน้มน้าวและต่อรองของตน ไม่ว่าจะในภูมิภาคอาเซียน หรือเอเชียแปซิฟิก หรือในระดับโลก ซึ่งหากกัมพูชาไม่เป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว
คงเป็นการยากที่จะได้รับความสนใจและเงินทุนสนับสนุนจากจีน ซึ่งมาพร้อมกับนโยบายไม่ผูกมัด
จากการแทรกแซงของกัมพูชาในประเด็นพิพาททะเลจีนใต้
ดังนั้น แม้ว่าจะมีความท้าทายรออยู่มากมาย แต่กัมพูชาก็ยังสามารถคว้าโอกาสจากอาเซียน
ได้ในหลายประเด็น และเมื่อพิจารณาแล้วมันอาจจะเป็นการไม่ฉลาดนักที่จะชั่งน้ำหนักระหว่างความท้าทายและโอกาสของกัมพูชา สิ่งเหล่านั้นมีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบสำหรับกัมพูชา แต่คงจะเป็นการดีที่สุดสำหรับกัมพูชาในการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและอาเซียน มิฉะนั้นอาจเสี่ยงต่อการต้องพึ่งพาจีนจนมากเกินไป
โอกาสของไทย
เมื่อพิจารณาถึงโอกาสและความท้าทายที่กัมพูชากำลังเผชิญอยู่แล้ว อาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยนั้น
มีสถานะที่ดีกว่ากัมพูชาในหลายประเด็น โดยอาจแยกได้ดังนี้
1. ประเทศไทยนั้นมีพันธมิตรที่หลากหลายและกว้างขวางกว่ากัมพูชา ทั้งในรูปแบบความร่วมมือ
ทวิภาคีและพหุภาคี เนื่องจากนโยบายการต่างประเทศของไทยนั้นจะไม่เน้นการพึ่งพาหรือผูกมิตรกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนเกินไป รักษาความเป็นกลาง ดังนั้น ประเทศไทยจึงได้รับการสนับสนุนจาก หลาย ๆ ประเทศ ทั้งด้านความรู้และเงินทุนเพื่อพัฒนาในหลายโครงการ และที่สำคัญ
ต่อการค้าและการลงทุนมากที่สุดคือความร่วมมือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ
2. ประเทศไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ที่บริเวณจุดศูนย์กลางของอาเซียน และมีการคมนาคม
ที่สะดวกต่อการสัญจร ส่งผลให้ประเทศไทยยังมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางทางการบิน
และคมนาคมทางบกที่จะเชื่อมประเทศคาบสมุทรอินโดจีนและเชื่อมโยงเอเชียเหนือเข้าด้วยกัน