BANNER

ญี่ปุ่นเผยแผนการความร่วมมือกลาโหม “วิสัยทัศน์เวียงจัน”


 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน      26 Nov 2016

  


เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาในระหว่างการหารือ ณ กรุงเวียงจัน สปป.ลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมประเทศญี่ปุ่น โทโมมิ อินาดะ ได้เผยถึงแนวคิดการป้องกันอาเซียนรูปแบบใหม่ภายใต้ความร่วมมือของอาเซียนและญี่ปุ่น
          ญี่ปุ่นได้เสนอวิสัยทัศน์เวียงจันระหว่างการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น ซึ่งครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยญี่ปุ่นเสนอให้พัฒนาความร่วมมือกับประเทศอาเซียนผ่านการประสานงาน สนับสนุน ช่วยเหลือ โดยส่งเสริมหลักนิติธรรมและการเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเล
          “วิสัยทัศน์เวียงจันจจะเป็นเอกสารทางการฉบับแรกที่กำหนดแนวทางความร่วมมือ และสร้างความเป็นรูปธรรมของความร่วมมือระหว่างญี่ปุ่นกับอาเซียน” รมต.อินาดะกล่าว
          ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับประเทศสมาชิกอาเซียน เป็นอนุภูมิภาคลุ่มที่เก่าแก่และเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญมากต่ออาเซียน ความสัมพันธ์อันอบอุ่นนี้เริ่มในช่วงต้นปี 1977 ในสมัยที่นายกรัฐมนตรีทาเคโอะ ฟูกูดะตัดสินใจปรับปรุงภาพลักษณ์ของโตเกียว ซึ่งถูกทำลายไปในช่วงที่ญี่ปุ่นถูกยึดครองในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากนั้นมาญี่ปุ่นมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านความช่วยเหลือหลายๆทาง ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ ธุรกิจ วัฒนธรรม และพัฒนาความสามารถของตนในภูมิภาคผ่านกลไกต่างๆ เช่นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม การบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) และความปลอดภัยทางทะเล เป็นต้น
          ความสัมพันธ์ระหว่างสองภูมิภาคยังพัฒนาต่อไปภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ตั้งแต่ได้รับการเลือกตั้งในปี ค.ศ.2012 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการขยายตัวทางธุรกิจของญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความกังวลเกี่ยวกับอหังการจีนในทะเลจีนตะวันออกและทะเลจีนใต้ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรง และความกังวลในประเด็นความปลอดภัยไซเบอร์ ในช่วงปีแรกของการดำรงตำแหน่งนั้นตรงกับวันครบรอบ 40 ปีของความสัมพันธ์ญุ่ปุ่น-อาเซียน ซึ่งด้วยโอกาสในครั้งนี้นายกรัฐมนตรีอาเบะได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนประเทศมาชิกอาเซียนทั้งสิบประเทศ อีกทั้งยังส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงไปอยู่เนืองๆ
          การปฎิบัติดังกล่าวทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียน รวมถึงความสัมพันธ์ทางกลาโหม ซึ่งความร่วมมือที่พัฒนาขึ้นนี้ได้รับการลงนามโดยหลายประเทศในอาเซียน เฃ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และประเทศไทย โดยเป็นลักษณะของการจับคู่ผลประโยชฃน์ระหว่างประเทศพันธมิตร เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิเดีย เป็นต้น แต่ย่างไรก็ดีการพัฒนาความสัมพันธ์นี้มีผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางกลาโหมภายในประเทศญี่ปุ่นเอง ซึ่งห้ามการส่งออกอาวุธในปี ค.ศ.2014 และหันเหไปยังอุปกรณ์เพื่อการป้องกันและการถ่ายโอนเทคโนโลยีมากกว่า ความสัมพันธ์ที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของอาเซียนและญี่ปุ่นนี้เป็นแรงกระตุ้นให้มีการจัดการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของประเทศญี่ปุ่นและประเทศมาฃฃสมาชิกอาเซียนในเดือนธันวาคม ค.ศ.2014 และนำไปสู่การประชุมรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียน-ญี่ปุ่นต่อไป
          ถึงแม้ว่าวิสัยทัศน์เวียงจันจะยังต้องปรับปรุงอีกมาก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความพยายามของญี่ปุ่นในการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียน โดยยังไม่ระบุสาขาความร่วมมือที่ชัดเจนว่าจะใช้กลไกความร่วมมือเดิมที่มีอยู่แล้วหรือสร้างขึ้นมาใหม่ และมุ่งเน้นการกำหนดทิศทาง เป้าหมายที่ชัดเจนระหว่างญี่ปุ่นและอาเซียนเสียมากกว่า มุ่งเน้นผลประโยชน์ซึ่งทั้งสองภูมิภาคมีร่วมกัน และพัฒนาความร่วมมือทางกลาโหมที่เป็นรูปธรรมระหว่างกัน
          รมต.อินาดะเองได้กล่าวในที่ประชุมแถลงข่าว ณ กระทรวงกลาโหม ประเทศญี่ปุ่น “ความร่วมมือนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองภูมิภาคมากกว่าที่คาดคิด และเป็นความพยายามที่จะสร้างความเป็นรูปธรรมของแผนการความร่วมมือดังกล่าว” วิสัยทัศน์เวียงจันจะส่งเสริมหลักนิติธรรมและการเสริมสร้างความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาค และกำหนดสาขาที่จะพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นอน เธอเสริมต่อว่าจะมีความร่วมมือหลากหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นการสัมมนาเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ การเสริมสร้างศักยภาพในความช่วยเหลือ การสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันและความร่วมมือด้านเทคโนโลยี การฝึกอบรม การฝึกปฏิบัติการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการด้านต่างๆ
          รมต.อินาดะยังเน้นย้ำว่าความร่วมมือระหว่างสองภูมิภาคนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ และอาเซียนเองก็ควรจะเข้าใจถึงความสำคัญชองมันเช่นกัน โดยเกรงอยู่บ้างว่าญี่ปุ่นอาจจะถูกมองในแง่ลบว่าพยายามสร้างความสำคัญของตนต่อกลุ่มประเทศอาเซียน โดนเมื่อพิจารณาจากก่ารหารือระหว่าง รมต.อินาดะกับตัวแทนประเทศสมาชิกอาเซียนที่ผ่านมานั้น ประเด็นที่เป็นที่จับตามองและถูกพูดถึงมากคือความมั่นคงทางทะเล ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศสมาชิก รวมไปถึงประเด็นการเก็บกู้ระเบิดที่ยังคงหลงเหลือมาจากสมัยสงครามโลกครั้งที่สองอยู่มาก ซึ่งประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนแต่ครอบคลุมประเทศในอาเซียนเช่น ฟิลลิปปินส์ ซึ่งนับว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีกองกำลังทหารที่น้อยมาก และยังคงต้องการความช่วยเหลือด้านความมั่นคงทางทะเล หรือแม้แต่ประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลอย่าง สปป.ลาว ซึ่งยังมีปัญหาจากผลกระทบของสงครามเวียดนามอยู่
          แม้ในขณะนี้วิสัยทัศน์เวียงจันจะยังอยู่ระหว่างการพัฒนา แต่เป็นที่เข้าใจ่วาญี่ปุ่นมุ่งมั่นจะทำความร่วมมือระหว่างสองภูมิภาคนี้ให้สำเร็จ โดยใช้กลไกการประชุมรองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนเป็นตัวประสาน รวมถึงการเตรียมการภายในญี่ปุ่นเอง อาจจะกินเวลาอีกสักพักหนึ่งก่อนที่จะมีการลงรายละเอียดในประเด็นต่าง ๆ ในโครงร่างวิสัยทัศน์เวียงจันนี้
          อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่ญี่ปุ่นจัดทำวิสัยทัศน์เวียงจันขึ้น โดยมุ่งเน้นที่ความมั่นคงทางทะเลของอาเซียนทั้งหมด ไม่ได้มุ่งเน้นที่การแผ่ขยายอำนาจในทะเลจีนใต้ของประเทศจีนเสียทีเดียว และมุ่งเน้นที่ความต้องการ

© 2017 Office of the Council of State.