BANNER

อังกฤษรายงานว่า เยอรมนีปิดช่องว่างทางกฎหมายที่ทำให้ผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองสามารถเก็บซ่อนเรือไว้ได้


 ข่าวต่างประเทศ      31 Dec 2024

  


                        เยอรมนีจะปิดช่องว่างทางกฎหมายที่ทำให้ผู้ค้ามนุษย์สามารถเก็บซ่อนเรือเล็กต่างๆ ที่ใช้สำหรับข้ามผ่านช่องแคบอังกฤษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงของพรมแดนระหว่างเยอรมนีและอังกฤษเพื่อจัดการกับการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน (People smuggling) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษกล่าวไว้
                         นาย Keir Starmer นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษซึ่งได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ได้ให้ความสำคัญแก่การปราบปรามการอพยพย้ายถิ่นฐานอย่างผิดกฎหมายด้วยการต่อสู้กับกลุ่มผู้ลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน โดยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา เขาได้ร่วมมือกับนางสาว Giorgia Meloni คู่หูชาวอิตาเลียนเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลลับและการทำงานอย่างใกล้ชิดด้วยกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำลายกลุ่มผู้ลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานเหล่านี้ ในขณะที่รัฐบาลของเขานั้นเพิ่งได้บรรลุข้อตกลงด้านความมั่นคงกับอิรักเพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายอาชญากรและเสริมสร้างความร่วมมือทางชายแดน
                         “ภายใต้แผนการดำเนินงาน เยอรมนียืนยันความตั้งใจที่จะทำให้กฎหมายของตนมีความชัดเจนด้วยการกำหนดให้การอำนวยความสะดวกในการลักลอบขนย้ายผู้อพยพไปยังประเทศอังกฤษเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษกล่าวไว้ในแถลงการณ์ “สิ่งนี้จะทำให้อัยการของเยอรมนีมีเครื่องมือในการปราบปรามต่อการจัดหาและการจัดเก็บอุปกรณ์เรือเล็กที่เป็นอันตราย และช่วยให้สหราชอาณาจักรและเยอรมนีนั้นสามารถตอบโต้กลยุทธ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องของกลุ่มผู้ลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานได้ดียิ่งขึ้น”  
                         เยอรมนียืนยันในคำแถลงการณ์ฉบับแยกต่างหากว่า ได้ตกลงตามแผนปฏิบัติร่วมเกี่ยวกับการอพยพย้ายถิ่นฐานที่มีความผิดปกติอันมีจุดมุ่งหมายเพื่อขัดขวางห่วงโซ่อุปทานและป้องกันการข้ามพรมแดนที่มีความผิดปกติ แต่ไม่ได้ระบุช่องว่างทางกฎหมายอย่างเจาะจง
 

ข่าวประจำวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๗
แปลและเรียบเรียงจาก  https://www.reuters.com/world/europe/germany-close-loophole-that-let-human-smugglers-stash-boats-there-uk-says-2024-12-09/
 *บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

 

© 2017 Office of the Council of State.