BANNER

ศาลสูงสุดญี่ปุ่นมีคำพิพากษาให้การบังคับทำหมันขัดต่อรัฐธรรมนูญ


 ข่าวต่างประเทศ      15 Jul 2024

  


                    ศาลสูงสุดของประเทศญี่ปุ่นมีคำพิพากษาให้กฎหมายสุพันธุศาสตร์ (Eugenics law) ที่สิ้นผลการบังคับใช้แล้วนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยมีผู้พิการจำนวน ๑๖,๕๐๐ คนถูกบังคับให้ทำหมันตามกฎหมายดังกล่าวในช่วงระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๕๐ – ๑๙๙๐   
                   ศาลฎีกายังมีคำสั่งให้รัฐบาลชดใช้ค่าเสียหายแก่เหยื่อจำนวน ๑๑ รายซึ่งเกี่ยวข้องกับ ๕  คดีที่มีการอุทธรณ์ด้วย
                   การพิจารณาคดีครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นในวันพุธ (๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗)  ได้ยุติการต่อสู้เพื่อความยุติธรรมที่ดำเนินมายาวนานหลายทศวรรษโดยเหยื่อซึ่งเป็นผู้เรียกร้องสำหรับค่าชดเชยและคำขอโทษ ภายหลังจากการฟ้องร้องมานานหลายปี ในที่สุดกฎหมายปี ค.ศ. ๒๐๑๙ ได้กำหนดให้ค่าเสียหายแก่เหยื่อรายที่รอดชีวิต แต่บางส่วนนั้น ยังคงต่อสู้เพื่อค่าชดเชยที่สูงขึ้น
ใน ๔ คดีที่ถูกนำขึ้นศาล รัฐบาลกลางได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งชดเชยของศาลชั้นต้น โดยคดีที่ ๕ นั้น โจทก์ซึ่งเป็นหญิงสองคนได้ยื่นอุทธรณ์การยกฟ้องตามข้อเรียกร้องของพวกเธอ โดยศาลชั้นต้นได้อ้างถึงอายุความ
ภายใต้กฎหมายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่มีการประกาศใช้ในปี ค.ศ. ๑๙๕๓ ประชาชนราว ๒๕,๐๐๐ คน ซึ่งหลายคนมีความพิการทางพันธุกรรมได้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้มีบุตรซึ่งมักจะถูกมองว่า "มีสถานะที่ด้อยกว่า"
                  รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับว่าการทำหมันจำนวน ๑๖,๕๐๐ ครั้งถูกดำเนินการโดยปราศจากความยินยอม แม้ว่าทางการจะอ้างว่าคนอื่น ๆ อีก ๘๕,๐๐๐ คนให้ความยินยอมให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวก็ตาม แต่ทนายความกล่าวว่าพวกเขานั้น "ถูกบังคับโดยพฤตินัย (de facto forced) " ให้เข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากความกดดันที่พวกเขาต่างต้องเผชิญในขณะนั้น และมีเหยื่อที่เป็นเด็กอายุเพียงเก้าขวบตามรายงานของรัฐสภาที่เผยแพร่เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
กฎหมายนี้ได้ถูกยกเลิกในปี ค.ศ. ๑๙๙๖
                 “ฉันไม่สามารถเป็นแม่คนได้”
                 เมื่อวันพุธดังกล่าว ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่า อายุความ ๒๐ ปีไม่สามารถใช้กับการเรียกร้องค่าชดเชยในกรณีบังคับทำหมันได้  โดยทนายความโต้แย้งว่า กฎหมายดังกล่าวหมายความถึงเหยื่อบางรายเป็นการเฉพาะ สำหรับผู้ที่ได้รับการทำหมันจากความไม่รู้ ที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดที่สายเกินไป ตามกำหนดเวลาทางกฎหมาย

                 การบังคับทำหมันนั้นมีความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมากที่สุดในช่วงทศวรรษปี ค.ศ. ๑๙๖๐ และ ๑๙๗๐ โดยในช่วง Post-war baby boom ผู้ที่ถูกบังคับให้ทำหมันนั้นมีจำนวนมาก จากความพิการทางร่างกายและสติปัญญา ปัญหาทางสุขภาพจิต หรือโรคเรื้อรัง อย่างเช่น โรคเรื้อน

                 ตามประกาศของรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๕๓ การระงับความรู้สึก วางยาสลบ และแม้แต่ความหลอกลวงล้วนได้รับการนุญาตให้มีการผ่าตัดดังกล่าว
                 “ต่อจากนี้ ฉันเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องพลิกผันอย่างหนักและเดินหน้าอย่างรวดเร็วจนกว่าจะได้ข้อยุติที่ครบถ้วน” ทนายความ Yutaka Yoshiyama ผู้เป็นตัวแทนของโจทก์สองคนกล่าวไว้ โดยกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “จนถึงทุกวันนี้ ญี่ปุ่นได้ “ปิดตาไม่มองถึงความผิดพลาด” ซึ่งนำไปสู่ ความเสียหายอันน่าสยดสยอง" แก่เหยื่อและครอบครัวของพวกเขา และเหยื่อหลายรายที่ฟ้องร้องรัฐบาลนั้นได้เสียชีวิตลงแล้วโดยที่ไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายใด ๆ”
                 ภายใต้กฎหมายที่มีออกมาในปี ๒๐๑๙ จากการฟ้องร้องคดีหนึ่ง รายงานระบุว่า เหยื่อที่รอดชีวิตจะได้รับเงินคนละ ๓.๒ ล้านเยน (๑๙,๘๐๐ ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ๑๕,๖๐๐ ปอนด์) มีผู้ยื่นขอรับเงินชดเชยนี้แล้วประมาณ ๑,๓๐๐ ราย และมีผู้ได้รับแล้วจำนวน ๑,๑๐๐ ราย  อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องเงินค่าชดเชยสำหรับเหยื่อบางรายยังคงเป็นไปอย่างจำกัด
“เมื่อฉันพบว่าตนเองไม่สามารถเป็นแม่คนได้ หัวใจฉันแตกสลายเหลือเกิน”  Yumi Suzuki ผู้ซึ่งเกิดมาพร้อมกับอาการสมองพิการและถูกบังคับให้ทำหมันเมื่อเธออายุเพียง ๑๒ ปี ได้บอกกับ BBC จากการให้สัมภาษณ์ในปี ๒๐๒๑

                  โจทก์วัย ๖๘ ปีรายนี้เป็นหนึ่งในโจทก์จำนวน ๑๑ รายที่ฟ้องร้องต่อศาลเมื่อวันพุธ
                “ฉันเผชิญกับการเลือกปฏิบัติตั้งแต่ตอนที่ฉันยังเป็นเด็ก แต่เขานั้นช่างแตกต่างเป็นอย่างมาก มันทำให้ฉันอกหัก”
                “ฉันไม่ต้องการเงิน ฉันอยากให้ผู้คนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับพวกเราบ้าง และเพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีกครั้ง ฉันอยากให้คนพิการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เราไม่ใช่สิ่งของ เราเป็นมนุษย์”

หมายเหตุ : สุพันธุศาสตร์ (Eugenics) หมายถึง การเลือกลักษณะทางพันธุกรรมตามที่ต้องการเพื่อปรับปรุงคนรุ่นอนาคต, ข้อมูลจาก https://www.britannica.com/science/eugenics-genetics ค้นหาเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๖๗


ข่าวประจำวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๗
แปลและเรียบเรียงจาก  https://www.bbc.com/news/articles/c0krnjy72j0o
 *บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

© 2016 Office of the Council of State.