BANNER

เมียนมาบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ชาวโรฮิงญามาเป็นทหารเกณฑ์ หลายฝ่ายกังวลรัฐบาลใช้พวกเขาเป็นโล่มนุษย์


 ข่าวต่างประเทศ      01 Apr 2024

  


                    เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา ได้มีการบังคับใช้กฎหมายการเกณฑ์ทหารเป็นครั้งแรก  ทั้งนี้ กองทัพทหารโดยรัฐบาลเมียนมาได้กดดันผู้นำชุมชนทั้งชาวโรฮิงญาและกลุ่มผู้พลัดถิ่นอื่น ๆ ให้รวบรวมรายชื่อผู้ชายที่มีอายุระหว่าง ๑๘-๓๕ ปี ที่อาศัยอยู่ในในรัฐยะไข่ ๓ แห่ง ได้แก่ บูติด่อง หม่องดอว์ และ ซิตตะเว เพื่อเข้ารับการเกณฑ์ทหาร
                    Nay San Lwin นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนแสดงความกังวลถึงการกระทำของกองทัพของเมียนมาที่เกิดขึ้น เพราะเล็งเห็นว่ารัฐบาลอาจใช้คนกลุ่มนี้เป็นโล่มนุษย์ จากรายงานพบว่ามีการรวบรวมรายชื่อชาวโรฮิงญาอย่างน้อย ๕๐ คน และคนในค่ายพลัดถิ่นอย่างน้อย ๑๐๐ คน เพื่อเตรียมเข้ารับการเกณฑ์ทหาร  นอกจากนี้ ในเมืองชิตตะเวมีคนพลัดถิ่นอย่างน้อย ๓๐๐ คนได้รับการเกณฑ์ทหารไปแล้ว และปัจจุบันถูกควบคุมอยู่ในพื้นที่สำหรับฝึกทหาร
                    จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าการฝึกทหารเกณฑ์ดังกล่าวใช้ระยะเวลาเพียง ๒ สัปดาห์เท่านั้น นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ด้วยระยะเวลาการฝึกเพียงน้อยนิด ทหารนับร้อยที่ถูกเกณฑ์ไปคงเป็นเพียงแค่โล่มนุษย์ของเมียนมาเท่านั้น  นอกจากนี้ เขายังตั้งข้อสังเกตว่า โดยปกติกฎหมายการเกณฑ์ทหารจะใช้มีผลบังคับใช้เฉพาะกับชาวเมียนมาเท่านั้น แต่จากการกระทำดังกล่าว กองทัพเมียนมาได้ยื่นข้อแลกเปลี่ยนต่อชาวโรฮิงญาและคนพลัดถิ่นว่า พวกเขาจะได้รับข้าวหนึ่งกระสอบ บัตรประจำตัวประชาชน และเงินเดือน 150,000 จ๊าต แต่ก็มิได้ยอมรับว่าพวกเขาเป็นพลเมืองของเมียนมาแต่อย่างใด
                    จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเห็นได้ชัดว่า ชาวโรฮิงญาและกลุ่มคนพลัดถิ่นอาจตกเป็นเหยื่อของรัฐบาลเมียนมา จึงได้การเรียกร้องให้มีการดำเนินการในด้านความช่วยเหลือในทางระหว่างประเทศจากประเทศเพื่อนบ้านในการเข้ามาจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน  ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อต้านความทารุณโหดร้ายและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงดังกล่าว

ข่าวประจำวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗
แปลและเรียบเรียงจาก https://www.irrawaddy.com/news/burma/rohingya-men-in-myanmar-are-being-forcibly-recruited-by-the-juntas-military.html
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

 

© 2017 Office of the Council of State.