สตรีชาวอิหร่านถูกศาลอิหร่านพิพากษาประหารชีวิตหลังจากมีชู้กับชายอื่น
ข่าวต่างประเทศ
30 Nov 2023
ศาลอิหร่านพิพากษาลงโทษประหารชีวิตสตรีที่มีชู้ หลังจากฝ่ายชายได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเมื่อเขาจับได้ว่าภรรยามีชู้
สื่อท้องถิ่นรายงานว่า คดีนี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. ๒๐๒๒ เมื่อสามีของหญิงที่ถูกกล่าวหานำหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายจากจากกล้องวงจรปิดมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งผู้ชายที่เป็นชู้ได้ถูกตัดสินให้ลงโทษทางร่างกายด้วยการเฆี่ยนตี โดยคำพิพากษาลงโทษประหารชีวิตได้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ ซึ่งบทลงโทษดังกล่าวก่อให้เกิดข้อกังวลในช่วงที่การพิพากษาลงโทษประหารชีวิตมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก
ประมวลกฎหมายอาญาของอิหร่านมีต้นแบบมาจากกฎหมายอิสลาม (Islamic law) ซึ่งตามจารีตประเพณีกำหนดให้มีการลงโทษด้วยการขว้างปาด้วยก้อนหิน อย่างไรก็ตาม ผู้นำของอิสลามได้เปลี่ยนมาใช้เป็นการประหารชีวิตแทน
สตรีรายนี้อ้างว่าการกระทำของเธอเกิดจากความรู้สึกเหงา ส่วนชายชู้ของเธออ้างว่าไม่ทราบถึงสถานะการสมรสของเธอ แต่ข้อต่อสู้ดังกล่าวไม่ได้ละเว้นชายชู้จากการได้รับบทลงโทษทางร่างกาย (corporal punishment)
มะมุด อามิรี โมกาดัม เจ้าหน้าที่องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนของอิหร่านที่ตั้งอยู่ในนอร์เวย์ ได้ประณามบทลงโทษประหารชีวิต โดยกล่าวว่า “น่าตกใจที่ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาสังคมแห่งสิทธิมนุษยชนได้มีบทลงโทษสำหรับการมีความสัมพันธ์ทางเพศอย่างสมัครใจ ซึ่งไม่เพียงแค่มีการไตร่ตรองไว้ก่อนเท่านั้น แต่ยังมีการดำเนินการลงโทษด้วย”
แม้การลงโทษดังกล่าวจะถูกปกปิดไม่ให้สาธารณชนรับรู้อยู่บ่อยครั้งแต่ก็ได้มีเสียงเรียกร้องอย่างเห็นได้ชัดโดยในปีนี้ก็ได้มีบุคคลอื่นถูกพิพากษาลงโทษประหารชีวิตด้วยข้อหาอย่างเดียวกัน
คำวิจารณ์การลงโทษแสดงถึงความไม่น่าเชื่อถือที่เพิ่มมากขึ้นในระบบตุลาการของอิหร่าน
แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่าในอิหร่านมีการพิพากษาลงโทษประหารชีวิตบุคคลมากกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลกนอกเหนือจากจีน
อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวในรายงานฉบับใหม่เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๒๓ ว่า อิหร่านมีอัตราการพิพากษาลงโทษประหารชีวิตที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๔๑๙ รายในช่วง ๗ เดือนแรกของปี ค.ศ. ๒๐๒๓
ข่าวประจำวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
เรียบเรียงจาก
https://www.rferl.org/a/iran-affair-death-sentence/32670236.html?fbclid=IwAR0TYnI4cEDvFd6T_R3OaP-LHG-oaHoReBqhMUD2vmRllhwTQ-WKi5LRyxc
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย