BANNER

ศาลสูง (Supreme Court) ของสหราชอาณาจักรอนุญาตให้ลูกจ้างต่อสู้ทางกฎหมายในกรณีที่ห้างเทสโก้เลิกจ้างพนักงานและกลับมาทำสัญญาจ้างงานใหม่ที่มีเงื่อนไข ข้อตกลงต่าง ๆ เป็นการเอาเปรียบลูกจ้าง


 ข่าวต่างประเทศ      27 Jan 2023

  


ในแง่ทางความหมายของ “fire and rehire tactics”ของบริษัทใหญ่ต่าง ๆ ของสหราชอาณาจักรนั้นเป็นการที่ นายจ้างบอกเลิกสัญญาแก่ลูกจ้าง และเสนอจ้างงานใหม่อีกครั้งโดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงใหม่ ที่เป็นประโยชน์แก่ นายจ้างกว่าเดิม เทคนิคนี้มีการใช้โดยทั่วไปเมื่อพบว่าทางนายจ้างไม่สามารถจัดการตามข้อตกลงเงื่อนไขต่าง ๆ ใน สัญญาได้อันเนื่องมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

โดยการปฏิบัติดังกล่าวของ นายจ้างไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีความเกี่ยวข้องกับการบอกเลิกจ้างแก่ลูกจ้าง นายจ้างก็มักจะเจอข้อกล่าวหาว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เมื่อมีจำนวนลูกจ้างหลายรายเกี่ยวข้องในการ เลิกจ้าง นายจ้างจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะดำเนินการขั้นแรกเรื่อง “redundancy consultation” เพื่อเป็น การรับรองว่าได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อมูลระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเมื่อมีกรณีที่นายจ้างไม่มีความ จำเป็นต้องจ้างงานลูกจ้างในตำแหน่งนั้น ๆ ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับสถานการณ์หรือปัจจัยทางเศรษฐกิจ เมื่อนายจ้างจะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงในสัญญาต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หรือสหภาพเพื่อให้เกิดเป็น ข้อตกลงที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตามคู่มือของ The Advisory, Conciliation and Arbitration Service(Acas) ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงสัญญาจ้างงานนั้นมีหลายแนวทาง และมีการอธิบายควบคู่กับคำแนะนำสำหรับ นายจ้าง และลูกจ้างเพื่อที่จะพิจารณาในการตกลงกันเมื่อมีการเปลี่ยนข้อตกลงต่าง ๆ ในสัญญา

ในกรณีที่นายจ้าง ไม่สามารถตกลงกับลูกจ้างเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อตกลงต่าง ๆ ในสัญญาได้ นายจ้างอาจตัดสินใจเลิกจ้างลูกจ้างโดย บอกกล่าวเป็นหนังสือ และเสนอการจ้างในสัญญาจ้างที่เป็นเงื่อนไขข้อตกลงใหม่ ถ้าข้อตกลงในสัญญาใหม่เป็นการ เอาเปรียบลูกจ้าง ก็จะทำให้บุคลากรที่มีความสามารถในบริษัทลาออกในเวลาต่อมา และเสื่อมเสียชื่อเสียงของ บริษัทในการที่จะดึงดูดบุคลากร ใหม่ที่มีความสามารถให้เข้ามาทำงานให้แก่บริษัท

ทางกลุ่มสหภาพของผู้ที่ทำงานในร้านค้า(Shopworkers union Usdaw) ได้รับอนุญาตจากศาลสูง(Supreme Court) ในการที่จะต่อสู้ทางกฎหมายเรื่องนโยบายทางเทคนิคของห้าง Tesco ในการที่ไล่พนักงานออกแล้ว ทำ สัญญาจ้างใหม่โดยเป็นสัญญาที่ทำให้บริษัทได้รับประโยชน์มากขึ้นในเรื่องเงื่อนไขของการจ้างงาน และอัตราค่าจ้าง ที่จ่าย ผู้นำของกลุ่มสหภาพกล่าวว่า พบว่ามีการข่มขู่เลิกจ้างจากนายจ้างเพิ่มขึ้น ทำให้ลูกจ้างที่ทำงานอยู่ต้อง ตัดสินใจว่าจะเปลี่ยนงานหรือ เซ็นสัญญาใหม่ที่มีข้อตกลงที่นายจ้างได้เปรียบ มากกว่าการที่นายจ้างจะพยายามทำ ให้บรรลุถึงข้อตกลงที่เป็นการแก้ไขข้อตกลงในสัญญาฉบับเดิมระหว่างลูกจ้างและสหภาพ Neil Todd

ทนายความของฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่าเขายินดีที่ศาลสูง (Supreme Court) อนุญาตให้ดำเนินการที่เป็น การต่อสู้ทางกฎหมายในการที่มีการเลิกจ้าง และกลับมาจ้างใหม่ในสัญญาที่ลูกจ้างได้รับประโยชน์น้อยลง ในการต่อสู้ทางกฎหมายได้เกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลสหราชอาณาจักรไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายที่ยับยั้งการกระทำ ของบริษัทที่เป็นนโยบายทางเทคนิคในการเลิกจ้าง แล้วทำสัญญาจ้างใหม่ที่เอาเปรียบลูกจ้าง เมื่อรัฐบาลไม่เห็น ด้วยกับร่างกฎหมายนี้ ก็ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าตัวบทกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันไม่เป็นธรรม และแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลเลือกที่จะเข้าข้างฝ่ายนายจ้างซึ่งเป็นบริษัทที่เอาเปรียบลูกจ้างซึ่งเทคนิคดังกล่าวถูกตรวจสอบข้อเท็จจริง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

เนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่มักใช้เทคนิคนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงค่าจ้าง และเงื่อนไขต่าง ๆ เมื่อปีที่แล้ว บริษัท British Gas ได้เลิกจ้างงานวิศวกรหลายร้อยคน หลังจากที่พวกเขาปฏิเสธที่จะรับค่าจ้างที่ลดลง พนักงานขับรถกว่าร้อยคนของ Go North West นักบินของสายการบินบริทิชแอร์เวย์ พนักงานอาหารและ พนักงานทำความสะอาดของกระทรวงกลาโหม รวมถึงCompass Group ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทผู้ให้บริการทางอาหาร ได้ต่อสู้เรียกร้องเพื่อต่อต้านเทคนิคของบริษัทในการเลิกจ้างพนักงาน และกลับมาจ้างใหม่ในเงื่อนไขและอัตรา ค่าจ้างที่นายจ้างได้เปรียบมากขึ้น

รัฐบาลโต้แย้งว่า ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทางนายจ้างประสบปัญหาทางการเงิน ต้องมีทางเลือกในการเสนอ งานใหม่ให้กับลูกจ้าง และใช้เทคนิคตามที่กล่าวมาข้างต้น แต่อย่างไรก็ตาม มีบทวิเคราะห์ซึ่งทางสถิติพบ เกือบ ร้อยละเจ็ดสิบ ของบริษัทใช้เทคนิค “fire and rehire tactics” เพื่อต้องการสร้างกำไรของบริษัทให้มากขึ้น

ข่าวประจำวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๕
เรียบเรียงจาก
 
https://www.theguardian.com/business/2022/dec/22/usdaw-union-right-to-challenge-tesco-fire-and-rehire-supreme-court

https://researchbriefings.files.parliament.uk/documents/CBP-9556/CBP-9556.pdf

*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย




 

© 2017 Office of the Council of State.