หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
แนะนำอาเซียน
ข่าวต่างประเทศ
ความตกลง
APSC
AEC
ASCC
ASEAN PLUS
บทความ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรรมอาเซียน
บทความวิชาการ
งานวิจัย
กฎหมายน่ารู้
ติดต่อเรา
เกาะติดการประชุม APEC 2022
ข่าวต่างประเทศ
18 Oct 2022
เอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (
Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) คือ เวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๓๒ โดยมีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในมิติด้านสังคมและการพัฒนาด้านอื่น ๆ เช่น ความร่วมมือด้านการเกษตร การส่งเสริมบทบาทสตรีในเศรษฐกิจ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการพัฒนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม ยั่งยืน และความมั่งคั่งของประชาชนในภูมิภาค
ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกจำนวน ๒๑ เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย โดยไทยเป็นหนึ่งใน ๑๒ เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง
เอเปคด้วย
การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ในปี ค.ศ. ๒๐๒๒ นี้ เป็นการประชุมครั้งที่ ๒๙ ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ
สิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๑๔
- ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ โดยวันที่ ๑๔ - ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เป็นการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ส่วนวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค และวันที่ ๑๘ - ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ เป็นการประชุมระดับผู้นำและกิจกรรมคู่สมรส
หัวข้อหลักในการประชุมคือ
“Open. Connect. Balance.” หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” เพื่อเปิดกว้างสู่ทุกโอกาสด้านการค้าและการลงทุน การส่งเสริมการรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคผ่านมุมมองใหม่ที่ได้เรียนรู้จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-๑๙ เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ทุกภาคส่วนในสังคม มีการเชื่อมโยงในทุกมิติ เพื่อฟื้นฟูการเดินทางระหว่างกันที่สะดวกและปลอดภัย รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมโยงทางดิจิทัล และส่งเสริมการเจริญเติบโตที่เน้นสร้างสมดุลในทุกด้านมากกว่าสร้างกำไร ผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม การสร้างความมั่นคงทางอาหารและการเกษตรเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ทั้งนี้ ไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model หรือ BCG) มาเป็นแนวคิดหลักเพื่อขับเคลื่อนประเด็นที่จะผลักดันการเป็นเจ้าภาพเอเปคในครั้งนี้
การเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยจะทำการส่งเสริมนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-๑๙ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยการยกระดับมาตรฐานทางเศรษฐกิจให้เป็นสากล เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับภาครัฐและภาคเอกชนผ่านการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมถึงเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้แสดงความพร้อมว่าไทยสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด–๑๙ ได้โดยยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้พร้อมกัน
ข่าวประจำวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๕
เรียบเรียงจาก
https://www.apec2022.go.th/th/what-is-apec-th/
https://news.trueid.net/detail/ZQ5x1zOdvkmN
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
© 2017 Office of the Council of State.