หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
แนะนำอาเซียน
ข่าวต่างประเทศ
ความตกลง
APSC
AEC
ASCC
ASEAN PLUS
บทความ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรรมอาเซียน
บทความวิชาการ
งานวิจัย
กฎหมายน่ารู้
ติดต่อเรา
อาเซียนหารือเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดใหญ่ในอนาคต
ข่าวต่างประเทศ
26 May 2020
เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ สำนักเลขาธิการอาเซียน (
ASEAN Secretariat) และศูนย์อาเซียน
ว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity) ได้จัดการสัมมนาออนไลน์
เป็นครั้งแรกในหัวข้อ "ความหลากหลายทางชีวภาพ และการป้องกันโรคระบาดในอนาคต" โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นด้านการเชื่อมโยงความหลากหลายทางชีวภาพ การสาธารณสุข และการการดำเนินงานของภูมิภาคเพื่อบูรณาการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในการรับมือกับ COVID -๑๙ ซึ่งเป็นการสัมมนาผ่านระบบปฏิบัติการ Zoom และการถ่ายทอดสดทาง Facebook
โดยประชาชนและผู้สนใจจากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้ามามีส่วนร่วมเกี่ยวกับบทบาทของธรรมชาติในการป้องกันโรคระบาดในอนาคต
นาย
Kung Phoak รองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน กล่าวเปิดการสัมมนาครั้งนี้ว่า “แม้ขณะนี้ภายในภูมิภาคอาเซียนส่วนมากจะมีข้อจำกัดด้านการเดินทาง สำนักเลขาธิการอาเซียน และศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพได้ใช้โอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ประสบการณ์ ระหว่างหน่วยงานของอาเซียน ประชาชนทั่วไป ในประเด็นด้านการเชื่อมโยงระหว่างความหลากหลายทางชีวภาพและสุขภาพของมนุษย์” รวมถึงได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการป้องกันการแพร่ระบาดในอนาคตโดยการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวาระอาเซียนในการผลักดันประเด็นเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของภูมิภาคอาเซียนให้เป็นประเด็นหลักในระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเป็นสังคมรอบรู้ด้านชีวภาพ (bio-literate) เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นสาเหตุของโรคระบาดและโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนในอนาคต
วิทยากร ประกอบด้วย
Dr. Theresa Mundita Lim กรรมการบริหารศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ นาย Acep Somantri ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือระหว่างประเทศของ
กระทรวงสาธารณสุขของอินโดนีเซีย Dr. Tan Sri Zakri bin Abdul Hamid ประธานผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มวิทยาศาสตร์ - นโยบายระหว่างรัฐบาลว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและบริการจากระบบนิเวศ (Intergovernmental Science-Policy Platform on Biodiversity and Ecosystem Services (IPBES)) Dr. Unnikrishnan Payyappallimana จากสถาบันระหว่างประเทศด้านสุขภาพโลก มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ Dr. Marian Delos Angeles ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรเศรษฐศาสตร์และการประเมินมูลค่าด้านสิ่งแวดล้อม โดยมี นาง Antoinette Taus เอกอัครราชทูตสันถวไมตรีของโครงการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ประจำฟิลิปปินส์ เป็นผู้ดำเนินการสัมมนาซึ่งใช้เวลาทั้งสิ้นสองชั่วโมง
Dr. Theresa Mundita Lim ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการสัตว์ป่า เน้นย้ำถึงการต้องการความร่วมมือ
ที่เพิ่มมากขึ้นภายในอาเซียนและหน่วยงานระดับภูมิภาคและรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ เพื่อป้องกันโรคระบาดในอนาคต “COVID - ๑๙ อาจไม่ใช่ครั้งสุดท้าย” โดยอ้างถึงข้อมูลของ IPBES ล่าสุดว่าอาจมีไวรัสประมาณ ๑.๗ ล้านชนิดที่ยังไม่สามารถระบุได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกเป็ดน้ำที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนได้ "การลดลงของสปีชีส์มีส่วนที่จะสามารถกระตุ้นการแพร่ของไวรัสที่หยุดเคลื่อนไหวหรือหยุดการเจริญเติบโตชั่วคราว ซึ่งนำไปสู่การแพร่ระบาดไปยังสัตว์เลี้ยงและมนุษย์ได้ ข้อมูลที่น่ากังวลนี้ควรเป็นเครื่องเตือนพวกเราทุกคน"
Dr. Payyappallimana ได้แลกเปลี่ยนประเด็นสำคัญของการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพและความหลากหลายทางชีวภาพของ ACB โดยความร่วมมือกับ สถาบันระหว่างประเทศด้านสุขภาพโลก มหาวิทยาลัย สหประชาชาติ UNU-IIGH กรุงกัวลาลัมเปอร์ และได้รับการสนับสนุนจากความร่วมมืออาเซียน – สหภาพยุโรป การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดการพื้นที่คุ้มครองในอาเซียน (ASEAN-EU Biodiversity Conservation and Management of Protected Areas in ASEAN)
ขณะเดียวกัน
Dr. Tan Sri Zakri bin Abdul Hamid กล่าวว่าในขณะที่รัฐกำลังช่วยชีวิตมนุษย์และฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วง COVID - ๑๙ สิ่งสำคัญที่จะต้องไม่หลงลืมคือธรรมชาติ “ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สาเหตุของโรคติดต่อจากสัตว์ เช่น COVID - ๑๙ เป็นการทำลายถิ่นที่อยู่ของสัตว์ป่า สิ่งเหล่านี้เป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่”
กิจกรรมการสัมมนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของสำนักเลขาธิการอาเซียน (
ASEAN Secretariat) และศูนย์อาเซียนว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (ASEAN Centre for Biodiversity) เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการสื่อสาร และความหลากหลายทางชีวภาพระหว่างภาคและสาขาต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงวันความหลากหลายทางชีวภาพสากล (International Day for Biological Diversity (IDBD)) ในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ภายใต้หัวข้อ “ทางออกของเราคือธรรมชาติ” วันดังกล่าวเน้นให้เห็นถึงการเรียกร้องทั่วโลกแก่ประชาชนให้หันกลับมาทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับธรรมชาติ
ข่าว ณ วันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
https://asean.org/asean-calls-natures-conservation-prevent-future-pandemics/
© 2017 Office of the Council of State.