BANNER

กฎหมายทรัพยากรน้ำฉบับใหม่ของประเทศอินโดนีเซีย


 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน      30 Nov 2019

  


อินโดนีเซียมีลักษณะเป็นหมู่เกาะจำนวนมากในแง่ของการอยู่อาศัย แม้มีเกาะจำนวนมากแต่พบว่าประชากรกว่าร้อยละ ๖๐ ของประชากรทั้งหมด อาศัยอยู่ในตัวเมืองซึ่งมีพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ ๗ ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ ทำให้เกิดความหนาแน่นและแออัดของประชากร ซึ่งสร้างมลภาวะและก่อของเสีย รวมถึงทำลายสิ่งแวดล้อม ผลการสำรวจของกระทรวงสิ่งแวดล้อมอินโดนีเซีย พบว่าปี พ.ศ. ๒๕๕๐ อินโดนีเซียเผชิญกับปัญหามลภาวะและการทำลายสิ่งแวดล้อม และพบว่าแม่น้ำสายสำคัญของอินโดนีเซียเป็นน้ำปนเปื้อนที่ไม่สามารถดื่มได้และมีปัญหาการกระจายน้ำที่ไม่เท่าเทียม ไม่ทั่วถึง พบการใช้ประโยชน์จากน้ำมากเกินในบางพื้นที่ทำให้ประชาชนขาดน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภค  อีกทั้งมีปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นจำนวนมากทำให้อินโดนีเซียจำเป็นต้องจัดการขยะและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างแข็งขันและเป็นระบบ ปัจจุบันอินโดนีเซียมีกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญหลายฉบับ อาทิ รัฐบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองและการจัดการสิ่งแวดล้อม (Law No. 32 of 2009) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ครอบคลุมเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมหลายมิติ รัฐบัญญัติว่าด้วยป่าไม้ (Law No. 41 of 1999) รัฐบัญญัติว่าด้วยการบริหารจัดการขยะ (Law No. 18 of 2008) รัฐบัญญัติว่าด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ (Law No. 5 of 1990) และล่าสุดเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ รัฐสภาอินโดนีเซียได้ผ่านร่างกฎหมายทรัพยากรน้ำฉบับใหม่ (The Water Resources Bill) ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกาศใช้ โดยมีเนื้อหาที่น่าสนใจหลายประการดังที่จะกล่าวถึงในบทความนีี้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >> กฎหมายทรัพยากรน้ำฉบับใหม่ของประเทศอินโดนีเซีย

© 2017 Office of the Council of State.