BANNER

กัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านการแข่งขันอาเซียน ครั้งที่ ๘


 ข่าวต่างประเทศ      26 Nov 2019

  


ระหว่างวันที่ ๑๔ - ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้มีการจัดการประชุมด้านการแข่งขันอาเซียน ครั้งที่ ๘ (ASEAN Competition Conference: ACC) ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้แนวคิดหลัก คือ “การบรรลุเป้าหมายและรับมือกับความท้าทาย” (Attaining Milestones and Addressing Challenges) โดยที่ประชุม
ได้หารือถึงประเด็นด้านการแข่งขันที่เกิดขึ้นใหม่ในอาเซียน การแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีและเป็นเวทีสำหรับการหารือสร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการแข่งขัน
ทั้งนักวิชาการและภาคธุรกิจ เข้าร่วมด้วย

นาย Pan Sorasak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กัมพูชากล่าวในพิธีเปิดการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้เกิดขึ้นในช่วงสำคัญ เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ (Asean Member State: AMS) ได้มีกฎหมายการแข่งขันแล้ว ขณะที่กัมพูชาอยู่ระหว่างขั้นตอนสุดท้ายของการปรับปรุงกฎหมายการแข่งขันของตนเอง และแสดงความยินดีที่ทุกประเทศได้พยายามร่างกฎหมายและการดำเนินการตามนโยบายการแข่งขันของแต่ละประเทศ รวมถึงเป็นโอกาสสำหรับ ประเทศสมาชิกในการหารือจัดการกับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตและยกระดับการแข่งขันในพื้นที่ภูมิภาคอาเซียน และได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นของกัมพูชาที่จะผลักดันให้สามารถออกกฎหมายการแข่งขันได้ภายในต้นปี พ.ศ. ๒๕๖๓ หลังจากที่ได้บังคับใช้กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคไปก่อนหน้านี้ ซึ่งกฎหมายทั้งสองฉบับดังกล่าวจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการค้าของกัมพูชาและช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยของผู้บริโภค
นอกจากนี้ นาย Michael Tene รองเลขาธิการอาเซียนด้านงานบริหาร กล่าวว่า “อาเซียนได้ดำเนินการมาอย่างยาวนานตั้งแต่การจัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการแข่งขันของอาเซียน (ASEAN Experts Group on Competition : AEGC) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่เป็นกลไกสำคัญในการจัดทำความร่วมมือด้านนโยบายการแข่งขัน
และประเด็นต่าง ๆ” และกล่าวว่า '' AEGC เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อการแข่งขันทางธุรกิจ
ในระดับที่สูงขึ้น ด้วยการบังคับใช้กฎหมายด้านการแข่งขัน การเสริมสร้างขีดความสามารถของหน่วยงาน
ด้านการแข่งขันเกี่ยวกับการตรวจสอบพฤติกรรมการจำกัดการแข่งขันทางการค้าและการสร้างวัฒนธรรมของ
การแข่งขันทางธุรกิจอย่างเป็นธรรม”

นอกจากนี้ รองเลขาธิการอาเซียนด้านงานบริหาร ยังทราบถึงความมุ่งมั่นของอาเซียนสำหรับความพยายามที่จะรักษาระดับการแข่งขันทางธุรกิจในภูมิภาคให้เข้มแข็ง จนปัจจุบันอาเซียนมีกฎหมายการแข่งขันทั้งสิ้น ๙ ฉบับ มีการจัดตั้งคณะกรรมการการแข่งขันขึ้นใหม่ทั้งสิ้น ๔ คณะ พร้อมทั้งยังคงสร้างความเข้มแข็งในส่วนที่เกิดขึ้นใหม่และส่วนที่มีอยู่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘
กิจกรรมการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นเห็นได้ชัดจากจำนวนเรื่องที่อยู่ในขั้นตอนการสอบสวนทั้งเบื้องต้นและ
การไต่สวนเชิงลึก จำนวนคดีที่อุทธรณ์ รวมถึงจากการศึกษาด้านการตลาดและกิจกรรมที่ขยายขอบเขตจากเดิม

นาย Zairan Ishak ประธานเครือข่าย ASEAN Competition Enforcers Network กล่าวว่า ACC เป็นเวทีที่สำคัญสำหรับ AEGC ตั้งแต่การจัดการประชุมครั้งแรก โดยเป็นการเพิ่มการรับรู้ของประชาชนและสนับสนุน
การดำเนินนโยบายการแข่งขันในอาเซียน กฎหมายการแข่งขันได้กลายเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเติบโต
ทางเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้ผู้กำหนดนโยบายต่างต้องตั้งคำถามว่านโยบายการแข่งขันและกฎหมายที่มีอยู่นั้น
เพียงพอที่จะรับมือกับความท้าทายได้เพียงใด

การดำเนินงานของ ACC รองรับความแตกต่างของระบบการแข่งขันภายในภูมิภาค โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่การแข่งขันที่เป็นเยาวชนที่มีความท้าทายเกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและการดำเนินงานที่สำคัญต่าง ๆ 
ทั้งเรื่องของการตรวจสอบการแข่งขัน การตรวจสอบการฮั้ว การจัดการองค์กรของรัฐ ตลอดจนการเสริมสร้าง
ความร่วมมือระดับภูมิภาคและเศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอผลการประเมินตนเองโดยเจ้าหน้าที่ด้านการแข่งขันเป็นครั้งแรก ซึ่งเจ้าหน้าที่
การแข่งขันยังคงเดินหน้าพิจารณาการซื้อกิจการระหว่าง
Grab และ UBER ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้และอาจกระทบต่อเขตอำนาจทางกฎหมายในภูมิภาค

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นโดยสำนักเลขาธิการอาเซียน  คณะผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายการแข่งขันของอาเซียน (AEGC)  กระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา โดยได้รับการสนับสนุนจาก Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit (GIZ) และโครงการความร่วมมือเขตการค้าเสรีอาเซียน - ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ และการประชุม ACC ครั้งที่ ๙ มีกำหนดจะจัดขึ้นในปี ค.ศ. ๒๐๒๑
ข่าว ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๒  สำนักเลขาธิการอาเซียน
https://asean.org/cambodia-hosts-8th-asean-competition-conference/
 

© 2017 Office of the Council of State.