BANNER

มาตรการควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารปลอมของสิงคโปร์


 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรรมอาเซียน      30 May 2019

  


สื่อออนไลน์มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในสังคมทุกขณะ การขยายตัวของเทคโนโลยี นวัตกรรมส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่อาจเป็นผลกระทบสำคัญตามมาคือการเผยแพร่ข่าวสารปลอมหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริง (Fake News) เพื่อสร้างความเข้าใจผิด มุ่งแสวงประโยชน์บางประการจนอาจเรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามรูปแบบหนึ่งที่สามารถส่งผลทั้งในระยะสั้น และระยะยาว อีกทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี AI ทำให้เกิดการสร้างข่าวสารหลอกลวงโดยอาศัยเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกเข้ามาร่วมพัฒนา ทำให้ข่าวสารปลอมมีลักษณะ แนบเนียน จับพิรุธได้ยาก ง่ายต่อการหลงเชื่อ (Deepfake) เช่น การตัดต่อวิดีโอปลอม เหตุนี้ หลายประเทศจึงตระหนักถึงผลกระทบของการแพร่กระจายข่าวสารปลอม เร่งสร้างกลไกการควบคุม ป้องกัน ทั้งรูปแบบของมาตรการทางกฎหมาย และมาตรการทางบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศล่าสุดที่ผลักดันการแก้ปัญหาในรูปแบบมาตรการทางกฎหมาย โดยมีการเสนอร่างกฎหมายชื่อ The Protection from Online Falsehoods and Manipulation Bill เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ หรือกฎหมายควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารปลอม การผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวทำให้สิงคโปร์เผชิญกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และสื่อมวลชน (Freedom of Expression) รวมถึงเป็นข้อสงสัยว่าอาจบังคับใช้เพื่อเปิดช่องให้อำนาจควบคุม/ระงับความเห็นต่างจากรัฐบาลได้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ มาตรการควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารปลอมของสิงคโปร์

© 2017 Office of the Council of State.