หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
แนะนำอาเซียน
ข่าวต่างประเทศ
ความตกลง
APSC
AEC
ASCC
ASEAN PLUS
บทความ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรรมอาเซียน
บทความวิชาการ
งานวิจัย
กฎหมายน่ารู้
ติดต่อเรา
ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทภายในประเทศสมาชิกอาเซียน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
29 Nov 2018
ประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนนับเป็นอีกเรื่องที่ประเทศในประชาคมอาเซียนต่างก็ให้ความสำคัญ สะท้อนผ่านปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนอาเซียน (
ASEAN Human Rights Declaration; AHRD) ที่ถือว่าเป็นเอกสารสำคัญของความร่วมมือในด้านสิทธิมนุษยชนของอาเซียน โดยกล่าวถึงการคุ้มครองและการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศสมาชิกจะได้นำไปเป็นต้นแบบสำหรับการกำหนดแผนงานและนโยบายเสริมสร้างสิทธิมนุษยชนภายในประเทศได้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ได้ปรากฏว่าประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละรัฐส่วนใหญ่ได้มีการกำหนดความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทไว้ในระบบกฎหมายภายในของตน ซึ่งถูกนำไปใช้ในการปราบปราม และจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนถึงความไม่พอใจต่อสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองในประเทศภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ต่าง ๆ ซึ่งถูกปิดกั้นอย่างรุนแรงโดยรัฐและองค์กรเอกชน ด้วยเหตุนี้จึงเกิดประเด็นปัญหาความขัดแย้งกันระหว่าง
“สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด (freedom of expression)” และ “สิทธิในเกียรติยศชื่อเสียง (right to reputation)” อันเป็นสิทธิที่ล้วนแต่ได้รับการรับรองและคุ้มครองตามปฏิญญา AHRD ทั้งสิ้น กรณีดังกล่าวจึงมีประเด็นพิจารณาถึงความเหมาะสมของการกำหนดความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาทในระบบกฎหมายของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้งหลาย ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายถึงสภาพปัญหาอันเกิดจากการกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทในประเทศสมาชิกอาเซียน แนวคิดและทฤษฎีการกำหนดความผิดอาญา จากนั้นจึงจะได้วิเคราะห์ความเหมาะสมในการกำหนดความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อไป
ลิงค์บทความฉบับเต็ม
© 2017 Office of the Council of State.