BANNER

รูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียม


 บทความวิชาการ      31 Jul 2018

  


                  โดยที่ระบบการให้สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นระบบการให้สัมปทานเพียงอย่างเดียว เป็นการกำหนดให้รัฐสามารถพิจารณานาระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตหรือระบบสัญญาจ้างบริการมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๒๓๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐) จึงสมควรศึกษาเทียบเคียงรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียมของแต่ละรัฐ
                    ปัจจุบันรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียมของรัฐที่มีปิโตรเลียมในอาณาเขตของตนเกิดจากการที่รัฐทาความตกลงกับเอกชนเพื่อให้มีการนาปิโตรเลียมที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ โดยแบ่งรูปแบบการทำความตกลงได้เป็นสัญญา ๓ ประเภท คือ สัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างบริการ ซึ่งสัญญาแต่ละประเภทจะมีลักษณะพื้นฐานที่แตกต่างกัน ตามชื่อสัญญาที่จะส่งผลถึงกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมและการแบ่งปันผลประโยชน์ของคู่สัญญาที่แตกต่างกันเท่านั้น ส่วนรายละเอียดของข้อกำหนดและเงื่อนไขที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม จะมีลักษณะใกล้เคียงกันทั้งหมด ทั้งนี้ สาระสาคัญของสัญญาทั้ง ๓ ประเภท...  


ดาวน์โหลดบทความฉบับเต็ม: รูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียม.pdf

© 2017 Office of the Council of State.