Source: http://asean.org
วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักเลขาธิการอาเซียนกับรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ประชุมร่วมกันในการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (ASEAN-Switzerland Consultation Workshop on Technical Vocational Education and Training: TVET) ณ โรงแรมแกรน มาฮากัม กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จัดขึ้นโดยคณะกรรมการด้านสถานการณ์ปัจจุบันของปัญหาสำคัญด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมในอาเซียนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ความคิดริเริ่มในระดับภูมิภาคทีมีอยู่นานัปการกับหุ้นส่วนและองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งการประชุมดังกล่าวนี้ ได้กำหนดขอบเขตของผลประโยชน์ส่วนรวมและการประสานกำลังกันด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมที่เป็นไปได้ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายตามแผนงานด้านการศึกษาอาเซียน พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕๖๓ (
the ASEAN Work Plan on Education 2016 – 2020) ที่สนับสนุนการพัฒนาภาคการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม ตลอดจน การเรียนรู้ตลอดชีวิต
[1] (lifelong learning) ในภูมิภาค
นาย Vongthep Arthakaivalvatee รองเลขาธิการอาเซียนฝ่ายสังคมและวัฒนธรรม ในกล่าวว่า “การอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมเป็นหนึ่งสิ่งจำเป็น และความสำเร็จหรือการพัฒนาการดำเนินงานด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมนี้จะสะท้อนถึงเป้าหมายในการสร้างประชาคมของพวกเรา อย่างไรก็ดี แผนงานหรือโครงการด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมในอาเซียนไม่ได้มีวัตถุประสงค์หรือขอบเขตอยู่เพียงเท่านี้ แต่ยังเป็นความรับผิดชอบของประชาคมอาเซียนทั้งปวงและเป็นหนึ่งสิ่งที่จะกำหนดความสำเร็จของพวกเรา”
ในวันที่ ๒ ของการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนด้านการศึกษา ภาคแรงงานและภาคเอกชนจากประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ แผนกการทำงานด้านต่าง ๆ ของสำนักเลขาธิการอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากสถานทูตสวิตเซอร์แลนด์ประจำอินโดนีเซีย ตลอดจน หน่วยงาน เพื่อการพัฒนาและความร่วมมือแห่งสวิตเซอร์แลนด์ (The Swiss Agency for Development and Cooperation: SDC) และผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ ได้ระบุถึงช่องว่างและประเด็นปัญหาเฉพาะด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมที่ต้องให้อาเซียนเข้ามาแทรกแซง นอกจากนี้ ทุกฝ่ายยังได้แบ่งปันและแลกเปลี่ยนความคิดริเริ่มที่มีและแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน ซึ่งอาจมีประโยชน์ต่อการทำหน้าที่เป็นแม่แบบที่จะตอบโจทย์ปัญหาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกัมพูชา สปป. ลาว และเวียดนาม (CLMV).
ในการนี้ สวิตเซอร์แลนด์ได้แจ้งความประสงค์ที่จะกำหนดขอบเขตของความร่วมมือด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมต่อไป เช่น ความเกี่ยวโยงของภาคเอกชน และการประกันคุณภาพและชื่อเสียงของการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม เป็นต้น
ด้านนาย Tim Enderlin ผู้อำนวยการความร่วมมือ สปป. ลาว และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Director of Cooperation for Laos and the Mekong Region (Cambodia, Lao PDR, Viet Nam))ได้กล่าวว่า “เรื่องเหล่านี้อยู่ในแบบแผนของเรามายาวนาน ที่การอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมเป็นที่รับรู้ว่าเป็นเครื่องมือสำหรับการบรรเทาความอัตคัดยากจน การบูรณาการ และยังมีความหมายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สิ่งที่เป็นความพิเศษเกี่ยวกับระบบการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมของสวิตเซอร์แลนด์ คือ บทบาทที่ดีเยี่ยมของภาคเอกชน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จะเป็นก้าวแรกสำหรับการประสานความร่วมกับอาเซียนอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น และจะสามารถทำให้เกิดมโนคติหรือแนวความคิดร่วมกัน เพื่อการปฏิบัติการร่วมกันในกรอบความร่วมมือด้านการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมได้”
อนึ่ง สวิตเซอร์แลนด์เข้าเป็นประเทศคู่เจรจาเฉพาะสาขาของอาเซียน (Sectoral Dialogue Partner of ASEAN) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ซึ่งอาเซียนและสวิตเซอร์แลนด์ได้ตกลงที่จะทำการส่งเสริมความร่วมมือในขอบเขตของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (human resource development) การจ้างงาน และการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม ผ่านการประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน รวมทั้ง การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนด้านแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดและประสบการณ์ความรู้ ตลอดจน การให้การสนับสนุนทางเทคนิคจำเพาะต่อกัมพูชา สปป. ลาว และเวียดนาม
แปลและเรียบเรียงจาก:
http://asean.org/asean-switzerland-to-boost-cooperation-on-technical-vocational-education-and-training/
[1] หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตาย จากบุคคลหรือสถาบันใด ๆ โดยสามารถ เรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่าง ๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้ สามารถทำให้บุคคลนั้น เกิดการพัฒนาตนเอง (ที่มา: mediathailand: education, http://mediathailand.blogspot.com/2012/05/blog-post_5750.html)