ภาพจาก huffingtonpost.com
ศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre for Energy-ACE) และสมาคมถ่านหินโลก (World Coal Association-WCA) ได้รายงานว่าการลงทุนเพื่อลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากโรงไฟฟ้าถ่านหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดก๊าซเรือนกระจกภายในภูมิภาค
รายงานเรื่องความสมดุลของพลังงานในอาเซียน (ASEAN’s Energy’s Equation) ซึ่งได้กล่าวถึงบทบาทของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อพัฒนาไปสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืนในอนาคต เป็นการวิเคราะห์อย่างครอบคลุมถึงความคุ้มค่าของนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศและพลังงานรวมทั้งโอกาสในการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด (Cleaner Coal Technology) อย่างยั่งยืน ซึ่งพลังงานถ่านหินจะเป็นตัวกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ
[๑]
กลไกการเงินสำหรับการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้ถ่านหินจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง ๑.๓ พันล้านตันในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า ซึ่งการลดจำนวนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนี้มีปริมาณเท่ากับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อปีรวมกันของ ๓ ประเทศ ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรป ซึ่งเป็น ๓ อันดับต้นของประเทศที่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุด
การเคลื่อนไหวนี้คาดว่าจะเป็นตัวเร่งทำให้บรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศโลกได้ไวขึ้นโดยไม่กระทบต่อความต้องการทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมในภูมิภาค
นาย Benjamin Sporton ประธานสมาคมถ่านหินโลกกล่าวว่า “เป็นสิ่งสำคัญที่จะพิจารณาความจริงที่ว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วเอเชีย ซึ่งชัดเจนว่าถ่านหินสะอาดเป็นตัวเลือกในราคาต่ำที่สุดของเทคโนโลยีถ่านหินเมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นที่ใช้คาร์บอนน้อยในภูมิภาคอาเซียนที่กำลังพัฒนาเขตเมืองและเขตอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ถ่านหินถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นส่วนที่จำเป็นสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน ความเป็นจริงในที่นี้หมายถึงว่าเศรษฐกิจการพัฒนาอุสาหกรรมและเขตเมืองในเอเชียที่เลือกใช้ถ่านหินต้องสอดคล้องกับเทคโนโลยีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่น้อยที่สุด
Dr. Sanjayan Velautham ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานอาเซียน (ACE) ตั้งข้อสังเกตว่า “รายงานแนวโน้มพลังงานอาเซียน ครั้งที่ ๔ (the 4
th ASEAN Energy Outlook) ได้กล่าวถึงความต้องการด้านพลังงานของอาเซียนซึ่งได้ถูกคาดหวังว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น ๒.๗ เท่าในอีก ๒ ทศวรรษ และถ่านหินก็จะเป็นปัจจัยหลักในสัดส่วนของการใช้พลังงาน (ข้อมูลจากACE ปี พ.ศ. ๒๕๕๙) จากการที่ ๑๐๐ ล้านคนโดยประมาณไม่มีไฟฟ้าใช้ สิ่งสำคัญในการทำนายการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียน คือ การจ่ายไฟต้องมีราคาที่เหมาะสม เชื่อถือได้ และยั่งยืน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมศูนย์พลังงานอาเซียนถึงเชื่อว่าเทคโนโลยีของถ่านหินที่ทันสมัยเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้เกิดความเชื่อมั่นว่าถ่านหินจะถูกนำไปใช้ในแนวทางที่ยั่งยืนที่จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความต้องการทางเศรษฐกิจกับข้อผูกมัดด้านสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือกันจะช่วยสนับสนุนให้อาเซียนรับทราบถึงข้อสรุปของนโยบายด้านพลังงาน”
[๑] World Coal. “ASEAN’s Energy Equation.” https://www.worldcoal.org/sites/default/files/resources_files/ASEAN%27s%20energy%20equation_final_0.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐)