กลยุทธ์ขยายขอบเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่ออาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
10 Jan 2017
กลยุทธ์ขยายขอบเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่ออาเซียน
ในการที่จะคว้าโอกาสจากการลงทุนในประชาคมอาเซียนได้นั้น นักลงทุนจำเป็นต้องปรับนโยบายการดำเนินธุรกิจของตนให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานของอาเซียน นอกจากนั้นแล้ว กว่าร้อยละ 76 ของบริษัทในสหภาพยุโรป หรือ EU ต่างยืนยันว่าบริษัทมีนโยบายที่มุ่งเน้นไปที่การค้ากับอาเซียน และมีความเห็นว่าอาเซียนนั้นเป็นองค์การชัดเจนกับความต้องการของตนเอง และมีความสามารถที่จะกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของตนได้เป็นอย่างดี
เป็นที่น่าสนใจว่า บริษัทต่างชาติที่นอกอาเซียนจำนวนกว่าร้อยละ 81 มียุทธศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งเมื่อเทียบกับบริษัทท้องถิ่นแล้ว พบว่าบริษัทท้องถิ่นมียุทธศาสตร์ภูมิภาคเพียงร้อยละ 55 เท่านั้น ซึ่งก็มีทฤษฎีที่มาอธิบายแตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยหลักคือ บริษัทท้องถิ่นนั้นมีขนาดที่เล็กกว่าบริษัทข้ามชาตินั่นเอง
ทำไมถึงต้องมีการดำเนินนโยบายเดียวกันทั่วทั้งอาเซียน
อะไรคือสาเหตุที่ทำให้บริษัทต่าง ๆ ต้องวางนโยบายของตนโดยมีอาเซียนเป็นปัจจัยสำคัญ? เหตุผลหลักคือนโยบายบูรณาการทางการค้าของอาเซียนเอง ซึ่งเมื่อสอบถามจากผู้ประกอบการแล้วพบว่ามีคำตอบหลายประการ กว่าหนึ่งในสามกล่าวว่านโยบายการบูรณาการนั้นสำคัญมาก และอีกร้อยละ 57เห็นว่าค่อนข้างสำคัญ
ในขณะที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ยังคงมีระยะทางอีกไกลที่จะถูกนึกถึงในฐานะการเป็นตลาดเดียว (Single Market อย่างแท้จริง) แต่ AEC ก็ให้คำมั่นที่จะให้ผลประโยชน์ที่สำคัญสำหรับการดำเนินการของบริษัทในภูมิภาค โดยในระยะเริ่มต้น บริษัทต่างๆ จะได้รับผลตอบแทนในด้านการประหยัดต่อขนาด (Economic Scale) และเพิ่มประสิทธิภาโดยมีการปรับประสานมาตรฐานการดำเนินงานในขอบเขตพื้นที่ที่กว้างขึ้น การมีตลาดเดียวจะช่วยให้บริษัทต่างๆ ลดความซับซ้อน เช่นเดียวกันกับการที่บริษัทต่าง ๆ จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ บริการ รูปแบบธุรกิจและแผนการตลาดที่มีมาตรฐาน
อีกทั้งเมื่อตลาดทุนมีความสอดคล้องใกล้ชิดกันมากขึ้น ทำให้หลายบริษัทสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกขึ้น และเมื่อบูรณาการตลาดแรงงานแล้ว ยิ่งเอื้อต่อบริษัทในการจ้างงาน รักษาฐานพนักงาน และจัดการฐานแรงงานในแต่ละภูมิภาคได้เป็นอย่างดี
จากการสัมภาษณ์หลายบริษัทถึงสาเหตุของการวางกลยุทธ์และแผนการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงอาเซียนเป็นสำคัญ ได้ความเห็นหลักดังนี้
1. นโยบายของสำนักเลขาธิการอาเซียนและโครงการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เอื้อต่อการเชื่อมโยงตลาดในภูมิภาคอย่างมีบูรณาการมากขึ้น ซึ่งทำให้บริษัทลดค่าใช้จ่ายและเป็นการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. ลดการกีดกันทางการค้า และพัฒนามาตรฐานการผลิตอย่างสอดคล้องกันใน ASEAN อีกทั้งบริษัทต่าง ๆ สามารถดำเนินการระดมทุนได้อย่างสะดวกมากขึ้น และยังสามารถตั้งศูนย์กลางการผลิตของบริษัทในภูมิภาคอาเซียนได้อีกด้วย นี่จึงเป็นผลประโยชน์ต่อผู้ลงทุนอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่าผลประโยชน์ที่จะได้รับนั้นสูงขึ้นสวนทางกับความซับซ้อนยุ่งยากที่จะลดน้อยลง และเมื่อเวลาผ่านไป นักลงทุนจะสามารถสามารถแยกสาขาธุรกิจของพวกเขาให้สอดคล้องกับประเทศที่มีต้นทุนและแรงงานที่เหมาะสมกับธุรกิจนั้น ๆ มากที่สุดได้
3. แม้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีความหลากหลายมาก นักลงทุนก็ยังเชื่อว่ากลุ่มลูกค้าของตนนั้น
มีความต้องการที่คล้ายคลึงกันมากขึ้น และบริษัทจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการพัฒนาแบบรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้
4. บางบริษัทยังรู้สึกว่าโอกาสในการประสานงานและสร้างมาตรฐานของสำนักงานของพวกเขาในแต่ละภูมิภาคอาเซียนยังคงมีอยู่อย่างจำกัด อย่างไรก็ตามพวกเขารู้สึกว่าในส่วนของงานเบื้องหลังและการส่งเสริมการขาย (ยกตัวอย่างเช่น ด้านการเงิน ทรัพยากรบุคคลและการวางแผน) สามารถเป็นไปได้ในส่วนของภูมิภาคนั้น ๆ
5. หลายบริษัททราบดีว่าหากคำนึงเพียงแค่สมาชิก ASEAN แต่ละประเทศนั้น ถือได้ว่าเป็นระบบเศรษฐกิจที่มีขนาดเล็กและอาจไม่น่าดึงดูดต่อนักลงทุน แต่อย่างไรก็ดี เมื่อรวมกลุ่มเป็น AEC แล้วจะสามารถดึงดูดนักลงทุนที่มีความสามารถเข้ามาลงทุนในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี
6. ในขณะที่เศรษฐกิจของอาเซียนยังคงมีความหลากหลายอย่างมาก สิ่งหนึ่งที่ประเทศสมาชิกนั้นมีร่วมกันคือมีการเจริญเติบโตสูง และด้วยเหตุนี้เอง นักลงทุนจึงเชื่อมั่นที่จะลงทุนในภูมิภาคที่มีการจัดการที่ดี และเชื่อว่าด้วยกลยุทธ์ที่ถูกต้องในภูมิภาคที่มีแนวโน้มในการเจริญเติบโตสูง จะทำให้ผลตอบแทนนั้นคุ้มค่า
7. ในส่วนของธุรกิจรูปแบบ B2B หรือ Business to Business นั้นให้การยอมรับขยายขอบเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่ออาเซียนไปใช้ระหว่างกันมากขึ้น นั่นหมายความว่ามีโอกาสมากที่นักลงทุนจะนำกลยุทธ์ดังกล่าวไปปรับใช้กับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตน