BANNER

งานวิจัย "การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลของประเทศไทยกับประเทศอาเซียน


 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน      31 Mar 2017

  


ดาว์โหลดงานวิจัย


วันที่ 31 ธ.ค. 2558 จะเป็นวันบรรลุเป้าหมายการเป็น "ประชาคมอาเซียน"หรือ ASEAN Community ที่ผู้นำอาเซียนได้มีวิสัยทัศน์ร่วมกันใน "การสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง" ทั้งนี้นอกเหนือจากการรวมตัวกันเพื่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ใน 3 มิติ คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านกฎระเบียบ และความเชื่อมโยงระหว่างประชาชน และประชาชนในอาเซียนมี
ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประชาคมที่มีความแข็งแกร่ง สามารถสร้างโอกาสและรับมือสิ่งท้าทายทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และ
ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศทุกด้าน โดยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี สามารถประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้สะดวกมากขึ้น
ทั้งนี้ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน โดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และประชาชนของ
ประเทศอาเซียนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมสำนักงานอัยการสูงสุดได้ตระหนักถึงประเด็นปัญหาของความรับผิดทางอาญาขององค์กรธุรกิจทั้งของไทย และของสมาชิกประชาคมอาเซียนซึ่งดำเนินธุรกิจต่างๆ ในประชาคมอาเซียน กอปรกับประเด็นปัญหาดังกล่าวในประเทศไทยก็ยังไม่มีความชัดเจนเนื่องจาก

o ประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล (Legal Person Criminal Liability) ของไทยยังไม่มีกฎหมายบัญญัติหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไว้ แต่ศาลไทยกลับพิพากษาลงโทษนิติบุคคลทางอาญาอย่างกว้างขวาง

o ประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล (Legal Person Representative Criminal Liability) ของไทยซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้รับผิดในกฎหมายกว่าร้อยฉบับ แต่ก็มี
ปัญหาที่สำคัญคือ
1) ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 12/2555 วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 54 ซึ่งบัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้กระทำ ความผิดซึ่งต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็นนิติบุคคล ให้กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 39 วรรคสอง (ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด) เป็นอันใช้บังคับไม่ได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 6 เฉพาะในส่วนที่สันนิษฐานให้บรรดากรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่ง

รับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้นต้องรับโทษทางอาญาร่วมกับนิติบุคคลโดยไม่ปรากฏว่ามีการกระทำหรือเจตนาประการใดอันเกี่ยวกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นนอกจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญยังได้มีคำวินิจฉัยอีกหลายฉบับซึ่งวินิจฉัยทำนองเดียวกัน 2) นอกจากนั้นที่เป็นปัญหาอย่างมากคือ กฎหมายไทยนอกเหนือจากบัญญัติให้ “ผู้แทนนิติบุคคล” ตามกฎหมายต้องรับผิดแล้วยังรวมถึง “ผู้บริหารนิติบุคคล” ซึ่งไม่ใช่ผู้แทนนิติบุคคลตามกฎหมาย ต้องรับผิดอีกด้วยคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้รับมอบหมายจากสำนักงานอัยการสูงสุดโดยสถาบันกฎหมายอาญาให้ดำเนินการวิจัยในหัวข้อ “โครงการวิจัยเรื่อง “การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ ในประชาคมอาเซียน” โดยมีวัตถุประสงค์ ที่สำคัญดังนี้
ก. เพื่อทราบถึงขอบเขตของความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลของประเทศไทย และประเทศต่างๆ ในกลุ่ม สมาคมอาเซียน
ข. เพื่อหาขอบเขต และแนวทางในการกำหนดขอบเขตและความรับผิดของผู้แทนนิติบุคคลทั้งเป็นแนวทางมิให้ผู้แทนนิติบุคคลหาช่องว่างของกฎหมาย มาใช้ประโยชน์ในการเอารัดเอาเปรียบกับประชาชน หรือ เอากฎหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
ค. เพื่อให้ได้กรอบของกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
ง. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงประมวลกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคล ให้สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของไทยคณะผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิจัยจนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ โดยได้มีการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ งานวิจัยรวม 3 ครั้งคือ
1. ครั้งที่ 1 ณ ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม 2558
2. ครั้งที่ 2 ณ หอประชุมเลวีนิติ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันอังคารที่ 18 สิงหาคม 2558
3. ครั้งที่ 3 ณ ห้องวิมานทิพย์ 2 โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง กทม. เมื่อวันศุกร์ที่ 4 กันยายน 2558
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะผู้วิจัยขอขอบคุณสำนักงานอัยการสูงสุด สถาบันกฎหมายอาญา ที่ได้ไว้วางใจมอบหมายให้ดำเนินการวิจัยในเรื่องนี้ซึ่งคณะผู้วิจัยหวังว่า ผลงานวิจัยนี้จะมีประโยชน์ในการนำไปใช้งานตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คณะผู้วิจัยเชื่อว่าหากได้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาดั่งที่คณะผู้ศึกษาวิจัยได้ทำการเปรียบเทียบกับประเทศแม่แบบในระบบกฎหมายซิวิลลอว์คอมมอนลอว์ และประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนแล้ว ก็จะสามารถสนองปณิธานของผู้นำอาเซียนที่มีวิสัยทัศน์ร่วมกันใน "การสร้างประชาคมอาเซียนที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง" ให้เกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ “มีกฎเกณฑ์กติกาที่ชัดเจน” ของประเทศไทยก็จะทำให้การทำธุรกิจของไทยมีความเสี่ยงที่จะมีความรับผิดทางอาญาทั้งของนิติบุคคล (Legal Person) และ ผู้แทนนิติบุคคล (Legal Person Representative) น้อยลง หรือไม่มีความเสี่ยงเลย ซึ่งจะเป็นการสร้างโอกาสในการแข่งขันในสนามของประชาคมอาเซียนได้อย่างดี​

© 2017 Office of the Council of State.