BANNER

รัฐสภาญี่ปุ่นผ่านกฎหมายเกี่ยวกับการขยายการสนับสนุนเพื่อการเลี้ยงดูบุตร


 ข่าวต่างประเทศ      24 Jun 2024

  


                    เมื่อวันพุธที่ (๕ มิ.ย. ๒๕๖๗) รัฐสภาแห่งญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการขยายกฎเกณฑ์สำหรับเงินค่าเลี้ยงดูบุตรและวันลาของผู้ปกครองรายเดือน เนื่องจากญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลง
                  ภายใต้กฎหมายฉบับใหม่นี้ เงินค่าเลี้ยงดูบุตรจะเพิ่มอายุของเด็กไปจาก๑๕ ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ไปจนถึงอายุ ๑๘ ปี และจะไม่มีการจำกัดเงื่อนไขด้านรายได้ของครัวเรือนที่จะได้รับการสงเคราะห์ค่าเลี้ยงดูบุตรอีกต่อไป
                  ในขณะเดียวกัน จะมีการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ปกครองในการลาหยุดเพื่อเลี้ยงดูบุตรและบริการรับฝากเลี้ยง เพื่อให้เด็กได้มีสิทธิเข้าถึงโดยมิได้คำนึงถึงสถานะทางการงานของผู้ปกครอง และเพื่อเป็นเงินทุนให้กับโครงการเหล่านี้ รัฐบาลจะจัดตั้งกองทุนขึ้นใหม่เพื่อเด็กและครัวเรือนที่มีบุตรสำหรับปีงบประมาณ ๒๐๒๖ ภายหลังจากการเกิดของทารกในปี ๒๐๒๓ มีอัตราต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเหลือเพียง ๗๕๘,๖๓๑ คน
                  ภายใต้โครงการใหม่นี้ รัฐบาลมีแผนการดำเนินงานที่จะรวบรวมเงินจำนวน ๖๐๐,๐๐๐ ล้านเยน (๔ พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ในปีงบประมาณ ๒๐๒๖ และจะเพิ่มเงินอีก ๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านเยนในปีงบประมาณ ๒๐๒๘ จากการเพิ่มเบี้ยประกันสุขภาพ ซึ่งรัฐบาลคาดการณ์ว่าจะเพิ่มแบบรายเดือนจาก ๕๐ เยนเป็น ๑,๖๕๐ เยนต่อคน
                  ร่างกฎหมายนี้เห็นชอบโดยสภาล่างในเดือนเมษายน โดยผ่านสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันพุธซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากพรรคเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democratic Party: LDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลหลักและจากพรรคร่วมอย่าง Komeito โดยที่รัฐบาลกล่าวว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่เป็นการสร้างภาระให้แก่ประชาชนมากจนเกินไป เนื่องจากจะตัดค่าใช้จ่ายจากประกันสังคมเพื่อสร้างกองทุน โดยพรรคฝ่ายค้านได้วิพากษ์วิจารณ์มาตรการดังกล่าวว่าเป็นการเพิ่มภาษีที่มีประสิทธิภาพ
                 กฎหมายดังกล่าวมีขึ้นเพราะรัฐบาลเห็นว่าช่วงก่อนปี ๒๐๓๐ จะเป็น "โอกาสสุดท้าย" ที่จะสามารถพลิกกลับแนวโน้มดังกล่าว เนื่องจากการแต่งงานที่ล่าช้าและข้อกังวลทางการเงินมักถูกอ้างเป็นสาเหตุของอัตราการเกิดที่ลดน้อยลง

ข่าวประจำวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๗
แปลและเรียบเรียงจาก https://english.news.cn/20240605/0b9bf0129d2e47d5af70bf164c9258a4/c.html


*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

© 2016 Office of the Council of State.