หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
แนะนำอาเซียน
ข่าวต่างประเทศ
ความตกลง
APSC
AEC
ASCC
ASEAN PLUS
บทความ
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรรมอาเซียน
บทความวิชาการ
งานวิจัย
กฎหมายน่ารู้
ติดต่อเรา
แผนความเชื่อมโยงอาเซียน : อีกหนึ่งความท้าทายต่อการเป็นประชาคมที่มีบูรณาการอย่างแท้จริง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
07 Mar 2017
แผนความเชื่อมโยงอาเซียน : อีกหนึ่งความท้าทายต่อการเป็นประชาคมที่มีบูรณาการอย่างแท้จริง
ในการที่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ASEAN จะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญและส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างกันในภูมิภาค ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะนำไปสู่การลงทุนทั้งในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมอย่างทั่วถึงทั้งภูมิภาค
ผู้นำประเทศสมาชิก ASEAN ได้ร่วมกันลงนามในแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงอาเซียน หรือ Master Plan on ASEAN Connectivity 2025 (MPAC 2025) เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 (ค.ศ.2016) ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง นวัตกรรม และการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาค
โดยเป้าหมายของ MPAC 2025 คือการพยายามบูรณาการทั้งสิบประเทศสมาชิก ซึ่งมีประชากรมากกว่า 600 ล้านคน และมี GDP รวมกันกว่า 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างแท้จริง และยังได้มุ่งสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาและบูรณาการในระดับภูมิภาค โดยเน้นย้ำถึงปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของประชาคม เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้บริโภค ความเหลื่อมล้ำด้านทักษะของแรงงานประเภทต่าง ๆ และความจำเป็นของโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่
การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสร้างความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นภายในภูมิภาค นับเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของอาเซียน เนื่องจากการจะทำให้ภูมิภาคอาเซียนหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้ต้องอาศัยความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้ง อันจะส่งผลให้ภูมิภาคมีความสามารถในการแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้ และมีความยืดหยุ่นระหว่างกันด้วย ดังนั้น การจัดการกับความท้าทายของอาเซียนจึงจำเป็นต้องพิจารณาทั้งในแง่ความสำเร็จของความเชื่อมโยงในอาเซียนและปัญหาของอาเซียนที่เกิดขึ้นด้วย
แผนความเชื่อมโยงอาเซียน
ที่ผ่านมาอาเซียนได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดทำโครงการที่สร้างความเชื่อมโยงอันแน่นแฟ้นระหว่างประเทศสมาชิก และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสถาบันต่าง ๆ รวมถึงความเชื่อมโยงระหว่างบุคคลควบคู่กันไป โดยอาเซียนได้จัดทำ The Master Plan on ASEAN Connectivity 2010 (MPAC 2010) ขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ผ่านปฎิญญาฮานอย หรือ Hanoi Declaration ซึ่งได้ครอบคลุมความเชื่อมโยงในสามมิติหลัก ดังนี้
1.
ความเชื่อมโยงด้านกายภาพ
ได้แก่ การขนส่ง ข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีการสื่อสาร และพลังงาน
2.
ความเชื่อมโยงด้านสถาบัน
ได้แก่ การค้า การลงทุน การเปิดเสรีการให้บริการ และ
3.
ความเชื่อมโยงระหว่างบุคคล
ได้แก่ การศึกษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ได้เปิดฉากอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2015) โดยมุ่งเน้นไปที่การบูรณาการขั้นสูงและการผนึกกำลังเพื่อส่งเสริมระบบเศรษฐกิจในภูมิภาค
เป็นการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
การจัดตั้ง AEC มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจซึ่งจะเป็นการขยายขอบเขตความเชื่อมโยงในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สถาบัน และระหว่างบุคคลให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ MPAC 2025 ซึ่งต้องการทำให้อาเซียนเป็นประชาคมที่มีการบูรณาการอย่างแท้จริง ครอบคลุม
ไร้ร้อยต่อ เพื่อประโยชน์ของประชาชนทุกคนในภูมิภาค
ในด้านกายภาพแล้ว แผน MPAC 2025 มุ่งเน้นการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค
เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของบุคคล สินค้า และบริการ
ในด้านสถาบัน จะเน้นที่การลดอุปสรรคด้านนโยบายและสถาบัน เพื่อให้นโยบายและมาตรฐาน
ในภูมิภาคมีหลักเกณฑ์เดียวกัน และสอดคล้องกันอย่างแท้จริง และยังช่วยทำให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้นผ่าน “วาระประชาชนของอาเซียน” (ASEAN’s People Agenda) ซึ่งครอบคลุมด้านการศึกษา แรงงาน และการท่องเที่ยว
ความสำเร็จของแผนความเชื่อมโยงอาเซียน
แผนความเชื่อมโยงอาเซียน (ASEAN Connectivity) ช่วยส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพอย่างครอบคลุมและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา โครงการทางหลวงสายอาเซียน (The ASEAN Highway Network (AHN)) ประสบความสำเร็จในการซ่อมแซมถนนด้วยยางมะตอย และลดระยะทางถนนลง จากระยะทางทั้งสิ้นกว่า 5,311 กิโลเมตรในปี พ.ศ.2553 (ค.ศ. 2010)
เหลือเพียง 2,454 กิโลเมตรในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2015) และโครงการขนส่งยานพาหนะหรือสินค้าทางเรือ (The ASEAN RO-RO (Roll-On-Roll-Off
[1]
)) ซึ่งเป็นการพัฒนาการขนส่งทางทะเลที่ลดระยะเวลาการขนส่งไปได้กว่าร้อยละ 50 เป็นต้น
นอกจากนี้ อาเซียนยังมีเป้าหมายในการพัฒนาความเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อาเซียนได้ริเริ่ม ASEAN Broadband Corridor ขึ้น ซึ่งส่งผลให้เกิดหลายโครงการตามมา เช่น ASEAN Internet Exchange Network (AIX) และ ASEAN Single Telecommunications Market เป็นต้น ทำให้ภาคส่วนเอกชนตื่นตัวกับการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น
อาเซียนได้พัฒนาความเชื่อมโยงด้านสถาบันควบคู่ไปกับความเชื่อมโยงด้านกายภาพ โดยอาเซียนได้กำหนดมาตรการและจัดทำความตกลงหลายฉบับเพื่ออำนวยความสะดวกให้ครอบคลุมทั่วทั้งภูมิภาค ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ได้ริเริ่มนำ ASEAN Single Window (ASW) มาใช้เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าในกรอบความตกลง ASEAN Trade in Goods Agreement (ATIGA) และใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) ในมาตรฐานการผลิต
นอกจากนั้นอาเซียนยังได้จัดทำความตกลงที่มุ่งอำนวยความสะดวกและส่งเสริมการค้าสินค้าและบริการอีกหลายฉบับซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วย
การอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน (ASEAN Framework Agreement on Facilitation of Inter-State Transport (AFAFIST)) หรือกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit (AFAFGIT)) ซึ่งเป็นการผสมผสานกระบวนการขนส่งสินค้าและระบบศุลกากร รวมถึงการส่งผ่านสินค้าภายในภูมิภาค
ให้สอดคล้องกัน
สำหรับความเชื่อมโยงด้านบุคคลในภูมิภาค ก็มีความก้าวหน้าที่เห็นได้ชัด คือ การพัฒนาและ
การส่งเสริมความเข้าใจระหว่างกันในด้านสังคมและวัฒนธรรม และยิ่งไปกว่านั้น การพัฒนาหลักสูตรการศึกษาและมาตรฐานการศึกษาก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องได้รับการยอมรับผ่านความตกลงหลายฉบับ เช่น ASEAN University Network (AUN) ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัด จากการสร้างมาตรฐานการศึกษาที่สูงขึ้นในมหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่ง
ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement - MRAs) ได้กำหนดแปดสาขาวิชาชีพเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายของนักวิชาชีพอย่างเสรี
ในภูมิภาค โดยแบ่งเป็น MRAs 6 สาขา คือ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก แพทย์ ทันตแพทย์ และบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยว และมีกรอบความตกลงสำหรับ 2 สาขา คือ ช่างสำรวจและนักบัญชี
ความท้าทายและการปรับใช้นโยบาย
เลขาธิการอาเซียนได้กล่าวไว้ว่า ภูมิภาคอาเซียนเต็มไปด้วยความท้าทายและโอกาส ในแง่ของการ
บูรณาการด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เช่น จำนวนผู้บริโภคมีปริมาณสูงขึ้น คาดการณ์ว่าอาจถึง 163 ล้านครัวเรือน ในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อการท่องเที่ยวของอาเซียนต่อไป เนื่องจากอัตราการเข้ามาของนักท่องเที่ยวในอาเซียนนั้นสูงขึ้นจาก 49 ล้านคนในปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) เพิ่มขึ้นเป็น 105 ล้านคน ในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) ทำให้อาเซียนจำเป็นต้องพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และปรับปรุงนโยบายการตรวจลงตราวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวให้สะดวกยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคต่อไป
อีกปัจจัยหนึ่งที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาค คือ การขาดแคลนทักษะที่ชำนาญด้านแรงงาน สถาบัน McKinsey Global Institute ได้คาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) ประเทศอินโดนีเซียและ
เมียนมาอาจประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะปานกลางกว่า 13 ล้านคน และแรงงานมีทักษะ
กว่า 9 ล้านคน อีกทั้งธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย Asian Development Bank (ADB) และ องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organisation (ILO) ยังเห็นว่า กว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานทักษะสูงในประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ยังขาดแคลนคุณสมบัติการเป็นแรงงานทักษะสูง ดังนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงควรเร่งพัฒนาทรัพยากรด้านแรงงานมนุษย์ ทักษะแรงงาน และนวัตกรรม เพื่อตอบสนองเป้าหมายของภูมิภาคให้ได้มากที่สุด
นอกจากนี้ อาเซียนยังมีความท้าทายในด้านการตอบสนองต่อความจำเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ซึ่งในแต่ละปีมีมูลค่ากว่า 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งแม้จะมีหลายองค์การพร้อมแก้ไขความเหลื่อมล้ำของโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค แต่อย่างไรก็ดี การจะประสบความสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องมีการประสานงานที่ดีระหว่างรัฐบาล ผู้ให้กู้ยืม และภาคส่วนเอกชน อาเซียนจึงควรพัฒนาความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน หรือ Public Private Partnership (PPP) เพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคต่อไป
ความท้าทายที่สำคัญของอาเซียนอีกประการหนึ่ง คือ ILO ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า การเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาคนั้นยังจำกัด เนื่องจากปัจจุบันมี MRAs ครอบคลุมถึงแรงงานในภูมิภาคเพียงร้อยละ 1.5 เท่านั้น และยังขาดแคลนความตกลงยอมรับร่วมในอีกหลายสาขาวิชาชีพ
แผนความเชื่อมโยงอาเซียนจึงเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและการพัฒนาในภูมิภาคอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ แต่อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายนโยบายที่จะกำหนดทิศทางอาเซียนในอนาคต และจะชี้ให้เห็นถึง
ความท้าทายที่เพิ่มขึ้น เช่น การเพิ่มจำนวนของผู้บริโภค ความเหลื่อมล้ำด้านทักษะ และการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
[1]
การขนส่งยานพาหนะหรือสินค้า โดยนำมาวางบนล้อเลื่อนเพื่อขนขึ้นเรือ (Roll on) และลงเรือ (Roll off)
© 2017 Office of the Council of State.