BANNER

กฎหมายการต่อต้านข่าวปลอม (anti-fake news law) ในตูนิเซียที่ทำให้เสรีภาพในการพูดเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรม


 ข่าวต่างประเทศ      31 Aug 2023

  


ในเมืองตูนิส ของประเทศตูนิเซีย  ทางกลุ่มสิทธิมนุษยชนได้ประณามการใช้กฎหมายของตูนิเซียที่ทำให้การเผยแพร่ “ข่าวปลอม” เป็นความผิดทางอาญาเพื่อยับยั้งเสรีภาพทางการพูดในประเทศ

คณะกรรมาธิการนักนิติศาสตร์ระหว่างประเทศ (International Commission of Jurists - ICJ) ได้วิจารณ์การบังคับใช้กฎหมายที่ออกโดยนายไค ซาอิด ประธานาธิบดีตูนิเซีย ซึ่งพวกเขาอ้างว่าทำให้การสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภทที่เขาคัดค้านเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรม

พระราชกฤษฎีกา ๕๔ (Decree 54)  ซึ่งมีการออกบังคับใช้โดย นายไค ซาอิด ประธานาธิบดีตูนิเซีย ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๒๒ กำหนดให้การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อแบ่งปันข้อมูลเท็จถือเป็นการกระทำที่เป็นอาชญากรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ผู้สนับสนุนของเขามองว่าเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพยายามให้ข่าวหลอกลวงประชาชน

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่มีการเปิดตัว พระราชกฤษฎีกา ๕๔ ที่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อกำหนดเป้าหมายไปยังฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและนักวิจารณ์จำนวนหนึ่งซึ่งส่งผลให้หลายคนถูกจำคุกอยู่ในขณะนี้

ประเด็นหลักของการวิพากษ์วิจารณ์จากทาง ICJ อยู่ที่มาตรา ๒๔ ของพระราชกฤษฎีกาที่ ๕๔ ซึ่งอนุญาตให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี และปรับไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ ดอลลาร์ สำหรับผู้ที่พบว่าเผยแพร่ “ข้อมูลเท็จและข่าวลือ” ทางออนไลน์ โดยการลงโทษจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าหากมีการละเมิดคำพูดเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ

อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์มีความเห็นว่ายังไม่ได้มีการระบุคำนิยามให้แน่ชัดว่า อะไรคือข้อมูลเท็จหรือข่าวลือ

ในบทกฎหมายอื่น ๆ กำหนดอนุญาตให้ผู้บริการรักษาความปลอดภัยค้นหาอุปกรณ์โทรคมนาคมหรือคอมพิวเตอร์เพื่อค้นหาเนื้อหาที่ละเมิดพระราชกฤษฎีกา และอุปกรณ์ที่จะยึดหากเจ้าหน้าที่เชื่อว่ามีความเกี่ยวข้อง

ความผิดที่กระทำทางออนไลน์
จนถึงขณะนี้ มีการสอบสวนบุคคลอย่างน้อย ๑๔ คนตั้งแต่มีการประกาศบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งบางคนได้รับโทษจำคุกแล้ว ซึ่งทาง ICJ กล่าวว่ามีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกมากมาย

ในเดือนตุลาคม เมห์ดี ซาโกรบา ทนายความชาวตูนิเซียเขียนโพสต์บนเฟซบุ๊กกล่าวหารัฐมนตรียุติธรรมว่าสร้างหลักฐานในคดีที่ตัดสินโดยผู้พิพากษาซึ่งถูกกล่าวหาว่าทุจริตและกล่าวหาว่าดำเนินคดีในคดี "ก่อการร้าย" ล่าช้า

ในปัจจุบันซาโกรบารับโทษจำคุก ๑๑ เดือน และถูกห้ามไม่ให้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นเวลา ๕ ปี

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. ๒๐๒๒ อาเหม็ด ฮามาดะ นักศึกษากฎหมายและบล็อกเกอร์ ได้เขียนโพสต์บนเฟซบุ๊กวิจารณ์วิธีการตรวจพื้นที่ ซึ่งการดำเนินคดีอาญากับเขายังคงค้างอยู่

ฟิดาห์ ฮัมมามี ที่ปรึกษากฎหมายของ ICJ กล่าวว่า “การนำกฎหมายที่มีโทษจำคุก ๑๐ ปีและโทษปรับจำนวนมากสำหรับใครก็ตามที่วิพากษ์วิจารณ์เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเป็นกฎหมายที่องค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศและตูนิเซียเห็นว่ามีความเข้มงวดซึ่งถือเป็นการกระทำที่กดขี่ ถ้าข้อความดังกล่าวมีความชัดเจนว่าไม่มีความอดกลั้นในคำวิจารณ์ และได้แสดงออกถึงความขัดแย้ง จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง ซึ่งกฎหมายดังกล่าวถือว่าไม่ได้มีอยู่จริงในยุคประชาธิปไตย แต่เป็นเครื่องมือของระบอบเผด็จการ ตอนนี้เราได้ยินว่าเริ่มมีการสืบสวนคดีอาชญากรรมใหม่ภายใต้ พระราชกฤษฎีกา ๕๔ เกือบทุกสัปดาห์ จากรายงานมีถึง ๑๔ คดี แต่เรารู้ว่าความจริงมีจำนวนมากกว่านั้น”

ในเอกสารสรุปของพวกเขา ICJ เรียกร้องให้มีการถอนข้อกล่าวหาทั้งหมดต่อผู้ใดก็ตามที่ถูกคุมขังภายใต้เงื่อนไขของพระราชกฤษฎีกา รวมทั้งการชดใช้ความเสียหายใด ๆ ที่ได้รับ ซึ่งพวกเขาเรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร ตลอดจนยุติการโจมตีทนายความ ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และนักข่าวทางการเมือง

ประเด็นปัญหาที่ได้ถกเถียงกันในพระราชกฤษฎีกา ๕๔
ในเดือนมกราคม ผู้รายงานพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ๕ รายได้แสดงถึงข้อกังวลเกี่ยวกับพระราชกฤษฎีกา ๕๔ และความสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล, ฮิวแมนไรท์วอทช์, แอคเซสนาว และกลุ่มสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ได้พิสูจน์แล้วว่าเกิดพลังในการต่อต้านกฎหมาย ภายในตูนิเซีย สหภาพนักข่าว Syndicat National des Journalistes Tunisiens (SNJT) ได้เป็นผู้นำการต่อต้านกฎหมายดังกล่าว สิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำพระราชกฤษฎีกา ๕๔ ไปบังคับใช้อย่างแพร่หลายคือการที่ นายไค ซาอิด ประธานาธิบดีทำให้ความเป็นอิสระของศาลลดน้อยลง

ด้วยความไม่ไว้วางใจจากหลายฝ่ายที่ล้มเหลวในการหยุดยั้งความรุนแรงของตำรวจที่แพร่หลายและความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลในอดีต การคัดค้านได้ถูกระงับลงเมื่อ ไค ซาอิด ประธานาธิบดี ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กรตุลาการในปี ค.ศ. ๒๐๒๒ แทนที่ด้วยโครงสร้างองค์กรที่ได้ออกแบบขึ้นเองซึ่งท้ายที่สุดก็ตอบโจทย์แก่เขา

ฟิดาห์ ฮัมมามี ที่ปรึกษากฎหมายของ ICJ กล่าวว่า“ทางการตูนิเซียกำลังใช้อำนาจเพื่อเร่งการดำเนินคดีไปที่สำนักงานอัยการ ซึ่งเหมือนการปกครองแบบเผด็จการก่อนปี ค.ศ. ๒๐๑๑ เพื่อเริ่มต้นและดำเนินคดีอาญาทางการเมืองต่อผู้พิพากษา ทนายความ นักวิจารณ์ สมาชิกของ ฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและบุคคลที่ใช้สิทธิขั้นพื้นฐานของตน แม้ว่าการสืบสวนและหลักฐานจะยืนยันว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลก็ตาม”

ข่าวประจำวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖

เรียบเรียงจาก https://www.aljazeera.com/news/2023/7/18/tunisia-anti-fake-news-law-criminalises-free-speech-legal-group?fbclid=IwAR2KYqZRiBi3CvH6kr-3MuWIWiVz7ZhwHWOciZ6P8xJ4uhf9D_pWIVsWezk

*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
 

 

© 2017 Office of the Council of State.