BANNER

การได้รับโทษจำคุกในคดีของเจค็อบ ซูมา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ที่มีข้อสงสัยตามกฎหมาย medical parole law


 ข่าวต่างประเทศ      30 Sep 2023

  


คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญในคดีของนายเจค็อบ ซูมา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ได้ชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่อง
บางประการในกฎหมาย
medical parole law ของแอฟริกาใต้ แม้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ. ๒๐๑๒ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย และตระหนักถึงสิทธิของผู้กระทำผิดในการดูแลสุขภาพเมื่อประสบปัญหาอย่างร้ายแรงด้านสุขภาพร่างกาย


คดีดังกล่าวทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
ซึ่งกล่าวได้ว่าการปล่อยตัวออกจากคุกโดยมีเงื่อนไข
(parole) ถือเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของกฎหมายในการอำนวยความสะดวกของการปล่อยตัวผู้กระทำความผิดโดยเหตุผลทางการแพทย์โดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง หรือเรื่องอื่น ๆ  ในที่สุดซูมาก็ได้กลับเข้าไปรับโทษในคุกในตอนเช้าของวันที่ ๑๑ สิงหาคม ค.ศ. ๒๐๒๓ แต่ได้มีการลดระยะเวลาในการรับโทษจำคุก (remission of sentence) 
ศาลรัฐธรรมนูญปฏิเสธคำร้องของกรมราชทัณฑ์ซึ่งอุทธรณ์คำพิพากษาของศาล the Supreme Court of Appeal (SCA) ในปี ค.ศ. ๒๐๒๒  โดยศาล SCA ตรวจสอบพบว่า ซูมา ได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกโดยมีเงื่อนไขตามเหตุผลทางการแพทย์ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำแนะนำของคณะกรรมการที่ปรึกษาการปล่อยตัวออกจากคุกโดยมีเงื่อนไขตามเหตุผลทางการแพทย์ (Medical Parole Advisory Board)

ซูมา ถูกตัดสินรับโทษจำคุก ๑๕ เดือน ฐานละเมิดอำนาจศาล (Contempt of Court) หลังจากที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่มีคำสั่งให้ไปรายงานตัวต่อคณะกรรมาธิการการจับกุมแห่งชาติ (State Capture Commission) ที่ทำงานหลายอย่างด้านสอบสวนการทุจริตต่อหน้าที่ กรณีของซูมาเป็นระยะเวลาไม่ถึงสองเดือนหลังจากที่ได้รับการนำตัวเข้าสู่เรือนจำ เขาก็ได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกโดยมีเงื่อนไขตามเหตุผลทางการแพทย์ (medical parole)

มูลนิธิเฮเลน ซูมาน องค์กรไม่แสวงหากำไร และ The Democratic Alliance ที่เป็นพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้ามได้ยื่นคำร้องเร่งด่วนต่อศาลสูงแยกต่างหากเพื่อขอให้ตัดสินว่าการปล่อยตัวจากคุกโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  ทางมูลนิธิเฮเลน ซูมาน ยังต้องการให้เขาได้รับโทษจำคุกเต็มตามระยะเวลา และโดยช่วงเวลาที่เขาได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกโดยมีเงื่อนไขตามเหตุผลทางการแพทย์ไม่ให้นำมานับรวมเป็นระยะเวลาในการรับโทษจำคุก เพื่อความสะดวกในการพิจารณาทั้งสามคำร้องที่มีการยื่นเรื่องจึงได้มีการรับฟังความเห็นพร้อมกัน ศาลสูงในพริทอเรียมีคำตัดสินในปี ค.ศ. ๒๐๒๑ ว่า ซูมา ได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกโดยมีเงื่อนไขตามเหตุผลทางการแพทย์อย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากคณะกรรมการที่ปรึกษาการปล่อยตัวออกจากคุกโดยมีเงื่อนไขตามเหตุผลทางการแพทย์ไม่ได้แนะนำในกรณีของเขา เนื่องจากเขาไม่ได้ป่วยระยะสุดท้ายตามที่กฎหมายกำหนด เขาจึงต้องกลับเข้าคุก และเวลาที่ได้ออกมาจากคุกตามเงื่อนไขโดยเหตุผลทางการแพทย์ก็ไม่ควรนับรวมเป็นระยะเวลาที่ได้รับโทษจำคุก ซึ่งกรมราชทัณฑ์ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลสูง (High Court) ต่อศาล SCA ซึ่งได้พิพากษายกอุทธรณ์

อย่างไรก็ตาม ศาล SCA ยังได้ตัดสินด้วยว่า ประเด็นที่ได้รับการปล่อยตัวออกจากคุกอย่างมีเงื่อนไขด้วยเหตุผลทางการแพทย์ที่ผิดกฎหมายควรนับรวมเป็นระยะเวลาที่รับโทษจำคุกหรือไม่นั้น ต้องถูกกำหนดโดยกรมราชทัณฑ์ ซึ่งกรมราชทัณฑ์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่ออุทธรณ์คำพิพากษาของศาล SCA ต่อมาศาลสูงสุดปฏิเสธคำร้องนี้ จึงต้องบังคับใช้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และซูมาต้องกลับเข้าคุกเพื่อรับโทษทัณฑ์บนเพื่อการรักษาพยาบาลในแอฟริกาใต้อยู่ภายใต้มาตรา ๗๙ แห่งพระราชบัญญัติบริการราชทัณฑ์
(the Correctional Services Act)  พร้อมด้วยข้อ ๒๙A แห่งข้อบังคับบริการราชทัณฑ์ (the Correctional Services Regulations)


การปล่อยตัวซูมาออกจากคุกอย่างมีเงื่อนไขด้วยเหตุผลทางการแพทย์ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๒๑ ได้ชี้ถึงข้อบกพร่องสามประการในกฎหมายดังนี้

ข้อบกพร่องประการแรกและประการที่สองที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของคณะกรรมการที่ปรึกษาทัณฑ์บนทางการแพทย์และคณะกรรมาธิการบริการราชทัณฑ์ตามลำดับ ส่วนข้อบกพร่องประการที่สามเกี่ยวข้องกับเรื่องระยะเวลาที่ได้รับการปล่อยตัวอยู่นอกคุก หากเขาได้รับการปล่อยตัวอย่างมีเงื่อนไขด้วยเหตุผลทางการแพทย์อย่างผิดกฎหมาย


ข่าวประจำวันที่  ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๖
เรียบเรียงจาก https://theconversation.com/zuma-prison-case-casts-doubt-on-south-africas-medical-parole-law-211359?fbclid=IwAR38QjYQfGG7C1cRKpJjr2F_AtS63G8TuOj77ooj4NDqk-dsmqX5shWy0ZU

*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

© 2017 Office of the Council of State.