World Economic Forum ได้เผยแพร่ผลการสำรวจเยาวชนอาเซียนเกี่ยวกับผลกระทบในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID – 19 โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนช่วงอายุ ๑๖ - ๓๕ ปี จำนวน ๖๘,๔๗๔ คน จาก ๖ ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและไทย ซึ่งการสำรวจดังกล่าวมีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งเยาวชนที่เป็นนักเรียนนักศึกษา ผู้ประกอบการ และแรงงาน ซึ่งผลการสำรวจได้สะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมและมุมมองของเยาวชนในช่วงการแพร่ระบาดที่น่าสนใจหลายประการทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและถาวร โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและช่องว่างของทักษะทางดิจิทัลของเยาวชน ข้อจำกัดการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และความสามารถในการปรับตัวและแนวคิดแบบ growth mindset ของเยาวชนอาเซียน ดังมีรายละเอียดที่ผู้เขียนขอนำเสนอบทความนี้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID – 19 ของเยาวชนอาเซียน
ในปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ประชาคมโลกประสบกับภาวะการระบาดใหญ่ของโรคโควิด – ๑๙ (COVID – 19) ทำให้มีผู้ติดเชื้อ ๓,๘๖๒,๖๗๖ ราย และเสียชีวิต ๒๖๕, ๙๖๑ รายทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ติดเชื้อ ๕๔,๒๖๒ ราย และเสียชีวิต ๑,๘๐๔ ราย ภาวะดังกล่าวไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของทุกคนเท่านั้น หากแต่ยังส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลก และส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด – ๑๙ ในภูมิภาคในฐานะของอุปสรรคสำคัญสำหรับอาเซียนในแง่ของการขจัดความยากจนและสร้างความเท่าเทียมให้เกิดขึ้นภายในภูมิภาคตามเป้าหมายของประชาคม
การแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ ส่งผลให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรักษาระยะห่างทางกายภาพ (Physical Distancing) การดำเนินการต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์อยู่ภายใต้มาตรการ lock-down ซึ่งหนึ่งในแนวปฏิบัติที่สำคัญคือการลดการเดินทางของประชาชนเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อ ในด้านของกิจกรรมการปฏิบัติงาน องค์กรภาครัฐและเอกชนจึงใช้รูปแบบการดำเนินงานโดยการจัดให้บุคคลากรปฏิบัติงานจากที่บ้าน (Work From Home) เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการรักษาความปลอดภัยด้านสาธารณสุขของบุคคลากรที่ต้องเดินทางมาปฏิบัติงานและเพื่อให้การปฏิบัติงานขององค์กรสามารถดำเนินต่อไปได้ในภาวะวิกฤตอย่างไม่ติดขัด อย่างไรก็ดี การใช้มาตรการ Work From Home ในสภาวะการแพร่ระบาดของ COVID - ๑๙ นี้ สิ่งสำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องคำนึงถึงคือเรื่องของการคุ้มครองข้อมูลขององค์กร วิธีการจัดการเอกสารและการเข้าถึงเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานที่บ้านอาจไม่ได้รับการป้องกันที่เหมาะสมเพียงพอ เช่นนี้แล้ว เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ คณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลของฟิลิปปินส์ (National Privacy Commission – NPC) ได้ออกประกาศชื่อ NPC PHE Bulletin No.12: Protecting Personal Data in a Work From Home Arrangement เพื่อให้คำแนะนำแก่องค์กรที่มีการจัดให้บุคคลากรปฏิบัติงานที่บ้าน และการปฏิบัติงานรูปแบบอื่นที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแนวปฏิบัติดังกล่าวครอบคลุมถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลโดยทั่วไป และการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำหรับบุคคลากรที่ปฏิบัติงานที่บ้าน
อ่านบทความฉับเต็มได้ที่นี่ >>> แนวปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากการปฏิบัติงานที่บ้านของประเทศฟิลิปปินส์
การปฏิบัติงานจากบ้านอาจเป็น New Normal สำหรับองค์กรหรือผู้ปฏิบัติงานในหลาย ๆ ประเทศ แต่สำหรับคนฟิลิปปินส์เป็นวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกรับรองสถานะตามกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ ๒๕๖๑ ซึ่งฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมาย Republic Act 11165 หรือ Telecommuting Act 2018 ในที่นี้ขอเรียกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติงานจากที่บ้าน โดยมีสาระสำคัญเป็นการรับรองและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของบุคลากรภาคเอกชนที่สามารถปฏิบัติงานด้วยการสื่อสารโทรคมนาคม และ/หรือเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ ณ สถานที่อื่นซึ่งไม่ใช่สถานประกอบการ ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกในการปฏิบัติงานให้แก่บุคลากรของภาคเอกชน
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> พระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติงานจากที่บ้านของประเทศฟิลิปปินส์
Download ภาพ ได้ที่นี่ >>> พระราชบัญญัติว่าด้วยการปฏิบัติงานจากที่บ้านของประเทศฟิลิปปินส์
คนสิงคโปร์โดยมากนิยมเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ หรือโดยพาหนะเคลื่อนที่ส่วนบุคคล (Personal mobility device: PMDs) ที่กำลังเป็นพาหนะทางเลือกและเป็นที่นิยมสำหรับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ Electric scooters (e-scooters) เนื่องจากมีความคล่องตัว สะดวก รวดเร็ว ความนิยมดังกล่าวทำให้ผู้ใช้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ทั้งผู้ที่ซื้อไว้ใช้เอง และผู้ที่ใช้บริการผ่านผู้ให้เช่า ผลที่ตามมาทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการใช้ e-scooters ในสิงคโปร์เพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างรายล่าสุดในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ พบผู้ขับขี่ e-scooter ด้วยความเร็วชนเข้ากับผู้หญิงสูงอายุ วัย ๖๕ ปีขณะกำลังขี่จักรยาน ส่งผลให้ผู้หญิงดังกล่าวเสียชีวิตในเวลาต่อมา นอกจากนี้ ยังพบปัญหาเพลิงไหม้โดยมีสาเหตุมาจากการชาร์จ e-scooter ทิ้งไว้ในบ้านอีกด้วย ข้อกังวลเหล่านี้ทำให้สิงคโปร์เพิ่มมาตรการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ e-scooter หรือพาหนะเคลื่อนที่ส่วนบุคคล (Personal mobility device) ประเภทต่าง ๆ อย่างเข้มงวด ดังมีรายละเอียดที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงในบทความนี้ อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ มาตรการควบคุมการใช้ Electric Scooters ของสิงคโปร์
หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยมีมาตรการบังคับใช้กฎหมาย Personal Data Protection โดยมีสาระสำคัญเป็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากบริษัทหรือองค์กรธุรกิจที่มีการรวบรวม เก็บและนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้โดยมิชอบ ขณะเดียวกัน นอกจากข้อมูลส่วนบุคคลจะถูกนำไปใช้เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่น่าสนใจคือกรณีของสิงคโปร์ที่เห็นปัญหาการนำข้อมูลระบุตัวตนของบุคคลอื่นไปเผยแพร่บนพื้นที่ออนไลน์ โดยมีเจตนาให้เจ้าของข้อมูลถูกคุกคาม ได้รับความเสียหาย หรือที่เรียกว่า “Doxing” สิงคโปร์ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดภายใต้กฎหมาย Protection from Harassment Act (POHA) บทความนี้ จึงขอนำเสนอมุมมองการคุ้มครองข้อมูลของบุคคลภายใต้กฎหมายฉบับดังกล่าวของสิงคโปร์
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ >> ความผิดเกี่ยวกับ Doxing ของสิงคโปร์
สำหรับอาเซียนซึ่งเป็นภูมิภาคที่ประกอบด้วยประชากรกว่า ๖๐๐ ล้านคน โดยมีประชากรที่เป็นเพศหญิงกว่าครึ่งหนึ่งได้มีการกำหนดให้เรื่องการส่งเสริมและสนับสนุนสิทธิสตรีเป็นหนึ่งในวาระสำคัญของการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมของภูมิภาค ดังจะเห็นได้จากการกำหนดให้เรื่องความเสมอภาคทางเพศและการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้หญิงเป็นเป้าหมายสำคัญภายใต้แผนงานประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint 2025) ตลอดจนได้มีการก่อตั้งกลไกความร่วมมือเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศเพื่อสะท้อนถึงความพยายามของอาเซียนในการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศให้เกิดขึ้นในภูมิภาค
สิงคโปร์มีความพยายามที่จะแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศด้วยการใช้มาตรการเพื่อการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งเพื่อดำเนินตามข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งสิงคโปร์ผูกพันที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ ๓๖ ภายในปี ค.ศ. ๒๐๓๐ โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญคือการจัดเก็บภาษีคาร์บอน จึงได้มีการยกร่างกฎหมายภาษีคาร์บอน (Carbon Pricing Bill) ขึ้นและผ่านการพิจารณาของรัฐสภาเมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม ค.ศ. ๒๐๑๘ และมีผลใช้บังคับเป็นรัฐบัญญัติภาษีคาร์บอน ค.ศ. ๒๐๑๘ (Carbon Pricing Act 2018) เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ค.ศ. ๒๐๑๙ ซึ่งเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการใช้มาตรการดังกล่าวในการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอถึงสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าวเพื่อเป็นกรณีศึกษาสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นต่อไป
สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความโดดเด่นด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการเจริญเติบโตด้านการค้าการลงทุนเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี ลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะขนาดเล็กเทียบได้กับเกาะภูเก็ตของประเทศไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ สิงคโปร์มีจำนวนประชากรกว่า ๖ ล้านคน ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทำให้สิงคโปร์เห็นปัญหามลภาวะทางเสียง น้ำ ดินและอากาศที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีเครื่องจักร ซึ่งทำให้เกิดของเสียและสิ่งปฏิกูลจากสถานประกอบการจำนวนมาก สิงคโปร์จึงพยายามจัดการกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วนมาโดยตลอดเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจและสังคมของประเทศดำเนินต่อไปได้ ด้วยข้อจำกัดทางพื้นที่ ปริมาณทรัพยากรภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดและจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นแต่ละปี การดำเนินนโยบายและการใช้กฎหมายเพื่อกำกับดูแล ส่งเสริมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลสิงค์โปรจึงมีลักษณะของการวางแผนระยะยาวโดยให้ความสำคัญกับการจัดการพื้นที่และการจัดการพลังงานทดแทนเพื่อลดการพึ่งพาทรัพยากรจากต่างประเทศ บทความนี้จึงขอกล่าวถึงประเด็นที่น่าสนใจของกฎหมาย Resource Sustainability Act 2019 ที่มีสาระสำคัญเป็นการวางระบบเกี่ยวกับการลดการใช้ นำกลับมาใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3R)
เป็นครั้งแรกของสิงคโปร์
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >> กฎหมายการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนของสิงคโปร์ (RESOURCE SUSTAINABILITY ACT 2019)
เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ ประเทศอินโดนีเซียเกิดเหตุชุมนุมประท้วงโดยประชาชนจำนวนกว่าหลายหมื่นคน โดยมากเป็นกลุ่มนักศึกษา ซึ่งถือเป็นการประท้วงครั้งใหญ่นับแต่การชุมนุมล้มรัฐบาลซูฮาร์โตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑ การชุมนุมดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณอาคาiรัฐสภาอินโดนีเซีย (House of Representatives) ในพื้นที่กรุงจาการ์ตา และเมืองอื่น ๆ โดยมีวัตถประสงค์เพื่อต่อต้านและเรียกร้องให้ยกเลิกการออกกฎหมายหลายฉบับ อาทิ กฎหมายการต่อต้านการทุจริตที่มองว่ามีบทบัญญัติที่จะทำให้อำนาจของคณะกรรมาธิการต่อต้านการทุจริตอ่อนแอ การชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้ยุติการใช้กองทัพควบคุมจังหวัดปาปัวและภูมิภาคอื่น ๆ และที่ผู้เขียนจะกล่าวถึงในบทความนี้คือการเรียกร้องให้ยกเลิกการแก้ไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญาโดยเฉพาะกรณีความสัมพันธ์กับผู้ที่ไม่ใช่คู่สมรสตามกฎหมาย บทบัญญัติเกี่ยวกับการทำแท้ง หรือการกำหนดให้การดูหมิ่นประธานาธิบดีเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ซึ่งกลุ่มผู้ประท้วงมีความเห็นว่าหากบทบัญญัติเหล่านี้ถูกบังคับใช้อาจกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของชาวอินโดนีเซียและอาจเป็นการย้อนคืนความก้าวหน้าของอินโดนีเซียในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ การต่อต้านกฎหมายอาญาฉบับใหม่ของอินโดนีเซีย
บริบทของสังคมโลกที่กำลังเผชิญกับยุคความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีดิจิทัล การเชื่อมโยงอย่าง
ไร้พรมแดน การเติบโตของตลาดดิจิทัล อุตสาหกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ความสามารถของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ตลอดจนความท้าทายในการเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ ๔ หรือ (The Fourth Industrial Revolution) ทำให้หลายประเทศรวมถึงประเทศสมาชิกอาเซียนตระหนักถึงการพัฒนาความรู้และทักษะที่จำเป็นใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพแก่ประชากรในประเทศของตน โดยทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) จะเป็นทักษะที่จำเป็นชุดใหม่ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่จะมีผลรอบด้านต่อรูปแบบความสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนภูมิทัศน์ในการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ >> ทักษะทางดิจิทัลกับการทำงานของเยาวชนอาเซียน
ปัจจุบันแนวโน้มการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ของพลเมืองโดยรัฐมีเพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับกระแสการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน ประเด็นเรื่องความปลอดภัยสาธารณะเป็นประเด็นทางปกครองที่สำคัญประการหนึ่งที่ทุกประเทศจำเป็นต้องตระหนักและจัดให้มีมาตรการควบคุมดูแลอย่างเหมาะสม ดังที่ล่าสุดหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายใหม่ชื่อว่า Safe Spaces Act หรือกฎหมายความปลอดภัยพื้นที่สาธารณะ ซึ่งมีข้อสังเกตที่น่าสนใจหลายประการ โดยเฉพาะการกำหนดลักษณะของพฤติกรรมที่เป็นความผิดตามกฎหมายในรูปแบบใหม่ ๆ อาทิ การผิวปาก การกล่าววาจาล่วงละเมิดทางเพศในพื้นที่สาธารณะ ทั้งที่กระทำต่อผู้หญิงและคุ้มครองถึงผู้มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งจะหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจมากล่าวถึงในบทความนี้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ กฎหมายความปลอดภัยพื้นที่สาธารณะของฟิลิปปินส์ (Safe Spaces Act)
บทความนี้จะได้กล่าวถึงรายละเอียดว่าด้วยหลักการดูแลรักษาต้นไม้ในเมืองของสิงคโปร์ ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านการวางแผนเชิงนโยบายและบทบัญญัติของกฎหมาย รวมไปถึงกรณีปัญหาของประเทศไทยว่าด้วยเรื่องการอนุรักษ์พื้นที่ป่าในเมือง พร้อมทั้งทำการเสนอแนวทางแก้ไขโดยการเทียบเคียงจากกรณีศึกษาของประเทศสิงคโปร์
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ กฎหมายคุ้มครองต้นไม้ในเมือง กรณีศึกษาประเทศสิงคโปร์
องค์การอนามัยโลกเปิดเผยรายงานภัยคุกคามสาธารณสุขโลกประจำปี
พ.ศ. ๒๕๖๒ (Ten threats to global health in 2019) เปิดเผยความกังวลการบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งบริการดังกล่าวถือเป็นจุดแรกในการเชื่อมต่อประชาชนให้เข้าถึงระบบสาธารณสุขต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องครอบคลุม และเข้าถึงง่ายทั้งในแง่ของสถานที่ และค่าใช้จ่าย ฟิลิปปินส์ขณะนี้ มีการปรับตัวยกระดับการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน โดยออกกฎหมายประกันสุขภาพ ชื่อ Universal Heath Care Act มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายแล้วเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ หลังจากที่สภาสูงฟิลิปปินส์ได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับรองร่างกฎหมายไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑
ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีพื้นที่ประกอบด้วยเกาะจำนวนมาก และเป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังเผชิญกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรง เพื่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค ระบบนิเวศถูกคุกคาม หลายพื้นที่ถูกรุกล้ำพื้นที่ป่าเพื่อทำการเกษตรในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา เหตุนี้ ฟิลิปปินส์จึงตระหนักถึงความสำคัญของการปลูกฝังการรักษาป่าและสิ่งแวดล้อม ทำให้เมื่อไม่นานมานี้ ฟิลิปปินส์ได้ออกกฎหมายสิ่งแวดล้อมฉบับหนึ่ง เรียกว่า “the Graduation Legacy for the Environment Act” กำหนดวางรากฐานให้นักเรียนต้องปลูกต้นไม้ก่อนที่จะสำเร็จการศึกษา หากดำเนินการอย่างแข็งขันภายใต้มาตรการนี้ จำนวนเด็กในหนึ่ง generation จะสามารถปลูกต้นไม้ได้ไม่ต่ำกว่า ๕๒๕ พันล้านต้น การออกกฎหมายฉบับนี้นอกจากจะสร้างกรอบความคิดรักษาระบบนิเวศแก่เยาวชนอย่างยั่งยืนแล้ว ยังจะช่วยสร้างความมั่นคงทางธรรมชาติให้กับคนฟิลิปปินส์รุ่นต่อไป รวมถึงเป็นมาตรการที่มีส่วนช่วยป้องกันการเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในอีกหลากหลายรูปแบบ
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ กฎหมายปลูกต้นไม้ก่อนสำเร็จการศึกษาของฟิลิปปินส์
สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความโดดเด่นด้านเศรษฐกิจ เป็นที่สนใจแก่กลุ่มนักธุรกิจ นักลงทุนในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศของสิงคโปร์ที่มีลักษณะเป็นเกาะขนาดเล็กมีพื้นที่ราว ๗๑๐.๒ ตารางกิโลเมตร มีปริมาณประชากรจำนวนไม่มาก ราว ๕.๖๑ ล้านคน ทำให้สิงคโปร์มีความจำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานจากต่างชาติในการขับเคลื่อนกิจกรรมการค้าในหลายระดับ ต่างชาติจึงเข้าไปมีบทบาทในภาคแรงงานของสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก ด้วยพลวัตการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มธุรกิจ กลุ่มแรงงานที่มีหลายประเภท หลายทักษะ รวมถึงแนวทางการจ้างงานในท้องถิ่นยังคงมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ทำให้สิงคโปร์มีความพยายามที่จะปรับปรุงกฎหมายแรงงานให้ครอบคลุม สอดรับกับบริบทการเปลี่ยนแปลง นับตั้งแต่มีการประกาศใช้กฎหมายแรงงานฉบับปรับปรุงแก้ไขล่าสุดไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๙
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ สิงคโปร์กับกฎหมายแรงงานฉบับแก้ไข (EMPLOYMENT ACT)
สำหรับประเทศไทยหากไม่ใช่ผู้อยู่ในวงการทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ผลิต หรือกลุ่มผู้บริโภคที่สนใจสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ GI อาจยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไปนัก มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๔๖ ของไทยได้กำหนดนิยาม “สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียก หรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์ และที่สามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์ดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ คือมาตรการคุ้มครองทางกฎหมายสำหรับสิ่งที่มีความเชื่อมโยงระหว่างลักษณะธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ และมนุษย์ ทำให้สินค้าที่ได้รับการรับรองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่สามารถหาได้จากพื้นที่อื่น อาทิ สินค้า GI ที่มีชื่อเสียงในประเทศไทย ได้แก่ กาแฟดอยตุง ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ไข่เค็มไชยา น้ำตาลโตนดเมืองเพชร ผ้าไหมมัดหมี่ชนบท ร่มบ่อสร้าง ชามไก่ลำปาง และอื่น ๆ อีกมาก
อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ การคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของไทย และประเทศสมาชิกอาเซียน
สื่อออนไลน์มีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของคนในสังคมทุกขณะ การขยายตัวของเทคโนโลยี นวัตกรรมส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่อาจเป็นผลกระทบสำคัญตามมาคือการเผยแพร่ข่าวสารปลอมหรือข้อความที่ไม่เป็นความจริง (Fake News) เพื่อสร้างความเข้าใจผิด มุ่งแสวงประโยชน์บางประการจนอาจเรียกได้ว่าเป็นภัยคุกคามรูปแบบหนึ่งที่สามารถส่งผลทั้งในระยะสั้น และระยะยาว อีกทั้งการพัฒนาของเทคโนโลยี AI ทำให้เกิดการสร้างข่าวสารหลอกลวงโดยอาศัยเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึกเข้ามาร่วมพัฒนา ทำให้ข่าวสารปลอมมีลักษณะ แนบเนียน จับพิรุธได้ยาก ง่ายต่อการหลงเชื่อ (Deepfake) เช่น การตัดต่อวิดีโอปลอม เหตุนี้ หลายประเทศจึงตระหนักถึงผลกระทบของการแพร่กระจายข่าวสารปลอม เร่งสร้างกลไกการควบคุม ป้องกัน ทั้งรูปแบบของมาตรการทางกฎหมาย และมาตรการทางบริหาร สิงคโปร์เป็นประเทศล่าสุดที่ผลักดันการแก้ปัญหาในรูปแบบมาตรการทางกฎหมาย โดยมีการเสนอร่างกฎหมายชื่อ The Protection from Online Falsehoods and Manipulation Bill เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.๒๕๖๒ หรือกฎหมายควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารปลอม การผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวทำให้สิงคโปร์เผชิญกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และสื่อมวลชน (Freedom of Expression) รวมถึงเป็นข้อสงสัยว่าอาจบังคับใช้เพื่อเปิดช่องให้อำนาจควบคุม/ระงับความเห็นต่างจากรัฐบาลได้
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ มาตรการควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารปลอมของสิงคโปร์
บรูไนยกระดับบังคับใช้บทลงโทษตามหลักกฎหมายอิสลาม เพิ่มบทลงโทษเฆี่ยนตี ตัดมือ ปาหินจนเสียชีวิต ถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่นำกฎหมายอิสลามมาใช้บังคับครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ
ในปัจจุบัน เนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหลายต่างก็ลงนามเป็นภาคีปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (ASEAN Human Rights Declaration: AHRD) ซึ่งได้มีบทบัญญัติรับรองว่า บุคคลทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมายบุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองของกฎหมายเท่าเทียมกัน โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ จึงมีประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
การค้าประเวณี (prostitution) นั้นก็กรณีที่ปัจเจกชนใช้เสรีภาพของตนในการตัดสินใจที่จะเลือกประกอบอาชีพ โดยลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตนเองเพื่อหารายได้ดำรงชีพ หรือประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยวิธีการยินยอมให้ผู้อื่นใช้ร่างกายของตนเองเป็นวัตถุ เพื่อสนองความต้องการทางเพศของผู้มาซื้อบริการ ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ก็มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่ให้เห็นด้วยในการที่จะให้อาชีพดังกล่าวได้รับรองตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี ในภูมิภาคอาเซียนนั้น ได้ปรากฏว่าสาธารณรัฐสิงคโปร์ไม่ได้มีมาตรการทางกฎหมายที่ห้ามมิให้มีการประกอบอาชีพหรือธุรกิจการค้าประเวณีแต่อย่างใด หากแต่เป็นการควบคุมภายใต้เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด ด้วยเหตุนี้ จึงมีข้อพิจารณาถึงความขัดแย้งในเนื้อหาปลีกย่อยของสิทธิมนุษยชนที่สำคัญระหว่าง เสรีภาพเอกชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ดังนั้น กฎหมายการค้าประเวณีของสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงมีความน่าสนใจในการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ถึงความชอบธรรมตามกฎหมายของการประกอบอาชีพการค้าประเวณีหรือการเป็นโสเภณีภายในประเทศสมาชิกอาเซียน
กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศสมาชิกอาเซียนนั้น ก็ได้มีข้อถกเถียงกันในระดับระหว่างประเทศ นั่นคือ การบังคับใช้โทษการเฆี่ยน (caning) ของสาธารณรัฐสิงคโปร์ ซึ่งมีประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องความชอบธรรมและความสอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐได้ หากมีการนำไปปรับใช้กับคนชาติของรัฐอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงจะได้ทำการศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการลงโทษทางอาญาของประเทศสิงคโปร์ ตลอดจนถึงประวัติความมา และเงื่อนไขการบังคับใช้ของการลงโทษด้วยการเฆี่ยนของประเทศสิงคโปร์ แล้วจึงจะได้วิเคราะห์ปัญหาในเรื่องดังกล่าวและเสนอแนวทางแก้ไขต่อไป
บทความนี้เป็นการรวบรวมปัญหาอันนำไปสู่การค้ามนุษย์ในอาเซียนตามผลการศึกษาการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียน พ.ศ. ๒๕๖๐ : ฟิลิปปินส์ กัมพูชา บรูไน สปป.ลาว เวียดนาม มาเลเซีย เมียนมา อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ มาเพื่อทำการวิเคราะห์ถึงอุปสรรคที่กีดขวางความพยายามอาเซียนในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ตลอดจนเป็นการศึกษาถึงมาตรการหรือกรอบการดำเนินงานของอาเซียนเพื่อจัดการกับปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว และนำอาเซียนไปสู่การเป็นภูมิภาคที่แข็งแกร่งและสามารถขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มการเติบโตที่รวดเร็วและต่อเนื่อง แต่เนื่องจากผลิตภัณฑ์พลาสติกส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทใช้งานครั้งเดียว (single-use plastics) และย่อยสลายได้ยาก จึงทำให้มีจำนวนขยะพลาสติกถูกทิ้งและตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเป็นจำนวนมหาศาล
ในบริบทของอุตสาหกรรมพลาสติกอาเซียนนั้น เนื่องจากแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนต่างแข่งขันกันมีบทบาทนำในตลาดการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก จึงทำให้มีหลายประเทศในอาเซียนที่มีการเติบโตและการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่จะมีมาตรการในการป้องกันผลกระทบและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่บ้าง แต่ปัญหามลพิษทางสิ่งแวดอันเนื่องมาจากขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมยังคงปรากฏให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
อนึ่ง เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัญหาขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ และเนื่องจากประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศต่างพรมแดนที่เชื่อมถึงกันและมีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประชาคมอาเซียนในด้านต่าง ๆ บัดนี้จึงควรถึงเวลาที่ทุกประเทศจะต้องเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก
บทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier 2 ของการค้ามนุษย์ ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ทั้งนี้ ด้วยตระหนักดีว่าการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง และอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์ โดยมีหลายประเทศในอาเซียนเป็นทั้งประเทศ ต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง และการศึกษาสถานการณ์การค้ามนุษย์ การคุ้มครองเหยื่อค้ามนุษย์ ตลอดจนการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศให้ถ่องแท้ จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุของการค้ามนุษย์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น
บทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier 2 ของการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ทั้งนี้ ด้วยตระหนักดีว่าการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง และอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์ โดยมีหลายประเทศในอาเซียนเป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ อย่างกว้างขวาง และการศึกษาสถานการณ์การค้ามนุษย์ ตลอดจนการคุ้มครองเหยื่อค้ามนุษย์และการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศให้ถ่องแท้ จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุของการค้ามนุษย์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น
บทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ใน สปป.ลาว ซึ่งเป็น ๑ ใน ๓ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier 2 Watch list ของการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ทั้งนี้ ด้วยตระหนักดีว่าการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง และอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์ โดยมีหลายประเทศในอาเซียนเป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง และการศึกษาสถานการณ์การค้ามนุษย์ ตลอดจนการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ และการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศให้ถ่องแท้ จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุของการค้ามนุษย์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น
บทความนี้จะศึกษาปัญหาการค้ามนุษย์ในเวียดนาม ซึ่งเป็น ๑ ใน ๖ ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ถูกจัดให้อยู่ใน Tier 2 ของการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ทั้งนี้ ด้วยตระหนักดีว่าการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง และอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์ โดยมีหลายประเทศในอาเซียนเป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง และการศึกษาสถานการณ์การค้ามนุษย์ ตลอดจนการคุ้มครองเหยื่อการค้ามนุษย์ และการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศให้ถ่องแท้ จะช่วยให้ทราบถึงปัญหาและสาเหตุของการค้ามนุษย์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาแนวทางในการแก้ไขและป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ในอาเซียนได้ดียิ่งขึ้น
เนื่องจากการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจาก การเปิดพรมแดนในด้านต่าง ๆ ที่ทำให้การเดินทางข้ามแดนมีความสะดวกมากขึ้น และมีหลายประเทศในอาเซียนเป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ต้องได้รับการแก้ไขและจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างร้ายแรง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์ เนื่องจากการเปิดพรมแดนด้านต่าง ๆ ที่ทำให้การเดินทางข้ามแดนมีความสะดวกมากขึ้น และมีหลายประเทศ ในอาเซียนเป็นทั้งประเทศต้นทาง ประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางของการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งจำต้องจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ประสบปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นการค้ามนุษย์ภายในภูมิภาค อาจเนื่องมาจากการเปิดพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงที่ทำให้การเดินทางข้ามแดนมีความสะดวกมากขึ้น และมีหลายประเทศในอาเซียนที่เป็นทั้งประเทศต้นทางประเทศทางผ่าน และประเทศปลายทางในการค้ามนุษย์ ซึ่งปัญหาการค้ามนุษย์ย่อมส่งผลกระทบทั้งในระดับภูมิภาคหรือในระหว่างประเทศ เนื่องการค้ามนุษย์เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อันเป็นปัญหาที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ
การศึกษาถึงระบบการจัดการปรอทภายในประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งที่เป็นกรอบระเบียบและข้อบังคับภายใน กรอบการบริหารของภาครัฐ และการดำเนินการในทางปฏิบัติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน โดยในบทความฉบับนี้จะยกตัวอย่างกรณีศึกษาของราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ
สถานการณ์และภาพรวมการนำเข้าและส่งออกสารปรอทในภูมิภาคอาเซียนระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๔ - ๒๕๕๘
เมื่อสารปรอทถูกปล่อยออกมาอันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ และแพร่กระจายออกสู่บรรยากาศ ทำให้สารปรอทหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศและสะสมระดับความเข้มข้นของพิษปรอทสูงขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อสารปรอทถูกสะสมในธรรมชาติอยู่ตลอดเวลาแล้วจึงทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์และส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวและยากแก่การแก้ไขฟื้นฟูให้กลับมาดีดังเดิมได้
ตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศ (ต่อ)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นครั้งแรกที่เกิดการบังคับให้บุคคลสูญหาย (Enforced Disappearance) เป็นที่ประจักษ์ นายอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้นำเผด็จการของพรรคนาซีในเยอรมัน
การศึกษาถือเป็นสิทธิสากลขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่จะได้รับโดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ สีผิว สถานการณ์แวดล้อม และอื่น ๆ และในปีที่ผ่านมาผู้นำจากประเทศอาเซียนได้สร้างประวัติศาสตร์ในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าวโดยการรับรอง “ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านการศึกษาให้กับเด็กและเยาวชนตกหล่น” (ASEAN Declaration on Strengthening Education for Out-of-School Children and Youth - OOSCY)
ประเทศสมาชิกของอาเซียนกับการช่วยเหลือชาวโรฮิงญา
ตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับชาวโรฮิงญา
เมื่อวันที่ ๖-๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐ เจ้าหน้าที่แรงงาน พนักงานตรวจแรงงาน อัยการ และพนักงานสอบสวน จากประเทศสมาชิกอาเซียนได้เข้าร่วม
กฎหมายการทำแท้งตามกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกำหนดอย่างไร และกฎหมายในประเทศสมาชิกตอบสนองต่อพันธกรณีที่แต่ละประเทศมีต่อตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งหรือไม่...
ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกและแลกเปลี่ยนทางความคิด ความเห็นอย่างอิสระ ยังมีประเด็นปัญหาเรื่อยมาและทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อพลเมืองในประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับการยกย่องในด้านการสาธารณสุขเนื่องจากมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบประกันสุขภาพต่าง ๆ ที่ WHO ยกย่องให้เป็นประเทศที่มีการสาธารณสุขเป็นอันดับ ๖ และ Bloomberg จัดอันดับให้ประเทศสิงคโปร์มีระบบประกันสุขภาพเป็นอันดับ ๑[๑] ของโลกในด้านความมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านระบบประกันสุขภาพ ระบบประกันสุขภาพของสิงคโปร์เป็นระบบการตั้งกองทุนออมที่ผู้เข้าร่วมต้องจ่ายเงินออมเข้ากองทุนโดยหักเงินค่าจ้างเข้ากองทุนที่มีหลายกองทุนเป็นหลัก ซึ่งวิธีดังกล่าวทำให้ค่ารักษาพยาบาลไม่สูงมากนัก บทความนี้จะกล่าวถึงระบบประกันสุขภาพของสิงคโปร์โดยมีรายละเอียดดังนี้
ระบบประกันสุขภาพถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับรัฐที่จะดูแลประชาชนในประเทศ การหาเสียงเลือกตั้งแต่ละครั้ง ผู้สมัครต่างให้ความสำคัญกับนโยบายด้านสุขภาพ เนื่องด้วยปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวประชาชนและค่าบริการรักษาโรคบางชนิดค่อนข้างสูง การเมืองของประเทศสมาชิกอาเซียนมีลักษณะคล้ายกับทั่วโลกเช่นกัน คือ พรรคการเมืองต่างหาเสียงด้านนโยบายประกันสุขภาพประชาชน เมียนมาเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสำคัญกับการสาธารณสุขถึงแม้ว่ารายได้ประเทศในปัจจุบันจะไม่มากก็ตามแต่ได้กำหนดสิทธิประโยชน์ที่มีความก้าวหน้าและมีการพัฒนาแผนงานที่น่าสนใจ
ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาซึ่งอาเซียนได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้หมดไปจากภูมิภาคความพยายามของอาเซียนแสดงให้เห็นได้จากผู้นำอาเซียนได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ปลอดจากยาเสพติด (Joint Declaration for A Drug-Free ASEAN) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕
© 2017 Office of the Council of State.